สร้าง “ระบบอุปถัมภ์” หรือไม่? คำถามถึง “หลักสูตรชนชั้นนำ”
ในแวดวงผู้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์-สังคมศาสตร์ เชื่อว่าต้องเคยผ่านหูผ่านตากับคำว่า
“ชนชั้นนำ” (Elite) อันหมายถึงกลุ่มบุคคลระดับแถวหน้าของแต่ละวงการ ทั้งทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่มียศตำแหน่งระดับสูง นักการเมืองระดับชาติ นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐี นักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับชาติ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่มี
“พลังทางสังคม” เป็นที่นับหน้าถือตาในวงกว้าง เช่น สื่อมวลชน ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) พระและนักบวชระดับสูง และดาราดัง เป็นต้น
ในแวดวงคนเหล่านี้ มีการพบปะพูดคุยกันตลอดเวลา ในอดีตจะเป็นรูปแบบของสโมสรหรือสมาคม ที่บรรดาชนชั้นนำจะมาพูดคุยเรื่องทิศทางของประเทศและโลก ส่วนในปัจจุบัน มีการพบปะผ่านรูปแบบการอบรมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ สาเหตุหลักก็เพื่อให้รู้จักคุ้นเคยกัน เกิดเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางใดทางหนึ่ง แต่ก็เกิดคำถามว่ากำลังสร้างระบบ
“อุปถัมภ์-เส้นสาย” ในหมู่ชนชั้นนำหรือไม่?
“สัมมนา” เพื่อ “อุปถัมภ์”
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเปิดเผยรายงานฉบับย่อ ว่าด้วยการศึกษาในหัวข้อ
“เครือข่ายผู้บริหารระดับสูง : เครือข่ายทางการศึกษา” มาแล้ว โดยทำการศึกษาหลักสูตร 6 หลักสูตรยอดนิยม คือ 1.หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) 2.หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) 3.หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.)
4.หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) 5.หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) และ 6.หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ซึ่งแม้แต่ละหลักสูตรจะมีที่มาที่ไปแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมเหมือนกัน คือการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลระดับนำของสังคม ในรูปแบบ
“ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ”
“การมาร่วมกัน มันก็ก่อให้เกิดสิ่งหนึ่งที่คาดการณ์ได้ เมื่อเราไปดูเครือข่ายการศึกษาแบบปกติ ก็คือความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งรุ่นเดียวกันและระหว่างรุ่น แล้วคนที่มารวมกัน มีบทบาทหน้าที่ใดในสังคม? ซึ่งก็จะเป็นบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจนโยบาย ส่วนที่มีความสำคัญในการออกกฎกติกาต่างๆ หรือมีอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร หรือผลประโยชน์ต่างๆ”
ดร.นวลน้อย กล่าวว่า เอกลักษณ์พิเศษของสังคมไทย คือสังคมที่ไม่เป็นทางการ กล่าวคือทุกอย่างเกิดขึ้นจากการพูดคุย เจรจานอกรอบจนเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยนำมารับรองอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง อย่างที่
ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยกล่าวว่า
“สังคมไทยขาดการเตรียมความพร้อม ทำให้ต้องใช้เครือข่ายส่วนตัว คนเก่งทางการเมืองต้องมีเครือข่ายมากๆ” จึงพบการรวมตัวอย่างหลวมๆ ในลักษณะเพื่อน หรือพี่น้องร่วมรุ่น-ร่วมสถาบัน ได้ทั่วไปในสังคมไทย
