สวธ. นำเยาวชน ๕ จังหวัดชายแดนใต้ เรียนรู้ สำนึกรักศิลปวัฒนธรรมของชาติ
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัด โครงการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” นำครูและนักเรียนจาก ๕ จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน ๒๐๐ คน ร่วมเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมจากศิลปินแห่งชาติและวิทยากรมืออาชีพ พร้อมทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริม และสร้างโอกาสในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธาน เปิดโครงการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น สวธ. จึงได้นำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์สนุกสนานและมีสาระ (Edutainment) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา จำนวน ๒๐๐ คน
สำหรับกิจกรรมใน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” ประกอบด้วย
*** การร่วมเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีศิลปินแห่งชาติและวิทยากรมืออาชีพเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และสร้างแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกัน ได้แก่
- ค่ายการสร้างภาพยนตร์ โดย นายดอกดิน กัญญามาลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พ.ศ. ๒๕๕๕ และนายปรัชญา ปิ่นแก้วและทีมงาน
- ค่ายภาพพิมพ์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ. ๒๕๔๑ และ อาจารย์วรพงษ์ อรุณเรือง สาขาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และคณะ
- ค่ายถ่ายภาพ โดย นายยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายวรนันท์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พ.ศ. ๒๕๕๒ และวิทยากรจากบริษัท แคนนอนประเทศไทย จำกัด
- ค่ายวรรณศิลป์ โดย นายมกุฎ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๕ และ นายสมคิด ลวางกูร นักเขียนอิสระและคณะ
*** อีกทั้งเปิดโลกทัศน์ โดยศึกษาเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตหลากวัฒนธรรมต่างๆ อาทิ หออัครศิลปิน (Supreme Artist Hall) พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติฯ วิถีชีวิตชุมชนไทยพุทธและมุสลิมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองโบราณ และคิดส์ซาเนีย (Kidzania) เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมทักษะ สร้างโอกาสทางการศึกษา และกระตุ้นให้เกิดจิดสำนึกรักในชุมชนของตนเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น
สวธ. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการฯ นี้ จะสามารถเผยแพร่พระปรีชาสามารถทางศิลปวัฒนธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ให้กับนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างโอกาสในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรักในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตนเอง และศิลปวัฒนธรรมของชาติ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้สืบไป
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม จัดกิจกรรมตามรอยอารยะอัครศิลปิน นำเยาวชน ๕ จังหวัดชายแดนใต้ เรียนรู้ สำนึกรักศิลปวัฒนธรรมของชาติ
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) จัด โครงการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” นำครูและนักเรียนจาก ๕ จังหวัดชายแดนใต้ จำนวน ๒๐๐ คน ร่วมเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรมจากศิลปินแห่งชาติและวิทยากรมืออาชีพ พร้อมทัศนศึกษาแหล่งการเรียนรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อส่งเสริม และสร้างโอกาสในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้
เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๖ นายชาย นครชัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธาน เปิดโครงการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย และแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ที่ทรงห่วงใยพสกนิกรในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนั้น สวธ. จึงได้นำยุทธศาสตร์พระราชทาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาปรับใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เข้าถึงกลุ่มเยาวชนในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ผ่านกระบวนการบริหารจัดการองค์ความรู้ทางศิลปะและวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์สนุกสนานและมีสาระ (Edutainment) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูและนักเรียนจากโรงเรียนเขตพื้นที่การศึกษาในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สตูล และสงขลา จำนวน ๒๐๐ คน
สำหรับกิจกรรมใน โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ “ตามรอยอารยะ อัครศิลปิน” ประกอบด้วย
*** การร่วมเรียนรู้ศิลปะและวัฒนธรรม โดยมีศิลปินแห่งชาติและวิทยากรมืออาชีพเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ภูมิปัญญา และสร้างแรงบันดาลใจการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมกัน ได้แก่
- ค่ายการสร้างภาพยนตร์ โดย นายดอกดิน กัญญามาลย์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นักแสดงภาพยนตร์และละครโทรทัศน์) พ.ศ. ๒๕๕๕ และนายปรัชญา ปิ่นแก้วและทีมงาน
- ค่ายภาพพิมพ์ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ประหยัด พงษ์ดำ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพพิมพ์) พ.ศ. ๒๕๔๑ และ อาจารย์วรพงษ์ อรุณเรือง สาขาศิลปะภาพพิมพ์ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และคณะ
- ค่ายถ่ายภาพ โดย นายยรรยง โอฬาระชิน ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พ.ศ. ๒๕๕๐ นายวรนันท์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พ.ศ. ๒๕๕๒ และวิทยากรจากบริษัท แคนนอนประเทศไทย จำกัด
- ค่ายวรรณศิลป์ โดย นายมกุฎ อรฤดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พ.ศ. ๒๕๕๕ และ นายสมคิด ลวางกูร นักเขียนอิสระและคณะ
*** อีกทั้งเปิดโลกทัศน์ โดยศึกษาเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และวิถีชีวิตหลากวัฒนธรรมต่างๆ อาทิ หออัครศิลปิน (Supreme Artist Hall) พิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยาเฉลิมพระเกียรติฯ วิถีชีวิตชุมชนไทยพุทธและมุสลิมจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองโบราณ และคิดส์ซาเนีย (Kidzania) เป็นต้น เพื่อเป็นการสร้างเสริมทักษะ สร้างโอกาสทางการศึกษา และกระตุ้นให้เกิดจิดสำนึกรักในชุมชนของตนเองเพิ่มมากยิ่งขึ้น
สวธ. มุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการฯ นี้ จะสามารถเผยแพร่พระปรีชาสามารถทางศิลปวัฒนธรรมของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ผู้ทรงเป็น “อัครศิลปิน” ให้กับนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และสร้างโอกาสในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ทางด้านศิลปะ และสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับกลุ่มนักเรียนและครูในเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปลูกจิตสำนึกให้เยาวชนเกิดความรักในวิถีชีวิต ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยวของชุมชนตนเอง และศิลปวัฒนธรรมของชาติ อันจะนำไปสู่การเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้สืบไป