ชื่อทางการ :สาธารณรัฐเอสโตเนีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Estonia: Republic of Estonia
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ
การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในเอสโตเนีย
แม้ว่าประเทศเอสโตเนียจะอยู่ในเขตอิทธิพลของคริสต์ศาสนามานับหลายศตวรรษ แต่เมื่อปี ค.ศ. 1873 ชายผู้ที่ชื่อ คาร์ล โทนิสสัน (Karl Tonisson) ได้ถือกำเนิดในหมู่บ้านอัมบูสี(Umbusi) ในประเทศเอสโตเนียแห่งนี้ คาร์ล โตนิสสัน เป็นบุคคลแรกที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอสโตเนียและในประเทศแถบคาบสมุทรบอลติกอื่นๆ และก็เป็นบุคคลคนแรกที่ได้ประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นชาวพุทธ คาร์ล โทนิสสันได้รับการพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่มีความพิเศษและมีสีสัน และสไตล์ชีวิตของท่านก็ได้ทำให้ท่านได้ชื่อว่า “โตนิสสันผู้เดินเท้าเปล่า” (Barefooted Tõnisson) ท่านยังมีอีกหลายชื่อว่า พระวหินทระ (Brother Vahindara) มหาตมะบอลติก ( the Baltic Mahatma) พระธรรมทูต (Dhammaduta) และตามพาสปอร์ตของท่านว่า คาร์ลิส เทนนิสัน(Karlis Tennisons)
โทนิสสันได้เข้าศึกษาวิชาปรัชญาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St Petersburg University) และได้พำนักอยู่ในบ้านของ อี.อี. อูห์ทอมสกี (E.E. Uhtomski) ซึ่งเป็นผู้ที่นิยมชาวตะวันออก เพราะบิดาของท่านเป็นกัลยาณมิตรของของท่านอูห์ทอมสกีมานานหลายปี โทนิสสันจึงได้คุ้นเคยกับผู้คนเป็นจำนวนมากที่ได้มาเยี่ยมเยียนที่บ้านของท่านอูห์ทอมสกีทั้งนี้รวมทั้งท่านอัควาน ดอร์ซิเจฟ (Agvan Dorzijev) อาจารย์ของดาไลลามะองค์ที่ 13 และบาร์รอน โรมัน อุนเจม ออน สเติร์นเบิร์ก(Baron Roman Ungem von Sternberg) จากเอสโตเนีย
ในปี ค.ศ. 1893 โทนิสสันได้เดินทางไปที่บูรยาเทีย(Buryatia) เป็นครั้งแรกและท่านได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่นั่น โดยท่านได้ศึกษาอยู่ในบูรยาเทียเป็นเวลาหลายปีและเพราะเหตุนี้ประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในเอสโตเนียจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับบูรยาเทียและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของบูรยาเทีย
โทนิสสันได้เดินทางผ่านเข้าออกรัสเซียและเอเชียในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยท่านมักไปที่วัด เอร์เดน ดซู (Erden Dzuu(Erden Dzuu Monastery) และที่วัดอุรคา(Urgaa) ทั้งนี้ท่านได้ไปพำนักอยู่กับ เอซเอซ ดเยบตซุง ดัมบา ฮุตุขตา (HH Djebtsung Damba Hutukhta) ซึ่งเป็นประมุขชองชาวพุทธมองโกเลีย ในการเดินทางหลายๆครั้งท่านก็มักจะได้พบกับท่านดอร์ยิเอฟ, ท่านอุทเจิร์น วอน สเทิร์นเบิร์ก และท่านทุนดูทอย(Tundutoy) และบุคคลที่ได้เคยได้รู้จักคุ้นเคยจากเมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก
โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกของท่านชื่อ “คำสอนเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้มนุษย์เป็นอมตะ” (Teaching about How a Human Becomes Immortal)เป็นภาษารัสเซีย และหนังสือเล่มนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในกรุงริกาโดยสำนักพิมพ์ G. Budberg’s printing house ในปี ค.ศ. 1909 ที่เมืองทาร์ตู ท่านได้ตีพิมพ์คำโคลงทางพระพุทธศาสนาในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่เท่านได้นำเสนอรูปแบบแพนบัลทูเนีย( Pan-Baltoonia) ของท่านเอง ทั้งนี้โดยได้รับแรงบันดาลใจจากแพนมองโลลิสม์( Pan-Mongolism)