“มนุษย์เกิดมาก็มีเครือข่าย เช่น เครือข่ายธรรมชาติอย่างครอบครัวเดียวกัน ท้องถิ่นเดียวกัน ต่อมาก็มีเครือข่ายกึ่งธรรมชาติ ที่สำคัญก็คือระบบการศึกษา ก็มีคนเห็นความสำคัญมากเลย ที่คนขวนขวายเอาลูกเข้าโรงเรียนแบบนี้ (โรงเรียนดังๆ) เพื่อสร้างสังคมให้กับลูก เพื่อสร้างเครือข่ายให้กับลูกต่อไปในอนาคต” ดร.นวลน้อย กล่าว
“รับน้อง-รับรุ่น” มีทุกระดับ
ปัจจุบัน หากใครติดตามข่าวสารบนสังคมออนไลน์ (Social Network) จะพบกระแสต่อต้านประเพณีรับน้อง (SOTUS) ในสถานศึกษา เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ด้วยเหตุผลว่าประเพณีดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่อีกด้านหนึ่ง ใช่ว่าจะมีแต่สถาบันอาชีวศึกษา-อุดมศึกษาเท่านั้นที่มีการรับน้อง-รับรุ่น แม้แต่หลักสูตรของบรรดาชนชั้นนำ ก็มีระบบดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปกติเช่นกัน
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์รายนี้ ยกตัวอย่างหลักสูตรที่เกิดจากภาคเอกชนอย่าง วตท. (จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ที่เน้นกิจกรรมความสัมพันธ์ทั้งในรุ่นเดียวกันและระหว่างรุ่น หรือ
“Leading Society” เช่นระบบพี่รหัส-น้องรหัส , การรับน้องที่นำเอาศิษย์ วตท. ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันมารวมตัวกัน , กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพที่ต้องออกพื้นที่ต่างจังหวัด (Leadership Camp) เป็นต้น
ที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ คือไม่เพียงเฉพาะในสังคมอาชีวศึกษา-อุดมศึกษาเท่านั้น ที่นักศึกษาซึ่งเข้าระบบรับน้อง-รับรุ่น จะมีการลงขันจัดเลี้ยงสังสรรค์กันเองอยู่เสมอ ทั้งพี่จัดให้น้อง น้องจัดให้พี่ หรือเพื่อนจัดกันเองในรุ่นเดียวกัน แต่ในหลักสูตรของบรรดาชนชั้นนำ ก็มีกิจกรรมลักษณะนี้ด้วย เช่นกรณีของ วตท. ที่จัดงานเลี้ยงทุกวันพฤหัสบดี หลังการเรียนในห้องจบลง นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะผลัดกันลงขันจัดงานเลี้ยง แต่มูลค่างานดังกล่าวสูงมาก บางครั้งสูงถึงหลักล้านบาท
“หลายๆ หลักสูตรทำเหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับวันปฐมนิเทศ โดยอ้างว่าสร้างความคุ้นเคยและละลายพฤติกรรม แล้วปฐมนิเทศก็จะบวกด้วยรับน้อง เช่นมีพี่รหัสน้องรหัส เหมือนมหาวิทยาลัย มีรับน้องใหม่ มีสายสัมพันธ์ บางหลักสูตรอย่าง วปอ. มีธรรมเนียมว่าคุณจะอายุเท่าไรก็ตาม เรียกพี่หมด (นับพี่-น้อง ตามรุ่นเข้าเรียนก่อน-หลัง ไม่ใช่ตามอายุจริงของผู้เรียน) วตท. ก็เอา แต่ วปอ. อายุไม่ต่างกันมาก ส่วน วตท. เคยมีอายุน้อยสุด 30 อายุมากสุด 80 กว่า มาอยู่รุ่นเดียวกัน
แล้วกิจกรรมที่ฮือฮามาก คือ วตท. เขาแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ แล้วแต่ละกลุ่มจะจัดงานสังสรรค์ อาทิตย์หนึ่งผลัดกันไป บางอันถึงขนาดปรากฏในสื่อ ว่าเลี้ยงครั้งหนึ่งเป็นล้านบาท แล้วมีคำสะท้อนบางอย่าง จากคนเรียนที่เป็นข้าราชการ บอกว่าเพื่อนๆ ที่นี่เอกชนเยอะ ราชการน้อย คนที่มีฐานะก็ใจกว้างอยากจะบริการ คือเอกชนเข้ามาให้บริการ คำถามคือตรงนี้คืออะไร? ฝ่ายหนึ่งที่จนกว่าคือข้าราชการ แต่มีอำนาจ ก็เป็นฝ่ายรับบริการ” ดร.นวลน้อย ยกตัวอย่างธรรมเนียมในบางหลักสูตร
ห่วง “ผลประโยชน์ทับซ้อน”
