หลังความสำเร็จของผลงานจาก 石ノ森章太郎 ( Ishinomori Shotaro) ร่วมกับ 東映 (โตเอะ) เรื่อง 『がんばれ!!ロボコン』( เจ้าหุ่นคอมพิวเตอร์) ที่ออกฉายทุกวันศุกร์ เวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม ทางสถานี NET ( ปัจจุบันคือสถานี อาซาฮี ) ตั้งแต่ 4 ตุลาคม 1974 จนถึง 25 มีนาคมปี 1977 รวม 131 ตอน) และต่อด้วยเรื่อง 『ロボット110番』 ( Robotto 110 ban ที่ออกฉายตั้งแต่ 10 เมษายน 1977 จนถึง 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน รวม 39 ตอน) จึงเปลี่ยนมาเป็นเรื่องสนุกๆของทีมเบสบอล 『がんばれ!!レッドビッキーズ』 (Gambare!! Reddo Bikkiizu หรือ Red Vickyes) นำแสดงโดย ฮิโรโกะ ฮายาชิ (เรื่องนี้บ้านเราไม่ได้นำเข้ามาฉาย) ซึ่งฉายตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 1978 จนจบในวันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน (รวม 48 ตอน) ช่วงเวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม ในวันศุกร์จึงว่างลง
ด้วยเหตุที่ิญี่ปุ่นเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาประกาศบอยคอตต์การแข่งขันกีฬาทุกประเภทในโอลิมปิคปี 1980 ที่มอสโคว์ (รัสเซียบุกอัฟกานิสถาน) จึงทำให้ ทีมวอลเล่ย์บอลหญิงญี่ปุ่นหมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์โดยปริยาย ทางสถานีอาซาฮีซึ่งได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดโอลิมปิคเพียงผู้เดียว จึงนำเอาเรื่อง 燃えろアタック ( Moero Attack ) ฉบับต้นตำรับเป็นผลงานของ Ishinomori Shotaro มาต่อโดยเริ่มฉายทุกวันศุกร์ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 1979 จนจบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 1980 เวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม รวมทั้งสิ้น 71 ตอน ส่วนภาคการ์ตูนตีพิมพ์ทางนิตยสารรายเดือน TV Land ของสำนักพิมพ์ Kodansha ไปพร้อมๆกับหนังทีวีในช่วงปี 1979-80
เรื่องกล่าวถึง 小鹿ジュンจุง โคชิกะ (นำแสดงโดย 荒木由美子 อาราคิ ยูมิโกะิ) อายุ 14 ปี เป็นลูกสาวคนเดียวของ โคทาโร่ เกษตรกรชาวเกาะฮอกไกโด โดยจุงมักจะถูกฝึกให้วิ่ง ให้กระโดด จึงทำให้มีพลังขาและข้อเท้าที่แข็งแรงเป็นพิเศษ วันหนึ่งที่ จุง สามารถกระโดดตบลูกบอลที่คุณพ่อแขวนเอาไว้ได้ โคทาโร่จึงส่ง จุง เข้าเรียนเตรียมอุดมที่โรงเรียน “ชิราฟูจิ” ในโตเกียว โดยมาเป็นนักกีฬาวอลเล่ย์บอลของโรงเรียน ที่มีโค้ชทีม ชื่อ ไดสุเกะ ผู้จัดการทีมชื่อ โยชิโกะ มิซูกิ (ปี 3) และกัปตันทีม โยโกะ ฟูจิตะ (ปี 3) ซึ่งเป็นมือเซทมือหนึ่ง ตัวยืนของทีมประกอบด้วย ซาจิ ยาซากิ (ปี 2 เป็นมือตบมือหนึ่ง) อาคิโกะ โอยาม่า (ปี 2) มิจิโกะ ซุซุกิ (ปี 2) ริกะ เนโมโตะ (ปี 1) เอมิ ไนโตะ (ปี 1) ตัวสำรอง ได้แก่ ฮานาโกะ โนดะ (ปี 1) และ โทมิ ทานากะ (ปี 1)
