"ทุนนิยม" ในสหรัฐอเมริกา มันรุนแรงขนาดไหนครับ? ถึงสร้างหนังเสียดสีได้เรื่อยๆ เลย

มีใครก็ไม่รู้เคยบอกว่า "วรรณกรรมนั้นมีหน้าที่ 2 ด้านในตัวมันเอง ด้านหนึ่งเป็นการบอกเล่าถึงความคิดของคนในยุคสมัยที่มันถูกเขียนขึ้นมา อีกด้านหนึ่งคือการช่วยปลอบประโลมใจผู้คนในยุคสมัยนั้น จากความโหดร้ายของโลกแห่งความจริง"

ก็เห็นจะเป็นจริง ถ้าเราดูจากการ์ตูนดังๆ ทั้งของฝรั่งและญี่ปุ่น เราอาจแยกประเภทได้

2 Hero ที่ไม่ได้มีพลังพิเศษ เป็นคนธรรมดาๆ ที่มีทักษะการต่อสู้สูงอย่าง Batman ( DC Comics ) และ Punisher ( Marvel Comics ) ถูกเขียนขึ้นในยุคที่อาชญากรรมในสหรัฐอเมริกาเฟื่องฟู

ขณะที่ตัวการ์ตูน ที่กลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของสังคมอเมริกันอย่าง Captain America ( Marvel Comics ) ถือกำเนิดจากเป็นเพียงการ์ตูนรณรงค์ให้คนอเมริกันบริจาคเงินช่วยทหารอเมริกัน ( รวมถึงเชิญชวนให้หนุ่มๆ สมัครเป็นทหาร ) ที่ไปรบในสงครามโลกครั้งที่ 2

เช่นเดียวกัน พวกมนุษย์กลายพันธุ์อย่าง X-Men ( Marvel Comics ) เป็นการเสียดสีการแบ่งแยกผิว , พวกรักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ในช่วงยุค 1960's - 1970's

ทีนี้ถ้าเราจะนับ "ภาพยนตร์" เป็นวรรณกรรมแบบเดียวกับนิยาย , การ์ตูนไปด้วย ก็คงไม่ผิดนัก เพราะภาพยนตร์ก็ต้องมีบท มีการเล่าเรื่อง ต่างกันก็เพียงผู้เสพใช้การรับสารด้วยการ "ดู" ไม่ใช่ "อ่าน" ก็เท่านั้น

ซึ่งใครที่ดูหนังฝั่งอเมริกัน Hollywood บ่อยๆ จะเห็นว่ามีภาพยนตร์จำนวนมาก ที่ชอบหยิบเรื่องราวของคนตัวเล็กตัวน้อย ที่พยายามจะโค่นล้ม หรือเอาชนะระบบหลักที่ปกครองดินแดนแห่งนั้นเสมอ ทั้งที่ใช้ฉากหลังเป็นแผ่นดินสหรัฐอเมริกาเอง ไปจนถึงไซไฟล้ำยุค ที่กล่าวถึงโลกอนาคตที่มีการแบ่งแยกชนชั้นอยู่เสมอ

ทีมตัวเอกของภาพยนตร์เหล่านี้ มักจะเป็นพวกเด็กกำพร้า เด็กมีปัญหาที่เคยมีพฤติกรรมก้าวร้าว ( ทะเลาะวิวาทไปจนถึงเป็นโจร ) ไปจนถึงมนุษย์เงินเดือนธรรมดาๆ ที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดแม้แต่จะทำผิดกฏหมายเล็กๆ น้อยๆ ( พยายามเป็นเด็กดีในระบบให้ได้มากที่สุด ) จนถูกกระทำบางอย่าง จนต้องหันไปเล่นนอกวิถีปกติที่สังคมกำหนด เพื่อโค่นล้มระบบแทน

พร้อมๆ ไปกับการเสียดสีพวกที่ใส่สูทผูกไทด์ ( สัญลักษณ์ของชนชั้นกลาง - สูงในสังคมตะวันตก ) ว่าเป็นพวกดีแต่พูดบ้าง  ฆาตกรเลือดเย็นบ้าง จอมขูดเลือดขูดเนื้อคนยากจนบ้าง