จากเรื่องข้างต้น จึงไม่ต้องแปลกใจ หากจะมีความพยายามในการหาหนทางเข้าไปเรียนในหลักสูตรชั้นสูง โดยเมื่อถามถึงสาเหตุ หลายคนตอบว่าอยากได้เครือข่ายเพื่อนฝูง (Connection) มากกว่าความน่าสนใจทางวิชาการ เช่นนายทหารคนหนึ่ง อาจเริ่มต้นที่ วปอ. จากนั้นก็ไปต่อที่ วตท. ตามด้วย TEPCoT (หลักสูตรสำหรับนักธุรกิจด้านการค้า-พาณิชย์ จัดโดยหอการค้าไทย) หรือหลักสูตรอย่าง บ.ย.ส. จากเดิมที่มีเพียงบุคลากรในวงการยุติธรรม (ตำรวจ-อัยการ-ผู้พิพากษา) เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ามีนักธุรกิจเข้ามาเรียนมากขึ้น เป็นต้น
จากกระแสดังกล่าว อ.นวลน้อย แสดงความเป็นห่วงในเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคนบางวงการที่ปกติควรจะมีระยะห่างในการคบหากัน กลับมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างแน่นแฟ้น เช่น ข้าราชการระดับสูงกับนักธุรกิจชั้นนำ
“ข้อแรก หลักสูตรเหล่านี้ขาดความระมัดระวัง ในเรื่องของผลประโยชน์ขัดกัน คือการสร้างเครือข่ายที่ทำให้คนที่ผลประโยชน์ขัดกันมาอยู่ร่วมกัน อันที่ 2 พยายามสร้างให้คนที่เข้าอบรมเป็นพวกเดียวกันผ่านกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ซึ่งมันจะไม่มีปัญหาเลยถ้าไม่มีข้อแรก อันที่ 3 มีการทอดสายสัมพันธ์บางประการให้ต่อเนื่องกัน ทั้งที่มีพื้นฐานผลประโยชน์ขัดกัน กลุ่มบุคคลบางคน ควรจะมีระยะห่างจากอีกกลุ่มบุคคลบางคน อันนี้เป็นสิ่งที่ละเลย” ดร.นวลน้อย กล่าวทิ้งท้าย
มีคำกล่าวว่า
“นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน บินขึ้นที่สูงไม่ได้” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่มีใครที่สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น แต่คำถามที่วิญญูชนตั้งข้อสังเกตถึงบรรดาหลักสูตรชั้นสูงต่างๆ ที่มุ่งหวังให้ชนชั้นนำแต่ละวงการมารวมตัวกัน มีอะไรแอบแฝงซ่อนเร้น จนนำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือใม่? ทั้งผู้จัดหลักสูตรและผู้เข้าอบรมต้องตอบให้ชัด
และที่สำคัญ จากสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นนี้..ประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
SCOOP@NAEWNA.COM
ที่มา :
http://www.naewna.com/scoop/68052
------------------------------
เอาไงดี
"ระบบรุ่น" มีทุกที่ ไม่ใช้แค่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย
เพราะที่นี่คือประเทศไทย เรามีลักษณะเฉพาะของเราครับ
อ่านข่าวนี้แล้ว คนที่ต่อต้านการรับน้อง หรือระบบ SOTUS คิดไงกันเอ่ย
ในแวดวงผู้ศึกษาด้านรัฐศาสตร์-สังคมศาสตร์ เชื่อว่าต้องเคยผ่านหูผ่านตากับคำว่า “ชนชั้นนำ” (Elite) อันหมายถึงกลุ่มบุคคลระดับแถวหน้าของแต่ละวงการ ทั้งทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือนที่มียศตำแหน่งระดับสูง นักการเมืองระดับชาติ นักธุรกิจระดับมหาเศรษฐี นักวิชาการที่มีชื่อเสียงระดับชาติ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ที่มี “พลังทางสังคม” เป็นที่นับหน้าถือตาในวงกว้าง เช่น สื่อมวลชน ผู้นำองค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) พระและนักบวชระดับสูง และดาราดัง เป็นต้น
ในแวดวงคนเหล่านี้ มีการพบปะพูดคุยกันตลอดเวลา ในอดีตจะเป็นรูปแบบของสโมสรหรือสมาคม ที่บรรดาชนชั้นนำจะมาพูดคุยเรื่องทิศทางของประเทศและโลก ส่วนในปัจจุบัน มีการพบปะผ่านรูปแบบการอบรมสัมมนาหลักสูตรต่างๆ สาเหตุหลักก็เพื่อให้รู้จักคุ้นเคยกัน เกิดเป็นเครือข่ายที่ทรงพลังทางใดทางหนึ่ง แต่ก็เกิดคำถามว่ากำลังสร้างระบบ “อุปถัมภ์-เส้นสาย” ในหมู่ชนชั้นนำหรือไม่?
