ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันเสาร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2556
28 มกราคม 2504 หรือ 3 วันหลังจอห์น เอฟ เคนเนดี สาบานตนรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศเกือบกลายเป็นเหยื่อระเบิดปรมาณูร้ายแรงแบบที่โลกไม่เคยประสบมาก่อนด้วยน้ำมือตัวเอง
ในวันนั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52 ของสหรัฐทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศซีมอร์ จอห์นสัน ในเมืองโกลด์สโบโร รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในภารกิจเฝ้าระวังทางอากาศตลอด 24 ชั่วโมงตามแนวชายฝั่งแอตแลนติกในยุคสงครมเย็น ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งเครื่องบินเกิดรอยรั่วที่ปีกขวาระหว่างเติมน้ำมันกลางอากาศ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ว่าเครื่องบินหมุนคว้างกับลูกเรือ 5 ชีวิตกำลังตกลงมาบนโลก แต่เป็นของที่เครื่องบินบรรทุกอยู่ นั่นคือ
ระเบิดไฮโดรเจน มาร์ค 39 จำนวน 2 ลูก หนัก 4 เมกะตัน หรือเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 4 ล้านตัน ที่มีอานุภาพทำลายล้าง 260 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิราบเป็นหน้ากลองเมื่อ 17 ปีก่อนหน้านั้น
ที่ตั้งของฐานทัพอากาศซีมอร์ จอห์นสัน เมืองโกลด์สโบโร
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพตัวอย่างเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Boeing_B-52_Stratofortress
ลูกเรือส่วนใหญ่ดีดตัวออกมาได้ปลอดภัย ระเบิดที่เครื่องบินบรรทุกก็หลุดออกมาเช่นกัน และโหม่งลงรัฐนอร์ทแคโรไลนา แต่ระเบิดเหล่านี้แม้มีพลังทำลายล้างมหาศาล แต่ก็ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันไว้ด้วยกลไกความปลอดภัย 4 ชั้นและติดชูชีพ
ระเบิดลูกหนึ่งตกลงในไร่ยาสูบใกล้กับเมืองฟาโร รัฐนอร์ทแคโรไลนา แต่ร่มชูชีพเกี่ยวกับกิ่งไม้ไว้ ส่วนอีกลูกตกลงในโคลน แรงกระแทกมากพอทำให้ระเบิดจมหายลงไปใต้ดิน
ภาพระเบิดไฮโดรเจน มาร์ค 39 ที่พบหลังตกลงมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/W39
นับจากนั้น ได้มีการคาดการณ์กันต่างๆ นานาว่า เหตุการณ์ที่โกลด์สโบโรหวุดหวิดฉิวเฉียดแค่ไหนต่อสหรัฐ แต่รัฐบาลปฏิเสธมาตลอดว่า คลังแสงนิวเคลียร์ของตนไม่เคยทำให้ชีวิตพลเมืองตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะออกแบบมาเพื่อป้องกันการระเบิดโดยอุบัติเหตุ
ทว่า 8 ปีให้หลัง ปาร์คเกอร์ โจนส์ วิศวกรอาวุโสแห่งแซนเตีย เนชั่นแนล แลบอราทอรีส์ และเป็นหนึ่งในทีมผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ ได้เขียนรายงานเมื่อปี 2512 ว่า ระเบิดนิวเคลียร์ที่ตกในฟาโรนั้น พบว่ากลไกความปลอดภัยสามตัวไม่ได้ทำงานอย่างเหมาะสม เมื่อตกถึงพื้น สัญญาณยิงถูกส่งไปยังแกนหลักของระเบิดนิวเคลียร์ ดีที่สวิตช์ตัวสุดท้ายช่วยปัดเป่ามหันตภัยไว้ได้
