คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
นิวตริโน ไม่มีประจุไฟฟ้าครับ ดังนั้นมันจะไม่มีอันตรกริยากับแสง เพราะแสงเป็นอนุภาคสื่อนำแรงแม่เหล็กไฟฟ้า (แม้ว่าการทดลองเพิ่งจะยืนยันว่ามันมีมวลน้อยๆ เมื่อไม่นานมานี้ และเป็นไปได้ว่ามันอาจจะมีโมเมนต์แม่เหล็กซึ่งอาจจะทำให้มีอันตรกริยาแม่เหล็กไฟฟ้ากับแสงได้ แต่ก็ถือว่าน้อยมากๆ) ส่วนใหญ่แล้วนิวตริโนมีอันตรกริยากับอนุภาคอื่นผ่านอันตริกริยานิวเคลียร์แบบอ่อน หรือ weak interaction ทุกๆ วินาทีมีนิวตริโนเป็นล้านๆ ตัววิ่งผ่านคุณไปโดยไม่ชนกับอะไรเลย การตรวจจับนิวตริโนไม่ใช่ง่ายๆ เลย ด้วยความที่มันไม่ค่อยจะมีอันตรกริยากับใครนี่แหละ วิธีหนึ่งที่จะตรวจจับนิวตริโนเขาเอาน้ำเป็นล้านๆ ลูกบาศก์เมตร ใส่ถังขนาดยักษ์แล้วฝังลงใต้ดิน รอว่าจะมีนิวตริโนตัวไหนชนกับอะตอมในน้ำบ้าง แล้วตรวจจับสัญญาณมัน การทดลองบางอันไปใช้น้ำที่ขัวโลกใต้กันทีเดียวเช่น โปรเจคนี้เป็นต้น http://en.wikipedia.org/wiki/IceCube_Neutrino_Observatory
ปล แสงกับแสง (โฟตอนกับโฟตอน) ก็ไม่ชนกันเองนะครับ crossection น้อยมากๆ โดยส่วนมาก ไม่งั้นเราไม่ใช้แสงในการสื่อสารผ่านไฟเบอร์ออฟติกหรอก
ปล แสงกับแสง (โฟตอนกับโฟตอน) ก็ไม่ชนกันเองนะครับ crossection น้อยมากๆ โดยส่วนมาก ไม่งั้นเราไม่ใช้แสงในการสื่อสารผ่านไฟเบอร์ออฟติกหรอก
แสดงความคิดเห็น
โฟตอนกับนิวตริโนไม่ชนกันหรอครับ