เราลงทุนตามข่าวลือ เขาบอกมา หรือ จากการวิเคราะห์ของเราเองครับ
เล่าลือมากขึ้น วิเคราะห์น้อยลง
โดย : ดร.บวร ปภัสราทร / bangkokbiznews
เราต้องตัดสินใจกันอยู่ทุกวันไม่ว่าจะทำหน้าที่การงานใดก็ตาม ซึ่งการตัดสินใจที่ดีนั้นรู้กันอยู่ทั่วไปว่าจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างพอเพียงก่อนการตัดสินใจ
แต่หากมีเรื่องที่ต้องตัดสินเป็นประจำอยู่มากมายหลายเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงก็เลยมีบ้าง ไม่มีบ้าง และการวิเคราะห์หลายเรื่องก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เป็นผลให้หลายคนละเลยการวิเคราะห์ แล้วหันไปพึ่งพาคำเล่าลือแทน ซึ่งการใช้คำเล่าลือมาช่วยในการตัดสินใจนั้นง่ายกว่าการวิเคราะห์มากมายนัก แค่บอกว่าเคยได้ทราบมาว่าเรื่องนี้ต้องตัดสินใจแบบนี้แล้วจะได้ผลดีนานาประการติดตามมา ได้ยินคำเล่าลือมาในทำนองนี้ ก็ตัดสินใจไปตามนั้นเลย โดยเฉพาะถ้ามีสิ่งที่ดูเหมือนจะสนับสนุนคำเล่าลือนั้นให้เห็นอยู่ใกล้ๆ ตัว ยิ่งน่าเชื่อตามคำเล่าลือนั้น แต่ลืมไปว่าคนเราเลือกรับรู้ในสิ่งที่เราอยากให้เป็นไปตามนั้น มากกว่าจะยอมออกแรงอีกนิดหน่อย
เพื่อวิเคราะห์หาความจริงที่เป็นความจริงอย่างแท้จริง เราจึงมองเห็นแต่หลักฐานสนับสนุนคำเล่าลือที่เราอยากจะเชื่อ แต่เราไม่ยอมมองหลักฐานที่ช่วยปฏิเสธว่าคำเล่าลือที่เราอยากเชื่อว่าเป็นความจริงนั้นไม่เป็นความจริง การตัดสินใจตามคำเล่าลือจึงให้ความสุขจากการตัดสินใจมากกว่าตัดสินใจตามผลการวิเคราะห์ที่บ่งบอกความจริง แล้วบังเอิญความจริงนั้นไม่ตรงกับที่เราอยากให้เป็นจริง
ถ้าลองทบทวนการตัดสินใจที่ได้กระทำผ่านมาแล้วดูสักหน่อย จะพบว่าเมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มใช้คำเล่าลือมาช่วยตัดสินใจ เมื่อนั้นการวิเคราะห์จะลดลงไปอย่างมาก ใช้คำเล่าลือหนึ่งส่วน จะทำให้การวิเคราะห์ลดลงมากกว่าหนึ่งส่วน และหากตัดสินใจตามคำเล่าลือแล้วได้ผลดีขึ้นมา จะโดยเหตุบังเอิญหรือเหตุใดก็แล้วแต่ ผลนั้นจะยิ่งสนับสนุนให้มีการตัดสินใจโดยอาศัยคำเล่าลือกันมากขึ้นตามมาด้วย ดังนั้น หากเป็นการตัดสินใจที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้คำเล่าลือสักสามสี่วันก่อนการตัดสินใจ ปิดหูปิดตาไม่รับรู้สารพัดคำเล่าลือสักพัก เพื่อป้องกันไม่ให้ละเลยการวิเคราะห์ แล้วหันมาพึ่งพาคำเล่าลือแทน เราจะยอมวิเคราะห์อย่างจริงจังต่อเมื่อเราไม่มีเครื่องมืออย่างอื่นที่ใช้ได้ง่ายๆ มาช่วยการตัดสินใจ การปิดหูปิดตาไม่รับฟังคำเล่าลือล่วงหน้าก่อนการตัดสินจึงเป็นการกระตุ้นตัวเราให้พยายามคิดวิเคราะห์เรื่องนั้นอย่างจริงจัง