"สวิตช์ไฟแรงต่ำ เทคโนโลยีกำเนิดไฟฟ้าแบบง่ายๆ ตัวเดียวเท่านั้น ที่ขวางสหรัฐอเมริกากับหายนะเอาไว้" รายงานระบุก่อนสรุปว่า ระเบิดมาร์ค 39 มีกลไกความปลอดภัยไม่เพียงพอสำหรับบี-52
รายงานลับของโจนส์ชิ้นนี้ใช้ชื่อว่า "ทบทวนโกลด์สโบโร หรือ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ความไม่น่าไว้ใจของระเบิดไฮโดรเจนอย่างไร" หรือ "Goldsboro Revisited or How I learned to Mistrust the H-Bomb" ล้อชื่อภาพยนตร์เสียดสีการสังหารหมู่ด้วยนิวเคลียร์ของผู้กำกับชื่อดัง สแตนลีย์ คูบริก ปี 2507 เรื่อง Dr.Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb รายงานฉบับนี้ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน กระทั่งนายเอริค ชลอสเซอร์ ผู้สื่อข่าวเชิงสอบสวน ได้ขอมาอยู่ในมือ โดยอาศัยอำนาจกฎหมายเสรีภาพข่าวสาร เพื่อใช้ในการเขียนหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับการสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์ และเผยแพร่ครั้งแรกทางเดอะการ์เดียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นี่จึงเป็นการเปิดเผยครั้งแรกว่า ครั้งหนึ่ง ชาวอเมริกันเกือบตกเป็นเหยื่อความเฉลียวฉลาดด้านเทคโนโลยีของตนเอง โดยหากระเบิดขึ้นมาจริงๆ วอชิงตัน บัลติมอร์ ฟิลาเดลเฟีย และนิวยอร์กซิตี ไม่น่าจะรอด ยากจะจินตนาการได้ว่า การทำลายล้างและความสูญเสียในชีวิตจะมากมายมหาศาลเพียงใด
สหรัฐเกือบแหลกเป็นจุณด้วยระเบิดปรมาณูตัวเอง
28 มกราคม 2504 หรือ 3 วันหลังจอห์น เอฟ เคนเนดี สาบานตนรับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีลำดับที่ 35 ของสหรัฐอเมริกา ชาวอเมริกันแถบชายฝั่งตะวันออกของประเทศเกือบกลายเป็นเหยื่อระเบิดปรมาณูร้ายแรงแบบที่โลกไม่เคยประสบมาก่อนด้วยน้ำมือตัวเอง
ในวันนั้น เครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52 ของสหรัฐทะยานขึ้นจากฐานทัพอากาศซีมอร์ จอห์นสัน ในเมืองโกลด์สโบโร รัฐนอร์ทแคโรไลนา ในภารกิจเฝ้าระวังทางอากาศตลอด 24 ชั่วโมงตามแนวชายฝั่งแอตแลนติกในยุคสงครมเย็น ทุกอย่างดำเนินไปตามปกติ จนกระทั่งเครื่องบินเกิดรอยรั่วที่ปีกขวาระหว่างเติมน้ำมันกลางอากาศ แต่ปัญหาไม่ได้อยู่แค่ว่าเครื่องบินหมุนคว้างกับลูกเรือ 5 ชีวิตกำลังตกลงมาบนโลก แต่เป็นของที่เครื่องบินบรรทุกอยู่ นั่นคือ ระเบิดไฮโดรเจน มาร์ค 39 จำนวน 2 ลูก หนัก 4 เมกะตัน หรือเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 4 ล้านตัน ที่มีอานุภาพทำลายล้าง 260 เท่าของระเบิดนิวเคลียร์ที่ถล่มฮิโระชิมะและนะงะซะกิราบเป็นหน้ากลองเมื่อ 17 ปีก่อนหน้านั้น
ที่ตั้งของฐานทัพอากาศซีมอร์ จอห์นสัน เมืองโกลด์สโบโร
ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพตัวอย่างเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Boeing_B-52_Stratofortress
