คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
เอาใหม่อีกครั้ง หลายคนยังเข้าใจผิด ปรับความคิดกันใหม่
- ถนนพระอาทิตย์ถูกประกาศให้มีทางจักรยานโดยเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2553 เป็น หนึ่งในไม่กี่เส้นทางที่มีกฎหมายรับรอง... แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการใช้บังคับเลย
- กระทั่งไม่นานมานี้ อ.ปริญญา อาสารับเป็นเจ้าภาพในจัดประชุมร้านค้า หน่วยงานต่างๆบนถนนพระอาทิตย์เรื่องทางจักรยาน เราปั่นส่งจดหมายถึงหน่วยงานร้านค้า 70++ แห่งตลอด ถ.พระอาทิตย์ จึงมีการประชุมขอความร่วมมือ ในที่ประชุมมี สำนักจราจรและขนส่ง(สจส.) จาก กทม. รองสารวัตจราจร จาก สน.ชนะสงคราม และร้านค้าองค์กรหน่วยงาน ตลอด ถ.พระอาทิตย์ เราตกลงกันจะทำทางจักรยานให้เป็นทางจักรยาน
- คุณตำรวจจับปรับผู้ขับขี่ที่ทำผิด
- ร้านค้าหน่วยงานองค์กร ช่วยเตือนกันให้ความร่วมมือไม่จอดทับทางจักรยาน
- กทม. ให้ สจส. เอาเสามาตั้งแบ่งกั้นพื้นที่ให้ชัดเจนเพื่อความปลอดภัย แต่เสาที่มีไม่มากพอใช้งาน ต้องทำจดหมาย รออนุมัติ รอการสั่งซื้อ ตามระบบราชการ ขั้นตอนใช้เวลาพอสมควร
- คนปั่นจักรยาน ช่วยอะไรได้ก็ช่วย ยังไม่มีงบหรอคะ เอาเชือกมากั้นก่อนก็ยังดี จะรอสั่งรอขอความช่วยเหลือย่างเดียวก็ดูไม่ดี คงต้องมีการลงมือทำอะไรบ้าง ใครว่างก็มาช่วยกันผูกเชือกนะ หน้าที่หลักของเราคือมาปั่นกันบ่อยๆ
ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์ กำลังใจที่ส่งให้กัน
- ตำรวจยังมาจอดให้กำลังใจว่าสิ่งที่ทำช่วยให้งานน้อยลง “ไม่งั้นผมไม่ต้องไปดูแลถนนเส้นอื่นแน่ได้จับปรับล็อคล้อกันทั้งวัน”
- หลายๆหน่วยงานก็ช่วยดูแล คอยบอกรถที่มาจอด ส่วนที่ไม่ว่างมาคอยเตือนยังบอก “พี่ว่ากั้นเชือกไปเลย เอาเชือกแข็งๆหน่อยนะแบบรถเบียดไม่ขาด”
- คนใช้รถยนต์แม้จะต้องลำบากกว่าเดิมแต่ส่วนมากก็จอดกันเป็นระเบียบตามกฎจราจร (ไม่ใช่แค่ทางจักรยาน แต่รวมถึงเวลาห้ามจอด ไม่จอดทับทางข้ามหรือขวางป้ายรถเมล์) มีแค่ส่วนน้อยที่ยังเผลอจอดผิดที่ผิดทางไปบ้าง คุณตำรวจก็ต้องปรับไปตามระเบียบ
- เราปั่นผ่านไปก็คอยขอบคุณทุกครั้งที่ผ่าน เพื่อนๆลองดูสิ
คนไม่เห็นด้วยมีไหม แน่นอนมีแน่ แต่เราคงอยากเห็นกรุงเทพฯของเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจริงมั้ย ?