ในปี ค.ศ. 1914 พระเจ้าซาร์ นิโคไลที่ 2 (พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) ได้ทรงอนุมัติให้มีเจ้าหน้าที่ประจำวัดพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก(St Petersburg Buddhist Temple) ซึ่งในครั้งแรกนั้นเจ้าหน้าประจำวัดประกอบด้วยพระ 9 รูป โดยกำหนดให้พระ 5 รูปต้องเป็นพระในนิกายเกลอง นับแต่นั้นมาโทนิสสันก็มีความสัมพันธ์กับวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและอยู่ในบัญชีรายชื่อเจ้าหน้าของวัดแห่งนี้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นโทนิสสันจึงถูกมองว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่วัดแห่งนี้และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโดยท่านดอร์ยิเอฟในปี ค.ศ. 1920
ในปี ค.ศ. 1923 โทนิสสันได้ออกจากวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อหลบหนีจากพวกบอลเชวิก หลังจากที่ได้รับจดหมายจากท่านบอร์ยิเอฟซึ่งได้ขอให้ท่านออกจากเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพราะการอยู่ที่นั่นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ทางสถานทูตเอสโตเนียปฏิเสธที่จะให้วีซาเพื่อให้ท่านเข้าไปอยู่ในประเทศเอสโตเนีย เพราะทางสถานทูตเอสโตเนียได้รับแจ้งในเรื่องกิจกรรมต่างๆของท่านในวัดพระพุทธศาสนาในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โทนิสสันก็จึงเดินทางไปยังสถานทูตลัตเวียและทางสถานทูตได้จัดการเกี่ยวกับเอกสารที่สำคัญให้ท่านจนท่านได้เป็นพลเมืองของลัตเวีย ด้วยเหตุนี้ คาร์ล โทนิสสัน จึงได้เป็นพลเมืองของลัตเวียและและก็มีชื่อในใบเดินทาง(พาสปอร์ต)ว่าพระ คาร์ลิส เทนนิสันส์( Karlis Tennissons) และท่านผู้ก็ได้ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ของเอเชียในเวลาต่อมา
โทนิสสันได้เดินทางไปที่เมืองทาร์ตู(Tartu) ในฐานะพลเมืองของลัตเวีย ท่านได้ไปแสดงปาฐกถา ตีพิมพ์หนังสือ และทำพิธีศาสนาของพระลามะอยู่ที่ย่านถนนกลูนศรี (Kloostri Street) ท่านได้ไปสอนโยคะและพิธีกรรมน้ำอยู่ที่นั่นด้วย ในปี ค.ศ. 1924 ท่านได้ก่อตั้งประชาคมพระพุทธศาสนาลัตเวียแห่งแรกที่กรุงรีกา(Riga) ทั้งนี้โดยได้เช่าตึกหลังหนึ่งแล้วนำมาดัดแปลงทำเป็นวัดขนาดเล็กให้บริการทางพระพุทธศาสนาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เมื่ออายุได้ 50 ปี โทนิสสันก็ได้เข้าร่วมเดินมาราธอนที่ถูกจัดขึ้นโดยสมาคมกีฬาของเอสโตเนียชื่อ กาเลฟ(Kalev) ในปี ค.ศ. 1926 และท่านติดอันดับที่ 3 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 31 นาที 26 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่ดีมากสำหรับคนในวัยของท่าน
ในปี ค.ศ. 1925 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสือของท่านชื่อ สิ่งที่พระเทนนิสสันต้องการจะให้แก่ประชาชนชาวลัตเวีย (What the Buddhist Priest Tennison wants to Give to the Latvian People) ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึงว่าท่านเป็นพระในพระพุทธศาสนา ในปี ค.ศ. 1928 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อมหาอำนาจในอนาคตแพน-บัลทูเนีย( Future Great Power Pan-Baltoonia) และในปี 1930 ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง ข้าพเจ้าและศิษย์ของข้าพเจ้ามีความเชื่อ (Me and My Disciples Believe) (ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Eduard Bergmann’s printing house ในเมืองทาร์ตู) ในระหว่างปี ค.ศ. 1909-1930 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสืออย่างน้อย 16 เล่ม รวมทั้งฉบับที่ตีพิมพ์ใหม่ โดย 13 เล่มตีพิมพ์ในภาษาเอสโตเนีย ( 6 ใน 13 เล่มเป็นผลงานเดิม) 2 เล่มเป็นภาษารัสเซีย และอีก 1 เล่ม เป็นภาษาลัตเวีย