ท่านใดที่คิดจะตัดสินใจตามคำเล่าลือ ต้องทบทวนอีกครั้งก่อนว่าคำเล่าลือที่จริงแล้วเป็นแค่เขาเล่าว่าของใครสักคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยปราศจากข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอ เพียงแต่อาจมีการหยิบยกเหตุการณ์บางเหตุการณ์ขึ้นมาสนับสนุน ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เล่าลือว่าสมุนไพรอย่างหนึ่งช่วยลดน้ำหนักได้ มีการยกตัวอย่างว่าตนเองทดลองมาแล้วว่าตัวเองลดน้ำหนักได้จริง โดยไม่ปรากฏว่ามีการทดลองใช้งานอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลสถิติสนับสนุนผลการทดลองนั้น ถ้าเป็นคนที่อยากลดน้ำหนักพอได้ยินคำเล่าลือนี้ก็เปิดใจเชื่อทันที เพราะตรงกับสิ่งที่อยากให้เป็นจริงพอดีอีกด้วย ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ใส่ใจเรื่องการลดน้ำหนัก เมื่อได้ยินคำเล่าลือนี้จะรู้ตัวทันทีว่าดูแปลกๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะตรึกตรองมากขึ้นก่อนการตัดสินใจ เมื่อใดก็ตามที่เราอยากให้เรื่องใดเรื่องจริงเป็นจริงตามที่เราอยากให้เป็น เมื่อนั้นเราจะให้น้ำหนักกับคำเล่าลือมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้น จะตัดสินใจเรื่องสำคัญเรื่องใด อย่าเทใจไปในทางใดทางหนึ่งก่อนการตัดสินใจ ไม่เช่นนั้นคำเล่าลือรอบตัวจะมาทดแทนข้อมูลและความจริง
การเอาชนะคำเล่าลือไม่ให้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่องสำคัญ กระทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่มากมายในแต่ละวัน และเมื่อต้องอยู่กับสังคมที่ละเลยข้อมูล ข้อเท็จจริง หนทางหนึ่งคือลองถามตัวเองว่าคำเล่าลือนั้นเป็นเหตุเป็นผลมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราลำเอียงไปในทางที่อยากให้คำเล่าลือนั้นเป็นจริง ยิ่งต้องแข็งใจถกเถียงกับตัวเองก่อนว่าด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เราสะสมมานั้น คำเล่าลือที่เราชอบนั้นมีโอกาสเป็นจริงด้วยหนทางใด เป็นจริงได้ด้วยสถานการณ์อะไร และมีโอกาสแค่ไหนที่จะเกิดสถานการณ์นั้นได้ ซึ่งคำถามที่กล่าวมานั้น หากไม่หลงคำเล่าลือถึงขั้นไม่รับความจริง ยอมจมอยู่กับอุปาทานของตนแล้ว ปุถุชนทั่วไปจะเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเล่าลือเริ่มลบล้างข้อมูลและความจริงแล้ว ไม่ว่าจะอยากเชื่อคำเล่าลือนั้นมากแค่ไหนก็ตาม ก่อนเชื่อต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าคำเล่าลือนั้นจะเป็นจริงได้ในสถานการณ์ใด มีโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์นั้นได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าสำนึกได้ว่าคำเล่าลือนั้นไม่มีคำตอบอย่างมีเหตุมีผลพอเพียง หมายความว่าเราหลุดรอดจากความหลงคำเล่าลือนั้นได้แล้ว และให้เร่งเดินหน้าวิเคราะห์ข้อมูลและความจริงอย่างจริงจังต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกไว้เสมอว่าหลุดไปหลงคำเล่าลือนั้นง่ายดายนัก แต่การที่จะหลุดจากความหลงคำเล่าลือนั้นยากกว่ามากทีเดียว
อีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้หลุดจากการหลงคำเล่าลือได้คือลองถามตนเองว่า ถ้าตัดสินใจตามคำเล่าลือที่อยากให้เป็นจริงนั้นแล้ว เราต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงอะไรบ้าง และความเสี่ยงเหล่านั้นกระทบความอยู่รอด ความยั่งยืนขององค์กรของเราและของตัวเรามากน้อยเพียงใด ความเสี่ยงมากมายที่ได้พบเห็นอาจจะช่วยปลุกให้เราได้สติแล้วหันมาวิเคราะห์มากขึ้น ไม่เห็นความเสี่ยงอย่างชัดๆ อย่าเร่งรัดเชื่อถือคำเล่าลือ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