โคทาโร่หลอกจุงว่าแม่ของจุงเสียชีวิตไปแล้ว แต่ที่สุด โคทาโร่ บอกจุงว่า แม่ของจุงยังมีชีวิตอยู่และให้สัญญากับจุงว่า จะให้พบกับแม่ถ้าหากจุงติดทีมชาติไปโอลิมปิค (แม่ของจุงเป็นมือตบมือหนึ่งของโรงเรียนชิราฟูจิ โดยชนะเลิศการแข่งขันเตรียมอุดมทั่วประเทศ ก่อนจะมีโอลิมปิคที่โตเกียว 2 ปี เธอโหมฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่โชคร้ายเส้นเอ็นร้อยหวายที่ขาขาด ทำให้ชีวิตนักกีฬาจบสิ้นลง)
เรื่องนี้กลับมามีลูกเสิร์ฟ หรือ ลูกตบมหัศจรรย์ อีกครั้ง แถมมีหลากหลาย เช่น
「ジャンプサーブ 」 "Jump Serve" เป็นลูกเสิร์ฟพิศดารลูกแรกของจุง
「ひぐま落し」Higuma otoshi "Brown bear drop" ชื่อ "Brown bear" (หมีสีน้ำตาล) เป็นสัญญลักษณ์ของเมืองฮอคไกโด บ้านเกิดของจุง และแถมยังเป็นตุ๊กตานำโชคของโอลิมปิคที่มอสโคว์ด้วย (เรียกว่า หมีมีชาี) พอมาฉายบ้านเรา ลูกตบนี้ถูกเรียกว่า "ลูกตบฟ้าผ่า" เพราะจุงจะตีลังกากลางอากาศหนึ่งชั้น (พร้อมเสียงคำรามของหมีสีน้ำตาลประกอบ) ก่อนตบลูกวอลเล่ย์
「ハリケーンアタック」"Hurricane Attack" ไม้ตายสุดยอดของจุง
「UFO サーブ」 "UFO Serve" ของกัปตันทีม ฮานาดะ
「ミラクルアタック 」"Miracle Attack"
「バーミューダ・スクランブル」 "Bermuda Scramble" ของทีมมัธยม ฮานาดะ
「ハンマースパイク」"Hammer Spike"
「クロスシュート」"Crossing Shot"
「天井サーブ」 Tenjou saabu "Ceiling Serve" (ลูกเสิร์ฟหลังคา)
燃えろアタック ไปโด่งดังในหลายประเทศ เช่น ในฮ่องกง เรื่องนี้ใช้ชื่อว่า 排球女将 ( กัปตันทีมวอลลเ่ย์บอลหญิง ) ฉายในปี 1979 ที่ไต้หวันใช้ชื่อว่า 青春的火焰 (ความมุมานะของวัยรุ่น) ส่วนที่เมืองจีนเพิ่งเอาไปฉายไม่นานมานี้เอง แถมได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นเหตุให้ อาราคิ ยูมิโกะ ถูกเชิญให้ไปสัมภาษณ์ที่เมืองจีน ในรายการ "ยอดศิลปิน" ทาง CCTV 4 ที่ปกติจะเชิญแต่ดาราจีนเท่านั้น เรื่องนี้มาฉายที่บ้านเราในราวปี 2523 ทางช่อง 5 ใช้ชื่อว่า "ยอดหญิงชิงโอลิมปิค" ได้รับความนิยมล้นหลาม ใครๆก็รู้จัก จุง โคชิกะ
ที่มา
http://booska.freehostia.com/moero.html
เข้าไปดูจะมีแอคชั่นของลูกตบลูกเสิร์ฟต่างๆให้ชมด้วยครับ