ในทศวรรษปี 1930 โทนิสสันได้พบกับเพื่อนและศิษย์ของท่านที่ชื่อ เฟรดริช ลัสติก (Friedrich Lustig)
โวลเดมาร์ เฟรดริช ลัสติก (Voldemar Friedrich Lustig) เป็นชาวพุทธคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ชาวพุทธแห่งเอสโตเนีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1912 ท่านลัสติก สำเร็จการศึกษาจากนาร์วา ยิมเนเซียม (Narva Gymnasium)ในปี ค.ศ. 1927 และงานกวีนิพนธ์ชิ้นแรกของท่านลัสติก ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เมืองนาร์วาในปีเดียวกันนั้น ในขณะที่แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเมืองนาร์วา ท่านโทนนิสสันก็ได้พบกับท่านลัสติกซึ่งได้มอบตนเป็นศิษย์และเป็นเพื่อนจวบจนวันตายของท่าน
ในปี ค.ศ. 1931 ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้เริ่มออกเดินทางโดยทางเท้าผ่านยุโรปเข้าไปยังเอเชียโดยตั้งใจจะไปที่ทิเบต และในระหว่างปี ค.ศ. 1935-1936 ทั้งสองท่านได้พำนักอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลาปีครึ่ง ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้พำนักอยู่ในวัดไทย ในปี ค.ศ. 1941 ทั้งสองท่านได้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของรัฐบาลไทย(ในสมัยของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม) ลงในหนังสือพิมพ์ไทย เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนญี่ปุ่นและเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก สยาม (SIAM) เป็น ไทยแลนด์(Thailand) อันถือว่าเป็นการถอยหลังออกจากมรดกทางวัฒนธรรมชาวพุทธของสยาม ในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลไทย (ภายใต้การนำของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งหลังการรัฐประหาร) ได้เนรเทศพระเอสโทเนียทั้งสองรูปไปอยู่ที่ประเทศพม่า
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกจึงได้เข้าไปตั้งหลักอยู่ในพม่า ซึ่งในกาลต่อมาท่านลัสติกได้เป็นหัวหน้าห้องสมุดแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง ในพม่านี่เองที่ท่านลัสติกเป็นที่รู้จักในนามของกวีชาวพุทธและท่านได้ทำการแปลกวีนิพนธ์ในพม่าเป็นภาษาอังกฤษ ท่านโทนิสสันและศิษย์ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่นครย่างกุ้ง ท่านโทนิสสันมรณภาพเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 ในพม่า ในสมณเพศ
โดยเหตุนี้ ชาวเอสโตเนียจึงมีพระอรหันต์เป็นองค์แรกของพวกเขา และก็มีพระโพธิสัตว์องค์แรกของพวกเขาอีกเหมือนกัน ก่อนมรณภาพ ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้เป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการของชาวพุทธบอลติกในโลกตะวันตก และองค์ดาไลลามะองค์ที่ 13 ก็ได้แต่งตั้งท่านโทนิสสันเป็นอารค์บิชอฟ(พระสังฆราช)แห่งเอสโตเนีย, ลัตเวีย และลิทัวเนีย พระองค์แรก (the first Buddhist Archbishop of Estonia, Latvia and Lithuania) ในขณะที่เอสทัวเนียถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียตอยู่นั้น ท่านทั้งสองไม่สามารถทำการติดต่อกับประชาชนในดินแดนมาตุภูมิของท่านทั้งสองได้ และก็ไม่มีชาวพุทธคนอื่นๆในเอสโตเนีย ทั้งนี้เพราะกิจกรรมทางศาสนาถูกห้ามมิให้กระทำได้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1989 ท่านลัสติกได้มรณภาพ ที่นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า
