บ่อยครั้งที่เราได้เห็นการมาคู่กันของ "ระบอบประชาธิปไตย" และ "ระบบทุนนิยม" สองระบบนี้มักมาคู่กันเสมอ อาจจะเป็นเพราะระบอบประชาธิปไตยนั้น ให้อิสระแก่คนในการที่จะคิดและทำในสิ่งต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบที่ใครกำหนดไว้ ดังนี้เองจึงเป็นการเปิดโอกาสให้คนสามารถแข่งขันกันได้อย่างเต็มที่ ใครดีใครได้ และมักลงเอยที่ผู้อ่อนแอจะแพ้ผู้แข็งแรงกว่าอยู่เรื่อยไป
ประเทศไทยเราก็เป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้สิทธิเสรีภาพแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน การเรียกร้องสิทธิ์ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ผิด เหมือนกรณีที่นักศึกษา "อั้ม เนโกะ" ได้ต่อต้านการใส่ชุดนักศึกษา โดยเธอมองว่าเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ เธอจึงได้ประท้วงตามสิทธิที่เธอมี โดยการทำโปสเตอร์แสดงภาพการอิริยาบทการมีเพสสัมพันธ์ออกมา เพื่อเป็นการต่อต้านการใส่ชุดฟอร์มนักศึกษาดังกล่าว
ในอีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยเรานั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อประเทศได้เปิดเสรีมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์ ก็มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือการต่อสู้กันระหว่าง พระที่ยึดหลักปฏิบัติแบบดั้งเดิมและพระที่ยึดหลักปฏิบัติแบบสมัยใหม่ ซึ่งก็คือ วัดพระธรรมกาย โดยพระ ว.วชิรเมธี ได้อธิบายไว้ใจความว่า "หลักการปฏิบัติของวัดแห่งนี้เป็นอันตรายต่อพุทธศาสนา"
อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/90904
อ้างอิง วิทยานิพนธ์ http://www.mcu.ac.th/thesis_file/254620.pdf
เหตุการณ์ทั้งสองนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศถุกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต จึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่สังคมไทยเราต้องเจอ และดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หนักหนาอยู่พอสมควร เพราะทั้งสองเรื่องนี้ขัดกันอย่างสิ้นเชิงกับความเป็น "สังคมไทย"
เริ่มด้วยการประท้วงของนักศึกษา "อั้ม เนโกะ" ซึ่งสิ่งที่เธอใช้ประท้วงคือ "เรื่องเพศ" โดยเห็นว่าสังคมไทยนั้น ไม่ยอมรับเรื่องเพศ เห็นเป็นเรื่องน่าอาย และเป็นที่มาของปัญหาสังคมโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น เมื่อข่าวเผยแพร่ออกไปแล้ว ก็เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์มากมายถึงความไม่เหมาะสมของภาพ โดยบางคนคิดว่า "ไม่เหมาะป็นอย่างยิ่ง" บางคนก็คิดว่า "เธอมีสิทธิ์ที่จะทำ"
เมื่อเรามองในแง่ของความเป็นไทยแล้ว การเผยแพร่ภาพในรูปแบบนั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร มีน้อยคนที่ยอมรับกับการกระทำนั้น แต่ส่วนมากรับไม่ได้กับการกระทำดังกล่าว ทุกคนทราบดีว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ไม่ควรนำออกมาเผนแพร่ในที่สาธารณะ มันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนหน้า ซึ่งเราก็ทราบเหตุผลดีว่าทำไม
อ้างอิง
“อั้ม เนโกะ” แกนนำแอนดี้ “ชุดนักศึกษา” อ้างเสรีภาพ หรือ (แค่)อยากดัง
'อั้ม เนโกะ' ผู้ปฏิเสธเครื่องแบบ มธ.
