05 กันยายน 2556 TDRI ชี้ ( ลูกผู้ชายตัวจริงต้องเปิดเวทีดีเบต ) ถ้า 10 ข้อที่ กทค. ตอบไม่ได้ // นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ตกใจ!! การฟ้องน่าจะเป็นมาตรการสุดท้าย พฤติกรรมส่อปิดหูปิดตา
ประเด็นหลัก
ดังนั้น ทางออกจากกรณีดังกล่าวทีดีอาร์ไอจึงเห็นควรเปิดเวทีสาธารณะขึ้นมาเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้นำข้อมูลของแต่ละฝ่ายออกมาโต้แย้งกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าใครเสนอข้อมูลถูกต้อง ส่วนคนที่เสนอข้อมูลผิดประชาชนก็จะหมดความน่าเชื่อถือไปเอง
“จริงๆ แล้ว กทค.ไม่ควรที่จะข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชนโดยการฟ้องร้อง แต่ควรใช้วิธีโต้แย้งที่ถูกต้องนั่นคือการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อโต้แย้งการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวที่ถูกต้อง แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรีก็ตาม”
ขณะเดียวกัน ทีดีอาร์ไอได้ฝาก 10 คำถามไปยัง กทค. ประกอบด้วย
1. กทค.รู้หรือไม่ว่าสัมปทานบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีจะหมดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้
2. ทราบหรือไม่ว่าเมื่อสัมปทานหมดจะต้องนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลเท่านั้น
3. จริงหรือไม่ที่แผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ฯ ระบุว่าต้องคืนคลื่นหลังหมดสัญญาสัมปทานให้ กสทช.
4. จริงหรือไม่ที่คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กสทช.เคยมีความเห็นว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานต้องคืนคลื่น
5. ทำไม กทค.ไม่ดำเนินการตามกฎหมายที่ระบุเอาไว้ แต่กลับออกมาตรการเยียวยาแทน
6. ได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงวันหมดอายุสัมปทานตั้งแต่เนิ่นๆ หรือไม่
7. ได้ห้ามผู้ประกอบการออกแพกเกจที่จะหมดอายุหลังสิ้นสุดสัมปทานหรือไม่
8. ได้ปรับปรุงการโอนย้ายเลขหมายให้มีการโอนย้ายต่อครั้งได้ทีละจำนวนหลายหมายเลขหรือไม่
9. ได้จ้างที่ปรึกษาตีราคา และวิธีการจัดประมูลตั้งแแต่ในปี 2555 หรือไม่ และข้อ
10. ในเวลา 420 วัน (นับตั้งแต่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคัลใช้ ) ก่อนจะมีประกาศเยียวยานั้น เพียงพอในการดำเนินการหรือไม่ ถ้าไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ด้านนายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า พอได้ข่าวก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับยุคนี้ โดยเนื้อหาสาระในการฟ้องก็ยังงงๆ ว่า ฟ้องข้อหาอะไร จะบอกว่ากล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่นก็ไม่ใช่ ประเด็นก็น่าจะเป็นเรื่องการคาดคะเนว่าจะทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ 1.6 ล้านบาท จริงๆ ก็ฟ้องได้ แต่น่าจะเป็นมาตรการสุดท้าย เพราะสื่อคือเวทีในการนำเสนอความเห็น สิ่งที่ประชาชนพึงรู้พึงทราบ โดยไม่ตัดสินใจว่านี่ถูกหรือผิด ถ้าเห็นว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอไม่ถูกต้อง สามารถชี้แจง แถลง ตอบโต้ได้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและพึงกระทำ
“การฟ้องน่าจะเป็นมาตรการสุดท้าย ที่สำคัญการเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์มหาศาลของประชาชน แน่นอนว่าต้องถูกสปอตไลท์ส่อง ถูกจับตามอง เป็นที่สนใจ ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งผิดปกติประการใด คนที่มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ประเทศชาติต้องเปิดกว้างและมีความอดทนอดกลั้นมากกว่านี้” นายวิสุทธิ์ กล่าวและว่า ถามว่าการฟ้องครั้งนี้เป็นการขู่ไหม ในคำฟ้องเขียนว่า รายการดังกล่าวออกอากาศไปทั่วราชอาณาจักร โจทก์อาจฟ้องได้ทั่วราชอาณาจักร ในทุกตำบลทุกอำเภอได้ ผมจึงอยากให้โจทก์ตัดสินใจใหม่ น่าจะถอนฟ้อง และถ้าติดใจอยากนำเสนอข้อมูล พร้อมว่าสื่อเปิดกว้าง เราพร้อมเปิดเวทีให้ มันพ้นยุคการปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิดนักวิชาการ และที่สำคัญปิดหูปิดตาประชาชน
