บุหรี่ไฟฟ้า : ยาเสพติดแปลงร่างชนิดใหม่
ข้อมูลของ FDA (กระทรวงอาหารและยาสหรัฐอเมริกา) ระบุว่า เน้นที่การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของบุหรี่ไฟฟ้า ในรายงานใช้คำว่า “acute health risks” และมีข้อความว่า “the danger posed by their toxic chemicals…cannot seriously be questioned” ที่แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงกับผู้บริโภคได้ “including racing pluse, dizziness, slurred speech, mouth ulcers, heartburn, coughing, diarrhea, and sore throat” จึงควรกำหนดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
กลุ่มองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ The American Cancer Society, American Heart Association, American Lung Association, Campaign for Tobacco-Free Kids, American for Nonsmoker’ Rights และ Association for the Treatment of Tobacco Use and Dependence จึงได้ผนึกกำลังกัน เรียกร้องให้เกิดการควบคุมการขายบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ แสดงข้อมูลคัดค้านว่า บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ ซิการ์ และไปป์ เป็นสินค้าที่ทำให้เยาวชนเสพติดนิโคติน และยังไม่มีการพิสูจน์ว่าปลอดภัยจริง
แม้ว่าจะมีการอ้างสรรพคุณว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ จากเอกสารของ FDA ระบุไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดพิสูจน์ได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้า ซิการ์ และไปป์ เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ เป็นเพียงความเข้าใจของผู้ใช้บางกลุ่มเท่านั้น
เอกสารของ FDA ยังระบุด้วยว่า ผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าสูดเอาไอน้ำและสาร Propylene glycol เป็นสารต้านการแข็งตัวในอุตสาหกรรม ที่ทำให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินหายใจ จึงทำให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และจะได้รับนิโคตินซึ่งส่งผลให้เป็นโรคหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษอื่นๆ ที่ส่งผลต่อคนใกล้ชิดได้ด้วย ดังนั้น องค์กรรณรงค์ในอเมริกาจึงห้ามสูบบุหรี่ชนิดนี้ในสถานที่ห้ามสูบบุหรี่ตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสุขภาพประชาชน
ข้อสังเกตที่น่าเป็นห่วงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า
เว็บไซต์ ScienceDaily.com ซึ่งนำเสนองานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่รับทุนจาก Tobacco-Related Disease Research Program (TRDRP) เพียว ทอลบอต ผู้อำนวยการของ UC Riverside’s Stem Cell Center กล่าวว่า นักวิจัยได้ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า 5 ยี่ห้อ ผลการวิจัยระบุว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัย และยังมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารควบคุมยาสูบ “Tobacco Control”
พบข้อสังเกตต่อผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้
ส่วนประกอบต่างๆ ของบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ Batteries, atomizers, cartridges, cartridge wrappers ในแพ็กเก็ตหรือหีบห่อ รวมถึงคู่มือการใช้งาน ไม่ได้ระบุข้อควรระวังและเตือนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากสินค้าตัวนี้
ใน Cartridges ซึ่งเป็นที่เก็บนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดและสารเคมีที่เป็นอันตราย สามารถรั่วออกมาทางรอยต่อของอุปกรณ์บุหรี่ ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง
ในบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการกำจัดสารพิษที่เหมาะสม เช่น ใน Cartridges ที่บรรจุนิโคตินผสมอยู่กับน้ำ เมื่อใช้แล้วก็ย่อมมีการปนเปื้อนของนิโคติน เมื่อนำไปทิ้งก็จะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคพึงระลึกว่า กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การขาย การโฆษณา ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้รับการควบคุมดูแลจากหน่วยงานอาหารและยาของรัฐบาล
การ์เมส อโซตา ผู้บริหารองค์กรวิจัย Tobacco-Related Disease Research Program แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าล้วนเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งผู้ที่เคยทดลองใช้แล้วหรือยังไม่เคยทดลองใช้ ข้อมูลที่ผู้ผลิตและนักการตลาดอ้างว่าปลอดภัย แท้ที่จริงแล้ว ในกระบวนการที่ทำให้เกิดไอน้ำของบุหรี่ไฟฟ้า ยังเป็นกระบวนการที่น่าสงสัยถึงความปลอดภัย และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคมากกว่า เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความร้อนใน Cartridges ที่บรรจุนิโคตินซึ่งเป็นสารพิษ
เรียบเรียงข้อมูลโดย ชูรุณี พิชญกุลมงคล เจ้าหน้าที่โครงการศูนย์ข้อมูลเพื่อการไม่สูบบุหรี่ และโครงการเครือข่ายเฝ้าระวังและรู้ให้ทันธุรกิจบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
www.ashthailand.or.th, www.tobaccowatch.in.th
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เพิ่มเติมเกร็ดความรู้
คนที่สูบบุหรี่ ควรทานวิตามิน C เสริม (a.k.a. ascorbic acid)
เนื่องจาก วิตามินซี เป็น antioxidant
ซึ่งจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงการเป็นมะเร็ง
โดยจากค่า RDA คนกลุ่มนี้ต้องการ Vit.C มากกว่าคนปกติที่ไม่สูบบุหรี่ประมาณ 35 mg/วัน
บุหรี่ไฟฟ้า ปลอดภัยจริงหรือ ?