พุทธในเอสโตเนีย
ชื่อทางการ :สาธารณรัฐเอสโตเนีย
ชื่อภาษาอังกฤษ : Estonia: Republic of Estonia
ระบอบการปกครอง : สาธารณรัฐ
การเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาในเอสโตเนีย
แม้ว่าประเทศเอสโตเนียจะอยู่ในเขตอิทธิพลของคริสต์ศาสนามานับหลายศตวรรษ แต่เมื่อปี ค.ศ. 1873 ชายผู้ที่ชื่อ คาร์ล โทนิสสัน (Karl Tonisson) ได้ถือกำเนิดในหมู่บ้านอัมบูสี(Umbusi) ในประเทศเอสโตเนียแห่งนี้ คาร์ล โตนิสสัน เป็นบุคคลแรกที่ได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอสโตเนียและในประเทศแถบคาบสมุทรบอลติกอื่นๆ และก็เป็นบุคคลคนแรกที่ได้ประกาศตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นชาวพุทธ คาร์ล โทนิสสันได้รับการพิจารณาโดยทั่วไปว่าเป็นบุคคลที่มีความพิเศษและมีสีสัน และสไตล์ชีวิตของท่านก็ได้ทำให้ท่านได้ชื่อว่า “โตนิสสันผู้เดินเท้าเปล่า” (Barefooted Tõnisson) ท่านยังมีอีกหลายชื่อว่า พระวหินทระ (Brother Vahindara) มหาตมะบอลติก ( the Baltic Mahatma) พระธรรมทูต (Dhammaduta) และตามพาสปอร์ตของท่านว่า คาร์ลิส เทนนิสัน(Karlis Tennisons)
โทนิสสันได้เข้าศึกษาวิชาปรัชญาอยู่ที่มหาวิทยาลัยเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก (St Petersburg University) และได้พำนักอยู่ในบ้านของ อี.อี. อูห์ทอมสกี (E.E. Uhtomski) ซึ่งเป็นผู้ที่นิยมชาวตะวันออก เพราะบิดาของท่านเป็นกัลยาณมิตรของของท่านอูห์ทอมสกีมานานหลายปี โทนิสสันจึงได้คุ้นเคยกับผู้คนเป็นจำนวนมากที่ได้มาเยี่ยมเยียนที่บ้านของท่านอูห์ทอมสกีทั้งนี้รวมทั้งท่านอัควาน ดอร์ซิเจฟ (Agvan Dorzijev) อาจารย์ของดาไลลามะองค์ที่ 13 และบาร์รอน โรมัน อุนเจม ออน สเติร์นเบิร์ก(Baron Roman Ungem von Sternberg) จากเอสโตเนีย
ในปี ค.ศ. 1893 โทนิสสันได้เดินทางไปที่บูรยาเทีย(Buryatia) เป็นครั้งแรกและท่านได้ไปศึกษาพระพุทธศาสนาที่นั่น โดยท่านได้ศึกษาอยู่ในบูรยาเทียเป็นเวลาหลายปีและเพราะเหตุนี้ประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาในเอสโตเนียจึงมีความสัมพันธ์โดยตรงกับบูรยาเทียและประเพณีทางพระพุทธศาสนาของบูรยาเทีย
โทนิสสันได้เดินทางผ่านเข้าออกรัสเซียและเอเชียในช่วงทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยท่านมักไปที่วัด เอร์เดน ดซู (Erden Dzuu(Erden Dzuu Monastery) และที่วัดอุรคา(Urgaa) ทั้งนี้ท่านได้ไปพำนักอยู่กับ เอซเอซ ดเยบตซุง ดัมบา ฮุตุขตา (HH Djebtsung Damba Hutukhta) ซึ่งเป็นประมุขชองชาวพุทธมองโกเลีย ในการเดินทางหลายๆครั้งท่านก็มักจะได้พบกับท่านดอร์ยิเอฟ, ท่านอุทเจิร์น วอน สเทิร์นเบิร์ก และท่านทุนดูทอย(Tundutoy) และบุคคลที่ได้เคยได้รู้จักคุ้นเคยจากเมืองเซนต์ ปีเตอร์สเบิร์ก
โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสือเล่มแรกของท่านชื่อ “คำสอนเกี่ยวกับวิธีที่จะทำให้มนุษย์เป็นอมตะ” (Teaching about How a Human Becomes Immortal)เป็นภาษารัสเซีย และหนังสือเล่มนี้ได้ถูกตีพิมพ์ในกรุงริกาโดยสำนักพิมพ์ G. Budberg’s printing house ในปี ค.ศ. 1909 ที่เมืองทาร์ตู ท่านได้ตีพิมพ์คำโคลงทางพระพุทธศาสนาในหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกที่เท่านได้นำเสนอรูปแบบแพนบัลทูเนีย( Pan-Baltoonia) ของท่านเอง ทั้งนี้โดยได้รับแรงบันดาลใจจากแพนมองโลลิสม์( Pan-Mongolism)