“ต้องเปิดกว้าง เปิดหูเปิดตามากกว่านี้ ในฐานะที่คุณได้รับการเลือกเข้ามาดูแลผลประโยชน์ประเทศชาติ” นายวิสุทธิ์กล่าว
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า พอเห็นข่าวก็ประหลาดใจ เพราะ กสทช.ถือเป็นบุคคลสาธารณะ การฟ้องร้องเหมือนย้อนยุคไปยังยุคหิน ฟลินต์สโตน ที่ใช้อำนาจข่มขู่การทำหน้าที่ของสื่อ และที่คำฟ้องบรรยายไว้ว่าจะฟ้องทั่วราชอาณาจักรได้ ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะคดีที่มีมูลเดียวกันสามารถฟ้องได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น ดีที่สุด กสทช.ควรจะถอนฟ้องแล้วมานั่งพูดคุยกัน
ขณะที่ นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า กรรมเป็นเครื่องบอกเจตนา การฟ้องสามารถทำได้ แต่ถ้าดูบริบทไม่สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้ว่าไม่ใช่การข่มขู่ กสทช.เป็นหน่วยงานสำคัญมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นแสนล้าน ก็เป็นเรื่องปกติที่จะถูกตรวจสอบ ตนจึงค่อนข้างแปลกใจว่าเหตุใดถึงมาฟ้องในคดีนี้ จึงอยากให้จับตาสถานการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง นี่คือสัญญาเตือนและไม่ใช่แค่เรื่องของคน 2 คนถูกฟ้อง ถ้าคนที่อาสามารักษาประโยชน์ประเทศชาติมีทัศนคติแบบนี้ ก็เป็นหน้าที่ของสื่อจะต้องมองสถานการณ์นี้ให้ละเอียดและก้าวย่างอย่างรู้ทัน
“ดูจากข่าวที่ออกมา ไปดูย้อนหลัง ยังมองไม่ออกว่ามันสร้างความเสียหาย หรือเป็นข้อมูลเลื่อนลอยตรงไหน ซึ่งหากเห็นไม่ตรง ก็สามารถมาชี้แจงได้ และที่ผ่านมาเห็นคนใน กสทช.ก็ออกมาชี้แจงเสนอๆ แต่กรณีนี้ทำไมใช้วิธีการฟ้องร้อง” นายก่อเขตกล่าว
นายก่อเขต กล่าวว่า เรากำลังเผชิญหน้ากับกลยุทธ์ที่ทำให้สื่อซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบต้องเผชิญหน้ากับความชะงักงัน สิ่งที่เรามาเรียกร้องเรื่องเสรีภาพในการทำงานของสื่อ ไม่ได้เรียกร้องเพื่อตัวเอง แต่เราเรียกร้อง แหกปาก ตะโกน และพูดอยู่เรื่อยๆ เพื่อปกป้องสิทธิและประโยชน์ของประชาชน
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของสังคมเกี่ยวกับบรรยากาศการใช้เสรีภาพ ซึ่งวันนี้ทุกฝ่ายได้แสดงจุดยืน เริ่มจาก ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 คน ทั้งนี้ สังคมมอบหมายให้ กสทช.จัดสรรคลื่นฯ เพื่อประโชน์และเป็นธรรม แต่เท่าที่ติดตามทั้งหมด มีสัญญาณหลายอย่างน่ากลัว คือ กำลังต่อสู้กับระเบียบประกาศรายการเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ ไม่น่าเชื่อว่า กสทช.เป็นองค์กรที่ปฏิรูปสื่อ มีความคิดย้อนยุค ทำร้ายเสรีภาพสื่อ และกรณีนี้ใช้กฎหมายข่มขู่ และทำลายเสรีภาพทางวิชาการ สุดท้ายองค์กรที่น่ากลัว และท้าทายสื่อมากสุด คือ กสทช. ที่สื่อต้องจับตามอง
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=197837:2013-09-05-08-42-39&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://m.thairath.co.th/content/tech/367954
http://m.thairath.co.th/content/tech/367944
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130905/527848/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B
8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1
%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%
