http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=50865
ปาฐกถา
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง “ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกและการปรับตัวของไทย”
ในงาน AIT Charity Dinner Talk
วันพุธที่ 25 กันยายน 2556
ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
นายกสมาคมนักเรียนเก่า
คณาจารย์ ศิษย์เก่า สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับเกียรติจากสมาคมนักเรียนเก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเชิญมาบรรยายในวันนี้
และที่สำคัญที่สุด ผมรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นศิษย์เก่าของ AIT ที่ได้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
หัวข้อปาฐกถาในวันนี้ที่มีชื่อว่า “ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกและการปรับตัวของไทย” นับว่ามี
ความสำคัญสำหรับเศรษฐกิจที่เปิดและมีขนาดเล็ก อย่างประเทศไทย ที่มีความเชื่อมโยงทั้งด้านการเงิน การค้าและการลงทุน กับระบบการเงินโลกสูง โดยเฉพาะในช่วงหลายปีมานี้ที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก ในโอกาสนี้ ผมจึงขอหยิบยกประเด็นที่ผมคิดว่ามีความส าคัญและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจมาน าเสนอ คือ
1) ท าอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยสามารถเชื่อมโยงกับระบบการเงินโลกได้อย่างมีเสถียรภาพ และ
2) ในการเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจการเงินโลก เราจะเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ หรือเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย เพื่อยกระดับรายได้และความกินดีอยู่ดีของประชาชนในระยะยาวได้อย่างไร
ความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยภายใต้ความผันผวนในตลาดการเงินโลก
เป็นที่ทราบดีว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มขึ้นมาก ภายใต้หลักการแบ่งการผลิตตามความสามารถ (Division of Labor)ซึ่งความเชื่อมโยงนี้เอง ท าให้เราได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และสามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศขึ้น จนเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตของโลก (GlobalSupply Chain) แต่ความเชื่อมโยงนี้เช่นกัน ที่กลับมาเป็นความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากวัฏจักรเศรษฐกิจของไทยได้ถูกผูกโยงกับเศรษฐกิจโลก และการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือกลุ่ม G3 รวมถึงการด าเนินนโยบายการเงินการคลังของประเทศเหล่านี้เพื่อแก้ไขปัญหา ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหนีไม่พ้น 2ดังนั้น การที่กลุ่ม G3 ด าเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ผ่านการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินเป็นจ านวนมาก ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบการเงินโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีบางส่วนไหลเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ส่งผลเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจในวัฏจักรปัจจุบัน ซึ่งท าให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องพยายามรักษาเสถียรภาพจากการเติบโตที่เร่งขึ้น ทั้งการดูแลเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน ตลอดจนความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และความมั่นคงของสถาบันการเงิน เพราะไม่ต้องการประสบปัญหาฟองสบู่แตกเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในประเทศใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือประเทศเล็กอย่างกรีซ
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ขณะที่เราเริ่มจะคุ้นชินกับปัญหาเศรษฐกิจการเงินโลกข้างต้น ความท้าทายอีกด้านหนึ่งของเหรียญในการด าเนินนโยบายก็เริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือ การถอยกลับของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเกินปกติของประเทศอุตสาหกรรมหลัก เห็นได้จากการที่ตลาดการเงินโลกค่อนข้างอ่อนไหวกับข่าวในเรื่องการทยอยลดปริมาณคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งในประเด็นนี้ ผมยังคงมองว่า การปรับนโยบายคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ปรับดีขึ้นเป็นล าดับล่าสุดแม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังยืนยันที่จะท าคิวอีที่ระดับเดิมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ด้วยความอ่อนไหวต่อข่าวสารของตลาดการเงิน ท าให้ธนาคารกลางกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมทั้ง ธปท.