“สัมมนา” เพื่อ “อุปถัมภ์”
รศ.ดร.นวลน้อย ตรีรัตน์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเปิดเผยรายงานฉบับย่อ ว่าด้วยการศึกษาในหัวข้อ “เครือข่ายผู้บริหารระดับสูง : เครือข่ายทางการศึกษา” มาแล้ว โดยทำการศึกษาหลักสูตร 6 หลักสูตรยอดนิยม คือ 1.หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) 2.หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) 3.หลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ปปร.)
4.หลักสูตรผู้บริหารระดับสูง สถาบันวิทยาการตลาดทุน (วตท.) 5.หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านการค้าและการพาณิชย์ (TEPCoT) และ 6.หลักสูตรการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้งระดับสูง (พตส.) ซึ่งแม้แต่ละหลักสูตรจะมีที่มาที่ไปแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมเหมือนกัน คือการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคคลระดับนำของสังคม ในรูปแบบ “ความสัมพันธ์อย่างไม่เป็นทางการ”
“การมาร่วมกัน มันก็ก่อให้เกิดสิ่งหนึ่งที่คาดการณ์ได้ เมื่อเราไปดูเครือข่ายการศึกษาแบบปกติ ก็คือความสัมพันธ์ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ทั้งรุ่นเดียวกันและระหว่างรุ่น แล้วคนที่มารวมกัน มีบทบาทหน้าที่ใดในสังคม? ซึ่งก็จะเป็นบุคคลที่มีส่วนในการตัดสินใจนโยบาย ส่วนที่มีความสำคัญในการออกกฎกติกาต่างๆ หรือมีอำนาจในการจัดสรรทรัพยากร หรือผลประโยชน์ต่างๆ”
ดร.นวลน้อย กล่าวว่า เอกลักษณ์พิเศษของสังคมไทย คือสังคมที่ไม่เป็นทางการ กล่าวคือทุกอย่างเกิดขึ้นจากการพูดคุย เจรจานอกรอบจนเรียบร้อยแล้ว จึงค่อยนำมารับรองอย่างเป็นทางการอีกครั้งหนึ่ง อย่างที่ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เคยกล่าวว่า “สังคมไทยขาดการเตรียมความพร้อม ทำให้ต้องใช้เครือข่ายส่วนตัว คนเก่งทางการเมืองต้องมีเครือข่ายมากๆ” จึงพบการรวมตัวอย่างหลวมๆ ในลักษณะเพื่อน หรือพี่น้องร่วมรุ่น-ร่วมสถาบัน ได้ทั่วไปในสังคมไทย
“มนุษย์เกิดมาก็มีเครือข่าย เช่น เครือข่ายธรรมชาติอย่างครอบครัวเดียวกัน ท้องถิ่นเดียวกัน ต่อมาก็มีเครือข่ายกึ่งธรรมชาติ ที่สำคัญก็คือระบบการศึกษา ก็มีคนเห็นความสำคัญมากเลย ที่คนขวนขวายเอาลูกเข้าโรงเรียนแบบนี้ (โรงเรียนดังๆ) เพื่อสร้างสังคมให้กับลูก เพื่อสร้างเครือข่ายให้กับลูกต่อไปในอนาคต” ดร.นวลน้อย กล่าว
“รับน้อง-รับรุ่น” มีทุกระดับ