B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%8
A%E0%B8%8A..html
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111697
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378369389
______________________________________
แมนๆ หน่อย “ทีดีอาร์ไอ” ท้า “กทค.” เปิดเวทีดีเบต
หากทำเพื่อชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงคงไม่มีศัตรูรอบทิศ “ทีดีอาร์ไอ” ท้า “กทค.” เปิดเวทีสาธารณะ โต้ข้อมูลใครผิดใครถูกให้ประชาชนตัดสิน พร้อมฝาก 10 คำถามถึง กทค. ลั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ทีดีอาร์ไอโดนฟ้อง ยันพร้อมสู้คดีถึงที่สุด ด้านนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยติง กทค.ทำอย่างนี้เหมือนปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิด และปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ข่าวสารรอบด้าน
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมายื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาท น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอ และ น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนั้น ถือเป็นเรื่องที่ส่อไปในแนวทางข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชน เนื่องจากการเสนอความเห็นต่อสาธารณะถือเป็นหน้าที่โดยปกติ และสุจริตมาโดยตลอด ซึ่งไม่ได้ไปตัดสินว่าใครผิดใครถูกแต่อย่างใด แต่เป็นการตั้งคำถามโดยอาศัยข้อมูลอีกด้านที่สังคมอาจจะยังไม่รู้ก็เท่านั้นเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นประเด็นสาธารณะและทีดีอาร์ไอเพียงเสนอข้อมูลทางวิชาการต่อกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของ กสทช.เท่านั้น
ดังนั้น ทางออกจากกรณีดังกล่าวทีดีอาร์ไอจึงเห็นควรเปิดเวทีสาธารณะขึ้นมาเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้นำข้อมูลของแต่ละฝ่ายออกมาโต้แย้งกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าใครเสนอข้อมูลถูกต้อง ส่วนคนที่เสนอข้อมูลผิดประชาชนก็จะหมดความน่าเชื่อถือไปเอง
“จริงๆ แล้ว กทค.ไม่ควรที่จะข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชนโดยการฟ้องร้อง แต่ควรใช้วิธีโต้แย้งที่ถูกต้องนั่นคือการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อโต้แย้งการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวที่ถูกต้อง แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรีก็ตาม”
ขณะเดียวกัน ทีดีอาร์ไอได้ฝาก 10 คำถามไปยัง กทค. ประกอบด้วย 1. กทค.รู้หรือไม่ว่าสัมปทานบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีจะหมดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ 2. ทราบหรือไม่ว่าเมื่อสัมปทานหมดจะต้องนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลเท่านั้น 3. จริงหรือไม่ที่แผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ฯ ระบุว่าต้องคืนคลื่นหลังหมดสัญญาสัมปทานให้ กสทช. 4. จริงหรือไม่ที่คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กสทช.เคยมีความเห็นว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานต้องคืนคลื่น 5. ทำไม กทค.ไม่ดำเนินการตามกฎหมายที่ระบุเอาไว้ แต่กลับออกมาตรการเยียวยาแทน
6. ได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงวันหมดอายุสัมปทานตั้งแต่เนิ่นๆ หรือไม่ 7. ได้ห้ามผู้ประกอบการออกแพกเกจที่จะหมดอายุหลังสิ้นสุดสัมปทานหรือไม่ 8. ได้ปรับปรุงการโอนย้ายเลขหมายให้มีการโอนย้ายต่อครั้งได้ทีละจำนวนหลายหมายเลขหรือไม่ 9. ได้จ้างที่ปรึกษาตีราคา และวิธีการจัดประมูลตั้งแแต่ในปี 2555 หรือไม่ และข้อ 10. ในเวลา 420 วัน (นับตั้งแต่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคัลใช้ ) ก่อนจะมีประกาศเยียวยานั้น เพียงพอในการดำเนินการหรือไม่ ถ้าไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
