การตั้งคำถาม การพูดถึงเกี่ยวกับวัดหรือพระที่มีผู้คนนับถือมากๆ มักจะเกิดปัญหากลายเป็นคน 2 ฝ่าย ถามและตอบด้วยมุมมองและทิฏฐิอันต่างกันของตนๆ นำมาซึ่ง เรา เขา คนละข้าง คนละพวกอย่างชัดเจน นำมาซึ่งการแสดงออกที่เป็นปฏิปักษ์และความคิดเห็นขัดแย้ง วาจาส่อเสียดตอบโต้ย้อนแย้ง
จริงๆไม่เฉพาะเรื่องนี้ แต่เป็นเช่นเดียวกันในทุกเรื่อง
เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่สิ่งที่เราคิด พูด ทำ ย่อมผ่านความเชื่อว่า ของเราดี ของเราถูก และผลักสิ่งที่คนอื่นคิดที่ไม่ตรงกับเราเป็นฝั่งตรงข้ามว่าไม่ดีหรือผิด
เพราะเราคิดว่าดี เราจึงเลือก เพราะคิดว่าดีจึงทำ
ใครว่าของเราไม่ดี ไม่ถูก แสดงว่ามีความเห็นต่อความคิดของเราว่าเราคิดผิด ซึ่งกระทบตัวตนของเรา ดูถูกซึ่งความเป็นตัวตนของเราอย่างลึกที่สุด
ผู้ที่ทำร้ายตัวตนของเราย่อมเป็นฝ่ายตรงข้าม
เพราะเรามองด้วยอคติ มองด้วยกิเลส
อาจช่วยลดปัญหาได้บ้างหากคำถามจะเป็นในลักษณะไม่เลือกเฉพาะเจาะจงหมายถึงใครหรือที่ใด
แต่มุ่งตรงไปที่สภาวะ สถานการณ์ เหตุการณ์ของปัญหาโดยตรง
วัด หรือรูปแบบอื่นๆ เช่นสำนักสงฆ์ หรืออะไรก็ตาม ไม่ว่าจะสมัยนี้หรือสมัยใด โดยวัดอยู่ในความดูแลของพระที่เป็นที่เคารพนับถือในวงกว้าง
ไม่ว่าจะวัดใด พระองค์ใด ที่มีแนวคิดที่จะเชิญชวนให้ญาติโยมบริจาคมากๆหรือถึงขั้นมหาศาลเพื่ออะไร ? มีแนวคิดที่จะสร้างอาคารสถานที่มากมาย ใหญ่โต หรูหรา เพื่ออะไร?
เพื่อทำนุบำรุงพระศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป ?
เพื่อสังคม เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและจัดการบริจาคเพื่อผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในส่วนอื่นต่อไป ?
เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกแก่พระตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ผู้มาร่วมปฏิบัติธรรมหรือร่วมกิจกรรมในวัด ?
หรือเหตุผลอื่นๆ ?
