ยุทธการ โค่นล้ม รัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ภายใน 8 ตุลาคม วิเคราะห์ มติชนออนไลน์

กระทู้สนทนา
(ที่มา:มติชนรายวัน 20 ก.ย.2556)


มีลักษณะ "เอบี-นอแมล" เกิดขึ้น ดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างแน่นอน "ภายใน" กระบวนการ
เคลื่อนไหวของ "ม็อบยาง"

แต่ในภาวะแห่ง "เอบี-นอแมล" นั่นแหละ คือ "นอแมล"

หากมองสภาพการเคลื่อนไหวทางการเมืองภายหลังสถานการณ์ "แช่แข็ง" ประเทศเมื่อ
เดือนพฤศจิกายน 2555

จะต้องร้อง "ฮ้อ"

โดยเฉพาะลักษณะการปรากฏขึ้น ดำรงอยู่และดำเนินไปของ "ม็อบ" นับแต่เมื่อ
เดือนเมษายน 2556 เป็นต้นมา

เดือนพฤษภาคม ปักหลักยึดพื้นที่ "สนามหลวง"

สะท้อนอาการ "รอคอย" ประสานกับการเคลื่อนไหวของ "หน้ากากขาว" และที่สุดก็ประสาน
เข้าด้วยกันกลายรูปเป็น

"กองทัพประชาชน" ในเดือนสิงหาคม

ระหว่าง "กองทัพประชาชน" ที่เวทีลุมพินี กับ เวที "ผ่าความจริง" มีการเขี่ยขา สัมพันธ์กัน
แต่ดำเนินไปในลักษณะแยกกันเดิน

รอคอยยุทธการ 8 ตุลาคม

ถามว่าการเคลื่อนไหวของม็อบยางพาราเป้าหมายต้องการจำกัดกรอบเพียงที่แยก
ควนหนองหงษ์กับแยกบ้านตูลเท่านั้นหรือ

ม่ายช่าย ม่ายช่าย

เป้าหมายแรกต้องการในขอบเขตทั่วประเทศ ภาคเหนือปิดถนนที่อุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปิดถนนที่สีคิ้ว นครราชสีมา ภาคตะวันออกเคลื่อนเข้าปิดล้อมทำเนียบรัฐบาล

ภาคใต้รวมศูนย์ที่หน้าโคออป สุราษฎร์ธานี

แต่ด้วยมาตรการช่วยเหลือปัจจัยการผลิต 1,260 บาท/ไร่ ภายในกรอบไม่เกิน 10 ไร่
ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ประกาศยุติการเคลื่อนไหว

คงเหลือเพียงภาคใต้

และเมื่อคณะกรรมการนโยบายยางธรรมชาติ (กนย.) ขยายมาตรการช่วยเหลือปัจจัย
การผลิตจาก 1,260 บาท/ไร่ เป็น 2,520 บาท/ไร่ ภายในกรอบไม่เกิน 25 ไร่

เครือข่ายเกษตรกรสวนยาง 14 จังหวัดภาคใต้ก็ยอมรับ ยุติการเคลื่อนไหว

น่าสนใจที่ได้ปรากฏเครือข่ายเกษตรสวนยาง 16 จังหวัดภาคใต้ (รวมเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์
เข้ามาด้วย) แต่แล้วการเจรจาที่นครศรีธรรมราชในวันที่ 14 กันยายน ส่วนใหญ่ก็ให้การยอมรับ
และให้โอกาสรัฐบาลมีเพียง "บางส่วน" ไม่ยอมรับ

จึงเกิดการปิดถนนที่แยกควนหนองหงษ์ต่อ

การปิดถนนที่แยกควนหนองหงษ์นอกจากเครือข่ายในกลุ่มของ นายศักดิ์สฤษฎิ์ ศรีประศาสตร์
จากจังหวัดตรังแล้ว

ก็มี "ประชาธิปัตย์" ที่เห็นด้วย

แต่ก็ต้องยอมรับว่า "ม็อบ" แยกควนหนองหงษ์เคลื่อนไหวอย่างสวนกับ "มติ" โดยรวมของ
เครือข่ายสวนยางในขอบเขตใหญ่

ขอบเขตใหญ่ในลักษณะอันเป็น "ทั่วประเทศ"

เพราะไม่เพียงแต่สภาเกษตรกรแห่งชาติจะเห็นด้วยกับรัฐบาล หากเครือข่ายชาวสวนยางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และแม้กระทั่งในภาคใต้ ก็เห็นด้วยกับมาตรการการช่วย
เหลือของรัฐบาล

มองในกรอบของเกษตรกร "ชาวสวนยาง" จึงเป็นเพียง "ส่วนย่อย"

น่ายินดีที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็ยังให้ความเคารพต่อกระบวนการเคลื่อนไหวมอบ
นโยบายผ่านสำนักงานตำรวจแห่งชาติและผู้ว่าราชการจังหวัดให้ใช้การเมืองแก้ไขปัญหา

ชี้แจงและทำความเข้าใจกับ "ม็อบ" อย่างอดทน

การรอคอยของ "ม็อบ" จึงดำเนินไปในกระสวนเดียวกันกับการชุมนุมยึด "สนามหลวง"
และที่ยึด "สวนลุมพินี" คือยังคงเป็นการรอคอย

รอคอย 8 ตุลาคมจะมาเยือน

ความเชื่อในพลานุภาพแห่งวันที่ 8 ตุลาคม จึงเป็นความเชื่ออันทรงความหมายในทางการเมือง

เป็นความเชื่อว่าจะเป็นวาระสุดท้ายของรัฐบาล วาระสุดท้ายของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เป็นความเชื่อเหมือนกับขบวนการ "แช่แข็ง" เคยเชื่อมาแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555

8 ตุลาคม คือ "คำตอบ" สุดท้าย


ร่วมเป็นแฟนเพจเฟซบุ๊กกับมติชนออนไลน์
www.facebook.com/MatichonOnline

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1379662178&grpid=01&catid=&subcatid=


ลองตามไปดู link ข่างล่างนี้กันหน่อย

http://www.youtube.com/watch?v=T9Y-ZNI2H6s

เก็บตก   link  ที่คุณหมอมิงค์  พูดถึงเหตุการณ์ก่อน 19  ก.ย.มาให้เพื่อน  ลองเปรียบ
เทียบดู   วันนี้  ก่อน 8  ตุลาคม พอจะถึงจุดสุกงอม  ให้เกิดเหตุการณ์พึงประสงค์
ตามความต้องการของคนที่ต้องการล้มรัฐบาลได้หรือยัง ?  หัวเราะ

สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่