เป็นเรื่องที่ผมชอบมากๆเลยครับ ติดหนึบเลยก็ว่าได้ ใครทันได้ดูบ้างครับ ยกมือขึ้น
(กระทู้สำรวจอายุ) จุง โคชิกะ ยอดหญิงชิงโอลิมปิค
หลังความสำเร็จของผลงานจาก 石ノ森章太郎 ( Ishinomori Shotaro) ร่วมกับ 東映 (โตเอะ) เรื่อง 『がんばれ!!ロボコン』( เจ้าหุ่นคอมพิวเตอร์) ที่ออกฉายทุกวันศุกร์ เวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม ทางสถานี NET ( ปัจจุบันคือสถานี อาซาฮี ) ตั้งแต่ 4 ตุลาคม 1974 จนถึง 25 มีนาคมปี 1977 รวม 131 ตอน) และต่อด้วยเรื่อง 『ロボット110番』 ( Robotto 110 ban ที่ออกฉายตั้งแต่ 10 เมษายน 1977 จนถึง 30 ธันวาคม ปีเดียวกัน รวม 39 ตอน) จึงเปลี่ยนมาเป็นเรื่องสนุกๆของทีมเบสบอล 『がんばれ!!レッドビッキーズ』 (Gambare!! Reddo Bikkiizu หรือ Red Vickyes) นำแสดงโดย ฮิโรโกะ ฮายาชิ (เรื่องนี้บ้านเราไม่ได้นำเข้ามาฉาย) ซึ่งฉายตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 1978 จนจบในวันที่ 29 ธันวาคม ปีเดียวกัน (รวม 48 ตอน) ช่วงเวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม ในวันศุกร์จึงว่างลง
ด้วยเหตุที่ิญี่ปุ่นเข้าร่วมกับสหรัฐอเมริกาประกาศบอยคอตต์การแข่งขันกีฬาทุกประเภทในโอลิมปิคปี 1980 ที่มอสโคว์ (รัสเซียบุกอัฟกานิสถาน) จึงทำให้ ทีมวอลเล่ย์บอลหญิงญี่ปุ่นหมดสิทธิ์ป้องกันแชมป์โดยปริยาย ทางสถานีอาซาฮีซึ่งได้ลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดโอลิมปิคเพียงผู้เดียว จึงนำเอาเรื่อง 燃えろアタック ( Moero Attack ) ฉบับต้นตำรับเป็นผลงานของ Ishinomori Shotaro มาต่อโดยเริ่มฉายทุกวันศุกร์ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 1979 จนจบเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 1980 เวลา 1 ทุ่มครึ่งถึง 2 ทุ่ม รวมทั้งสิ้น 71 ตอน ส่วนภาคการ์ตูนตีพิมพ์ทางนิตยสารรายเดือน TV Land ของสำนักพิมพ์ Kodansha ไปพร้อมๆกับหนังทีวีในช่วงปี 1979-80
เรื่องกล่าวถึง 小鹿ジュンจุง โคชิกะ (นำแสดงโดย 荒木由美子 อาราคิ ยูมิโกะิ) อายุ 14 ปี เป็นลูกสาวคนเดียวของ โคทาโร่ เกษตรกรชาวเกาะฮอกไกโด โดยจุงมักจะถูกฝึกให้วิ่ง ให้กระโดด จึงทำให้มีพลังขาและข้อเท้าที่แข็งแรงเป็นพิเศษ วันหนึ่งที่ จุง สามารถกระโดดตบลูกบอลที่คุณพ่อแขวนเอาไว้ได้ โคทาโร่จึงส่ง จุง เข้าเรียนเตรียมอุดมที่โรงเรียน “ชิราฟูจิ” ในโตเกียว โดยมาเป็นนักกีฬาวอลเล่ย์บอลของโรงเรียน ที่มีโค้ชทีม ชื่อ ไดสุเกะ ผู้จัดการทีมชื่อ โยชิโกะ มิซูกิ (ปี 3) และกัปตันทีม โยโกะ ฟูจิตะ (ปี 3) ซึ่งเป็นมือเซทมือหนึ่ง ตัวยืนของทีมประกอบด้วย ซาจิ ยาซากิ (ปี 2 เป็นมือตบมือหนึ่ง) อาคิโกะ โอยาม่า (ปี 2) มิจิโกะ ซุซุกิ (ปี 2) ริกะ เนโมโตะ (ปี 1) เอมิ ไนโตะ (ปี 1) ตัวสำรอง ได้แก่ ฮานาโกะ โนดะ (ปี 1) และ โทมิ ทานากะ (ปี 1)