ไม่ว่าเหตุผลคืออะไร ผมไม่ปฏิเสธความจำเป็นในการใช้เงิน และเห็นด้วยว่ากิจต่างๆส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เงิน
แต่ทำไมต้องมากมายขนาดนั้น
พระศาสนาที่ยั่งยืนคือพระศาสนาที่ผู้นับถือด้วยความเห็นในธรรมและดำเนินธรรมตามคำสอนในระดับที่ผู้นับถือถึงได้ และสืบสานต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาด้วยการปฏิบัติทั้งจากฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสจึงเป็นการค้ำจุนเกื้อหนุนส่งเสริมให้พระศาสนาคงอยู่
พระศาสนาที่เต็มไปด้วยผู้ชื่อว่าตนนับถือศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่ความเจริญของวัตถุ เน้นไปที่อาคารสถานที่ เน้นที่การบริจาค เน้นที่วัตถุมงคล เน้นที่พิธีกรรม เน้นที่ความเชื่อ โดยย่อหย่อนต่อการศึกษา ย่อหย่อนต่อการปฏิบัติ จะยังชื่อว่าเป็นพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาหรือไม่ เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาของการปฏิบัติหรือ
พูดให้ชัดคือ อาคาร สถานที่ หรือวัตถุอันเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนา หาใช่ศาสนา
ธรรมที่คงอยู่ด้วยผู้ศึกษาและปฏิบัติสืบต่อกันมาตะหากคือตัวศาสนา
ความเป็นพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เราเป็นพุทธ ตรงไหน
เราเป็นพุทธด้วยการเพียรศึกษา เพียรปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
เมื่อเราไม่ศึกษา หย่อนการปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับวัตถุ ความเชื่อที่ไม่เป็นพุทธศาสนาแท้ เราก็ไม่สมกับความเป็นพุทธ-ศาสนิกชน
ความเข้าใจต่อศาสนาที่พร่าเลือน ความไม่รู้ และการชักจูงและถูกชักจูงให้ออกห่างแก่นและสาระของศาสนา นำมาซึ่งความไม่เป็นพุทธ
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นในวัด เช่น บางวัดยอมให้มีการดื่มสุราในงานบวช บางวัดยอมให้มีการจัดงานรื่นเริงเสียงดัง(ที่สุดเท่าที่เครื่องขยายเสียงจะทำได้) และมีการแสดงไม่เหมาะสมในงานวัด
เหล่านี้ก็เป็นความเห็นผิดทั้งของผู้เกี่ยวข้องและผู้จัดงานรวมถึงเจ้าภาพ
การทำตามคนอื่นเพราะเห็นคนอื่นทำก็เลยนึกว่าทำได้หรือนึกว่าถูกธรรมเนียม การทำอย่างขาดวิจารณญาณ ขาดความเข้าใจในศาสนา
หลายครั้งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของคนในวัดเอง เน้นไปที่การดึงคนเข้าวัด เพราะหวังว่าคนเข้ามาจะได้มาสร้างบุญ กิจกรรมจึงเน้นไปที่ทำบุญ การดึงคนเข้าวัดบางครั้งจึงไม่ได้สนใจในวิธีการ เมื่อทำกันบ่อยเข้า วัดโน้นก็ทำ วัดนี้ก็ทำ ใครๆก็ทำ จึงกลายเป็นเรื่องถูกต้องในสังคมศาสนาของบ้านเราไป (ไม่รู้บ้านอื่นเมืองอื่นมีหรือไม่)
เมื่อคนเข้าวัดมาก มีคนศรัทธามาก มีการทำบุญมาก เงินทำบุญก็มาก เลยสร้างมาก เมื่อสร้างมากก็สร้างอีก ก็กลับไปที่เรื่องเดิมคือให้คนเข้ามามากต่อไปวนเป็น loop แห่งความไม่รู้
