"กลุ่มอาการกตัญญูเฉียบพลัน" (Acute กตัญญู syndrome)

กระทู้สนทนา
หลายครั้งเมื่อต้องดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือโรคมะเร็งที่อยู่ในช่วงสุดท้ายของชีวิต พบได้เสมอๆที่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งแล้ว
การรักษาทำได้แค่ประคับประคองและทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสบายและมีรู้สึกมีค่ามากที่สุด เพื่อจะรอให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ (Palliative care)
หลายครอบครัวเลือกที่จะไม่ปั้มหัวใจ ไม่ใส่ท่อช่วยหัวใจ เพราะไม่อยากให้ผู้ป่วยต้องทรมาณกับผลแทรกซ้อนจากการใส่ท่อ และการปั้มหัวใจ
เช่น ซี่โครงหัก ปอดฉีก และไม่อยากให้ทรมารกับตัวโรคที่มีแต่จะแย่ลงเรื่อย เช่นมะเร็งแพร่กระจายไปทั่วซี่งทำให้ผู้ป่วยมีอาการต่างๆเช่นปวด
กระดูกมาก หายใจเหนื่อย แน่นท้องมาก และอาการอื่นๆที่ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดทรมาณ และคนที่น่าสงสารที่สุดคงเป็นญาติที่คอยดูแลใกล้ชิด
อยู่ทุกๆวัน ได้เห็น และเข้าใจความทุกข์ของผู้ป่วยดี คนดูแลกลุ่มนี้มักจะทำใจได้และพร้อมที่จะให้คนที่รักที่สุดจากไปอย่างสงบเมื่อถึงเวลา
แม้ว่าการลาจากจะทำให้เศร้าเสียใจอย่างที่สุด และขณะเดียวกันจะมีญาติอีกพวกนึง ร้อยวันพันชาติ ไม่เคยมาดูแดพ่อแม่ ปู่ย่า ที่ป่วยไข้เลย
แต่พอถึงจุดสุดท้ายผู้ป่วยใกล้จะเสียชีวิตถึงจะมาเยี่ยม พวกนี้มักเกิดอาการ "กตัญญูเฉียบพลัน" ยกตัวอย่าง คำที่ญาติที่มีอาการกตัญญูเฉียบพลัน
มักพูดให้หมอได้ยินบ่อยๆคือ "หมอทำเต็มที่เลย จะปั้มหัวใจ จะใส่ท่อ ทำยังไงก็ได้ให้คนไข้รอด" สุดท้ายหมอต้องใส่ท่อช่วยหายใจ ต้องปั้มหัวใจ
จนซี่โครงหัก ปอดฉีก คนไข้บางคนเจ็บปวดทรมาณมากขึ้นกว่าเดิม และท้ายที่สุดก็ยังเสียชีวิตอยู่ดี คงบอกไม่ได้ว่าอะไรดีกว่าระหว่างยื้อไว้อีกนาที
ชั่วโมง วันนึง หรือให้ผู้ป่วยจากไปอย่างสงบ ..... ประเด็นคือบางครั้งญาติกลุ่มหลังอยากให้หมอช่วยทั้งๆที่ รู้ทั้งรู้ว่ายังไงก็ไม่ไหวแล้ว แต่อยากให้
หมอช่วยเพียงเพราะอยากให้รู้ว่าตัวเองยังมีความกตัญญูห่วงใยไม่อยากให้คนไข้จากไป......

จะดูแลคนที่รัก จะดูแลพ่อแม่ทำตั้งแต่วันนี้วันที่ท่านยังอยู่กับเรา อย่ารอจนมีอาการกตัญญูเฉียบพลัน....





ดอกไม้

ขอบคุณเฟสบุคของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล : https://www.facebook.com/visalo
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่