วันนี้(14 ก.ย.)ที่โรงแรมวินเซอร์ สวีทส์ กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดประชุมเสวนา เรื่อง"การพัฒนาระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา" โดยนายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า จากที่ตนมีนโยบายเร่งรัดปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบให้สัมพันธ์และเชื่อมโยงกัน รวมทั้งต้องการกระจายโอกาสทางการศึกษา เพื่อผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ ซึ่งส่วนหนึ่งทำให้การปฏิรูปสำเร็จได้ จะต้องมีการปรับระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา เนื่องจากการจัดการเรียนสอนต่าง ๆ จะต้องมุ่งเน้นเข้าเรียนต่อระดับอุดมศึกษา แต่ที่ผ่านมาการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยมีปัญหามาก โดยเฉพาะการรับตรง ที่มหาวิทยาลัยต่างคนต่างรับ จัดสอบกันหลายครั้งตามอัธยาศัย ทำให้ผู้ปกครองและนักเรียนเสียค่าใช้จ่ายในการสอบจำนวนมาก บางคนต้องเสียค่าสมัครสอบเป็นแสน โดยที่ยังไม่รวมค่ากวดวิชา ขณะที่มหาวิทยาลัยบางแห่งก็ได้รับเงินจากการเปิดรับตรงหลายสิบล้านบาท ซึ่งคนรวยจะได้เปรียบที่จะเลือกสอบหลายที่ แต่คนจนสอบได้เพียง 1-2 แห่งก็มากเกินพอแล้ว
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ข้อสอบที่นำมาคัดเลือกก็ออกเกินหลักสูตร ทำให้เด็กหนีไปกวดวิชา เพราะเด็กเรียนในระบบโรงเรียนแล้วไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น ตนเห็นว่าต้องปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และเท่าที่ดูหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในจัดการศึกษา ส่วนใหญ่ระบบการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีการรับตรง แต่จะใช้ระบบรับกลาง และมีวิธีการออกข้อสอบ และการจัดสอบที่ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถคัดเลือกเด็กได้ตามต้องการ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการคัดเลือกจะต้องไปดูว่าจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด
พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ เยาวชน เพื่อการปฎิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตนอยากให้ รมว.ศึกษาธิการกล้า ๆ ตัดสินใจที่จะปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยกเลิกการสอบรับตรงของมหาวิทยาลัย เพราะเป็นการสร้างภาระให้กับเด็ก และผู้ปกครอง ต้องเสียเงินจำนวนมาก และวิ่งรอกสอบ แต่การรับตรงสร้างกำไรให้มหาวิทยาลัยจำนวนมาก ส่วนการรับโควตาให้คงไว้ เพราะเป็นการให้โอกาสกับเด็กในต่างจังหวัดได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
http://www.dailynews.co.th/education/233108
รมว.ศธ. ไม่เห็นด้วยกับระบบรับตรงเข้ามหาวิทยาลัย
นายจาตุรนต์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ข้อสอบที่นำมาคัดเลือกก็ออกเกินหลักสูตร ทำให้เด็กหนีไปกวดวิชา เพราะเด็กเรียนในระบบโรงเรียนแล้วไม่สามารถสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น ตนเห็นว่าต้องปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และเท่าที่ดูหลายๆ ประเทศที่ประสบความสำเร็จในจัดการศึกษา ส่วนใหญ่ระบบการคัดเลือกเด็กเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย ไม่ค่อยมีการรับตรง แต่จะใช้ระบบรับกลาง และมีวิธีการออกข้อสอบ และการจัดสอบที่ทำให้มหาวิทยาลัยสามารถคัดเลือกเด็กได้ตามต้องการ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการคัดเลือกจะต้องไปดูว่าจะมีวิธีการอย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับประเทศไทยมากที่สุด
พ.ญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี ประธานเครือข่ายพ่อแม่ เยาวชน เพื่อการปฎิรูปการศึกษา กล่าวว่า ตนอยากให้ รมว.ศึกษาธิการกล้า ๆ ตัดสินใจที่จะปรับระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย โดยเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยกเลิกการสอบรับตรงของมหาวิทยาลัย เพราะเป็นการสร้างภาระให้กับเด็ก และผู้ปกครอง ต้องเสียเงินจำนวนมาก และวิ่งรอกสอบ แต่การรับตรงสร้างกำไรให้มหาวิทยาลัยจำนวนมาก ส่วนการรับโควตาให้คงไว้ เพราะเป็นการให้โอกาสกับเด็กในต่างจังหวัดได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัย
http://www.dailynews.co.th/education/233108