“การฟ้องร้องทีดีอาร์ไอในครั้งนี้ถือเป็นคดีแรกในรอบ 30 ปีที่โดนฟ้อง แต่ทีดีอาร์ไอก็จะเดินหน้านำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป แม้จะไปขัดผลประโยชน์ หรือทำให้เกิดความไม่พอใจของใครบางคนก็ตามแต่ ส่วนนักวิชาการคนอื่นๆ อาจจะต้องระมัดระวังในการเสนอความคิดเห็นให้มากขึ้นต่อไปนี้ อย่างไรก็ดี หาก กทค.ยังคงเดินหน้าฟ้องร้องต่อไปโดยไม่ถอนฟ้องเราก็พร้อมที่จะดำเนินการสู้คดีต่อไปอยู่แล้ว”
นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า การที่ กทค.ออกมาฟ้องร้องนั้นควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายมากกว่า เนื่องจากการที่สื่อมวลชน และนักวิชาการออกมาเสนอข้อมูลต่างๆ นั้นถือเป็นหน้าที่โดยปกติอยู่แล้ว แต่หากข้อมูลที่นำเสนอออกมาผิดจากความเป็นจริง กทค.ก็ควรที่จะทำหนังสือชี้แจง หรือออกแถลงข่าวเพื่อโต้แย้งกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการฟ้องร้องถือเป็นการข่มขู่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสื่อ และนักวิชาการคนอื่นๆ ที่จะไม่กล้าออกมานำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป
ขณะที่การนำเสนอว่ารัฐจะสูญเสียรายได้นั้นไม่ได้เป็นการกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชันแต่เป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิดความเสียหาย ซึ่งหากเห็นว่าข้อมูลคลาดเคลื่อนก็ควรที่จะออกมาชี้แจงหรือแถลงตอบโต้ซึ่งเป็นสิทธิอันพึงกระทำอยู่แล้วไม่ได้พูดว่าข้อมูลทีดีอาร์ไอถูกแต่อย่างใด
“แนะนำให้ กทค.ควรที่จะถอนฟ้องกรณีดังกล่าว โดยหากยังติดใจอยู่เราพร้อมที่จะเป็นคนกลางในการเปิดเวทีสาธารณะขึ้นเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายนำข้อมูลมาโต้แย้งกัน เพราะการกระทำอย่างนี้เป็นการปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิด และปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ข่าวสารรอบด้าน”
นางมาลี บุญศิริพันธ์ ประธานกรรมการนโยบาย
TDRI ชี้ ( ลูกผู้ชายตัวจริงต้องเปิดเวทีดีเบต )ถ้า 10 ข้อที่ กทค.ตอบไม่ได้/นายกสมาคมนักข่าวตกใจ!! พฤติกรรมส่อปิดหูปิดตา
ประเด็นหลัก
ดังนั้น ทางออกจากกรณีดังกล่าวทีดีอาร์ไอจึงเห็นควรเปิดเวทีสาธารณะขึ้นมาเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้นำข้อมูลของแต่ละฝ่ายออกมาโต้แย้งกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าใครเสนอข้อมูลถูกต้อง ส่วนคนที่เสนอข้อมูลผิดประชาชนก็จะหมดความน่าเชื่อถือไปเอง
“จริงๆ แล้ว กทค.ไม่ควรที่จะข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชนโดยการฟ้องร้อง แต่ควรใช้วิธีโต้แย้งที่ถูกต้องนั่นคือการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อโต้แย้งการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวที่ถูกต้อง แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรีก็ตาม”
ขณะเดียวกัน ทีดีอาร์ไอได้ฝาก 10 คำถามไปยัง กทค. ประกอบด้วย
1. กทค.รู้หรือไม่ว่าสัมปทานบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีจะหมดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้
2. ทราบหรือไม่ว่าเมื่อสัมปทานหมดจะต้องนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลเท่านั้น
3. จริงหรือไม่ที่แผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ฯ ระบุว่าต้องคืนคลื่นหลังหมดสัญญาสัมปทานให้ กสทช.