มธ.เตือน!'อั้ม เนโกะ'ปมโปสเตอร์
'อั้ม เนโกะ' แจงภาพสวมบิกินีเป็นกิจกรรมในคณะ ไม่เกี่ยวกับการต้านชุดนักศึกษา
เรื่องที่สองเป็นเรื่องของศาสนา ที่ดูเหมือนว่าจะแย่ลงทุกวัน หลายคนบอกว่า "พระ" เป็นต้นเหตุของเรื่อง บางคนก็บอกว่าเป็นเพราะ "หลักคำคำสอน" หนึ่งในนั้นคือท่าน ว.วชิรเมธี ท่านได้ทำวิทยานิพนธ์โดยชี้ว่า วัดพระธรรมกาย เป็นอันตรายต่อศาสนา การต่อสู้นี้ไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่ที่รู้อย่างหนึ่งคือ ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย การทำตามกฏดั่งเดิมอาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป
ไทยกำลังเดินรอยตามประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศต้นแบบของประชาธิปไตย เป็นที่มาของระบบทุนนิยม บางคนก็เรียกว่า "ลัทธิทุนนิยม" ระบบนี้ใช้เงินในการขับเคลื่อนธุรกิจ ใช้เงินในการรวบรวม,คว่านซื้อและสร้างเอกลักษณ์ เป็นภัยอย่างยิ่งกับระบบการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและพอเพียง
ในทางศาสนาก็เช่นกัน ไม่มีอะไรจะเป็นปฏิปักษ์กับพุทธศาสนาได้เท่ากับ "ลัทธิวัตถุนิยม" (ในความเข้าใจของผู้เขียนนั้น ลัทธิวัตถุนิยมไม่ต่างกับลัทธิทุนนิยม) ลัทธินี้เห็นความเจริญทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ และแน่นอนว่าการจะทำให้วัตถุมีความเจริญ ก็จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นหลัก
วัดพระธรรมกายเคยมีข่าวในด้านนี้บ่อยครั้ง เช่น
การกู้เงินทำบุญ การบูชาลูกแก้ว ธุดงค์ธรรมชัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดมีขึ้น เมื่อระบบทุนนิยมเข้ามาในไทย แน่นอนว่ามันไม่มีอยู่ในหลักของพุทธศาสนาเลย แต่ด้วยอำนาจของเงินจึงทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดมีขึ้นได้
หลายคนคงได้ยินคำว่า "วัฒนธรรมป๊อป" (Popular Culture) วัฒนธรรมนี้มาพร้อมกับทุนนิยม และในอนาคตทุกวัฒนธรรมก็จะถูกครอบงำหรือทำให้หมดสิ้นไปเพราะวัฒนธรรมนี้ วัฒนธรรมนี้ไม่สนใจเรื่องของศีลธรรม ความเชื่อ ฯลฯ เน้นเพียงการกระทำที่เป็นกระแส ความนิยมชมชอบ ความคลั่งไคล้ ในตัวบุคคลหรืออาจะเป็นสิ่งของก็ได้ ในกรณีวัดพระธรรมกายก็เช่นกัน ที่ไม่ได้ยึดพระพุทธเจ้าเป็นหลัก แต่จะยึดผู้กำเนิด "วิชชาธรรมกาย"
พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นเหมือนศาสดา ซึ่งจริงๆ แล้วพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาพระองค์เดียว
แน่นอนว่าความเชื่อเก่าแก่ ย่อมใช้ไม่ได้แล้วกับคนยุคใหม่ แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ที่ตรัสรู้ธรรม ซึ่งคำสอนของพระองค์เมื่อเข้าสู่ยุคประชาธิปไตย จึงเป็นแค่สินค้าในการทำกำไรเท่านั้น เพราะคนสมัยใหม่มีสิทธิเสรีในการคิด ในการเลือก จึงไม่แปลกที่เขาจะเลือกเชื่อในสิ่งที่ตนเห็น สิ่งที่ตนได้สัมผัส ซึ่งก็คือ วัตถุ ดารานักร้องที่ชอบ เพราะสิ่งเหล่านี้มีตัวตนจริงๆ แต่ในทางกลับกัน "พระนิพพาน" ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้นั้น ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเป็นแค่เรื่องหลอกลวง ในเมื่อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ก็ยากที่จะทำให้คนยุคใหม่เชื่อได้
ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของ "ธรรมกาย" เพราะวัดเล็งเห็นแล้วว่า เงินเท่านั้นที่จะทำให้ศาสนาอยู่รอด (ช่วยให้พระที่อยากสบาย อยู่รอด) ประกอบกับที่ยังมีคนส่วนมาก (รุ่นพ่อแม่) เชื่อในเรื่องบุญบารมี จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หากจะเอาบุญมาขายเป็นสินค้าทางจิตวิญญาณ ไม่เพียงแค่นั้น วัดยังทราบถึงนิสัยของคนยุคใหม่ ที่ชอบความสะดวกสบายเป็นที่ตั้ง จึงทำให้มีสิ่งเหล่านี้ เช่น กู้เงินทำบุญ, ทำบุญผ่านบัตรเครดิต , วัดมีลิฟท์ ฯลฯ ก็เพราะทุกคนมีสิทธิไม่เว้นว่าจะเป็นพระ ก็มีสิทธิ์ที่จะทำในสิ่งที่ต้องการได้เช่นกัน
อีกไม่นานศาสนาพุทธก็จะเป็นเหมือน แมคโดนัล,สตาร์บัค,KFC, เป็บซี่ ฯลฯ แต่สินค้าคือ "บุญแพ็คกล่อง" กระจายไปทั่วโลก มันเป็นการปรับตัวเข้าสู่ความเสรี เพราะเสรีภาพทำให้วินัยสงฆ์เป็นสิ่งที่สามารถต่อต้านได้และไม่ยอมรับได้ เพราะหากจะอยู่รอดในยุคปัจจุบันต้องพยายามคิดนอกกรอบเข้าไว้นั่นเอง
ถึงจุดนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า "กฏระเบียบ" เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เมื่อเรานำมาใช้กับระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้ยากที่จะหาคำตอบว่า สิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก สิ่งไหนควรหรือไม่ควร เพราะทุกอย่างล้วนมีสิทธิค้ำคออยู่เสมอ ทุกวันนี้จึงได้แต่ครุ่นคิดว่า เราโชคดีจริงหรือ? ที่ได้อยู่ในประเทศที่เสรีเช่นนี้
บทความโดย bank9597
"อั้ม เนโกะ" บรรจบ "ธรรมกาย" ว่าด้วยเรื่องสิทธิ เสรีภาพ ในสังคมไทย สังคมชาวพุทธ
ประเทศไทยเราก็เป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทุกคนอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งให้สิทธิเสรีภาพแก่ทุกคนเท่าเทียมกัน การเรียกร้องสิทธิ์ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ไม่ผิด เหมือนกรณีที่นักศึกษา "อั้ม เนโกะ" ได้ต่อต้านการใส่ชุดนักศึกษา โดยเธอมองว่าเป็นการริดรอนสิทธิเสรีภาพ เธอจึงได้ประท้วงตามสิทธิที่เธอมี โดยการทำโปสเตอร์แสดงภาพการอิริยาบทการมีเพสสัมพันธ์ออกมา เพื่อเป็นการต่อต้านการใส่ชุดฟอร์มนักศึกษาดังกล่าว
ในอีกด้านหนึ่ง ประเทศไทยเรานั้นก็ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธ ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาท เมื่อประเทศได้เปิดเสรีมากขึ้น เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่ความศิวิไลซ์ ก็มีข่าวในแง่ลบเกี่ยวกับพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้นคือการต่อสู้กันระหว่าง พระที่ยึดหลักปฏิบัติแบบดั้งเดิมและพระที่ยึดหลักปฏิบัติแบบสมัยใหม่ ซึ่งก็คือ วัดพระธรรมกาย โดยพระ ว.วชิรเมธี ได้อธิบายไว้ใจความว่า "หลักการปฏิบัติของวัดแห่งนี้เป็นอันตรายต่อพุทธศาสนา"
อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/90904