ข้อมูลของ FDA (กระทรวงอาหารและยาสหรัฐอเมริกา) ระบุว่า เน้นที่การประเมินความปลอดภัยและประสิทธิภาพของบุหรี่ไฟฟ้า ในรายงานใช้คำว่า “acute health risks” และมีข้อความว่า “the danger posed by their toxic chemicals…cannot seriously be questioned” ที่แสดงให้เห็นว่าบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เกิดโรคร้ายแรงกับผู้บริโภคได้ “including racing pluse, dizziness, slurred speech, mouth ulcers, heartburn, coughing, diarrhea, and sore throat” จึงควรกำหนดให้เป็นสิ่งผิดกฎหมาย
กลุ่มองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ในสหรัฐอเมริกา ได้แก่ The American Cancer Society, American Heart Association, American Lung Association, Campaign for Tobacco-Free Kids, American for Nonsmoker’ Rights และ Association for the Treatment of Tobacco Use and Dependence จึงได้ผนึกกำลังกัน เรียกร้องให้เกิดการควบคุมการขายบุหรี่ไฟฟ้า เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มองค์กรรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ แสดงข้อมูลคัดค้านว่า บุหรี่ไฟฟ้า บุหรี่ ซิการ์ และไปป์ เป็นสินค้าที่ทำให้เยาวชนเสพติดนิโคติน และยังไม่มีการพิสูจน์ว่าปลอดภัยจริง
แม้ว่าจะมีการอ้างสรรพคุณว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยเลิกบุหรี่ได้ จากเอกสารของ FDA ระบุไว้ว่า ขณะนี้ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดพิสูจน์ได้ว่า บุหรี่ไฟฟ้า ซิการ์ และไปป์ เป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์ยาสูบที่มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการช่วยเลิกบุหรี่ เป็นเพียงความเข้าใจของผู้ใช้บางกลุ่มเท่านั้น
เว็บไซต์ ScienceDaily.com ซึ่งนำเสนองานวิจัยของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่รับทุนจาก Tobacco-Related Disease Research Program (TRDRP) เพียว ทอลบอต ผู้อำนวยการของ UC Riverside’s Stem Cell Center กล่าวว่า นักวิจัยได้ศึกษาบุหรี่ไฟฟ้า 5 ยี่ห้อ ผลการวิจัยระบุว่า ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าบุหรี่ไฟฟ้ามีความปลอดภัย และยังมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภค และงานวิจัยนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารควบคุมยาสูบ “Tobacco Control”
พบข้อสังเกตต่อผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ดังนี้
ส่วนประกอบต่างๆ ของบุหรี่ไฟฟ้า ได้แก่ Batteries, atomizers, cartridges, cartridge wrappers ในแพ็กเก็ตหรือหีบห่อ รวมถึงคู่มือการใช้งาน ไม่ได้ระบุข้อควรระวังและเตือนถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากสินค้าตัวนี้
ใน Cartridges ซึ่งเป็นที่เก็บนิโคติน ซึ่งเป็นสารเสพติดและสารเคมีที่เป็นอันตราย สามารถรั่วออกมาทางรอยต่อของอุปกรณ์บุหรี่ ทำให้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้รับอันตรายจากควันบุหรี่มือสอง
ในบุหรี่ไฟฟ้าไม่มีการกำจัดสารพิษที่เหมาะสม เช่น ใน Cartridges ที่บรรจุนิโคตินผสมอยู่กับน้ำ เมื่อใช้แล้วก็ย่อมมีการปนเปื้อนของนิโคติน เมื่อนำไปทิ้งก็จะเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม
ผู้บริโภคพึงระลึกว่า กระบวนการผลิต การควบคุมคุณภาพ การขาย การโฆษณา ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้า ไม่ได้รับการควบคุมดูแลจากหน่วยงานอาหารและยาของรัฐบาล
การ์เมส อโซตา ผู้บริหารองค์กรวิจัย Tobacco-Related Disease Research Program แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า งานวิจัยที่เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าล้วนเกิดขึ้นเนื่องจากต้องการปกป้องสุขภาพของผู้บริโภค ทั้งผู้ที่เคยทดลองใช้แล้วหรือยังไม่เคยทดลองใช้ ข้อมูลที่ผู้ผลิตและนักการตลาดอ้างว่าปลอดภัย แท้ที่จริงแล้ว ในกระบวนการที่ทำให้เกิดไอน้ำของบุหรี่ไฟฟ้า ยังเป็นกระบวนการที่น่าสงสัยถึงความปลอดภัย และทำให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคมากกว่า เนื่องจากเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดความร้อนใน Cartridges ที่บรรจุนิโคตินซึ่งเป็นสารพิษ
เรียบเรียงข้อมูลโดย ชูรุณี พิชญกุลมงคล เจ้าหน้าที่โครงการศูนย์ข้อมูลเพื่อการไม่สูบบุหรี่ และโครงการเครือข่ายเฝ้าระวังและรู้ให้ทันธุรกิจบุหรี่ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่
www.ashthailand.or.th, www.tobaccowatch.in.th
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้