สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 16
ตอบในฐานะที่เป็นครูคณิตศาสตร์ที่สอนระดับมัธยมในปัจจุบัน แต่เคยมีประสบการณ์สอนระดับประถมมาระยะหนึ่ง ถึงแม้ไม่เคยสอนในระดับชั้นที่จขกท.ถาม แต่ก็เข้าใจคุณครูคะ
ในระดับชั้นเล็กๆ การให้นิยามที่ถูกต้องในทางคณิตศาสตร์สำคัญกับการต่อยอดให้เด็กเกิดการพัฒนาคิดวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้น
3 x 4 ในทางคณิตศาสตร์หมายถึง 4 บวกกัน 3 ตัว นั่นคือ 4+4+4
ขณะที่ 4 X 3 ในทางคณิตศาสตร์หมายถึง 3 บวกกัน 4 ตัว นั่นคือ 3+3+3+3
ซึ่งการสอนในเรื่องนี้เป็นไปตามตัวชี้วัดของรายวิชา ซึ่งเหมาะสมกับระดับชั้นคะ ว่าเด็กควรรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง
การสร้าง concept ที่ถูกต้องจำเป็นคะ เพราะการต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นต้องอาศัยพื้นฐานที่ดี
จขกท.ไม่ต้องกังวลคะว่าเด็กจะคิดนอกกรอบไม่ได้ เพราะคณิตศาสตร์เน้นให้คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว
พอในชั้นที่สูงขั้นก็จะมีการสอนเกี่ยวกับ 3 x 4 = 4 x 3 ซึ่งเป็นไปตามกฎการสลับที่ ซึ่งมันก็จะเป็นพื้นฐานในเรื่องที่สูงขึ้นไปอีก
จขกท.ควรขอบคุณครูคนนี้ด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ละเลยในสิ่งที่มองว่าเล็กน้อย แต่ที่จริงมันสำคัญมากคะ เพราะดิฉันเจอมากับตัวเองว่าเด็กที่ได้ concept มาที่ไม่ชัดเจน พอมาเรียนชั้นสูงขึ้น พอยิ่งเรียนแล้วยิ่งมั่วคะ คือบางทีเข้าใจแต่เขียนสื่อความเป็นขั้นเป็นตอนไม่ได้
ตรงนี้มันเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีลำดับขั้นตอนคะ
ในระดับชั้นเล็กๆ การให้นิยามที่ถูกต้องในทางคณิตศาสตร์สำคัญกับการต่อยอดให้เด็กเกิดการพัฒนาคิดวิเคราะห์ในระดับที่สูงขึ้น
3 x 4 ในทางคณิตศาสตร์หมายถึง 4 บวกกัน 3 ตัว นั่นคือ 4+4+4
ขณะที่ 4 X 3 ในทางคณิตศาสตร์หมายถึง 3 บวกกัน 4 ตัว นั่นคือ 3+3+3+3
ซึ่งการสอนในเรื่องนี้เป็นไปตามตัวชี้วัดของรายวิชา ซึ่งเหมาะสมกับระดับชั้นคะ ว่าเด็กควรรู้และเข้าใจเกี่ยวกับอะไรบ้าง
การสร้าง concept ที่ถูกต้องจำเป็นคะ เพราะการต่อยอดในระดับที่สูงขึ้นต้องอาศัยพื้นฐานที่ดี
จขกท.ไม่ต้องกังวลคะว่าเด็กจะคิดนอกกรอบไม่ได้ เพราะคณิตศาสตร์เน้นให้คิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์อยู่แล้ว
พอในชั้นที่สูงขั้นก็จะมีการสอนเกี่ยวกับ 3 x 4 = 4 x 3 ซึ่งเป็นไปตามกฎการสลับที่ ซึ่งมันก็จะเป็นพื้นฐานในเรื่องที่สูงขึ้นไปอีก