อ้างอิง วิทยานิพนธ์ http://www.mcu.ac.th/thesis_file/254620.pdf
เหตุการณ์ทั้งสองนี้เกิดขึ้นในช่วงที่ประเทศถุกปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย เป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในอดีต จึงถือว่าเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่สังคมไทยเราต้องเจอ และดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่หนักหนาอยู่พอสมควร เพราะทั้งสองเรื่องนี้ขัดกันอย่างสิ้นเชิงกับความเป็น "สังคมไทย"
เริ่มด้วยการประท้วงของนักศึกษา "อั้ม เนโกะ" ซึ่งสิ่งที่เธอใช้ประท้วงคือ "เรื่องเพศ" โดยเห็นว่าสังคมไทยนั้น ไม่ยอมรับเรื่องเพศ เห็นเป็นเรื่องน่าอาย และเป็นที่มาของปัญหาสังคมโดยเฉพาะเด็กวัยรุ่น เมื่อข่าวเผยแพร่ออกไปแล้ว ก็เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์มากมายถึงความไม่เหมาะสมของภาพ โดยบางคนคิดว่า "ไม่เหมาะป็นอย่างยิ่ง" บางคนก็คิดว่า "เธอมีสิทธิ์ที่จะทำ"
เมื่อเรามองในแง่ของความเป็นไทยแล้ว การเผยแพร่ภาพในรูปแบบนั้นถือเป็นสิ่งที่ไม่สมควร มีน้อยคนที่ยอมรับกับการกระทำนั้น แต่ส่วนมากรับไม่ได้กับการกระทำดังกล่าว ทุกคนทราบดีว่าเรื่องเพศเป็นเรื่องที่ไม่ควรนำออกมาเผนแพร่ในที่สาธารณะ มันเป็นแบบนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนหน้า ซึ่งเราก็ทราบเหตุผลดีว่าทำไม
อ้างอิง “อั้ม เนโกะ” แกนนำแอนดี้ “ชุดนักศึกษา” อ้างเสรีภาพ หรือ (แค่)อยากดัง
'อั้ม เนโกะ' ผู้ปฏิเสธเครื่องแบบ มธ.
มธ.เตือน!'อั้ม เนโกะ'ปมโปสเตอร์
'อั้ม เนโกะ' แจงภาพสวมบิกินีเป็นกิจกรรมในคณะ ไม่เกี่ยวกับการต้านชุดนักศึกษา
เรื่องที่สองเป็นเรื่องของศาสนา ที่ดูเหมือนว่าจะแย่ลงทุกวัน หลายคนบอกว่า "พระ" เป็นต้นเหตุของเรื่อง บางคนก็บอกว่าเป็นเพราะ "หลักคำคำสอน" หนึ่งในนั้นคือท่าน ว.วชิรเมธี ท่านได้ทำวิทยานิพนธ์โดยชี้ว่า วัดพระธรรมกาย เป็นอันตรายต่อศาสนา การต่อสู้นี้ไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่ที่รู้อย่างหนึ่งคือ ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย การทำตามกฏดั่งเดิมอาจจะไม่ได้ผลอีกต่อไป
ไทยกำลังเดินรอยตามประเทศที่พัฒนาแล้ว อย่าสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศต้นแบบของประชาธิปไตย เป็นที่มาของระบบทุนนิยม บางคนก็เรียกว่า "ลัทธิทุนนิยม" ระบบนี้ใช้เงินในการขับเคลื่อนธุรกิจ ใช้เงินในการรวบรวม,คว่านซื้อและสร้างเอกลักษณ์ เป็นภัยอย่างยิ่งกับระบบการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่ายและพอเพียง
ในทางศาสนาก็เช่นกัน ไม่มีอะไรจะเป็นปฏิปักษ์กับพุทธศาสนาได้เท่ากับ "ลัทธิวัตถุนิยม" (ในความเข้าใจของผู้เขียนนั้น ลัทธิวัตถุนิยมไม่ต่างกับลัทธิทุนนิยม) ลัทธินี้เห็นความเจริญทางด้านวัตถุเป็นสำคัญ และแน่นอนว่าการจะทำให้วัตถุมีความเจริญ ก็จำเป็นต้องอาศัยเงินเป็นหลัก
