เทศกาลออกพรรษาใกล้มาถึงอีกแล้ว (เสาร์ 19 ตุลา) ซึ่งเดี๋ยวประเด็นเรื่อง บั้งไฟพญานาค คงกลับมาให้ได้ถกเถียงกันอีกครั้ง ... อย่างปีนี้ ผมก็กะว่าจะตามทีมงานบริษัทสารคดีเจ้าหนึ่งไปสังเกตการณ์ โดยใช้อุปกรณ์หลายๆ อย่างและก็มีความร่วมมือช่วยเหลือจากหลายๆ ฝ่ายในการตั้งกล้องจับตาดูการเกิดของ "ลูกไฟประหลาดแห่งลำน้ำโขง" ว่ามันจะขึ้นมาจากกลางน้ำจริงหรือไม่
เมื่อปีก่อน ผมได้ช่วยเผยแพร่ผลงานของ "สมภพและคณะ" ในการถ่ายภาพบั้งไฟพญานาคแบบเปิดหน้ากล้องนานๆ ทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว จนได้ข้อสันนิษฐานใหม่ที่มีน้ำหนักมากว่า "บั้งไฟพญานาค ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ" และก็นำไปสู่การรื้อฟื้นการถกเถียงประเด็นนี้ในสังคมอีกครั้ง อย่างเช่นที่ผมได้จัดเสวนาที่จุฬาฯ
และไปร่วมเสวนากับคุณหมอมนัส ที่ ร.พ. สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
ปีนี้ ก็เลยอยากที่จะสานต่อเรื่องที่ออกปากไว้ในปีก่อน จากที่ประกาศอย่างไม่เป็นทางการว่า จะให้รางวัล 1 หมื่นบาท สำหรับใครคนแรกที่สามารถถ่ายภาพด้วยวิธีเปิดหน้ากล้องนานๆ จนพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาคนั้น ผุดขึ้นจากน้ำ ไปในอากาศเป็นสิบๆ เมตรได้ .... ซึ่งปีนี้ ผมอยากจะประกาศออกไปอีกครั้ง แต่ให้มีกฏเกณฑ์รัดกุมหน่อย เลยอยากได้ความเห็นทั้งทางวิทย์และทางการถ่ายภาพ ว่าจะต้องตั้งเกณฑ์อย่างไรบ้างถึงจะไม่มีปัญหาครับ
ที่คิดไว้ก็เช่น
1. ให้ถ่ายรูปด้วยกล้อง dSLR เท่านั้น ไม่จำกัดยี่ห้อและขนาดของเลนส์ ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อความนิ่ง
2. ถ่ายภาพโดยเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาทีต่อภาพ
3. ระบุตำแหน่งพิกัด GPS ที่ถ่าย รวมทั้งทิศที่กล้องหันไป (ดูได้จากโปรแกรมต่างๆ ในมือถือ)
4. นำภาพแบบ JPG ไปโพสต์ขึ้นที่เฟซบุ้ค (ของสมภพ) เพื่อบันทึกเวลาว่าส่งเมื่อไร
5. แล้วส่งไฟล์ภาพแบบ RAW ที่ยังไม่ได้ผ่านการตัดต่อใดๆ ตามมาด้วย เพื่อนำไปตรวจเช็คอีกครั้ง
6. ภาพที่จะได้รางวัล คือภาพแรก ที่ถ่ายให้เห็นได้ว่าลูกไฟประหลาดนั้น พุ่งขึ้นมาจากกลางลำน้ำโขง และพุ่งขึ้นไปบนฟ้าได้เป็นสิบๆ เมตร