ผมไม่ได้บอกว่าการสร้างเป็นสิ่งผิด แต่การสร้างมากเกินไปก็เกินความจำเป็นและบางครั้งอาจถึงขั้นไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ ยิ่งสิ่งนั้นใหญ่โตหรูหราอลังการฟู่ฟ่าและใช้เงินมากเท่าไหร่ยิ่งสะท้อนภาวะจิตที่ไม่ได้ก้าวไปไหนไกลเกินกิเลสเท่าใดนักของผู้ดำริและผู้ร่วม
พระพุทธเจ้าสอนให้เราสละ เพื่อสละตั้งแต่เปลือกนอกคือความตระหนี่ในวัตถุ สลัดสิ่งที่ไม่ควรกระทำ สิ่งที่ทำให้ยึดติดเหนียวแน่น เป้าหมายปลายทางของการสละคือสละทิ้งซึ่งความยึดมั่นว่ามีตัวตน ละซึ่งกิเลส เพื่อให้พ้นทุกข์ โดยมีกระบวนการคือ ศรัทธา จาคะ ศีล สมาธิ และปัญญาอยู่ระหว่างทาง
แต่การณ์กลับเป็นว่า มีการสอนให้จ้ำอยู่กับที่กับก้าวแรกๆ คือ การสร้างศรัทธา และการให้ (วัดหรือพระ) ไม่ว่าจะเรียกว่า ทำบุญ บริจาคหรืออะไรก็ตาม เรายังวนเวียนอยู่จุดเดิม ด้วยความเชื่อที่ถูกชักจูงให้เชื่ออย่างนั้น
แม้แต่การรักษาศีล ก็เป็นไปอย่าง ยึดมั่นในรูปแบบและกระทำโดยการทำแบบสืบต่อกันมา โดยไม่เข้าใจในเหตุผลหรือความมุ่งหมาย กลายเป็นศีลพรตไป (ศีลพตปรามาส) กลายเป็นว่าคนธรรมดาไม่จำเป็นต้องรักษาศีล การรักษาศีลเป็นเรื่องของคนดี เป็นเรื่องของคนธรรมะธรรมโม
หรือ การมองอย่างเราเขา มองด้วยมานะ มองด้วยสายตาของคนติดดี ว่า เรารักษาศีล เราดี คนอื่นไม่รักษาศีลหรือไม่ได้ทำเท่าเรา เป็นคนชั่ว
เมื่อเราขาดการพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) ขาดกัลยาณมิตรช่วยนำพา และขาดการศึกษา (สิกขา) การปฏิบัติจากการขาดสิ่งเหล่านี้ก็ง่ายที่จะผิดพลาด และหลุดไถลออกจากขอบเขตของศาสนาพุทธอย่างไม่รู้ตัว
และน่าเสียดายที่หลายๆครั้งพบว่านักปฏิบัติภาวนาไม่สามารถเชื่อมโยงธรรมเข้ากับชีวิตที่ลดทุกข์หรือการใช้ชีวิตอย่างไม่ทุกข์ตามภาวะจากผลการปฏิบัติได้
ด้วยความไม่เข้าใจในพระธรรมอย่างทั่วถึงและไม่สามารถเชื่อมโยงพระธรรมอันมากมายสู่จุดหมายเดียวกันตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้
เพราะเข้าใจว่าการปฏิบัติเป็นการทำในลักษณะแยกส่วน คนทำทานก็บริจาค ก็ทำบุญไปตามประสาคนใจบุญสุนทาน คนรักษาศีลก็ทำตัวเป็นคนดีไป คนปฏิบัติภาวนาก็นั่งสมาธิไป
เราแยกส่วนความรู้ออกจากกัน ทำขั้นใดขั้นหนึ่งเฉพาะหน้าและละเลยที่จะมองปลายทางทั้งในภาพรวมและในรายละเอียดที่เรียงร้อยถักทอไปสู่ภาพใหญ่นั้นด้วยความไม่รู้
ความศรัทธา การให้ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมาธิภาวนา ล้วนมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ทั้งสิ้น
แต่การปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ช่วยให้พ้นทุกข์หรือหลุดพ้น การปฏิบัติเหล่านี้มีคุณในแง่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติเพื่อก้าวต่อไปในปัญญาเพื่อถึงวิมุตติ เอื้อต่อภาวะหลุดพ้นทุกข์และไม่กำเริบอีกหรือนิพพาน อันเป็นขอบเขตและจุดหมายของศาสนาพุทธ