4. จริงหรือไม่ที่คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กสทช.เคยมีความเห็นว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานต้องคืนคลื่น
5. ทำไม กทค.ไม่ดำเนินการตามกฎหมายที่ระบุเอาไว้ แต่กลับออกมาตรการเยียวยาแทน
6. ได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงวันหมดอายุสัมปทานตั้งแต่เนิ่นๆ หรือไม่
7. ได้ห้ามผู้ประกอบการออกแพกเกจที่จะหมดอายุหลังสิ้นสุดสัมปทานหรือไม่
8. ได้ปรับปรุงการโอนย้ายเลขหมายให้มีการโอนย้ายต่อครั้งได้ทีละจำนวนหลายหมายเลขหรือไม่
9. ได้จ้างที่ปรึกษาตีราคา และวิธีการจัดประมูลตั้งแแต่ในปี 2555 หรือไม่ และข้อ
10. ในเวลา 420 วัน (นับตั้งแต่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคัลใช้ ) ก่อนจะมีประกาศเยียวยานั้น เพียงพอในการดำเนินการหรือไม่ ถ้าไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
ด้านนายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า พอได้ข่าวก็ตกใจว่าเกิดอะไรขึ้นกับยุคนี้ โดยเนื้อหาสาระในการฟ้องก็ยังงงๆ ว่า ฟ้องข้อหาอะไร จะบอกว่ากล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชั่นก็ไม่ใช่ ประเด็นก็น่าจะเป็นเรื่องการคาดคะเนว่าจะทำให้ประเทศชาติเสียประโยชน์ 1.6 ล้านบาท จริงๆ ก็ฟ้องได้ แต่น่าจะเป็นมาตรการสุดท้าย เพราะสื่อคือเวทีในการนำเสนอความเห็น สิ่งที่ประชาชนพึงรู้พึงทราบ โดยไม่ตัดสินใจว่านี่ถูกหรือผิด ถ้าเห็นว่าสิ่งที่สื่อนำเสนอไม่ถูกต้อง สามารถชี้แจง แถลง ตอบโต้ได้ เป็นสิ่งที่ถูกต้องและพึงกระทำ
“การฟ้องน่าจะเป็นมาตรการสุดท้าย ที่สำคัญการเป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์มหาศาลของประชาชน แน่นอนว่าต้องถูกสปอตไลท์ส่อง ถูกจับตามอง เป็นที่สนใจ ก็ไม่น่าจะเป็นสิ่งผิดปกติประการใด คนที่มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ประเทศชาติต้องเปิดกว้างและมีความอดทนอดกลั้นมากกว่านี้” นายวิสุทธิ์ กล่าวและว่า ถามว่าการฟ้องครั้งนี้เป็นการขู่ไหม ในคำฟ้องเขียนว่า รายการดังกล่าวออกอากาศไปทั่วราชอาณาจักร โจทก์อาจฟ้องได้ทั่วราชอาณาจักร ในทุกตำบลทุกอำเภอได้ ผมจึงอยากให้โจทก์ตัดสินใจใหม่ น่าจะถอนฟ้อง และถ้าติดใจอยากนำเสนอข้อมูล พร้อมว่าสื่อเปิดกว้าง เราพร้อมเปิดเวทีให้ มันพ้นยุคการปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิดนักวิชาการ และที่สำคัญปิดหูปิดตาประชาชน
“ต้องเปิดกว้าง เปิดหูเปิดตามากกว่านี้ ในฐานะที่คุณได้รับการเลือกเข้ามาดูแลผลประโยชน์ประเทศชาติ” นายวิสุทธิ์กล่าว