จขกท.ควรขอบคุณครูคนนี้ด้วยซ้ำ เพราะเขาไม่ละเลยในสิ่งที่มองว่าเล็กน้อย แต่ที่จริงมันสำคัญมากคะ เพราะดิฉันเจอมากับตัวเองว่าเด็กที่ได้ concept มาที่ไม่ชัดเจน พอมาเรียนชั้นสูงขึ้น พอยิ่งเรียนแล้วยิ่งมั่วคะ คือบางทีเข้าใจแต่เขียนสื่อความเป็นขั้นเป็นตอนไม่ได้
ตรงนี้มันเกี่ยวกับทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ซึ่งมีลำดับขั้นตอนคะ
ความคิดเห็นที่ 30
ตามนิยามการคูณ 3*4 = 3+3+3+3 ครับ แต่ 4*3 = 4+4+4 ถึงแม้มันเป็น 12 เท่ากันแต่ความหมายทางคณิตศาสตร์ไม่ได้เหมือนกันขนาดนั้น
อย่าลืมนะครับว่ายิ่งพวกคณิตศาสตร์ขั้นสูงเนี่ย mathematical structure หลายอย่างตัว operation มัน noncommutative นะครับ การที่อาจารย์จะซีเรียสกับนิยามมันเป็นเรื่องที่ถูกแล้ว ไม่งั้นคนอย่างพวกคุณกำลังจะทำให้เด็กเสียนิสัยว่าไม่ให้ความสำคัญกับนิยามทางคณิตศาสตร์ สนใจแต่ผลที่มันสำเร็จรูปแล้ว
ไม่งั้นถ้าอยากให้เด็กถูกก็ต้องอ้างว่านิยามการคูณทางซ้าย (ในที่นี้คือ 3*4) กับการคูณทางขวา (คือ 4*3) มัน equivalent กัน และสุดท้ายถึงได้ว่าการคูณคือ operation บนเจำนวนจริงที่มาจากการนิยามการคูณข้างซ้ายและข้างขวาแล้วมันเหมือนกัน เราถึงได้สมบัติการสลับที่ไปในตัว และสามารถสร้างต่อได้ว่ามีเอกลักษณ์การคูณที่มีชื่อว่า 1 และถ้าจำนวน a ที่สนใจไม่เป็น 0 (ซึ่งความจริงควรนิยามมาว่าเป็นเอกลักษณ์การบวก) จะมีเอกลักษณ์การคูณที่มีชื่อว่า 1/a อีกที
อย่าลืมว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่จำนวนจริงกับเชิงซ้อน ถ้าเด็กไม่แม่นนิยามหรือทฤษฎีบทเวลาทำงานที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หนักๆจะมีปัญหาทีหลังนะครับ
ป.ล. พวกที่บอกว่ายึดติดกรอบเคยลองเรียนคณิตศาสตร์จริงๆไหมครับ จะได้รู้มั่งว่านิยามเป็นหัวใจของคณิตศาสตร์แล้วครับ ถ้าไม่รู้นิยาม ทฤษฎีบทก็ตามมาไม่ได้ และของที่พวกคุณใช้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีบททั้งนั้น คนที่กะไอ่แค่นิยามยังจำไม่ได้ก็ไม่ต้องคุยเรื่องสร้าง
อะไรใหม่ๆแล้วครับ เบื่อพวกไม่รู้เรื่องจัง
อย่าลืมนะครับว่ายิ่งพวกคณิตศาสตร์ขั้นสูงเนี่ย mathematical structure หลายอย่างตัว operation มัน noncommutative นะครับ การที่อาจารย์จะซีเรียสกับนิยามมันเป็นเรื่องที่ถูกแล้ว ไม่งั้นคนอย่างพวกคุณกำลังจะทำให้เด็กเสียนิสัยว่าไม่ให้ความสำคัญกับนิยามทางคณิตศาสตร์ สนใจแต่ผลที่มันสำเร็จรูปแล้ว