ปัจจุบัน หากใครติดตามข่าวสารบนสังคมออนไลน์ (Social Network) จะพบกระแสต่อต้านประเพณีรับน้อง (SOTUS) ในสถานศึกษา เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ด้วยเหตุผลว่าประเพณีดังกล่าวขัดต่อสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล แต่อีกด้านหนึ่ง ใช่ว่าจะมีแต่สถาบันอาชีวศึกษา-อุดมศึกษาเท่านั้นที่มีการรับน้อง-รับรุ่น แม้แต่หลักสูตรของบรรดาชนชั้นนำ ก็มีระบบดังกล่าวเป็นธรรมเนียมปกติเช่นกัน
นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์รายนี้ ยกตัวอย่างหลักสูตรที่เกิดจากภาคเอกชนอย่าง วตท. (จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย) ที่เน้นกิจกรรมความสัมพันธ์ทั้งในรุ่นเดียวกันและระหว่างรุ่น หรือ “Leading Society” เช่นระบบพี่รหัส-น้องรหัส , การรับน้องที่นำเอาศิษย์ วตท. ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงรุ่นปัจจุบันมารวมตัวกัน , กิจกรรมพัฒนาบุคลิกภาพที่ต้องออกพื้นที่ต่างจังหวัด (Leadership Camp) เป็นต้น
ที่ต้องสนใจเป็นพิเศษ คือไม่เพียงเฉพาะในสังคมอาชีวศึกษา-อุดมศึกษาเท่านั้น ที่นักศึกษาซึ่งเข้าระบบรับน้อง-รับรุ่น จะมีการลงขันจัดเลี้ยงสังสรรค์กันเองอยู่เสมอ ทั้งพี่จัดให้น้อง น้องจัดให้พี่ หรือเพื่อนจัดกันเองในรุ่นเดียวกัน แต่ในหลักสูตรของบรรดาชนชั้นนำ ก็มีกิจกรรมลักษณะนี้ด้วย เช่นกรณีของ วตท. ที่จัดงานเลี้ยงทุกวันพฤหัสบดี หลังการเรียนในห้องจบลง นักศึกษาแต่ละกลุ่มจะผลัดกันลงขันจัดงานเลี้ยง แต่มูลค่างานดังกล่าวสูงมาก บางครั้งสูงถึงหลักล้านบาท
“หลายๆ หลักสูตรทำเหมือนกัน คือ ให้ความสำคัญกับวันปฐมนิเทศ โดยอ้างว่าสร้างความคุ้นเคยและละลายพฤติกรรม แล้วปฐมนิเทศก็จะบวกด้วยรับน้อง เช่นมีพี่รหัสน้องรหัส เหมือนมหาวิทยาลัย มีรับน้องใหม่ มีสายสัมพันธ์ บางหลักสูตรอย่าง วปอ. มีธรรมเนียมว่าคุณจะอายุเท่าไรก็ตาม เรียกพี่หมด (นับพี่-น้อง ตามรุ่นเข้าเรียนก่อน-หลัง ไม่ใช่ตามอายุจริงของผู้เรียน) วตท. ก็เอา แต่ วปอ. อายุไม่ต่างกันมาก ส่วน วตท. เคยมีอายุน้อยสุด 30 อายุมากสุด 80 กว่า มาอยู่รุ่นเดียวกัน
แล้วกิจกรรมที่ฮือฮามาก คือ วตท. เขาแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ แล้วแต่ละกลุ่มจะจัดงานสังสรรค์ อาทิตย์หนึ่งผลัดกันไป บางอันถึงขนาดปรากฏในสื่อ ว่าเลี้ยงครั้งหนึ่งเป็นล้านบาท แล้วมีคำสะท้อนบางอย่าง จากคนเรียนที่เป็นข้าราชการ บอกว่าเพื่อนๆ ที่นี่เอกชนเยอะ ราชการน้อย คนที่มีฐานะก็ใจกว้างอยากจะบริการ คือเอกชนเข้ามาให้บริการ คำถามคือตรงนี้คืออะไร? ฝ่ายหนึ่งที่จนกว่าคือข้าราชการ แต่มีอำนาจ ก็เป็นฝ่ายรับบริการ” ดร.นวลน้อย ยกตัวอย่างธรรมเนียมในบางหลักสูตร
