@@@ มุมกาแฟNONแดง(มุมนี้ไม่มีใครเป็นเสื้อแดง) อาทิตย์ที่ 15/09/2013: คิดอย่างไรต่อการขึ้นภาษีสุรา

http://ppantip.com/topic/30978285
เสาร์ที่ 14/09/2013: อั้ม เนโกะ เครื่องแบบนศ.คือ รากเหง้าเผด็จการทหาร?

ต้นกำเนิด nonแดง โปรดดูรายละเอียดได้ที่นี่

http://topicstock.ppantip.com/rajdumnern/topicstock/2012/05/P12108539/P12108539.html


**รายชื่อสมาชิกชาว NONแดง (ผู้กล้าประกาศตัวว่าไม่เป็นคนเสื้อแดง)**

[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้

สมาชิกรอรับบัตร
480   crankyface

สำหรับสมาชิกใหม่รวบรวมบัตรสมาชิกไว้ที่นี่ครับ
http://ppantip.com/topic/30689712


แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
http://ppantip.com/topic/30793052
กิจกรรม ร่วมซื้อเสื้อยืดปันน้ำใจสู่ทหารหาญ By กลุ่ม NON แดง



ความคิดเห็นที่ 1
ปล่อยข่าวหลุดมาตั้งแต่สัปดาห์ก่อน ว่ารัฐบาลกำลังเตรียมการชงโครงสร้างภาษีสุราใหม่ ให้ ครม.ตีตรายางบังคับใช้ ส่งผลให้ตลาดแอลกอฮอล์เกิดการกักตุนสินค้ากันขนานใหญ่ จากข่าววงในระบุว่า บรรดายี่ปั๊วซาปั๊วเหมือน "นกรู้" รีบเก็บของเข้าสต็อกกันตั้งแต่รัฐบาลยังไม่ประกาศขึ้นภาษีอย่างเป็นทางการด้วยซ้ำ

    แต่แล้วเพื่อเป็นการตัดวงจร เมื่อวันที่ 3 ก.ย.ที่ผ่านมา  กระทรวงการคลังก็เร่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบ  พ.ร.ก.แก้ไข พ.ร.บ.สุรา พ.ศ.2493 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างภาษีสุราทั้งระบบ และให้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันที่ 4 ต.ค.ที่ผ่านมา

    นับเป็นการตัดสินใจลุยไฟ แบบไม่ต้องคิดเยอะ ขึ้นโช๊ะทันที โดยไม่สนใจว่าตัวเองกำลังรับศึกหนัก ปัญหา "ราคาสินค้าแพง" ที่กำลังประสบอยู่ในขณะนี้
    สาเหตุที่ไม่ต้องคิดเยอะ เพราะก็รู้กันดีว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นสินค้าฟุ่มเฟื่อย และเป็นของให้โทษ แม้ว่าจะมีการดื่มกินอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่ใครจะไปค้านและต่อต้าน ในสิ่งที่รู้ว่า "ไม่ดี" ยังไงคนกิน คนดื่ม ก็ต้องรับสภาพกันไป สรุปเคสการขึ้นภาษีในครั้งนี้จึงกระทำง่ายๆ แบบไม่มีแรงเสียดทานอะไรทั้งสิ้น

    แน่นอน การปรับโครงสร้างภาษีสุราในครั้งนี้ รัฐบาลมีเหตุผลแบบโลกสวยว่า ไม่ได้หวังจะหาเงินเพิ่มจากภาษีสุรา แต่มุ่งหวังที่จะควบคุมการบริโภคสุราของคนไทยให้ลดลงต่างหาก  สอดรับกับกรมสรรพสามิต ยังอ้างผลการศึกษา สนับสนุนว่า การปรับปรุงโครงสร้างภาษีดังกล่าวจะทำให้ประชาชนลดการบริโภคสุรา เบียร์ และไวน์ ลดลง 5% เนื่องจากราคาขายปลีกในสินค้าจะปรับเพิ่มขึ้น 10-15%

   แต่เรื่องที่รัฐบาลบอกว่าไม่หวังเงินนั้น "อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ" เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่า ตอนนี้รัฐบาลกำลังตึงมือมาก ในการหารายได้เข้ารัฐ เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการทยอยลดภาษีเงินได้ ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลไปเพียบ แถมรายได้จากภาษีศุลกากรก็มีแต่ลดลง จากการเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) และการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ยังไงก็ต้องหาช่องอุด และเรื่องภาษีบาป หรือภาษีฟุ่มเฟือยนี้แหละที่จะช่วยโปะบัญชีตัวแดงของรัฐบาลได้ดีที่สุด และมีแรงเสียดทานน้อยที่สุด
    

ทั้งนี้ จากการคำนวณของกรมสรรพสามิต ระบุว่าโครงสร้างภาษีสุราใหม่จะทำให้ราคาสุรามีการปรับขึ้นเฉลี่ย 10-15% มากน้อย ขึ้นอยู่กับปริมาณแอลกอฮอล์ ซึ่งโครงสร้างใหม่จะทำให้สรรพสามิตเก็บรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,200-1,300 ล้านบาท/เดือน เหรือ 1 ปีก็เพิ่มกว่า 10,000 ล้านบาท
    จากข้อมูลระบุว่า ปัจจุบันรัฐบาลเก็บภาษีจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้เฉลี่ยปีละ 60,000 ล้านบาท และจากนี้ภาษีในส่วนนี้ก็จะเพิ่มในหลัก 70,000 ล้านบาทเลยทีเดียว  