ไม่งั้นถ้าอยากให้เด็กถูกก็ต้องอ้างว่านิยามการคูณทางซ้าย (ในที่นี้คือ 3*4) กับการคูณทางขวา (คือ 4*3) มัน equivalent กัน และสุดท้ายถึงได้ว่าการคูณคือ operation บนเจำนวนจริงที่มาจากการนิยามการคูณข้างซ้ายและข้างขวาแล้วมันเหมือนกัน เราถึงได้สมบัติการสลับที่ไปในตัว และสามารถสร้างต่อได้ว่ามีเอกลักษณ์การคูณที่มีชื่อว่า 1 และถ้าจำนวน a ที่สนใจไม่เป็น 0 (ซึ่งความจริงควรนิยามมาว่าเป็นเอกลักษณ์การบวก) จะมีเอกลักษณ์การคูณที่มีชื่อว่า 1/a อีกที
อย่าลืมว่าโลกนี้ไม่ได้มีแค่จำนวนจริงกับเชิงซ้อน ถ้าเด็กไม่แม่นนิยามหรือทฤษฎีบทเวลาทำงานที่ต้องใช้วิทยาศาสตร์หรือคณิตศาสตร์หนักๆจะมีปัญหาทีหลังนะครับ
ป.ล. พวกที่บอกว่ายึดติดกรอบเคยลองเรียนคณิตศาสตร์จริงๆไหมครับ จะได้รู้มั่งว่านิยามเป็นหัวใจของคณิตศาสตร์แล้วครับ ถ้าไม่รู้นิยาม ทฤษฎีบทก็ตามมาไม่ได้ และของที่พวกคุณใช้ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีบททั้งนั้น คนที่กะไอ่แค่นิยามยังจำไม่ได้ก็ไม่ต้องคุยเรื่องสร้าง
อะไรใหม่ๆแล้วครับ เบื่อพวกไม่รู้เรื่องจัง
ความคิดเห็นที่ 19
ถ้าเด็กบางคนสามารถวิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์เองได้ว่า 3 x 4 คือ 3 บวกกัน 4 ครั้ง ได้ 3+3+3+3 = 12
หรือเด็กบางคนอาจคิดและเข้าใจอีกแบบหนึ่ง 3 x 4 คือ 4 มาบวกกัน 3 ครั้ง ได้ 4+4+4 = 12
ก็แสดงว่าทุกคนบรรลุหลักการคิดวิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์แล้วนั่นเอง และต่อมาเขาก็จะเรียนรู้เพิ่มเติมได้เองว่าการบวกและการคูณนั้นมีคุณสมบัติการสลับที่กันได้
แต่ปัญหาคือผู้ใหญ่หรือครูหลายคนไม่ได้เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง แต่มัวหลงอยู่กับการสั่งให้ยึดถือเชื่อฟังตายตัวว่าต้องแบบนั้นแบบนี้ ก็เลยทำให้กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ของเด็กหยุดชะงัก ต้องมาจมอยู่กับการเรียนรู้แบบโบราณเดิมๆ เช่น ต้องเชื่อต้องศรัทธาตามนั้นตามนี้ ห้ามสงสัยห้ามคิด ไม่งั้นเจอดี !
หรือเด็กบางคนอาจคิดและเข้าใจอีกแบบหนึ่ง 3 x 4 คือ 4 มาบวกกัน 3 ครั้ง ได้ 4+4+4 = 12
ก็แสดงว่าทุกคนบรรลุหลักการคิดวิเคราะห์ตามหลักคณิตศาสตร์แล้วนั่นเอง และต่อมาเขาก็จะเรียนรู้เพิ่มเติมได้เองว่าการบวกและการคูณนั้นมีคุณสมบัติการสลับที่กันได้
แต่ปัญหาคือผู้ใหญ่หรือครูหลายคนไม่ได้เน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ด้วยตนเอง แต่มัวหลงอยู่กับการสั่งให้ยึดถือเชื่อฟังตายตัวว่าต้องแบบนั้นแบบนี้ ก็เลยทำให้กระบวนการคิดวิเคราะห์เชิงสร้างสรรค์ของเด็กหยุดชะงัก ต้องมาจมอยู่กับการเรียนรู้แบบโบราณเดิมๆ เช่น ต้องเชื่อต้องศรัทธาตามนั้นตามนี้ ห้ามสงสัยห้ามคิด ไม่งั้นเจอดี !