( ถ้านึกไม่ออก ลองดูหนังตลกเรื่องนี้นะครับ Tower Heist ถึงหน้าหนังจะดูตลกเพราะได้  Eddie Murphy กับ Ben Stiller แสดงนำ แต่เนื้อเรื่องเป็นการเสียดสีสังคม Ben Stiller พระเอกเรื่องนี้รับบทเป็นผู้จัดการโรงแรม ส่วน Eddie Murphy เป็นโจรที่เพิ่งพ้นโทษ ตอนแรกทั้งคู่ไม่ถูกกันเลย แต่พอพวกลูกน้องของพระเอกที่เป็นพนักงานในโรงแรมด้วยกัน โดนนักปั่นหุ้นโกงเงินที่เก็บหอมรอมริบมาทั้งชีวิต ถึงนักปั่นหุ้นจะถูกจับได้ แต่ศาลย่อมบังคับให้ชดใช้กับคนที่รวยๆ ก่อน พวกพระเอกที่เป็นคนตัวเล็กตัวน้อยในสังคมโอกาสได้เงินคืนมีน้อย จึงไปขอให้ตัวละครของ Eddie Murphy มาช่วยวางแผน "ปล้น" ทรัพย์สินของนักปั่นหุ้นคนดังกล่าว )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




หรือหนังฟอร์มยักษ์ ( ที่ภาคล่าสุดกำลังจะมีคนไทยอย่าง Tony Jaa ไปร่วมกับเขาด้วย ) ที่ผ่านมาแล้ว 6 ภาค กับ Fast & Furious ที่เริ่มจากการเป็นหนังแข่งรถนอกกฏหมาย ( Street Racing - แข่งกันบนถนนไม่ใช่ในสนาม ) มาจนถึงกลายเป็น "โรบินฮู้ดซิ่งรถ" ( แก๊งค์โจรที่ปล้นพวกที่ชั่วร้ายกว่า แม้จะเป็นการปล้น แต่ก็เป็นการช่วยโลกไว้ด้วย ) ไปแล้ว

F&F Serious แม้จะเป็นหนังแข่งรถ แต่เนื้อเรื่องเป็นการต่อต้านกระแสสังคมหลักไม่น้อย Dominic "Dom" Toretto ( Vin Diesel ) เป็นหัวหน้าแก๊งค์ซิ่ง ขณะที่ Brian O'Conner ( Paul Walker ) เป็นตำรวจ ถ้าตามกรอบสถานะย่อมต้องเป็นคู่ตรงข้ามกัน แต่กลับกลายมาเป็นพวกเดียวกัน ในฐานะของคำสั้นๆ ว่า "ครอบครัว"

ผมเคยเขียนวิจารณ์ Fast 6 ( จริงๆ ต้องเป็นทั้ง Series เลย ) ว่าบทภาพยนตร์พยายามให้เห็นว่า..บางทีพวกที่อยู่นอกกฏเกณฑ์ต่างๆ อาจจะดูอบอุ่นกว่าพวกที่อยู่ในกรอบก็ได้ เพราะคนพวกนี้เป็นครอบครัวเดียวกัน ไว้ใจกัน และ ( อาจจะ ) พร้อมร่วมทุกข์ี้ร่วมสุขไปด้วยกัน

http://ppantip.com/topic/30526766 กระทู้นี้นะครับ

ส่วนอันนี้เป็นตัวอย่างหนัง ( ใน 6 ภาค ผมกลับชอบภาค 5 มากกว่านะ ที่สำคัญ Ost. ภาคนี้โดนมากๆ Danza Kuduro )

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ




เช่นเดียวกัน กระบวนการยุติธรรมของอเมริกัน ถูกเสียดสีไปเยอะพอสมควร หลายครั้งที่คนทำหนัง มักหยิบเรื่องของคนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ด้วยช่องโหว่ของกลไกตามระบบ จนต้องลุกขึ้นมาแก้แค้นด้วยตัวเอง พร้อมกับท้าทายระบบหลักด้วย เช่น Law Abiding Citizen ที่ได้ Gerard Butler กับ Jamie Foxx แสดงนำ

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ



จริงๆ หนัง Hollywood แนวนี้มีเยอะมาก ( อันนี้ผมเลือกเฉพาะที่ดูแล้วชอบ และหลายคนน่าจะนึกออก ) แสดงว่า plot ทำนองนี้น่าจะเป็นที่นิยมในสังคมอเมริกันไม่น้อย ซึ่งก็มีคนตั้งข้อสังเกตว่า..ระบบ "ทุนนิยม" ในสหรัฐอเมริกา มีความรุนแรงและเหลื่อมล้ำค่อนข้างมาก ดังนั้นหนังที่มี plot เป็นคนตัวเล็กตัวน้อย ที่อยู่ดีๆ ก็ลุกขึ้นมาท้าทายระบบหลัก จึงได้รับความนิยมมาก

นัยว่าเป็นการปลอบประโลมใจคนอเมริกัน ว่าคนตัวเล็กๆ ยังมีความหวังที่จะต่อสู้กับระบบที่โหดร้ายในสังคมของเขา