นายจักร์กฤษ เพิ่มพูล ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่า พอเห็นข่าวก็ประหลาดใจ เพราะ กสทช.ถือเป็นบุคคลสาธารณะ การฟ้องร้องเหมือนย้อนยุคไปยังยุคหิน ฟลินต์สโตน ที่ใช้อำนาจข่มขู่การทำหน้าที่ของสื่อ และที่คำฟ้องบรรยายไว้ว่าจะฟ้องทั่วราชอาณาจักรได้ ก็เป็นความเข้าใจผิด เพราะคดีที่มีมูลเดียวกันสามารถฟ้องได้เพียงคดีเดียวเท่านั้น ดีที่สุด กสทช.ควรจะถอนฟ้องแล้วมานั่งพูดคุยกัน
ขณะที่ นายก่อเขต จันทเลิศลักษณ์ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า กรรมเป็นเครื่องบอกเจตนา การฟ้องสามารถทำได้ แต่ถ้าดูบริบทไม่สามารถตีความเป็นอย่างอื่นได้ว่าไม่ใช่การข่มขู่ กสทช.เป็นหน่วยงานสำคัญมีหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของชาติเป็นแสนล้าน ก็เป็นเรื่องปกติที่จะถูกตรวจสอบ ตนจึงค่อนข้างแปลกใจว่าเหตุใดถึงมาฟ้องในคดีนี้ จึงอยากให้จับตาสถานการณ์นี้เป็นอย่างยิ่ง นี่คือสัญญาเตือนและไม่ใช่แค่เรื่องของคน 2 คนถูกฟ้อง ถ้าคนที่อาสามารักษาประโยชน์ประเทศชาติมีทัศนคติแบบนี้ ก็เป็นหน้าที่ของสื่อจะต้องมองสถานการณ์นี้ให้ละเอียดและก้าวย่างอย่างรู้ทัน
“ดูจากข่าวที่ออกมา ไปดูย้อนหลัง ยังมองไม่ออกว่ามันสร้างความเสียหาย หรือเป็นข้อมูลเลื่อนลอยตรงไหน ซึ่งหากเห็นไม่ตรง ก็สามารถมาชี้แจงได้ และที่ผ่านมาเห็นคนใน กสทช.ก็ออกมาชี้แจงเสนอๆ แต่กรณีนี้ทำไมใช้วิธีการฟ้องร้อง” นายก่อเขตกล่าว
นายก่อเขต กล่าวว่า เรากำลังเผชิญหน้ากับกลยุทธ์ที่ทำให้สื่อซึ่งทำหน้าที่ตรวจสอบต้องเผชิญหน้ากับความชะงักงัน สิ่งที่เรามาเรียกร้องเรื่องเสรีภาพในการทำงานของสื่อ ไม่ได้เรียกร้องเพื่อตัวเอง แต่เราเรียกร้อง แหกปาก ตะโกน และพูดอยู่เรื่อยๆ เพื่อปกป้องสิทธิและประโยชน์ของประชาชน
นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญของสังคมเกี่ยวกับบรรยากาศการใช้เสรีภาพ ซึ่งวันนี้ทุกฝ่ายได้แสดงจุดยืน เริ่มจาก ผู้ถูกฟ้องทั้ง 2 คน ทั้งนี้ สังคมมอบหมายให้ กสทช.จัดสรรคลื่นฯ เพื่อประโชน์และเป็นธรรม แต่เท่าที่ติดตามทั้งหมด มีสัญญาณหลายอย่างน่ากลัว คือ กำลังต่อสู้กับระเบียบประกาศรายการเนื้อหาวิทยุ โทรทัศน์ ไม่น่าเชื่อว่า กสทช.เป็นองค์กรที่ปฏิรูปสื่อ มีความคิดย้อนยุค ทำร้ายเสรีภาพสื่อ และกรณีนี้ใช้กฎหมายข่มขู่ และทำลายเสรีภาพทางวิชาการ สุดท้ายองค์กรที่น่ากลัว และท้าทายสื่อมากสุด คือ กสทช. ที่สื่อต้องจับตามอง
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=197837:2013-09-05-08-42-39&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524
http://m.thairath.co.th/content/tech/367954
http://m.thairath.co.th/content/tech/367944
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130905/527848/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B
8%81%E0%B8%97%E0%B8%84.%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A1
%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%