โคทาโร่หลอกจุงว่าแม่ของจุงเสียชีวิตไปแล้ว แต่ที่สุด โคทาโร่ บอกจุงว่า แม่ของจุงยังมีชีวิตอยู่และให้สัญญากับจุงว่า จะให้พบกับแม่ถ้าหากจุงติดทีมชาติไปโอลิมปิค (แม่ของจุงเป็นมือตบมือหนึ่งของโรงเรียนชิราฟูจิ โดยชนะเลิศการแข่งขันเตรียมอุดมทั่วประเทศ ก่อนจะมีโอลิมปิคที่โตเกียว 2 ปี เธอโหมฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่โชคร้ายเส้นเอ็นร้อยหวายที่ขาขาด ทำให้ชีวิตนักกีฬาจบสิ้นลง)
เรื่องนี้กลับมามีลูกเสิร์ฟ หรือ ลูกตบมหัศจรรย์ อีกครั้ง แถมมีหลากหลาย เช่น
「ジャンプサーブ 」 "Jump Serve" เป็นลูกเสิร์ฟพิศดารลูกแรกของจุง
「ひぐま落し」Higuma otoshi "Brown bear drop" ชื่อ "Brown bear" (หมีสีน้ำตาล) เป็นสัญญลักษณ์ของเมืองฮอคไกโด บ้านเกิดของจุง และแถมยังเป็นตุ๊กตานำโชคของโอลิมปิคที่มอสโคว์ด้วย (เรียกว่า หมีมีชาี) พอมาฉายบ้านเรา ลูกตบนี้ถูกเรียกว่า "ลูกตบฟ้าผ่า" เพราะจุงจะตีลังกากลางอากาศหนึ่งชั้น (พร้อมเสียงคำรามของหมีสีน้ำตาลประกอบ) ก่อนตบลูกวอลเล่ย์
「ハリケーンアタック」"Hurricane Attack" ไม้ตายสุดยอดของจุง
「UFO サーブ」 "UFO Serve" ของกัปตันทีม ฮานาดะ
「ミラクルアタック 」"Miracle Attack"
「バーミューダ・スクランブル」 "Bermuda Scramble" ของทีมมัธยม ฮานาดะ
「ハンマースパイク」"Hammer Spike"
「クロスシュート」"Crossing Shot"
「天井サーブ」 Tenjou saabu "Ceiling Serve" (ลูกเสิร์ฟหลังคา)
燃えろアタック ไปโด่งดังในหลายประเทศ เช่น ในฮ่องกง เรื่องนี้ใช้ชื่อว่า 排球女将 ( กัปตันทีมวอลลเ่ย์บอลหญิง ) ฉายในปี 1979 ที่ไต้หวันใช้ชื่อว่า 青春的火焰 (ความมุมานะของวัยรุ่น) ส่วนที่เมืองจีนเพิ่งเอาไปฉายไม่นานมานี้เอง แถมได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นเหตุให้ อาราคิ ยูมิโกะ ถูกเชิญให้ไปสัมภาษณ์ที่เมืองจีน ในรายการ "ยอดศิลปิน" ทาง CCTV 4 ที่ปกติจะเชิญแต่ดาราจีนเท่านั้น เรื่องนี้มาฉายที่บ้านเราในราวปี 2523 ทางช่อง 5 ใช้ชื่อว่า "ยอดหญิงชิงโอลิมปิค" ได้รับความนิยมล้นหลาม ใครๆก็รู้จัก จุง โคชิกะ
ที่มา http://booska.freehostia.com/moero.html
เข้าไปดูจะมีแอคชั่นของลูกตบลูกเสิร์ฟต่างๆให้ชมด้วยครับ
เป็นเรื่องที่ผมชอบมากๆเลยครับ ติดหนึบเลยก็ว่าได้ ใครทันได้ดูบ้างครับ ยกมือขึ้น