ลูกเรือส่วนใหญ่ดีดตัวออกมาได้ปลอดภัย ระเบิดที่เครื่องบินบรรทุกก็หลุดออกมาเช่นกัน และโหม่งลงรัฐนอร์ทแคโรไลนา แต่ระเบิดเหล่านี้แม้มีพลังทำลายล้างมหาศาล แต่ก็ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันเหตุไม่คาดฝันไว้ด้วยกลไกความปลอดภัย 4 ชั้นและติดชูชีพ
ระเบิดลูกหนึ่งตกลงในไร่ยาสูบใกล้กับเมืองฟาโร รัฐนอร์ทแคโรไลนา แต่ร่มชูชีพเกี่ยวกับกิ่งไม้ไว้ ส่วนอีกลูกตกลงในโคลน แรงกระแทกมากพอทำให้ระเบิดจมหายลงไปใต้ดิน
ภาพระเบิดไฮโดรเจน มาร์ค 39 ที่พบหลังตกลงมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิดบี 52
ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/W39
นับจากนั้น ได้มีการคาดการณ์กันต่างๆ นานาว่า เหตุการณ์ที่โกลด์สโบโรหวุดหวิดฉิวเฉียดแค่ไหนต่อสหรัฐ แต่รัฐบาลปฏิเสธมาตลอดว่า คลังแสงนิวเคลียร์ของตนไม่เคยทำให้ชีวิตพลเมืองตกอยู่ในความเสี่ยง เพราะออกแบบมาเพื่อป้องกันการระเบิดโดยอุบัติเหตุ
ทว่า 8 ปีให้หลัง ปาร์คเกอร์ โจนส์ วิศวกรอาวุโสแห่งแซนเตีย เนชั่นแนล แลบอราทอรีส์ และเป็นหนึ่งในทีมผู้รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาวุธนิวเคลียร์ ได้เขียนรายงานเมื่อปี 2512 ว่า ระเบิดนิวเคลียร์ที่ตกในฟาโรนั้น พบว่ากลไกความปลอดภัยสามตัวไม่ได้ทำงานอย่างเหมาะสม เมื่อตกถึงพื้น สัญญาณยิงถูกส่งไปยังแกนหลักของระเบิดนิวเคลียร์ ดีที่สวิตช์ตัวสุดท้ายช่วยปัดเป่ามหันตภัยไว้ได้
"สวิตช์ไฟแรงต่ำ เทคโนโลยีกำเนิดไฟฟ้าแบบง่ายๆ ตัวเดียวเท่านั้น ที่ขวางสหรัฐอเมริกากับหายนะเอาไว้" รายงานระบุก่อนสรุปว่า ระเบิดมาร์ค 39 มีกลไกความปลอดภัยไม่เพียงพอสำหรับบี-52
รายงานลับของโจนส์ชิ้นนี้ใช้ชื่อว่า "ทบทวนโกลด์สโบโร หรือ ข้าพเจ้าได้เรียนรู้ความไม่น่าไว้ใจของระเบิดไฮโดรเจนอย่างไร" หรือ "Goldsboro Revisited or How I learned to Mistrust the H-Bomb" ล้อชื่อภาพยนตร์เสียดสีการสังหารหมู่ด้วยนิวเคลียร์ของผู้กำกับชื่อดัง สแตนลีย์ คูบริก ปี 2507 เรื่อง Dr.Strangelove or: How I Learned to Stop Worrying and Love the Bomb รายงานฉบับนี้ไม่เคยถูกเปิดเผยมาก่อน กระทั่งนายเอริค ชลอสเซอร์ ผู้สื่อข่าวเชิงสอบสวน ได้ขอมาอยู่ในมือ โดยอาศัยอำนาจกฎหมายเสรีภาพข่าวสาร เพื่อใช้ในการเขียนหนังสือเล่มใหม่เกี่ยวกับการสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์ และเผยแพร่ครั้งแรกทางเดอะการ์เดียนเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นี่จึงเป็นการเปิดเผยครั้งแรกว่า ครั้งหนึ่ง ชาวอเมริกันเกือบตกเป็นเหยื่อความเฉลียวฉลาดด้านเทคโนโลยีของตนเอง โดยหากระเบิดขึ้นมาจริงๆ วอชิงตัน บัลติมอร์ ฟิลาเดลเฟีย และนิวยอร์กซิตี ไม่น่าจะรอด ยากจะจินตนาการได้ว่า การทำลายล้างและความสูญเสียในชีวิตจะมากมายมหาศาลเพียงใด