B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9B%E0%B8%8
A%E0%B8%8A..html
http://www.manager.co.th/CBiZReview/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111697
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1378369389
______________________________________
แมนๆ หน่อย “ทีดีอาร์ไอ” ท้า “กทค.” เปิดเวทีดีเบต
หากทำเพื่อชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะจริงคงไม่มีศัตรูรอบทิศ “ทีดีอาร์ไอ” ท้า “กทค.” เปิดเวทีสาธารณะ โต้ข้อมูลใครผิดใครถูกให้ประชาชนตัดสิน พร้อมฝาก 10 คำถามถึง กทค. ลั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปีที่ทีดีอาร์ไอโดนฟ้อง ยันพร้อมสู้คดีถึงที่สุด ด้านนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยติง กทค.ทำอย่างนี้เหมือนปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิด และปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ข่าวสารรอบด้าน
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ออกมายื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาท น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัยทีดีอาร์ไอ และ น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสนั้น ถือเป็นเรื่องที่ส่อไปในแนวทางข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชน เนื่องจากการเสนอความเห็นต่อสาธารณะถือเป็นหน้าที่โดยปกติ และสุจริตมาโดยตลอด ซึ่งไม่ได้ไปตัดสินว่าใครผิดใครถูกแต่อย่างใด แต่เป็นการตั้งคำถามโดยอาศัยข้อมูลอีกด้านที่สังคมอาจจะยังไม่รู้ก็เท่านั้นเอง ซึ่งเรื่องดังกล่าวไม่ได้เป็นเรื่องส่วนตัว แต่เป็นประเด็นสาธารณะและทีดีอาร์ไอเพียงเสนอข้อมูลทางวิชาการต่อกรณีความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของ กสทช.เท่านั้น
ดังนั้น ทางออกจากกรณีดังกล่าวทีดีอาร์ไอจึงเห็นควรเปิดเวทีสาธารณะขึ้นมาเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้นำข้อมูลของแต่ละฝ่ายออกมาโต้แย้งกัน ซึ่งสุดท้ายประชาชนจะเป็นคนตัดสินใจเองว่าใครเสนอข้อมูลถูกต้อง ส่วนคนที่เสนอข้อมูลผิดประชาชนก็จะหมดความน่าเชื่อถือไปเอง
“จริงๆ แล้ว กทค.ไม่ควรที่จะข่มขู่นักวิชาการ และสื่อมวลชนโดยการฟ้องร้อง แต่ควรใช้วิธีโต้แย้งที่ถูกต้องนั่นคือการเปิดเวทีสาธารณะเพื่อโต้แย้งการนำเสนอข้อมูลดังกล่าวที่ถูกต้อง แม้จะอ้างว่าไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรีก็ตาม”