ห่วง “ผลประโยชน์ทับซ้อน”
จากเรื่องข้างต้น จึงไม่ต้องแปลกใจ หากจะมีความพยายามในการหาหนทางเข้าไปเรียนในหลักสูตรชั้นสูง โดยเมื่อถามถึงสาเหตุ หลายคนตอบว่าอยากได้เครือข่ายเพื่อนฝูง (Connection) มากกว่าความน่าสนใจทางวิชาการ เช่นนายทหารคนหนึ่ง อาจเริ่มต้นที่ วปอ. จากนั้นก็ไปต่อที่ วตท. ตามด้วย TEPCoT (หลักสูตรสำหรับนักธุรกิจด้านการค้า-พาณิชย์ จัดโดยหอการค้าไทย) หรือหลักสูตรอย่าง บ.ย.ส. จากเดิมที่มีเพียงบุคลากรในวงการยุติธรรม (ตำรวจ-อัยการ-ผู้พิพากษา) เท่านั้น แต่ปัจจุบันพบว่ามีนักธุรกิจเข้ามาเรียนมากขึ้น เป็นต้น
จากกระแสดังกล่าว อ.นวลน้อย แสดงความเป็นห่วงในเรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ (Conflict of Interest) หรือผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะคนบางวงการที่ปกติควรจะมีระยะห่างในการคบหากัน กลับมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันอย่างแน่นแฟ้น เช่น ข้าราชการระดับสูงกับนักธุรกิจชั้นนำ
“ข้อแรก หลักสูตรเหล่านี้ขาดความระมัดระวัง ในเรื่องของผลประโยชน์ขัดกัน คือการสร้างเครือข่ายที่ทำให้คนที่ผลประโยชน์ขัดกันมาอยู่ร่วมกัน อันที่ 2 พยายามสร้างให้คนที่เข้าอบรมเป็นพวกเดียวกันผ่านกิจกรรมทางสังคมต่างๆ ซึ่งมันจะไม่มีปัญหาเลยถ้าไม่มีข้อแรก อันที่ 3 มีการทอดสายสัมพันธ์บางประการให้ต่อเนื่องกัน ทั้งที่มีพื้นฐานผลประโยชน์ขัดกัน กลุ่มบุคคลบางคน ควรจะมีระยะห่างจากอีกกลุ่มบุคคลบางคน อันนี้เป็นสิ่งที่ละเลย” ดร.นวลน้อย กล่าวทิ้งท้าย
มีคำกล่าวว่า “นกไม่มีขน คนไม่มีเพื่อน บินขึ้นที่สูงไม่ได้” ซึ่งก็เป็นความจริง เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม ไม่มีใครที่สามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่น แต่คำถามที่วิญญูชนตั้งข้อสังเกตถึงบรรดาหลักสูตรชั้นสูงต่างๆ ที่มุ่งหวังให้ชนชั้นนำแต่ละวงการมารวมตัวกัน มีอะไรแอบแฝงซ่อนเร้น จนนำไปสู่ผลประโยชน์ทับซ้อนหรือใม่? ทั้งผู้จัดหลักสูตรและผู้เข้าอบรมต้องตอบให้ชัด
และที่สำคัญ จากสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นนี้..ประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง?
SCOOP@NAEWNA.COM
ที่มา :
http://www.naewna.com/scoop/68052
------------------------------
เอาไงดี
"ระบบรุ่น" มีทุกที่ ไม่ใช้แค่มหาวิทยาลัยหรือวิทยาลัย
เพราะที่นี่คือประเทศไทย เรามีลักษณะเฉพาะของเราครับ