แสดงความคิดเห็น
นิยามโจทย์เลขข้อนี้อของครูคืออะไรหรอคะ
คือเพื่อนแชร์มาในเฟสค่ะ ขอโทษเจ้าของด้วยนะคะที่ไม่ได้ขอก่อนนำลง
ข้อความคือ
แต่ก่อนพอเคยได้ยินเหตุการณ์ทำนองนี้มาบ้าง แต่ไม่คิดว่าจะใกล้ตัว
เรื่องจริงการบ้านของหลาน
คำถาม จงเขียนให้อยู่ในรูปการคูณหรือบวก
4+4+4 =?
หลานตอบ 4x3 ครูให้ผิด เพราะต้องเป็น 3x4
3 x 4 = ?
หลานตอบ 3+3+3+3 ครูให้ผิด เพราะต้องเป็น 4+4+4
เมื่อผู้ปกครองไปถาม ครูให้คำตอบว่า วิธีการถูก แต่นิยามผิด
ไม่ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อให้นักเรียนเข้าใจเหมือนกัน
และครูบอกว่าเรื่องนี้หลานพัฒนาช้ากว่าคนอื่น กำ
เท่าที่เรียนมา ไม่เคยได้ยินนิยามที่เพี้ยนแบบนี้นะ
ชีวิตที่ไม่สามารถคิดนอกกรอบนี้ ช่างทำให้คนเราด้อยพัฒนาลงเรื่อยๆ
โดยส่วนตัวคิดว่าปัญหาน่าจะเกิดตัวบุคคลผู้สอนมากกว่าแบบแผนนะ
_______________________________________
อยากทราบว่า นิยามที่คุณครูบอกคือนิยามแบบไหนคะ (ถามจริงๆค่ะ)
ตอนเด็กเราโม้นิดนึงว่า คณิตเราเกรด 4 ตลอดนะ อยู่บ้านอ่านหนังสือเสริมคณิต 2 เล่ม(คนละอาจารย์เขียน)
เรารู้สึกว่า คณิตมันสนุกมันคิดพลิกแพลงได้ เราชอบเพราะมันเหมือนเรากำลังเล่นเกมเลย
แต่อันนี้เรางงว่า เด็กทำผิดจริงๆหรือ (ถามจริงๆนะคะไม่ประชด) ทุกอย่างต้องเป็นแบบแผนขนาดนั้นเลยหรอคะ
ตอนเราสอบ อาจารย์ให้แสดงวิธีทำ เราไม่ได้แสดงวิธีทำตามที่อาจารย์สอนในห้องแป๊ะๆ แต่เราทำตามที่เราเข้าใจมีที่มาที่ไป อาจารย์ก็ไม่ได้ให้ผิดอะไร
_____________________________________
ขอแท๊กห้องคณิต และ ห้องแม่ๆด้วยนะคะ อยากทราบประสบการณ์ โดยเฉพาะเด็กวันอนุบาลและประถม
เพราะลูกเราอยู่เตรียมอนุบาลค่ะ กำลังเข้าอนุบาล
กังวลมากอยู่ค่ะเพราะที่นี่ต่างจังหวัดค่ะ แต่เราสอนลูก ไม่เหมือนกับที่โรงเรียนสอนเลย
เห็นชัดๆคือเราสอนภาษาลูกแบบโฟนิก แต่ลูกกลับมาจากโรงเรียนแบบนกแก้วนกขุนทอง
และเถียงเราด้วยว่าเราสอนผิด (/me กุมขมับ)