ยังต้องระมัดระวังและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลความผันผวนไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจจริง แต่เราคงต้องเข้าใจและท าใจว่า การด าเนินนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมหลักคงไม่ได้ให้น้ าหนักมากต่อผลทางเศรษฐกิจที่จะมีกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เพราะเขาต้องดูแลผลประโยชน์ ดูแลการฟื้นตัวของเขาเป็นส าคัญ โดยแม้จะมีการชี้น าตลาดให้ทราบถึงแผนการปรับนโยบายอยู่เนืองๆ แต่ไม่ใช่พันธะสัญญาที่เราจะสามารถยึดถือได้ ดังที่ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ดังนั้น สิ่งส าคัญคือ เราต้องรักษาความยืดหยุ่นของนโยบายที่มีอยู่ โดยรักษาให้มี policy space ที่เพียงพอ ในแง่ของนโยบายการเงิน ก็คือความสามารถที่จะลดดอกเบี้ยได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการมีเครื่องมือและมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน และในแง่ของนโยบายการการคลัง ก็คือความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจ าเป็นต้องรักษาการขาดดุลและระดับหนี้สาธารณะไม่ให้สูงจนเกินไป นอกจากนี้ ทางการเองจ าเป็นที่จะต้องสื่อสารให้นักลงทุนและตลาดมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสถานการณ์และมุมมองต่อภาพเศรษฐกิจการเงินของภาครัฐควบคู่กันไป ตลอดจนหมั่นส ารวจตัวเองไม่ให้มีจุดอ่อนที่จะท าให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากความอ่อนไหวของตลาดการเงินแล้ว ความท้าทายในการดูแลการปรับตัวของเศรษฐกิจไทย
อีกประการในขณะนี้ คือ การที่เศรษฐกิจเอเชียดูเหมือนจะไม่เข้มแข็งเท่ากับที่เคยคาดการณ์ไว้ สะท้อนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งปัญหาขาดดุลการช าระเงินของประเทศอินเดีย และอินโดนีเซีย การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักก็ยังมีความไม่แน่นอน และล่าช้ากว่าที่คิด ทั้งหมดนี้ ส่งผลย้อนให้ภาพการส่งออกของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาด และเมื่อรวมกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอลงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง ท าให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเองไม่ได้3สดใสเหมือนช่วงที่ผ่านมา ในระยะสั้น เราจึงจ าเป็นต้องดูแลปรับปรุงเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนการเติบโต หรือdriver of growth ควบคู่ไปกับการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจและรากฐานที่ดีให้กับเศรษฐกิจ
ในภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงบ้าง แต่คงไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่หลายคนมีความกังวล ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ในระยะหลังมานี้ การขยายตัวของสินเชื่อก็ลดความร้อนแรงลง ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนลงได้บ้าง ทั้งนี้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่ เห็นว่าสินเชื่อจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าผู้ประกอบการและประชาชนจะยังมีสภาพคล่องหล่อเลี้ยงในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น เราก็ติดตามอย่างใกล้ชิด ขอให้ทุกท่านมั่นใจได้ว่าระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในวันนี้แตกต่างจากสถานการณ์เมื่อปี 2540 อย่างสิ้นเชิง ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการเป็น automatic stabilizer ให้กับเศรษฐกิจ ภาคสถาบันการเงินก็เข้มแข็ง มีระบบก ากับตรวจสอบที่ดูแลความเสี่ยงอย่างรอบด้านมากขึ้น มีการกันส ารองอย่างเพียงพอ
นอกจากนี้ เงินส ารองระหว่างประเทศก็อยู่ในระดับสูง ตลอดจนพื้นฐานระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการรับมือกับความผันผวนของเงินทุน แต่เราทุกคนก็ต้องไม่ประมาท เพราะผมพูดได้ว่า เราจะต้องอยู่กับความผันผวนนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ภาคธุรกิจจึงต้องเร่งลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งการลงทุนในเครื่องจักรและแรงงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งต่อฐานะทางการเงิน ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วย
ผู้ว่า ธปท. : ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกและการปรับตัวของไทย
ปาฐกถา
ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
เรื่อง “ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกและการปรับตัวของไทย”
ในงาน AIT Charity Dinner Talk
วันพุธที่ 25 กันยายน 2556
ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ กรุงเทพฯ
นายกสมาคมนักเรียนเก่า
คณาจารย์ ศิษย์เก่า สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
และท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน
ผมรู้สึกยินดีที่ได้รับเกียรติจากสมาคมนักเรียนเก่าสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียเชิญมาบรรยายในวันนี้
และที่สำคัญที่สุด ผมรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้เป็นศิษย์เก่าของ AIT ที่ได้ผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
หัวข้อปาฐกถาในวันนี้ที่มีชื่อว่า “ระบบเศรษฐกิจการเงินโลกและการปรับตัวของไทย” นับว่ามี
ความสำคัญสำหรับเศรษฐกิจที่เปิดและมีขนาดเล็ก อย่างประเทศไทย ที่มีความเชื่อมโยงทั้งด้านการเงิน การค้าและการลงทุน กับระบบการเงินโลกสูง โดยเฉพาะในช่วงหลายปีมานี้ที่ตลาดการเงินโลกมีความผันผวนค่อนข้างมาก ในโอกาสนี้ ผมจึงขอหยิบยกประเด็นที่ผมคิดว่ามีความส าคัญและเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจมาน าเสนอ คือ
1) ท าอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยสามารถเชื่อมโยงกับระบบการเงินโลกได้อย่างมีเสถียรภาพ และ
2) ในการเป็นส่วนหนึ่งของระบบเศรษฐกิจการเงินโลก เราจะเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจ หรือเพิ่ม
ขีดความสามารถในการแข่งขันของเศรษฐกิจไทย เพื่อยกระดับรายได้และความกินดีอยู่ดีของประชาชนในระยะยาวได้อย่างไร
ความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพการเติบโตของเศรษฐกิจไทยภายใต้ความผันผวนในตลาดการเงินโลก
เป็นที่ทราบดีว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ได้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจโลกตามกระแสโลกาภิวัตน์ที่เพิ่มขึ้นมาก ภายใต้หลักการแบ่งการผลิตตามความสามารถ (Division of Labor)ซึ่งความเชื่อมโยงนี้เอง ท าให้เราได้รับประโยชน์จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และสามารถยกระดับผลิตภาพของประเทศขึ้น จนเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิตของโลก (GlobalSupply Chain) แต่ความเชื่อมโยงนี้เช่นกัน ที่กลับมาเป็นความท้าทายในการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจของไทย เนื่องจากวัฏจักรเศรษฐกิจของไทยได้ถูกผูกโยงกับเศรษฐกิจโลก และการค้าระหว่างประเทศมากขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าวิกฤตเศรษฐกิจการเงินที่เกิดขึ้นในประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือกลุ่ม G3 รวมถึงการด าเนินนโยบายการเงินการคลังของประเทศเหล่านี้เพื่อแก้ไขปัญหา ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยอย่างหนีไม่พ้น 2ดังนั้น การที่กลุ่ม G3 ด าเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศ ผ่านการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงินเป็นจ านวนมาก ส่งผลให้ปริมาณเงินในระบบการเงินโลกเพิ่มสูงขึ้น โดยมีบางส่วนไหลเข้ามาลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ ส่งผลเร่งการเติบโตของเศรษฐกิจในวัฏจักรปัจจุบัน ซึ่งท าให้กลุ่มประเทศเหล่านี้ต้องพยายามรักษาเสถียรภาพจากการเติบโตที่เร่งขึ้น ทั้งการดูแลเงินเฟ้อ ความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน ตลอดจนความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่ในสินทรัพย์ประเภทต่างๆ และความมั่นคงของสถาบันการเงิน เพราะไม่ต้องการประสบปัญหาฟองสบู่แตกเช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในประเทศใหญ่อย่าง สหรัฐอเมริกา หรือประเทศเล็กอย่างกรีซ
ท่านผู้มีเกียรติครับ
ขณะที่เราเริ่มจะคุ้นชินกับปัญหาเศรษฐกิจการเงินโลกข้างต้น ความท้าทายอีกด้านหนึ่งของเหรียญในการด าเนินนโยบายก็เริ่มขึ้นแล้ว นั่นก็คือ การถอยกลับของนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเกินปกติของประเทศอุตสาหกรรมหลัก เห็นได้จากการที่ตลาดการเงินโลกค่อนข้างอ่อนไหวกับข่าวในเรื่องการทยอยลดปริมาณคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งในประเด็นนี้ ผมยังคงมองว่า การปรับนโยบายคิวอีของธนาคารกลางสหรัฐฯ น่าจะค่อยเป็นค่อยไปตามภาวะเศรษฐกิจที่ค่อยๆ ปรับดีขึ้นเป็นล าดับล่าสุดแม้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังยืนยันที่จะท าคิวอีที่ระดับเดิมเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแต่ด้วยความอ่อนไหวต่อข่าวสารของตลาดการเงิน ท าให้ธนาคารกลางกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่รวมทั้ง ธปท.ยังต้องระมัดระวังและคอยติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูแลความผันผวนไม่ให้ส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคเศรษฐกิจจริง แต่เราคงต้องเข้าใจและท าใจว่า การด าเนินนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมหลักคงไม่ได้ให้น้ าหนักมากต่อผลทางเศรษฐกิจที่จะมีกับกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ เพราะเขาต้องดูแลผลประโยชน์ ดูแลการฟื้นตัวของเขาเป็นส าคัญ โดยแม้จะมีการชี้น าตลาดให้ทราบถึงแผนการปรับนโยบายอยู่เนืองๆ แต่ไม่ใช่พันธะสัญญาที่เราจะสามารถยึดถือได้ ดังที่ผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ เมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ ดังนั้น สิ่งส าคัญคือ เราต้องรักษาความยืดหยุ่นของนโยบายที่มีอยู่ โดยรักษาให้มี policy space ที่เพียงพอ ในแง่ของนโยบายการเงิน ก็คือความสามารถที่จะลดดอกเบี้ยได้อย่างเหมาะสมตามสภาวะเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการมีเครื่องมือและมาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน และในแง่ของนโยบายการการคลัง ก็คือความสามารถในการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจ าเป็นต้องรักษาการขาดดุลและระดับหนี้สาธารณะไม่ให้สูงจนเกินไป นอกจากนี้ ทางการเองจ าเป็นที่จะต้องสื่อสารให้นักลงทุนและตลาดมีความเข้าใจอย่างชัดเจนถึงสถานการณ์และมุมมองต่อภาพเศรษฐกิจการเงินของภาครัฐควบคู่กันไป ตลอดจนหมั่นส ารวจตัวเองไม่ให้มีจุดอ่อนที่จะท าให้เกิดการสูญเสียความเชื่อมั่นทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ
นอกจากความอ่อนไหวของตลาดการเงินแล้ว ความท้าทายในการดูแลการปรับตัวของเศรษฐกิจไทย
อีกประการในขณะนี้ คือ การที่เศรษฐกิจเอเชียดูเหมือนจะไม่เข้มแข็งเท่ากับที่เคยคาดการณ์ไว้ สะท้อนจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมทั้งปัญหาขาดดุลการช าระเงินของประเทศอินเดีย และอินโดนีเซีย การฟื้นตัวของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลักก็ยังมีความไม่แน่นอน และล่าช้ากว่าที่คิด ทั้งหมดนี้ ส่งผลย้อนให้ภาพการส่งออกของไทยเปลี่ยนแปลงไปจากที่คาด และเมื่อรวมกับการใช้จ่ายภายในประเทศที่ชะลอลงหลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเริ่มทยอยหมดลง ท าให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเองไม่ได้3สดใสเหมือนช่วงที่ผ่านมา ในระยะสั้น เราจึงจ าเป็นต้องดูแลปรับปรุงเครื่องจักรที่ขับเคลื่อนการเติบโต หรือdriver of growth ควบคู่ไปกับการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินของประเทศเพื่อสร้างความมั่นใจและรากฐานที่ดีให้กับเศรษฐกิจ
ในภาพรวม ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่า เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังจะสามารถเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง แม้จะชะลอลงบ้าง แต่คงไม่ได้เข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างที่หลายคนมีความกังวล ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ในระยะหลังมานี้ การขยายตัวของสินเชื่อก็ลดความร้อนแรงลง ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการเพิ่มขึ้นของหนี้ครัวเรือนลงได้บ้าง ทั้งนี้ สถาบันการเงินส่วนใหญ่ เห็นว่าสินเชื่อจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีว่าผู้ประกอบการและประชาชนจะยังมีสภาพคล่องหล่อเลี้ยงในยามที่เศรษฐกิจชะลอตัว ขณะที่ความเสี่ยงจากความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้ายนั้น เราก็ติดตามอย่างใกล้ชิด ขอให้ทุกท่านมั่นใจได้ว่าระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในวันนี้แตกต่างจากสถานการณ์เมื่อปี 2540 อย่างสิ้นเชิง ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นในการเป็น automatic stabilizer ให้กับเศรษฐกิจ ภาคสถาบันการเงินก็เข้มแข็ง มีระบบก ากับตรวจสอบที่ดูแลความเสี่ยงอย่างรอบด้านมากขึ้น มีการกันส ารองอย่างเพียงพอ
นอกจากนี้ เงินส ารองระหว่างประเทศก็อยู่ในระดับสูง ตลอดจนพื้นฐานระบบเศรษฐกิจการเงินไทยในปัจจุบันมีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการรับมือกับความผันผวนของเงินทุน แต่เราทุกคนก็ต้องไม่ประมาท เพราะผมพูดได้ว่า เราจะต้องอยู่กับความผันผวนนี้ไปอีกระยะหนึ่ง ภาคธุรกิจจึงต้องเร่งลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทั้งการลงทุนในเครื่องจักรและแรงงาน เพื่อเพิ่มผลิตภาพ ความสามารถในการแข่งขันและสร้างความแข็งแกร่งต่อฐานะทางการเงิน ซึ่งรวมถึงการเรียนรู้ที่จะป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนด้วย