กสทช.เศรษฐพงค์ ชี้การฟ้องร้องของ กทค.ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ เพียงแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรี

04 กันยายน 2556 กสทช.เศรษฐพงค์ ชี้การฟ้องร้องของ กทค.ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรี

ประเด็นหลัก

  อย่างไรก็ดี บอร์ด กทค.เล็งเห็นว่าการให้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวของ น.ส.เดือนเด่น ทำให้ชื่อเสียงของ กทค. และ กสทช. เสื่อมเสีย ขาดความน่าเชื่อถือ และวิธีคิดของ น.ส.เดือนเด่นเองก็ถือเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาด อีกทั้งก่อนนี้ น.ส.เดือนเด่นก็อยู่ในตำแหน่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ซึ่งถือเป็นผู้ที่อยู่ในส่วนร่วมการออกแผนงานกระบวนการต่างๆ ในการเยียวยาผู้บริโภคจากการที่คลื่น 1800 MHz ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้
      
       “ภายหลังเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น กทค.ได้ปรึกษากับทีมกฎหมายแล้วจึงสรุปตัดสินใจฟ้องในที่สุด เพราะรับไม่ได้กับการกระทำดังกล่าวของ น.ส.เดือนเด่น และเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีองค์กร”

      
       “ขอย้ำว่าการฟ้องร้องของ กทค.ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรี และความถูกต้องของ กทค.และ กสทช.ก็เท่านั้น”
      
       พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า จากกรณีนี้ ทางผู้วิจารณ์ควรเคารพ และให้เกียรติการทำงานของ กทค.ที่ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องชอบธรรมมาโดยตลอดด้วย โดยในการฟ้องร้อง หากผู้ถูกฟ้องมั่นใจจริงว่าที่ตนเองวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องถูกต้องก็ไม่ควรเกรงกลัว เพราะท้ายสุดกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายจะทำหน้าที่ปกป้องผู้ที่ทำถูกเองในที่สุด
      


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111238








______________________________________



เศรษฐพงค์” ร้อนตัว แจงไม่ได้คุกคามนักวิชาการ-สื่อ


       กทค.ยันการฟ้องร้อง “เดือนเด่น-ณัฏฐา” ไม่ได้เป็นการคุกคามนักวิชาการและสื่อแต่อย่างใด ระบุทำเพื่อปกป้องศักดิ์ศรี กทค.-กสทช.เท่านั้น หลังให้ข้อมูลเชิงลบ “สุภิญญา” ออกโรงโต้กลับเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อ เสรีภาพนักวิชาการชัดเจน
      
       พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) กล่าวว่า สืบเนื่องจากกรณีที่เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมาบอร์ด กทค. ประกอบด้วย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ, นายสุทธิพล ทวีชัยการ, พลเอก สุกิจ ขมะสุนทร, นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ (ไม่รวม กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) และสำนักงาน กสทช. โดยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ ร่วมกันเป็นโจทก์ยื่นฟ้องคดีหมิ่นประมาทต่อศาลอาญาแก่ น.ส.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และ น.ส.ณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรายการสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
      
       ภายหลัง น.ส.เดือนเด่นได้ให้ข้อมูลแก่สื่อสำนักต่างๆ ว่า การที่ กสทช.ให้บริษัทเอกชนถือครองคลื่น 1800 MHz ต่ออีก 1 ปีตามประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (ประกาศเยียวยา 1800 MHz) ส่งผลให้ประเทศไทยต้องนำคลื่น 1800 MHz ที่จะนำมาจัดประมูลเป็นคลื่น 4G ล่าช้าไปอีก 1 ปี ทำให้ประเทศไทยเสียหาย 1.6 แสนล้านบาท ซึ่งการให้ข้อมูลดังกล่าวส่งผลในแง่ลบต่อบอร์ด กทค. และ กสทช.โดยตรง
      
       อย่างไรก็ดี บอร์ด กทค.เล็งเห็นว่าการให้ข้อมูลในลักษณะดังกล่าวของ น.ส.เดือนเด่น ทำให้ชื่อเสียงของ กทค. และ กสทช. เสื่อมเสีย ขาดความน่าเชื่อถือ และวิธีคิดของ น.ส.เดือนเด่นเองก็ถือเป็นวิธีคิดที่ผิดพลาด อีกทั้งก่อนนี้ น.ส.เดือนเด่นก็อยู่ในตำแหน่งคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคด้านกิจการโทรคมนาคม กสทช. ซึ่งถือเป็นผู้ที่อยู่ในส่วนร่วมการออกแผนงานกระบวนการต่างๆ ในการเยียวยาผู้บริโภคจากการที่คลื่น 1800 MHz ที่กำลังจะหมดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 ก.ย.นี้
      
       “ภายหลังเกิดกรณีดังกล่าวขึ้น กทค.ได้ปรึกษากับทีมกฎหมายแล้วจึงสรุปตัดสินใจฟ้องในที่สุด เพราะรับไม่ได้กับการกระทำดังกล่าวของ น.ส.เดือนเด่น และเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีองค์กร”
      