ในปี ค.ศ. 1914 พระเจ้าซาร์ นิโคไลที่ 2 (พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2) ได้ทรงอนุมัติให้มีเจ้าหน้าที่ประจำวัดพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก(St Petersburg Buddhist Temple) ซึ่งในครั้งแรกนั้นเจ้าหน้าประจำวัดประกอบด้วยพระ 9 รูป โดยกำหนดให้พระ 5 รูปต้องเป็นพระในนิกายเกลอง นับแต่นั้นมาโทนิสสันก็มีความสัมพันธ์กับวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กและอยู่ในบัญชีรายชื่อเจ้าหน้าของวัดแห่งนี้อย่างเป็นทางการ ดังนั้นโทนิสสันจึงถูกมองว่าเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าที่วัดแห่งนี้และได้รับแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าของวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กโดยท่านดอร์ยิเอฟในปี ค.ศ. 1920
ในปี ค.ศ. 1923 โทนิสสันได้ออกจากวัดพระพุทธศาสนาเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพื่อหลบหนีจากพวกบอลเชวิก หลังจากที่ได้รับจดหมายจากท่านบอร์ยิเอฟซึ่งได้ขอให้ท่านออกจากเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กเพราะการอยู่ที่นั่นจะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรง ทางสถานทูตเอสโตเนียปฏิเสธที่จะให้วีซาเพื่อให้ท่านเข้าไปอยู่ในประเทศเอสโตเนีย เพราะทางสถานทูตเอสโตเนียได้รับแจ้งในเรื่องกิจกรรมต่างๆของท่านในวัดพระพุทธศาสนาในเมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก โทนิสสันก็จึงเดินทางไปยังสถานทูตลัตเวียและทางสถานทูตได้จัดการเกี่ยวกับเอกสารที่สำคัญให้ท่านจนท่านได้เป็นพลเมืองของลัตเวีย ด้วยเหตุนี้ คาร์ล โทนิสสัน จึงได้เป็นพลเมืองของลัตเวียและและก็มีชื่อในใบเดินทาง(พาสปอร์ต)ว่าพระ คาร์ลิส เทนนิสันส์( Karlis Tennissons) และท่านผู้ก็ได้ถูกจารึกลงในประวัติศาสตร์ของเอเชียในเวลาต่อมา
โทนิสสันได้เดินทางไปที่เมืองทาร์ตู(Tartu) ในฐานะพลเมืองของลัตเวีย ท่านได้ไปแสดงปาฐกถา ตีพิมพ์หนังสือ และทำพิธีศาสนาของพระลามะอยู่ที่ย่านถนนกลูนศรี (Kloostri Street) ท่านได้ไปสอนโยคะและพิธีกรรมน้ำอยู่ที่นั่นด้วย ในปี ค.ศ. 1924 ท่านได้ก่อตั้งประชาคมพระพุทธศาสนาลัตเวียแห่งแรกที่กรุงรีกา(Riga) ทั้งนี้โดยได้เช่าตึกหลังหนึ่งแล้วนำมาดัดแปลงทำเป็นวัดขนาดเล็กให้บริการทางพระพุทธศาสนาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เมื่ออายุได้ 50 ปี โทนิสสันก็ได้เข้าร่วมเดินมาราธอนที่ถูกจัดขึ้นโดยสมาคมกีฬาของเอสโตเนียชื่อ กาเลฟ(Kalev) ในปี ค.ศ. 1926 และท่านติดอันดับที่ 3 โดยใช้เวลาทั้งสิ้น 3 ชั่วโมง 31 นาที 26 วินาที ซึ่งถือว่าเป็นสถิติที่ดีมากสำหรับคนในวัยของท่าน
ในปี ค.ศ. 1925 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสือของท่านชื่อ สิ่งที่พระเทนนิสสันต้องการจะให้แก่ประชาชนชาวลัตเวีย (What the Buddhist Priest Tennison wants to Give to the Latvian People) ซึ่งในหนังสือได้กล่าวถึงว่าท่านเป็นพระในพระพุทธศาสนา ในปี ค.ศ. 1928 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสืออีกเล่มหนึ่งชื่อมหาอำนาจในอนาคตแพน-บัลทูเนีย( Future Great Power Pan-Baltoonia) และในปี 1930 ก็ได้ตีพิมพ์หนังสือเรื่อง ข้าพเจ้าและศิษย์ของข้าพเจ้ามีความเชื่อ (Me and My Disciples Believe) (ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Eduard Bergmann’s printing house ในเมืองทาร์ตู) ในระหว่างปี ค.ศ. 1909-1930 โทนิสสันได้ตีพิมพ์หนังสืออย่างน้อย 16 เล่ม รวมทั้งฉบับที่ตีพิมพ์ใหม่ โดย 13 เล่มตีพิมพ์ในภาษาเอสโตเนีย ( 6 ใน 13 เล่มเป็นผลงานเดิม) 2 เล่มเป็นภาษารัสเซีย และอีก 1 เล่ม เป็นภาษาลัตเวีย