( เช่นเดียวกับละครไทย แต่ละครไทยกลับไปปลอบประโลมว่า คนตัวเล็กๆ ถ้าโชคชะตาพลิกผัน อาจได้ตกถังข้าวสาร ได้แต่งงานกับชายหรือหญิงที่มาจากครอบครัวสูงส่งกว่า รวยกว่า เราเน้นเรื่องโชค มากกว่าความพยายาม )

สงสัยครับ ว่าทุนนิยมในอเมริกา มันโหดร้ายขนาดนั้นเลยหรอครับ?
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
อเมกาทุกวันนี้ก็แทบไม่ต่างกันกับเมืองไทยเรานะ ในแนวทางปฏิบัติ(ย้ำว่าในสายตาเรานะ)

ผู้คนเน้นหรูหราฟูฟ่า กินดี อยู่ดี ซื้อบ้านดีๆหลังใหญ่ๆอยู่ มีรถใช้กันทุกคน ใช้เงินบัตรเครดิตกันเต็มที่

เสื้อผ้าแพงๆ กระเป๋าแบรนด์ดีๆ รองเท้าสวยๆ มือถือ คนดูดีต้องมีรถ ต้องทำงานดีๆ

งานเงินเดือนน้อยๆคนก็ไม่อยากทำแล้ว นอกจากพวกนักเรียนกับคนต่างชาติที่อพยพเข้ามา

ใครมีเงินเยอะกว่าก็สะดวกสบายกว่า แต่ค่าแรงขั้นต่ำของประเทศไม่ได้สูงขนาดนั้นเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ

ในขณะเดียวกัน ตอนเราอยู่ออส หรือเนเธอร์แลนด์มันไม่ใช่เลยนะ ค่าแรงขั้นต่ำเค้าสูงมากเมื่อเทียบกับค่าครองชีพ

ผู้คนมีอำนาจซื้อสูง แต่กลับไม่ค่อยมีนิสัยอวดรวย อวดมีกันอะ

ทั้งๆที่ตามอัตราแล้วประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงกว่าคนเมกันซะอีก

ทุกวันนี้คนไทยเราก็ไม่ต่าง แข่งกันมีเสื้อผ้าดีๆ กินดีๆ รถสวยๆ มือถือดีๆ ใชของดีๆ

อันนี้เราไม่ได้ว่าทุกคนนะ แต่เท่าที่เห็นมันเป็นแบบนั้นอะ แล้วก็ไม่ค่อยอยากจะยอมรับกันว่าเป็นแบบนั้นกัน

ความคิดเห็นที่ 10
คิดว่าคนเมกาจำนวนมากภูมิใจว่า ทุนนิยม เป็นส่วนที่สร้างประเทศขึ้นมาให้เป็นอย่างปัจจุบัน
เขาต้องทำงานหนัก ช่วยตัวเอง ไม่ต้องให้รัฐมาช่วยมากนัก ขอให้รัฐกำกับดูเเลให้ free เเละก็ fair พอ  (ไม่งั้นก็เป็น สังคมนิยม ไป)
ทำมาก ได้มาก ทำน้อย ก็น่าจะได้น้อย จะมางอมืองอเท้าให้รัฐเลี้ยงตลอดได้ไง  บางคนจึงดูถูกคนอื่นที่ต้องพึ่ง food stamps (เวลาตกงาน รัฐอาจจะช่วยค่าอาหารในระยะเวลาสั้นๆ)

มีเพื่อนคนเมกาที่มีเงินจากกองมรดกเยอะมาก เเล้วก็เลยไม่ทำงานเป็นชิ้นเป็นอันอะไร เพื่อนคนอื่นๆก็ไม่เห็นจะยกย่อง ให้เกียรติอะไร ติดจะดูถูกหน่อยๆว่า ไม่มีปัญญาทำงานหาเงินเอง กระจอก ใช้เงินกองมรดก
ความคิดเห็นที่ 3
สหรัฐอเมริกาไม่เพียงเป็นทุนนิยมธรรมดา แต่เป็นทุนนิยมระดับ......จักรวรรดิ์นิยม  หมายถึงการล่าเมืองขึ้นเมืองอื่นอยู่ใต้อาณานิคม แต่เปลี่ยนหน้าตาหน่อยที่ไม่ได้ใช้กำลังทหารแบบสมัย ร.5 คือเปลี่ยนมาเป็นการล่าในทางเศรษฐกิจ  ไม่ต้องดูอื่นไกล ดูไทยแลนด์นี่แหละที่ถูกล่ามาเป็นเวลา 100 กว่าปีมาแล้ว ทุกวันนี้ยังเป็นทาสอเมริกาอยู่เลย..........ไม่ทราบว่ามองออกหรือเปล่า?
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่