แต่หากปฏิบัติด้วยความไม่รู้ ไม่ปฏิบัติด้วยปัญญา สิ่งที่ทำก็ไม่ต่างกับการทำตามลักธิความเชื่ออื่นที่มีแนวทางมาก่อนศาสนาพุทธ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถือเป็นเพียงการปฏิบัติที่มุ่งหวังต่อบุญและความเจริญของจิตใจบางด้าน แต่ยังไม่เข้าตรงตามหัวใจ ตามความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
ยิ่งถูกป้อนข้อมูล ให้ความหมายและความมุ่งหมายในการปฏิบัติที่ผิดเพี้ยน ทำให้ยิ่งผู้ตั้งใจปฏิบัติคลาดออกจากมัชฌิมาปฏิปทาและไม่มุ่งไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา
จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากเราจะมีสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสู่จุดมุ่งหมายของพระศาสนาแล้วด้วยศรัทธา ด้วยจาคะ ด้วยศีล ด้วยภาวนา ตามภูมิแห่งธรรมที่เรามี แต่เราทำด้วยความไม่รู้ ทำด้วยความไม่เข้าใจ ทำด้วยอวิชชา ทำด้วยตัณหา ทำ้ด้วยความยึดติด ทำด้วยความเข้าใจผิด
เชื่อว่าเรืองนี้อาจเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อการพูดถึง อาจมีคนก่นด่า ไม่เข้าใจ หรือยังยึดถือในความเห็นเดิมของตนมากมาย
แต่ผมเชื่อว่าอาจทำให้บางคนพึงเ้ข้าใจและเห็นอะไรได้ชัดขึ้น เพื่อการปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ปฏิบัติสมควร แม้สักเพียงเล็กน้อย นั่นก็เพียงพอและสมความมุ่งหมายแล้ว
และหวังว่าผู้ใฝ่ใจศึกษาและปฏิบัติ ตลอดจนผู้รู้คงมาช่วยขัดเกลาและส่งเสริมในส่วนที่อยุ่เหนือความรู้ความเข้าใจของผม ให้กว้างขวางลึกซึ้ง(อย่างง่ายๆ) เหมาะแก่การทำความเข้าใจของผู้สนใจและดำเนินอยู่บนทางธรรมมากยิ่งขึ้นไปครับ
การตั้งคำถาม การพูดถึงเกี่ยวกับวัดหรือพระที่มีผู้คนนับถือมากๆ - ปัญหาต่อความเข้าใจในศาสนาและการปฏิบัติ
จริงๆไม่เฉพาะเรื่องนี้ แต่เป็นเช่นเดียวกันในทุกเรื่อง
เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ที่สิ่งที่เราคิด พูด ทำ ย่อมผ่านความเชื่อว่า ของเราดี ของเราถูก และผลักสิ่งที่คนอื่นคิดที่ไม่ตรงกับเราเป็นฝั่งตรงข้ามว่าไม่ดีหรือผิด
เพราะเราคิดว่าดี เราจึงเลือก เพราะคิดว่าดีจึงทำ
ใครว่าของเราไม่ดี ไม่ถูก แสดงว่ามีความเห็นต่อความคิดของเราว่าเราคิดผิด ซึ่งกระทบตัวตนของเรา ดูถูกซึ่งความเป็นตัวตนของเราอย่างลึกที่สุด
ผู้ที่ทำร้ายตัวตนของเราย่อมเป็นฝ่ายตรงข้าม
เพราะเรามองด้วยอคติ มองด้วยกิเลส
อาจช่วยลดปัญหาได้บ้างหากคำถามจะเป็นในลักษณะไม่เลือกเฉพาะเจาะจงหมายถึงใครหรือที่ใด
แต่มุ่งตรงไปที่สภาวะ สถานการณ์ เหตุการณ์ของปัญหาโดยตรง
วัด หรือรูปแบบอื่นๆ เช่นสำนักสงฆ์ หรืออะไรก็ตาม ไม่ว่าจะสมัยนี้หรือสมัยใด โดยวัดอยู่ในความดูแลของพระที่เป็นที่เคารพนับถือในวงกว้าง
ไม่ว่าจะวัดใด พระองค์ใด ที่มีแนวคิดที่จะเชิญชวนให้ญาติโยมบริจาคมากๆหรือถึงขั้นมหาศาลเพื่ออะไร ? มีแนวคิดที่จะสร้างอาคารสถานที่มากมาย ใหญ่โต หรูหรา เพื่ออะไร?
เพื่อทำนุบำรุงพระศาสนาให้ยั่งยืนต่อไป ?