คิดว่าควรปรับแก้ยังไงบ้างครับ ผมกะว่าจะต้องเปิดหน้ากล้องให้นาน 30 วินาทีต่อภาพ เพื่อให้ภาพมันสว่างพอจะเห็นพื้นที่รอบๆ ว่าไม่มีเรือไฟ หรืออะไรที่จะไปแอบจุดในน้ำได้ ... ไม่รู้ว่า 30 วินาที มันจะทำให้ถ่ายยากไปหรือเปล่า (รูปของ สมภพ ข้างล่างนี้ ใช้ 15 วินาที ซึ่งผมว่ามันยังไม่นานพอจะเห็นจุดขึ้นของไฟได้ชัดๆ)
จะจัดประกวดถ่ายภาพบั้งไฟพญานาค ต้องตั้งกติกายังไงให้รัดกุมดีครับ
เมื่อปีก่อน ผมได้ช่วยเผยแพร่ผลงานของ "สมภพและคณะ" ในการถ่ายภาพบั้งไฟพญานาคแบบเปิดหน้ากล้องนานๆ ทั้งในฝั่งไทยและฝั่งลาว จนได้ข้อสันนิษฐานใหม่ที่มีน้ำหนักมากว่า "บั้งไฟพญานาค ไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ" และก็นำไปสู่การรื้อฟื้นการถกเถียงประเด็นนี้ในสังคมอีกครั้ง อย่างเช่นที่ผมได้จัดเสวนาที่จุฬาฯ
และไปร่วมเสวนากับคุณหมอมนัส ที่ ร.พ. สรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี
ปีนี้ ก็เลยอยากที่จะสานต่อเรื่องที่ออกปากไว้ในปีก่อน จากที่ประกาศอย่างไม่เป็นทางการว่า จะให้รางวัล 1 หมื่นบาท สำหรับใครคนแรกที่สามารถถ่ายภาพด้วยวิธีเปิดหน้ากล้องนานๆ จนพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาคนั้น ผุดขึ้นจากน้ำ ไปในอากาศเป็นสิบๆ เมตรได้ .... ซึ่งปีนี้ ผมอยากจะประกาศออกไปอีกครั้ง แต่ให้มีกฏเกณฑ์รัดกุมหน่อย เลยอยากได้ความเห็นทั้งทางวิทย์และทางการถ่ายภาพ ว่าจะต้องตั้งเกณฑ์อย่างไรบ้างถึงจะไม่มีปัญหาครับ
ที่คิดไว้ก็เช่น
1. ให้ถ่ายรูปด้วยกล้อง dSLR เท่านั้น ไม่จำกัดยี่ห้อและขนาดของเลนส์ ใช้ขาตั้งกล้องเพื่อความนิ่ง
2. ถ่ายภาพโดยเปิดหน้ากล้องนาน 30 วินาทีต่อภาพ
3. ระบุตำแหน่งพิกัด GPS ที่ถ่าย รวมทั้งทิศที่กล้องหันไป (ดูได้จากโปรแกรมต่างๆ ในมือถือ)
4. นำภาพแบบ JPG ไปโพสต์ขึ้นที่เฟซบุ้ค (ของสมภพ) เพื่อบันทึกเวลาว่าส่งเมื่อไร
5. แล้วส่งไฟล์ภาพแบบ RAW ที่ยังไม่ได้ผ่านการตัดต่อใดๆ ตามมาด้วย เพื่อนำไปตรวจเช็คอีกครั้ง
6. ภาพที่จะได้รางวัล คือภาพแรก ที่ถ่ายให้เห็นได้ว่าลูกไฟประหลาดนั้น พุ่งขึ้นมาจากกลางลำน้ำโขง และพุ่งขึ้นไปบนฟ้าได้เป็นสิบๆ เมตร
คิดว่าควรปรับแก้ยังไงบ้างครับ ผมกะว่าจะต้องเปิดหน้ากล้องให้นาน 30 วินาทีต่อภาพ เพื่อให้ภาพมันสว่างพอจะเห็นพื้นที่รอบๆ ว่าไม่มีเรือไฟ หรืออะไรที่จะไปแอบจุดในน้ำได้ ... ไม่รู้ว่า 30 วินาที มันจะทำให้ถ่ายยากไปหรือเปล่า (รูปของ สมภพ ข้างล่างนี้ ใช้ 15 วินาที ซึ่งผมว่ามันยังไม่นานพอจะเห็นจุดขึ้นของไฟได้ชัดๆ)