คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ผมคิดว่าที่ดินคุณคงไม่ได้อยู่ในพื้นที่พิเศษใดๆ คงสร้างสูงสุดได้ไม่เกิน 23เมตรน่าจะไม่มีปัญหาครับ ระยะโดยรวมตามผังที่ผมคิดไว้คร่าวๆ
จะได้ชั้นละ 11ห้องครับ
ถ้า 7ชั้น จะได้ 77ห้อง ไม่เข้าข่ายจัดทำ EIA
ถ้าเป็น 8ชั้น (ความสูงไม่ถึง 23เมตร) จะได้ 88ห้อง (เกิน 80ห้อง กฏหมายบังคับให้ทำ EIA ถ้าที่ดินที่จะทำอพาร์ทเม้นท์มีแค่ที่บอก และมีงบประมาณพอที่จะสร้างเป็น 8ชั้นได้ เพื่อความคุ้มค่าของเงินลงทุน หาทางลดห้องพักอาศัยให้เหลือเป็น 79ห้องให้ได้ครับ โดยจะทำชั้นล่างเป็นจอดรถใต้อาคาร หรือแบ่งเป็นห้องประชุมสัมนา ฟิสเนส ห้องแม่บ้าน ห้องเก็บของ ห้องออฟฟิศสำนักงานเราเอง สำนักงานให้เช่า ห้องsuit 1-2bed rooms ฯลฯ แล้วแต่จะออกแบบครับ) แต่ถ้ามีที่ดินข้างเคียงมากกว่านี้ และสามารถทำแบบนี้ 2ตึกได้ ก็จัดทำ EIA ไปจะสบายใจกว่านี้ครับ
ทั้ง 7ชั้น และ 8 ชั้น เมื่อคิดพื้นที่ใช้สอยทั้งอาคาร 26*16*7 , 26*16*8 ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมทั้ง 2ประเภท ไม่เกิน 4,000ตรม. ก็ไม่ต้องจัดทำ EIA ครับ
ตรงจุดนี้คือเป็นขอบข่ายที่นักลงทุนทั่วๆไปสามารถลงทุนได้อย่างไม่ยากนักครับ แต่ถ้าเช็คแล้วที่ดินคุณสามารถสร้างสูงกว่านี้ได้อีก (เท่าที่ผมจำได้ ถ้าอาคารสูงกว่านี้ จะต้องมีที่ดินติดขนาดทางสาธารณะกว้าง 10เมตรตลอดเส้น และถนนที่ตัดอีกเส้นหนึ่งอย่างน้อยก็ต้องกว้าง 10เมตรด้วย ตรงนี้ผมจำไม่ได้นะครับ อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง)
อาคารที่สูงเกินกว่า 23เมตร จัดเป็นอาคารสูงพิเศษครับ ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยจะต้องเพิ่มขึ้นอีก คือพวกระบบป้องกัน และแจ้งเตือนอัคคีภัย พวกวัสดุทนไฟ ทางหนีไฟที่ต้องเพิ่มโดยใช้เกณฑ์ห้องสุดท้าย ฯลฯ และสิ่งที่ตามมาจากอาคารสูงพิเศษ คือจำนวนห้องที่มากขึ้นซึ่งต้องจัดทำ EIA ครับ
ปล. ในผังผมลืมทำบันไดหนีไฟไว้ ดังนั้นผังที่ทำไว้ ควรเผื่อเรื่องบันไดหนีไฟไว้ด้วยครับ
ผมคิดว่าที่ดินคุณคงไม่ได้อยู่ในพื้นที่พิเศษใดๆ คงสร้างสูงสุดได้ไม่เกิน 23เมตรน่าจะไม่มีปัญหาครับ ระยะโดยรวมตามผังที่ผมคิดไว้คร่าวๆ
จะได้ชั้นละ 11ห้องครับ
ถ้า 7ชั้น จะได้ 77ห้อง ไม่เข้าข่ายจัดทำ EIA
ถ้าเป็น 8ชั้น (ความสูงไม่ถึง 23เมตร) จะได้ 88ห้อง (เกิน 80ห้อง กฏหมายบังคับให้ทำ EIA ถ้าที่ดินที่จะทำอพาร์ทเม้นท์มีแค่ที่บอก และมีงบประมาณพอที่จะสร้างเป็น 8ชั้นได้ เพื่อความคุ้มค่าของเงินลงทุน หาทางลดห้องพักอาศัยให้เหลือเป็น 79ห้องให้ได้ครับ โดยจะทำชั้นล่างเป็นจอดรถใต้อาคาร หรือแบ่งเป็นห้องประชุมสัมนา ฟิสเนส ห้องแม่บ้าน ห้องเก็บของ ห้องออฟฟิศสำนักงานเราเอง สำนักงานให้เช่า ห้องsuit 1-2bed rooms ฯลฯ แล้วแต่จะออกแบบครับ) แต่ถ้ามีที่ดินข้างเคียงมากกว่านี้ และสามารถทำแบบนี้ 2ตึกได้ ก็จัดทำ EIA ไปจะสบายใจกว่านี้ครับ
ทั้ง 7ชั้น และ 8 ชั้น เมื่อคิดพื้นที่ใช้สอยทั้งอาคาร 26*16*7 , 26*16*8 ขนาดพื้นที่ใช้สอยรวมทั้ง 2ประเภท ไม่เกิน 4,000ตรม. ก็ไม่ต้องจัดทำ EIA ครับ
ตรงจุดนี้คือเป็นขอบข่ายที่นักลงทุนทั่วๆไปสามารถลงทุนได้อย่างไม่ยากนักครับ แต่ถ้าเช็คแล้วที่ดินคุณสามารถสร้างสูงกว่านี้ได้อีก (เท่าที่ผมจำได้ ถ้าอาคารสูงกว่านี้ จะต้องมีที่ดินติดขนาดทางสาธารณะกว้าง 10เมตรตลอดเส้น และถนนที่ตัดอีกเส้นหนึ่งอย่างน้อยก็ต้องกว้าง 10เมตรด้วย ตรงนี้ผมจำไม่ได้นะครับ อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมอีกครั้ง)
อาคารที่สูงเกินกว่า 23เมตร จัดเป็นอาคารสูงพิเศษครับ ดังนั้นระบบรักษาความปลอดภัยจะต้องเพิ่มขึ้นอีก คือพวกระบบป้องกัน และแจ้งเตือนอัคคีภัย พวกวัสดุทนไฟ ทางหนีไฟที่ต้องเพิ่มโดยใช้เกณฑ์ห้องสุดท้าย ฯลฯ และสิ่งที่ตามมาจากอาคารสูงพิเศษ คือจำนวนห้องที่มากขึ้นซึ่งต้องจัดทำ EIA ครับ
ปล. ในผังผมลืมทำบันไดหนีไฟไว้ ดังนั้นผังที่ทำไว้ ควรเผื่อเรื่องบันไดหนีไฟไว้ด้วยครับ
แสดงความคิดเห็น
สอบถามเกี่ยวกับการออกแบบอาคารว่าที่ดินขนาดนี้สามารถสร้างอพาร์ทเม้นได้เนื้อที่สูงสุดเท่าไร่ครับ