เพื่อสังคม เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและจัดการบริจาคเพื่อผู้ยากไร้ ผู้ด้อยโอกาสในส่วนอื่นต่อไป ?
เพื่อดูแลและอำนวยความสะดวกแก่พระตลอดจนอุบาสก อุบาสิกา ผู้มาร่วมปฏิบัติธรรมหรือร่วมกิจกรรมในวัด ?
หรือเหตุผลอื่นๆ ?
ไม่ว่าเหตุผลคืออะไร ผมไม่ปฏิเสธความจำเป็นในการใช้เงิน และเห็นด้วยว่ากิจต่างๆส่วนใหญ่จำเป็นต้องใช้เงิน
แต่ทำไมต้องมากมายขนาดนั้น
พระศาสนาที่ยั่งยืนคือพระศาสนาที่ผู้นับถือด้วยความเห็นในธรรมและดำเนินธรรมตามคำสอนในระดับที่ผู้นับถือถึงได้ และสืบสานต่อพระธรรมคำสั่งสอนของพระศาสดาด้วยการปฏิบัติทั้งจากฝ่ายบรรพชิตและฆราวาสจึงเป็นการค้ำจุนเกื้อหนุนส่งเสริมให้พระศาสนาคงอยู่
พระศาสนาที่เต็มไปด้วยผู้ชื่อว่าตนนับถือศาสนา โดยมุ่งเน้นไปที่ความเจริญของวัตถุ เน้นไปที่อาคารสถานที่ เน้นที่การบริจาค เน้นที่วัตถุมงคล เน้นที่พิธีกรรม เน้นที่ความเชื่อ โดยย่อหย่อนต่อการศึกษา ย่อหย่อนต่อการปฏิบัติ จะยังชื่อว่าเป็นพุทธบริษัทในพระพุทธศาสนาหรือไม่ เมื่อศาสนาพุทธเป็นศาสนาของการปฏิบัติหรือ
พูดให้ชัดคือ อาคาร สถานที่ หรือวัตถุอันเกี่ยวเนื่องด้วยศาสนา หาใช่ศาสนา
ธรรมที่คงอยู่ด้วยผู้ศึกษาและปฏิบัติสืบต่อกันมาตะหากคือตัวศาสนา
ความเป็นพุทธะ คือ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม
เราเป็นพุทธ ตรงไหน
เราเป็นพุทธด้วยการเพียรศึกษา เพียรปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนตามแนวทางของพระพุทธเจ้า
เมื่อเราไม่ศึกษา หย่อนการปฏิบัติ ให้ความสำคัญกับวัตถุ ความเชื่อที่ไม่เป็นพุทธศาสนาแท้ เราก็ไม่สมกับความเป็นพุทธ-ศาสนิกชน
ความเข้าใจต่อศาสนาที่พร่าเลือน ความไม่รู้ และการชักจูงและถูกชักจูงให้ออกห่างแก่นและสาระของศาสนา นำมาซึ่งความไม่เป็นพุทธ
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นในวัด เช่น บางวัดยอมให้มีการดื่มสุราในงานบวช บางวัดยอมให้มีการจัดงานรื่นเริงเสียงดัง(ที่สุดเท่าที่เครื่องขยายเสียงจะทำได้) และมีการแสดงไม่เหมาะสมในงานวัด
เหล่านี้ก็เป็นความเห็นผิดทั้งของผู้เกี่ยวข้องและผู้จัดงานรวมถึงเจ้าภาพ
การทำตามคนอื่นเพราะเห็นคนอื่นทำก็เลยนึกว่าทำได้หรือนึกว่าถูกธรรมเนียม การทำอย่างขาดวิจารณญาณ ขาดความเข้าใจในศาสนา