   ดูยังไงการขึ้นภาษีในครั้งนี้เรื่องเงินน่าจะเป็นเรื่องหลัก  ส่วนเหตุผลเพื่อให้คนบริโภคลดลง และปรับปรุงโครงสร้างให้ยุติธรรม นับเป็นเหตุผลรองๆ ลองมา

   ลองดูตัวเลขจัดเก็บรายได้รัฐบาลล่าสุด พบว่าภาษีตัวใหญ่ๆ อย่าง ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) อาจจะเก็บได้ต่ำกว่าเป้า 9.7 พันล้านบาท ขณะที่ภาษีนิติบุคคลคาดว่าจะเก็บได้ 6.4 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้า 5 หมื่นล้านบาท จากการลดภาษีนิติบุคคลเหลือ 20% เห็นได้ชัด รัฐบาลมีภาระในการใช้เงินอย่างมาก แต่รายได้ลดลง ดังนั้นการขึ้นภาษีจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เชื่อว่าอีกไม่นานเราอาจจะเห็นการปรับขึ้นภาษียาสูบ และเครื่องดื่มอีกหลายประเภทแน่ๆ
    

อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าการปรับวิธีการจัดเก็บใหม่ โดยยึดวิธีคำนวณภาษีจากราคาขายส่งขั้นสุดท้าย แทนที่จะเก็บจากราคาหน้าโรงงานในอดีตนั้น คนในวงการน้ำเมามองว่า อาจจะเป็นยาพิษ ทำลายอุตสาหกรรมในประเทศทั้งระบบก็เป็นได้  

    อย่างความเห็นของคนในวงการ อย่าง นายสุธาบดี สัตตบุศย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท สิงห์ คอร์​เปอ​เรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า การปรับวิธีการเก็บภาษีสุราโดยการเก็บภาษีจากราคาขายส่งขั้นสุดท้ายนั้น เป็นวิธีคิดที่ไม่มีความเป็นมาตรฐาน เนื่องจากเป็นการนำต้นทุนทั้งกระบวนการของผู้ประกอบการมาคิดรวมเป็นภาษีของผู้ผลิต ดังนั้นการจะให้ผู้ผลิตมาแบกรับภาระในส่วนนี้ถือว่าไม่ถูกต้อง

    “ปัจจุบันรายได้ต่อขวดหลังหักภาษีก็มีน้อยมากอยู่แล้ว ยกตัวอย่างเบียร์ลีโอ 630 มล. โรงงานขายในราคา 30 บาท/ขวด ต้องเสียภาษี 20 บาท โดย 10 บาทที่เหลือเป็นรายได้ และเมื่อหักลบต้นทุนแล้วจะมีกำไรไม่ถึง 1-2 บาท ซึ่งหากคำนวณภาษีแบบใหม่ที่ปลายทาง หากร้านค้าจำหน่าย 60 บาท/ขวด แต่บริษัทยังคงขายที่ 30 บาท และต้องเสียภาษี 48% หรือประมาณ 29 บาท เท่ากับว่าบริษัทมีรายได้ 1 บาท/ขวด จากปกติที่จะได้ 10 บาท/ขวด ก็คือจะไม่ได้กำไรเลย นอกจากนี้บริษัทก็ไม่สามารถรู้ได้เลยว่าต้นทุนร้านค้าแต่ละแห่งเป็นเท่าไหร่ และเป็นต้นทุนจริงหรือไม่ ซึ่งจะให้มาจ่ายภาษีส่วนนี้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับบริษัทเลย จึงเป็นหลักการที่ไม่ควรนำมาใช้” นายสุธาบดีกล่าว

    จากนี้คงต้องติดตามสถานการณ์ตลาดเบียร์อย่างใกล้ชิด ว่าจะออกมาหมู่หรือจ่า ดูแนวแล้วท่าทางอุตสาหกรรมเบียร์ช่วงปลายปีจะหดตัวอย่างรุนแรงชัวร์.

http://www.thaipost.net/news/060913/78887
ความคิดเห็นที่ 14
ความคิดเห็นที่ 17
หวัดดีค่ะทุกคนนนนนนนน         ดอกไม้


ขึ้นเลยค่ะ ภาษีขี้เมา  ต่อให้แพงยังไง คนขี้เมา ก็ยังยืนยันมั่นคงที่จะใช้บริการเครื่องดื่มประเภทนี้อยู่ดีนั่นแหละ
ขี้เมาซะอย่าง  แพงไงก็ไม่เกี่ยงงอนอยู่แล้ว     ใช่มั๊ยคะ   คนขี้เมา
ความคิดเห็นที่ 15


คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ


เพลงนี้ฝากคุณฝิ่นนะจ๊ะ

เล่นไปดู THE VOICE... เพลิดเพลินจำเริญใจใครมากดสยอง เตะก้านคอ!
ภาษีเหล้าขึ้นเยอะๆ สูงๆ จัดหนักไปเลย สนับสนุน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่