       ขณะที่ล่าสุดได้รับรายงานว่า ทางทีดีอาร์ไอ, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส และสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เตรียมออกแถลงข่าวร่วมกันในวันที่ 5 ก.ย.นี้ เนื่องจากเห็นว่าการกระทำของ กทค.เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชน ซึ่งจากกรณีดังกล่าวเห็นว่าทุกคนมีสิทธิในการวิพากษ์วิจารณ์ได้ แต่การวิพากษ์วิจารณ์นั้นไม่ควรไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น
      
       “ขอย้ำว่าการฟ้องร้องของ กทค.ครั้งนี้ไม่ใช่เป็นการคุกคามการทำงานของนักวิชาการ และสื่อมวลชนแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการปกป้องศักดิ์ศรี และความถูกต้องของ กทค.และ กสทช.ก็เท่านั้น”
      
       พ.อ.เศรษฐพงค์กล่าวว่า จากกรณีนี้ ทางผู้วิจารณ์ควรเคารพ และให้เกียรติการทำงานของ กทค.ที่ปฏิบัติงานอย่างถูกต้องชอบธรรมมาโดยตลอดด้วย โดยในการฟ้องร้อง หากผู้ถูกฟ้องมั่นใจจริงว่าที่ตนเองวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องถูกต้องก็ไม่ควรเกรงกลัว เพราะท้ายสุดกระบวนการยุติธรรมและกฎหมายจะทำหน้าที่ปกป้องผู้ที่ทำถูกเองในที่สุด
      
       สำหรับการฟ้องร้องกรณีดังกล่าวนั้น โจทก์ได้ฟ้องขอให้ศาลอาญาพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 (ความผิดฐานหมิ่นประมาท) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 328 (ความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา) ซึ่งเป็นโทษที่หนักขึ้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
      
       ขณะที่ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน กล่าวว่า การฟ้องร้องครั้งนี้ตนไม่เห็นด้วยอย่างมาก เพราะถือเป็นการคุกคามสิทธิเสรีภาพสื่อ เสรีภาพนักวิชาการ และเสรีภาพในการนำเสนอข่าวที่ทำหน้าที่ตรวจสอบองค์กรอิสระภาครัฐจากคนภายนอก การฟ้องร้องครั้งนี้กลับยิ่งทำให้องค์กรได้รับความเสียหายมากกว่า เพราะการที่ กสทช.ถูกวิพากษ์วิจารณ์และอาจไม่พอใจกับข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบนั้น ก็สามารถใช้สิทธิในการโต้แย้ง (Rights of Reply) เพื่อชี้แจงข้อมูลผ่านการแถลงข่าว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการใช้งบประมาณซื้อพื้นที่สื่อเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานของ กสทช.ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด รวมทั้งพบว่าสถานีโทรทัศน์บางช่องได้เชิญกรรมการบางท่านไปออกรายการเพื่อชี้แจงแต่กลับได้รับการปฏิเสธไม่ร่วม การกระทำเช่นนี้ย่อมอาจถูกมองได้ว่าเป็นการปฏิเสธการตรวจสอบจากภายนอก ซึ่งขัดเจตนารมณ์การเป็นองค์กรอิสระที่ต้องมีหลักธรรมาภิบาลเรื่องความโปร่งใสตรวจสอบได้
      
       อีกทั้งเป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อปลายปีที่ผ่านมาได้เคยมีความพยายามของ กสทช.บางท่านเสนอวาระเข้าสู่ที่ประชุม กสทช.เพื่อเสนอให้มีการจำกัดสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของกรรมการเสียงข้างน้อย ซึ่งตนเองไม่เห็นด้วยกับวาระดังกล่าวเนื่องจากเห็นว่าเป็นการลิดรอนสิทธิในการแสดงความเห็นของกรรมการที่เห็นต่าง แต่ตอนนี้ดูเหมือนจะขยายไปสู่การฟ้องร้องนักวิชาการและสื่อสาธารณะ คงต้องมีการทำบันทึกถามว่า การฟ้องร้องครั้งนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของบอร์ด กสทช. 11 คนหรือยัง เพราะ 7 คนที่เหลือยังไม่ได้เห็นชอบอาจจะถูกเข้าใจผิดจากสังคมได้ ส่วนตัวอยากขอให้สำนักงาน กสทช.และบอร์ด กทค. 4 ท่านทบทวนการฟ้องร้องนี้ แล้วใช้การดีเบตต่อสาธารณะในการให้ข้อมูลข้อโต้แย้งแทน
      
       “อย่างไรก็ดี หากคดีดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ดิฉันในฐานะ กสทช.จะร่วมเบิกความเป็นพยานให้ฝ่ายจำเลย และเมื่อถึงเวลานั้นดิฉันอาจมีความจำเป็นที่จะขอเรียกเอกสารหลักฐานภายในสำนักงาน กสทช.ที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดเผยในชั้นศาลและสาธารณะต่อไป”


http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000111238
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่