หลายครั้งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องของคนในวัดเอง เน้นไปที่การดึงคนเข้าวัด เพราะหวังว่าคนเข้ามาจะได้มาสร้างบุญ กิจกรรมจึงเน้นไปที่ทำบุญ การดึงคนเข้าวัดบางครั้งจึงไม่ได้สนใจในวิธีการ เมื่อทำกันบ่อยเข้า วัดโน้นก็ทำ วัดนี้ก็ทำ ใครๆก็ทำ จึงกลายเป็นเรื่องถูกต้องในสังคมศาสนาของบ้านเราไป (ไม่รู้บ้านอื่นเมืองอื่นมีหรือไม่)
เมื่อคนเข้าวัดมาก มีคนศรัทธามาก มีการทำบุญมาก เงินทำบุญก็มาก เลยสร้างมาก เมื่อสร้างมากก็สร้างอีก ก็กลับไปที่เรื่องเดิมคือให้คนเข้ามามากต่อไปวนเป็น loop แห่งความไม่รู้
ผมไม่ได้บอกว่าการสร้างเป็นสิ่งผิด แต่การสร้างมากเกินไปก็เกินความจำเป็นและบางครั้งอาจถึงขั้นไม่มีความจำเป็นด้วยซ้ำ ยิ่งสิ่งนั้นใหญ่โตหรูหราอลังการฟู่ฟ่าและใช้เงินมากเท่าไหร่ยิ่งสะท้อนภาวะจิตที่ไม่ได้ก้าวไปไหนไกลเกินกิเลสเท่าใดนักของผู้ดำริและผู้ร่วม
พระพุทธเจ้าสอนให้เราสละ เพื่อสละตั้งแต่เปลือกนอกคือความตระหนี่ในวัตถุ สลัดสิ่งที่ไม่ควรกระทำ สิ่งที่ทำให้ยึดติดเหนียวแน่น เป้าหมายปลายทางของการสละคือสละทิ้งซึ่งความยึดมั่นว่ามีตัวตน ละซึ่งกิเลส เพื่อให้พ้นทุกข์ โดยมีกระบวนการคือ ศรัทธา จาคะ ศีล สมาธิ และปัญญาอยู่ระหว่างทาง
แต่การณ์กลับเป็นว่า มีการสอนให้จ้ำอยู่กับที่กับก้าวแรกๆ คือ การสร้างศรัทธา และการให้ (วัดหรือพระ) ไม่ว่าจะเรียกว่า ทำบุญ บริจาคหรืออะไรก็ตาม เรายังวนเวียนอยู่จุดเดิม ด้วยความเชื่อที่ถูกชักจูงให้เชื่ออย่างนั้น
แม้แต่การรักษาศีล ก็เป็นไปอย่าง ยึดมั่นในรูปแบบและกระทำโดยการทำแบบสืบต่อกันมา โดยไม่เข้าใจในเหตุผลหรือความมุ่งหมาย กลายเป็นศีลพรตไป (ศีลพตปรามาส) กลายเป็นว่าคนธรรมดาไม่จำเป็นต้องรักษาศีล การรักษาศีลเป็นเรื่องของคนดี เป็นเรื่องของคนธรรมะธรรมโม
หรือ การมองอย่างเราเขา มองด้วยมานะ มองด้วยสายตาของคนติดดี ว่า เรารักษาศีล เราดี คนอื่นไม่รักษาศีลหรือไม่ได้ทำเท่าเรา เป็นคนชั่ว
เมื่อเราขาดการพิจารณา (โยนิโสมนสิการ) ขาดกัลยาณมิตรช่วยนำพา และขาดการศึกษา (สิกขา) การปฏิบัติจากการขาดสิ่งเหล่านี้ก็ง่ายที่จะผิดพลาด และหลุดไถลออกจากขอบเขตของศาสนาพุทธอย่างไม่รู้ตัว
และน่าเสียดายที่หลายๆครั้งพบว่านักปฏิบัติภาวนาไม่สามารถเชื่อมโยงธรรมเข้ากับชีวิตที่ลดทุกข์หรือการใช้ชีวิตอย่างไม่ทุกข์ตามภาวะจากผลการปฏิบัติได้
ด้วยความไม่เข้าใจในพระธรรมอย่างทั่วถึงและไม่สามารถเชื่อมโยงพระธรรมอันมากมายสู่จุดหมายเดียวกันตามที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนได้