เล่าลือมากขึ้น วิเคราะห์น้อยลง
เล่าลือมากขึ้น วิเคราะห์น้อยลง
โดย : ดร.บวร ปภัสราทร / bangkokbiznews
เราต้องตัดสินใจกันอยู่ทุกวันไม่ว่าจะทำหน้าที่การงานใดก็ตาม ซึ่งการตัดสินใจที่ดีนั้นรู้กันอยู่ทั่วไปว่าจะต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างพอเพียงก่อนการตัดสินใจ
แต่หากมีเรื่องที่ต้องตัดสินเป็นประจำอยู่มากมายหลายเรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริงก็เลยมีบ้าง ไม่มีบ้าง และการวิเคราะห์หลายเรื่องก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เป็นผลให้หลายคนละเลยการวิเคราะห์ แล้วหันไปพึ่งพาคำเล่าลือแทน ซึ่งการใช้คำเล่าลือมาช่วยในการตัดสินใจนั้นง่ายกว่าการวิเคราะห์มากมายนัก แค่บอกว่าเคยได้ทราบมาว่าเรื่องนี้ต้องตัดสินใจแบบนี้แล้วจะได้ผลดีนานาประการติดตามมา ได้ยินคำเล่าลือมาในทำนองนี้ ก็ตัดสินใจไปตามนั้นเลย โดยเฉพาะถ้ามีสิ่งที่ดูเหมือนจะสนับสนุนคำเล่าลือนั้นให้เห็นอยู่ใกล้ๆ ตัว ยิ่งน่าเชื่อตามคำเล่าลือนั้น แต่ลืมไปว่าคนเราเลือกรับรู้ในสิ่งที่เราอยากให้เป็นไปตามนั้น มากกว่าจะยอมออกแรงอีกนิดหน่อย
เพื่อวิเคราะห์หาความจริงที่เป็นความจริงอย่างแท้จริง เราจึงมองเห็นแต่หลักฐานสนับสนุนคำเล่าลือที่เราอยากจะเชื่อ แต่เราไม่ยอมมองหลักฐานที่ช่วยปฏิเสธว่าคำเล่าลือที่เราอยากเชื่อว่าเป็นความจริงนั้นไม่เป็นความจริง การตัดสินใจตามคำเล่าลือจึงให้ความสุขจากการตัดสินใจมากกว่าตัดสินใจตามผลการวิเคราะห์ที่บ่งบอกความจริง แล้วบังเอิญความจริงนั้นไม่ตรงกับที่เราอยากให้เป็นจริง
ถ้าลองทบทวนการตัดสินใจที่ได้กระทำผ่านมาแล้วดูสักหน่อย จะพบว่าเมื่อใดก็ตามที่เราเริ่มใช้คำเล่าลือมาช่วยตัดสินใจ เมื่อนั้นการวิเคราะห์จะลดลงไปอย่างมาก ใช้คำเล่าลือหนึ่งส่วน จะทำให้การวิเคราะห์ลดลงมากกว่าหนึ่งส่วน และหากตัดสินใจตามคำเล่าลือแล้วได้ผลดีขึ้นมา จะโดยเหตุบังเอิญหรือเหตุใดก็แล้วแต่ ผลนั้นจะยิ่งสนับสนุนให้มีการตัดสินใจโดยอาศัยคำเล่าลือกันมากขึ้นตามมาด้วย ดังนั้น หากเป็นการตัดสินใจที่สำคัญต้องหลีกเลี่ยงการรับรู้คำเล่าลือสักสามสี่วันก่อนการตัดสินใจ ปิดหูปิดตาไม่รับรู้สารพัดคำเล่าลือสักพัก เพื่อป้องกันไม่ให้ละเลยการวิเคราะห์ แล้วหันมาพึ่งพาคำเล่าลือแทน เราจะยอมวิเคราะห์อย่างจริงจังต่อเมื่อเราไม่มีเครื่องมืออย่างอื่นที่ใช้ได้ง่ายๆ มาช่วยการตัดสินใจ การปิดหูปิดตาไม่รับฟังคำเล่าลือล่วงหน้าก่อนการตัดสินจึงเป็นการกระตุ้นตัวเราให้พยายามคิดวิเคราะห์เรื่องนั้นอย่างจริงจัง