ในทศวรรษปี 1930 โทนิสสันได้พบกับเพื่อนและศิษย์ของท่านที่ชื่อ เฟรดริช ลัสติก (Friedrich Lustig)
โวลเดมาร์ เฟรดริช ลัสติก (Voldemar Friedrich Lustig) เป็นชาวพุทธคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์ชาวพุทธแห่งเอสโตเนีย ท่านเกิดเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1912 ท่านลัสติก สำเร็จการศึกษาจากนาร์วา ยิมเนเซียม (Narva Gymnasium)ในปี ค.ศ. 1927 และงานกวีนิพนธ์ชิ้นแรกของท่านลัสติก ถูกตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เมืองนาร์วาในปีเดียวกันนั้น ในขณะที่แสดงปาฐกถาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในเมืองนาร์วา ท่านโทนนิสสันก็ได้พบกับท่านลัสติกซึ่งได้มอบตนเป็นศิษย์และเป็นเพื่อนจวบจนวันตายของท่าน
ในปี ค.ศ. 1931 ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้เริ่มออกเดินทางโดยทางเท้าผ่านยุโรปเข้าไปยังเอเชียโดยตั้งใจจะไปที่ทิเบต และในระหว่างปี ค.ศ. 1935-1936 ทั้งสองท่านได้พำนักอยู่ในประเทศจีนเป็นเวลาปีครึ่ง ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้พำนักอยู่ในวัดไทย ในปี ค.ศ. 1941 ทั้งสองท่านได้เขียนบทความวิพากษ์วิจารณ์การเมืองของรัฐบาลไทย(ในสมัยของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม) ลงในหนังสือพิมพ์ไทย เกี่ยวกับเรื่องที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุนญี่ปุ่นและเปลี่ยนแปลงชื่อประเทศจาก สยาม (SIAM) เป็น ไทยแลนด์(Thailand) อันถือว่าเป็นการถอยหลังออกจากมรดกทางวัฒนธรรมชาวพุทธของสยาม ในปี ค.ศ. 1949 รัฐบาลไทย (ภายใต้การนำของจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ซึ่งกลับมามีอำนาจอีกครั้งหนึ่งหลังการรัฐประหาร) ได้เนรเทศพระเอสโทเนียทั้งสองรูปไปอยู่ที่ประเทศพม่า
จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกจึงได้เข้าไปตั้งหลักอยู่ในพม่า ซึ่งในกาลต่อมาท่านลัสติกได้เป็นหัวหน้าห้องสมุดแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง ในพม่านี่เองที่ท่านลัสติกเป็นที่รู้จักในนามของกวีชาวพุทธและท่านได้ทำการแปลกวีนิพนธ์ในพม่าเป็นภาษาอังกฤษ ท่านโทนิสสันและศิษย์ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่ที่นครย่างกุ้ง ท่านโทนิสสันมรณภาพเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1962 ในพม่า ในสมณเพศ
โดยเหตุนี้ ชาวเอสโตเนียจึงมีพระอรหันต์เป็นองค์แรกของพวกเขา และก็มีพระโพธิสัตว์องค์แรกของพวกเขาอีกเหมือนกัน ก่อนมรณภาพ ท่านโทนิสสันและท่านลัสติกได้เป็นผู้แทนอย่างเป็นทางการของชาวพุทธบอลติกในโลกตะวันตก และองค์ดาไลลามะองค์ที่ 13 ก็ได้แต่งตั้งท่านโทนิสสันเป็นอารค์บิชอฟ(พระสังฆราช)แห่งเอสโตเนีย, ลัตเวีย และลิทัวเนีย พระองค์แรก (the first Buddhist Archbishop of Estonia, Latvia and Lithuania) ในขณะที่เอสทัวเนียถูกยึดครองโดยสหภาพโซเวียตอยู่นั้น ท่านทั้งสองไม่สามารถทำการติดต่อกับประชาชนในดินแดนมาตุภูมิของท่านทั้งสองได้ และก็ไม่มีชาวพุทธคนอื่นๆในเอสโตเนีย ทั้งนี้เพราะกิจกรรมทางศาสนาถูกห้ามมิให้กระทำได้อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1989 ท่านลัสติกได้มรณภาพ ที่นครย่างกุ้ง ประเทศพม่า