วัดพระธรรมกายเคยมีข่าวในด้านนี้บ่อยครั้ง เช่น การกู้เงินทำบุญ การบูชาลูกแก้ว ธุดงค์ธรรมชัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้เกิดมีขึ้น เมื่อระบบทุนนิยมเข้ามาในไทย แน่นอนว่ามันไม่มีอยู่ในหลักของพุทธศาสนาเลย แต่ด้วยอำนาจของเงินจึงทำให้สิ่งเหล่านี้เกิดมีขึ้นได้
หลายคนคงได้ยินคำว่า "วัฒนธรรมป๊อป" (Popular Culture) วัฒนธรรมนี้มาพร้อมกับทุนนิยม และในอนาคตทุกวัฒนธรรมก็จะถูกครอบงำหรือทำให้หมดสิ้นไปเพราะวัฒนธรรมนี้ วัฒนธรรมนี้ไม่สนใจเรื่องของศีลธรรม ความเชื่อ ฯลฯ เน้นเพียงการกระทำที่เป็นกระแส ความนิยมชมชอบ ความคลั่งไคล้ ในตัวบุคคลหรืออาจะเป็นสิ่งของก็ได้ ในกรณีวัดพระธรรมกายก็เช่นกัน ที่ไม่ได้ยึดพระพุทธเจ้าเป็นหลัก แต่จะยึดผู้กำเนิด "วิชชาธรรมกาย" พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) เป็นเหมือนศาสดา ซึ่งจริงๆ แล้วพุทธศาสนานั้นมีพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาพระองค์เดียว
แน่นอนว่าความเชื่อเก่าแก่ ย่อมใช้ไม่ได้แล้วกับคนยุคใหม่ แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ที่ตรัสรู้ธรรม ซึ่งคำสอนของพระองค์เมื่อเข้าสู่ยุคประชาธิปไตย จึงเป็นแค่สินค้าในการทำกำไรเท่านั้น เพราะคนสมัยใหม่มีสิทธิเสรีในการคิด ในการเลือก จึงไม่แปลกที่เขาจะเลือกเชื่อในสิ่งที่ตนเห็น สิ่งที่ตนได้สัมผัส ซึ่งก็คือ วัตถุ ดารานักร้องที่ชอบ เพราะสิ่งเหล่านี้มีตัวตนจริงๆ แต่ในทางกลับกัน "พระนิพพาน" ที่พระพุทธเจ้ากล่าวไว้นั้น ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเป็นแค่เรื่องหลอกลวง ในเมื่อพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้ก็ยากที่จะทำให้คนยุคใหม่เชื่อได้
ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของ "ธรรมกาย" เพราะวัดเล็งเห็นแล้วว่า เงินเท่านั้นที่จะทำให้ศาสนาอยู่รอด (ช่วยให้พระที่อยากสบาย อยู่รอด) ประกอบกับที่ยังมีคนส่วนมาก (รุ่นพ่อแม่) เชื่อในเรื่องบุญบารมี จึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร หากจะเอาบุญมาขายเป็นสินค้าทางจิตวิญญาณ ไม่เพียงแค่นั้น วัดยังทราบถึงนิสัยของคนยุคใหม่ ที่ชอบความสะดวกสบายเป็นที่ตั้ง จึงทำให้มีสิ่งเหล่านี้ เช่น กู้เงินทำบุญ, ทำบุญผ่านบัตรเครดิต , วัดมีลิฟท์ ฯลฯ ก็เพราะทุกคนมีสิทธิไม่เว้นว่าจะเป็นพระ ก็มีสิทธิ์ที่จะทำในสิ่งที่ต้องการได้เช่นกัน
อีกไม่นานศาสนาพุทธก็จะเป็นเหมือน แมคโดนัล,สตาร์บัค,KFC, เป็บซี่ ฯลฯ แต่สินค้าคือ "บุญแพ็คกล่อง" กระจายไปทั่วโลก มันเป็นการปรับตัวเข้าสู่ความเสรี เพราะเสรีภาพทำให้วินัยสงฆ์เป็นสิ่งที่สามารถต่อต้านได้และไม่ยอมรับได้ เพราะหากจะอยู่รอดในยุคปัจจุบันต้องพยายามคิดนอกกรอบเข้าไว้นั่นเอง
ถึงจุดนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า "กฏระเบียบ" เป็นสิ่งที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่เมื่อเรานำมาใช้กับระบอบประชาธิปไตย ระบอบนี้ยากที่จะหาคำตอบว่า สิ่งไหนผิด สิ่งไหนถูก สิ่งไหนควรหรือไม่ควร เพราะทุกอย่างล้วนมีสิทธิค้ำคออยู่เสมอ ทุกวันนี้จึงได้แต่ครุ่นคิดว่า เราโชคดีจริงหรือ? ที่ได้อยู่ในประเทศที่เสรีเช่นนี้
บทความโดย bank9597