ยาวเลย หวังว่าไม่เข้าใจผิดแล้วนะ ^^ ทุกหน่วยองค์กรเข้าทำหน้าที่แล้ว เราคนใช้จักรยาน อย่าลืมไปปั่นกันนะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ แล้วมาช่วยกันเท่าที่ทำได้เพื่อกรุงเทพฯของเรา
FB Page : Bangkok Bicycle Campaign
- ถนนพระอาทิตย์ถูกประกาศให้มีทางจักรยานโดยเจ้าพนักงานจราจรตามกฎหมายตั้งแต่ปี 2553 เป็น หนึ่งในไม่กี่เส้นทางที่มีกฎหมายรับรอง... แต่ที่ผ่านมาไม่เคยมีการใช้บังคับเลย
- กระทั่งไม่นานมานี้ อ.ปริญญา อาสารับเป็นเจ้าภาพในจัดประชุมร้านค้า หน่วยงานต่างๆบนถนนพระอาทิตย์เรื่องทางจักรยาน เราปั่นส่งจดหมายถึงหน่วยงานร้านค้า 70++ แห่งตลอด ถ.พระอาทิตย์ จึงมีการประชุมขอความร่วมมือ ในที่ประชุมมี สำนักจราจรและขนส่ง(สจส.) จาก กทม. รองสารวัตจราจร จาก สน.ชนะสงคราม และร้านค้าองค์กรหน่วยงาน ตลอด ถ.พระอาทิตย์ เราตกลงกันจะทำทางจักรยานให้เป็นทางจักรยาน
- คุณตำรวจจับปรับผู้ขับขี่ที่ทำผิด
- ร้านค้าหน่วยงานองค์กร ช่วยเตือนกันให้ความร่วมมือไม่จอดทับทางจักรยาน
- กทม. ให้ สจส. เอาเสามาตั้งแบ่งกั้นพื้นที่ให้ชัดเจนเพื่อความปลอดภัย แต่เสาที่มีไม่มากพอใช้งาน ต้องทำจดหมาย รออนุมัติ รอการสั่งซื้อ ตามระบบราชการ ขั้นตอนใช้เวลาพอสมควร
- คนปั่นจักรยาน ช่วยอะไรได้ก็ช่วย ยังไม่มีงบหรอคะ เอาเชือกมากั้นก่อนก็ยังดี จะรอสั่งรอขอความช่วยเหลือย่างเดียวก็ดูไม่ดี คงต้องมีการลงมือทำอะไรบ้าง ใครว่างก็มาช่วยกันผูกเชือกนะ หน้าที่หลักของเราคือมาปั่นกันบ่อยๆ
ผ่านมาหนึ่งสัปดาห์ กำลังใจที่ส่งให้กัน
- ตำรวจยังมาจอดให้กำลังใจว่าสิ่งที่ทำช่วยให้งานน้อยลง “ไม่งั้นผมไม่ต้องไปดูแลถนนเส้นอื่นแน่ได้จับปรับล็อคล้อกันทั้งวัน”
- หลายๆหน่วยงานก็ช่วยดูแล คอยบอกรถที่มาจอด ส่วนที่ไม่ว่างมาคอยเตือนยังบอก “พี่ว่ากั้นเชือกไปเลย เอาเชือกแข็งๆหน่อยนะแบบรถเบียดไม่ขาด”
- คนใช้รถยนต์แม้จะต้องลำบากกว่าเดิมแต่ส่วนมากก็จอดกันเป็นระเบียบตามกฎจราจร (ไม่ใช่แค่ทางจักรยาน แต่รวมถึงเวลาห้ามจอด ไม่จอดทับทางข้ามหรือขวางป้ายรถเมล์) มีแค่ส่วนน้อยที่ยังเผลอจอดผิดที่ผิดทางไปบ้าง คุณตำรวจก็ต้องปรับไปตามระเบียบ
- เราปั่นผ่านไปก็คอยขอบคุณทุกครั้งที่ผ่าน เพื่อนๆลองดูสิ
คนไม่เห็นด้วยมีไหม แน่นอนมีแน่ แต่เราคงอยากเห็นกรุงเทพฯของเราเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจริงมั้ย ?
ยาวเลย หวังว่าไม่เข้าใจผิดแล้วนะ ^^ ทุกหน่วยองค์กรเข้าทำหน้าที่แล้ว เราคนใช้จักรยาน อย่าลืมไปปั่นกันนะ
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ แล้วมาช่วยกันเท่าที่ทำได้เพื่อกรุงเทพฯของเรา
FB Page : Bangkok Bicycle Campaign
แสดงความคิดเห็น
ทางจักรยานใน กทม. เป็นผลงานของใคร
เห็นแล้วดีใจจัง และอยากให้มีทั่วๆ กทม. และก็สงสัยว่าเป็นผลงานของใครคะ รัฐบาล คุณชัชชาติ หรือ ผู้ว่า หรือ แต่ละสำนักงานเขตทำกันเอง อยากรู้จะได้ชมถูกคนค่ะ