เพราะเข้าใจว่าการปฏิบัติเป็นการทำในลักษณะแยกส่วน คนทำทานก็บริจาค ก็ทำบุญไปตามประสาคนใจบุญสุนทาน คนรักษาศีลก็ทำตัวเป็นคนดีไป คนปฏิบัติภาวนาก็นั่งสมาธิไป
เราแยกส่วนความรู้ออกจากกัน ทำขั้นใดขั้นหนึ่งเฉพาะหน้าและละเลยที่จะมองปลายทางทั้งในภาพรวมและในรายละเอียดที่เรียงร้อยถักทอไปสู่ภาพใหญ่นั้นด้วยความไม่รู้
ความศรัทธา การให้ทาน การรักษาศีล การปฏิบัติสมาธิภาวนา ล้วนมีมาก่อนที่พระพุทธเจ้าจะทรงตรัสรู้ทั้งสิ้น
แต่การปฏิบัติเหล่านี้ไม่ใช่สิ่งที่ช่วยให้พ้นทุกข์หรือหลุดพ้น การปฏิบัติเหล่านี้มีคุณในแง่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติเพื่อก้าวต่อไปในปัญญาเพื่อถึงวิมุตติ เอื้อต่อภาวะหลุดพ้นทุกข์และไม่กำเริบอีกหรือนิพพาน อันเป็นขอบเขตและจุดหมายของศาสนาพุทธ
แต่หากปฏิบัติด้วยความไม่รู้ ไม่ปฏิบัติด้วยปัญญา สิ่งที่ทำก็ไม่ต่างกับการทำตามลักธิความเชื่ออื่นที่มีแนวทางมาก่อนศาสนาพุทธ ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด แต่ถือเป็นเพียงการปฏิบัติที่มุ่งหวังต่อบุญและความเจริญของจิตใจบางด้าน แต่ยังไม่เข้าตรงตามหัวใจ ตามความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา
ยิ่งถูกป้อนข้อมูล ให้ความหมายและความมุ่งหมายในการปฏิบัติที่ผิดเพี้ยน ทำให้ยิ่งผู้ตั้งใจปฏิบัติคลาดออกจากมัชฌิมาปฏิปทาและไม่มุ่งไปสู่จุดหมายของพุทธศาสนา
จึงเป็นเรื่องน่าเสียดาย หากเราจะมีสิ่งที่ช่วยส่งเสริมสู่จุดมุ่งหมายของพระศาสนาแล้วด้วยศรัทธา ด้วยจาคะ ด้วยศีล ด้วยภาวนา ตามภูมิแห่งธรรมที่เรามี แต่เราทำด้วยความไม่รู้ ทำด้วยความไม่เข้าใจ ทำด้วยอวิชชา ทำด้วยตัณหา ทำ้ด้วยความยึดติด ทำด้วยความเข้าใจผิด
เชื่อว่าเรืองนี้อาจเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงต่อการพูดถึง อาจมีคนก่นด่า ไม่เข้าใจ หรือยังยึดถือในความเห็นเดิมของตนมากมาย
แต่ผมเชื่อว่าอาจทำให้บางคนพึงเ้ข้าใจและเห็นอะไรได้ชัดขึ้น เพื่อการปฏิบัติดี ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์ ปฏิบัติสมควร แม้สักเพียงเล็กน้อย นั่นก็เพียงพอและสมความมุ่งหมายแล้ว
และหวังว่าผู้ใฝ่ใจศึกษาและปฏิบัติ ตลอดจนผู้รู้คงมาช่วยขัดเกลาและส่งเสริมในส่วนที่อยุ่เหนือความรู้ความเข้าใจของผม ให้กว้างขวางลึกซึ้ง(อย่างง่ายๆ) เหมาะแก่การทำความเข้าใจของผู้สนใจและดำเนินอยู่บนทางธรรมมากยิ่งขึ้นไปครับ