ขณะเดียวกัน ทีดีอาร์ไอได้ฝาก 10 คำถามไปยัง กทค. ประกอบด้วย 1. กทค.รู้หรือไม่ว่าสัมปทานบนคลื่นความถี่ 1800 MHz ของทรูมูฟ และดีพีซีจะหมดลงในวันที่ 15 ก.ย. 2556 นี้ 2. ทราบหรือไม่ว่าเมื่อสัมปทานหมดจะต้องนำคลื่นดังกล่าวมาประมูลเท่านั้น 3. จริงหรือไม่ที่แผนแม่บทบริหารจัดการคลื่นความถี่ฯ ระบุว่าต้องคืนคลื่นหลังหมดสัญญาสัมปทานให้ กสทช. 4. จริงหรือไม่ที่คณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย กสทช.เคยมีความเห็นว่าเมื่อสิ้นสุดสัมปทานต้องคืนคลื่น 5. ทำไม กทค.ไม่ดำเนินการตามกฎหมายที่ระบุเอาไว้ แต่กลับออกมาตรการเยียวยาแทน
6. ได้แจ้งให้ผู้ใช้บริการทราบถึงวันหมดอายุสัมปทานตั้งแต่เนิ่นๆ หรือไม่ 7. ได้ห้ามผู้ประกอบการออกแพกเกจที่จะหมดอายุหลังสิ้นสุดสัมปทานหรือไม่ 8. ได้ปรับปรุงการโอนย้ายเลขหมายให้มีการโอนย้ายต่อครั้งได้ทีละจำนวนหลายหมายเลขหรือไม่ 9. ได้จ้างที่ปรึกษาตีราคา และวิธีการจัดประมูลตั้งแแต่ในปี 2555 หรือไม่ และข้อ 10. ในเวลา 420 วัน (นับตั้งแต่ พ.ร.บ.กสทช.มีผลบังคัลใช้ ) ก่อนจะมีประกาศเยียวยานั้น เพียงพอในการดำเนินการหรือไม่ ถ้าไม่ได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
“การฟ้องร้องทีดีอาร์ไอในครั้งนี้ถือเป็นคดีแรกในรอบ 30 ปีที่โดนฟ้อง แต่ทีดีอาร์ไอก็จะเดินหน้านำเสนอข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป แม้จะไปขัดผลประโยชน์ หรือทำให้เกิดความไม่พอใจของใครบางคนก็ตามแต่ ส่วนนักวิชาการคนอื่นๆ อาจจะต้องระมัดระวังในการเสนอความคิดเห็นให้มากขึ้นต่อไปนี้ อย่างไรก็ดี หาก กทค.ยังคงเดินหน้าฟ้องร้องต่อไปโดยไม่ถอนฟ้องเราก็พร้อมที่จะดำเนินการสู้คดีต่อไปอยู่แล้ว”
นายวิสุทธิ์ คมวัชรพงศ์ นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย กล่าวว่า การที่ กทค.ออกมาฟ้องร้องนั้นควรจะเป็นทางเลือกสุดท้ายมากกว่า เนื่องจากการที่สื่อมวลชน และนักวิชาการออกมาเสนอข้อมูลต่างๆ นั้นถือเป็นหน้าที่โดยปกติอยู่แล้ว แต่หากข้อมูลที่นำเสนอออกมาผิดจากความเป็นจริง กทค.ก็ควรที่จะทำหนังสือชี้แจง หรือออกแถลงข่าวเพื่อโต้แย้งกรณีดังกล่าวที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งการฟ้องร้องถือเป็นการข่มขู่ซึ่งส่งผลกระทบต่อสื่อ และนักวิชาการคนอื่นๆ ที่จะไม่กล้าออกมานำเสนอเรื่องต่างๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะต่อไป
ขณะที่การนำเสนอว่ารัฐจะสูญเสียรายได้นั้นไม่ได้เป็นการกล่าวหาว่าทุจริตคอร์รัปชันแต่เป็นการคาดการณ์ว่าจะเกิดความเสียหาย ซึ่งหากเห็นว่าข้อมูลคลาดเคลื่อนก็ควรที่จะออกมาชี้แจงหรือแถลงตอบโต้ซึ่งเป็นสิทธิอันพึงกระทำอยู่แล้วไม่ได้พูดว่าข้อมูลทีดีอาร์ไอถูกแต่อย่างใด
“แนะนำให้ กทค.ควรที่จะถอนฟ้องกรณีดังกล่าว โดยหากยังติดใจอยู่เราพร้อมที่จะเป็นคนกลางในการเปิดเวทีสาธารณะขึ้นเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายนำข้อมูลมาโต้แย้งกัน เพราะการกระทำอย่างนี้เป็นการปิดปากสื่อ ปิดกั้นความคิด และปิดหูปิดตาประชาชนไม่ให้รับรู้ข่าวสารรอบด้าน”
นางมาลี บุญศิริพันธ์ ประธานกรรมการนโยบาย