เมื่อวันที่ 30 ก.ย. มีรายงานว่า ในการประชุม ครม. 1 ต.ค.นี้ กระทรวงศึกษาธิการได้เตรียมขออนุมัติหลักการร่างกฎ ก.พ.อ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 57 (7) บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใด ไม่สามารถปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันน่าพอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 28 สั่งให้ออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้ ประกอบกับได้มีกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางราชการมีโอกาสปรับปรุงประสิทธิภาพ สามารถหมุนเวียนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาทำหน้าที่แทน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกับกฎ ก.พ.ดังกล่าว สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.อ. คือ 1. กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ โดยให้ส่วนราชการพิจารณาจากผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการผู้นั้นเป็นหลัก 2.กำหนดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาปรับปรุงตนเอง โดยการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการพัฒนาปรับปรุงตนเองดังกล่าว ควรมีระยะเวลาไม่เกินสามรอบประเมิน 3.กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการได้ หากไม่สามารถปฏิบัติราชการได้เป็นที่น่าพอใจ หลังจากที่ลงนามรับทราบการปรับปรุงตนเอง 4.กำหนดให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายใน 30 วัน.
http://www.thairath.co.th/content/edu/373060
ศธ.จ่อออกกฎเหล็กให้ออกขรก.มหา'ลัยไร้ประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการเสนอว่า พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547 มาตรา 57 (7) บัญญัติให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาผู้ใด ไม่สามารถปฏิบัติราชการ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลในระดับอันน่าพอใจของทางราชการได้ ให้ผู้มีอำนาจตามมาตรา 28 สั่งให้ออกจากราชการ เพื่อรับบำเหน็จบำนาญเหตุทดแทนได้ ประกอบกับได้มีกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล พ.ศ. 2552 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทางราชการมีโอกาสปรับปรุงประสิทธิภาพ สามารถหมุนเวียนกำลังคนที่มีประสิทธิภาพที่ดีกว่ามาทำหน้าที่แทน และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของข้าราชการพลเรือนสามัญ ดังนั้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา จึงสมควรกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ กรณีไม่สามารถปฏิบัติราชการให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล
นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวสอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกับกฎ ก.พ.ดังกล่าว สาระสำคัญของร่างกฎ ก.พ.อ. คือ 1. กำหนดให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการ โดยให้ส่วนราชการพิจารณาจากผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการผู้นั้นเป็นหลัก 2.กำหนดให้กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้ที่มีผลการประเมินผลการปฏิบัติราชการอยู่ในระดับที่ต้องพัฒนาปรับปรุงตนเอง โดยการประเมินผลการปฏิบัติราชการและการพัฒนาปรับปรุงตนเองดังกล่าว ควรมีระยะเวลาไม่เกินสามรอบประเมิน 3.กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาอาจสั่งให้ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาออกจากราชการได้ หากไม่สามารถปฏิบัติราชการได้เป็นที่น่าพอใจ หลังจากที่ลงนามรับทราบการปรับปรุงตนเอง 4.กำหนดให้ผู้ถูกสั่งให้ออกจากราชการมีสิทธิอุทรณ์ต่อสภาสถาบันอุดมศึกษาภายใน 30 วัน.
http://www.thairath.co.th/content/edu/373060