ท่านใดที่คิดจะตัดสินใจตามคำเล่าลือ ต้องทบทวนอีกครั้งก่อนว่าคำเล่าลือที่จริงแล้วเป็นแค่เขาเล่าว่าของใครสักคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่ง โดยปราศจากข้อมูลสนับสนุนที่เพียงพอ เพียงแต่อาจมีการหยิบยกเหตุการณ์บางเหตุการณ์ขึ้นมาสนับสนุน ซึ่งไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เล่าลือว่าสมุนไพรอย่างหนึ่งช่วยลดน้ำหนักได้ มีการยกตัวอย่างว่าตนเองทดลองมาแล้วว่าตัวเองลดน้ำหนักได้จริง โดยไม่ปรากฏว่ามีการทดลองใช้งานอย่างกว้างขวาง มีข้อมูลสถิติสนับสนุนผลการทดลองนั้น ถ้าเป็นคนที่อยากลดน้ำหนักพอได้ยินคำเล่าลือนี้ก็เปิดใจเชื่อทันที เพราะตรงกับสิ่งที่อยากให้เป็นจริงพอดีอีกด้วย ถ้าเป็นคนที่ไม่ได้ใส่ใจเรื่องการลดน้ำหนัก เมื่อได้ยินคำเล่าลือนี้จะรู้ตัวทันทีว่าดูแปลกๆ และมีความเป็นไปได้ที่จะตรึกตรองมากขึ้นก่อนการตัดสินใจ เมื่อใดก็ตามที่เราอยากให้เรื่องใดเรื่องจริงเป็นจริงตามที่เราอยากให้เป็น เมื่อนั้นเราจะให้น้ำหนักกับคำเล่าลือมากกว่าการวิเคราะห์ข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ ดังนั้น จะตัดสินใจเรื่องสำคัญเรื่องใด อย่าเทใจไปในทางใดทางหนึ่งก่อนการตัดสินใจ ไม่เช่นนั้นคำเล่าลือรอบตัวจะมาทดแทนข้อมูลและความจริง
การเอาชนะคำเล่าลือไม่ให้ส่งอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่องสำคัญ กระทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะเมื่อมีเรื่องที่ต้องตัดสินใจอยู่มากมายในแต่ละวัน และเมื่อต้องอยู่กับสังคมที่ละเลยข้อมูล ข้อเท็จจริง หนทางหนึ่งคือลองถามตัวเองว่าคำเล่าลือนั้นเป็นเหตุเป็นผลมากน้อยแค่ไหน ถ้าเราลำเอียงไปในทางที่อยากให้คำเล่าลือนั้นเป็นจริง ยิ่งต้องแข็งใจถกเถียงกับตัวเองก่อนว่าด้วยความรู้และประสบการณ์ที่เราสะสมมานั้น คำเล่าลือที่เราชอบนั้นมีโอกาสเป็นจริงด้วยหนทางใด เป็นจริงได้ด้วยสถานการณ์อะไร และมีโอกาสแค่ไหนที่จะเกิดสถานการณ์นั้นได้ ซึ่งคำถามที่กล่าวมานั้น หากไม่หลงคำเล่าลือถึงขั้นไม่รับความจริง ยอมจมอยู่กับอุปาทานของตนแล้ว ปุถุชนทั่วไปจะเริ่มรู้ตัวแล้วว่าเล่าลือเริ่มลบล้างข้อมูลและความจริงแล้ว ไม่ว่าจะอยากเชื่อคำเล่าลือนั้นมากแค่ไหนก็ตาม ก่อนเชื่อต้องตอบตัวเองให้ได้ก่อนว่าคำเล่าลือนั้นจะเป็นจริงได้ในสถานการณ์ใด มีโอกาสที่จะเกิดสถานการณ์นั้นได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าสำนึกได้ว่าคำเล่าลือนั้นไม่มีคำตอบอย่างมีเหตุมีผลพอเพียง หมายความว่าเราหลุดรอดจากความหลงคำเล่าลือนั้นได้แล้ว และให้เร่งเดินหน้าวิเคราะห์ข้อมูลและความจริงอย่างจริงจังต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ต้องระลึกไว้เสมอว่าหลุดไปหลงคำเล่าลือนั้นง่ายดายนัก แต่การที่จะหลุดจากความหลงคำเล่าลือนั้นยากกว่ามากทีเดียว
อีกทางหนึ่งที่จะช่วยให้หลุดจากการหลงคำเล่าลือได้คือลองถามตนเองว่า ถ้าตัดสินใจตามคำเล่าลือที่อยากให้เป็นจริงนั้นแล้ว เราต้องเผชิญหน้ากับความเสี่ยงอะไรบ้าง และความเสี่ยงเหล่านั้นกระทบความอยู่รอด ความยั่งยืนขององค์กรของเราและของตัวเรามากน้อยเพียงใด ความเสี่ยงมากมายที่ได้พบเห็นอาจจะช่วยปลุกให้เราได้สติแล้วหันมาวิเคราะห์มากขึ้น ไม่เห็นความเสี่ยงอย่างชัดๆ อย่าเร่งรัดเชื่อถือคำเล่าลือ
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376