นักเรียนมัธยมปลายที่เมืองนอก เขาต้องแยกสายวิทย์ + สายศิลป์แบบเมืองไทยมั้ย

สงสัยอะ เพราะตอนเรียนก็ดูเหมือนจะส่งเสริมให้เด็กที่เรียนดีประมาณนึง ไปเรียนสายวิทย์กัน เพราะบอกว่าเลือกเรียนต่อมหาวิทยาลัยได้หลากหลาย แล้วเป็นไงล่ะ ทั้งฟิสิกส์ เคมี เน่ากันไปก็เยอะ

จนหลายคนต้องเปลี่ยนสายไปสอบ Entrance (ในตอนนั้น) เข้าคณะสายศิลป์ กัน รวมทั้งเราด้วย 55

เลยสงสัยว่าที่เมืองนอกเขาทำอย่างนี้กันรึเปล่า ส่วนการเรียนของเด็กไทยตอนนี้ไม่ค่อยรู้เรื่องแล้ว เพราะเราจบมานานมากกกก...
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 6
ก็ไม่แยกนะ เคยมีคนไทยสายศิลป์ไปเรียน มีโอกาสเรียนคณิตศาสตร์แบบจริงจังที่โน่น ชอบขึ้นมา เลยเข้าเรียนวิศวะเลย

ของเมืองไทยแม้แต่สายวิทย์ก็มีแตกย่อยเป็นแบบไม่เรียนชีวะ กับเรียนชีวะ
คือเราเอาข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นตัวตั้ง แทนที่จะดูว่าเด็กวัยนี้ควรเรียนแค่ไหน อะไรที่สำคัญกับเด็กในระยะยาว
แล้วผมดูเนื้อหามันโหดขึ้นทุกปี เพราะโลกมันพัฒนาขึ้นทุกวัน แต่คนเรียนมีเวลาเท่าเดิม ยกตัวอย่าง สมัยผมมีคาร์บอนแค่สองชนิด
สมัยนี้มีเพิ่มมาอีกอย่างน้อยก็สอง ก็ต้องใส่เข้ามา คณิตศาสตร์ก็ต้องกระชับเข้ามา อะไรที่ควรเรียนตอนมอปลายก็เห็นเรียนกันมอต้น
(อาจเป็นแค่บาง รร)  สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เด็กที่เรียนทันมีไม่กี่คน แต่เด็กส่วนใหญ่ตามไม่ทันไปเลย เกิดความสูญเปล่าทางเศรษฐกิจ
จริงๆมันเป็นมานานแล้ว เนื้อหาสายวิทย์ที่เรียนมันเหมาะกับเด็กไม่กี่คนที่จะเรียนสายสุขภาพแบบเข้มๆ เช่น แพทย์ ทันตะ เพราะต่างประเทศบางที่ก็ให้คนจบตรีมาเรียน
ไม่ใช่คนจบมอปลาย สาขาอื่นไม่ได้ใช้เนื้อหาเข้มมากขนาดนั้น แม้แต่วิศวะ เอาเข้าจริงๆก็ใช้คณิตศาสตร์พื้นๆในระดับมอปลายก็เหลือๆ
เคมี ฟิสิกส์ก็ลดๆหน่อยก็ได้ เปิดโอกาสให้เด็กศึกษาเพิ่มในระดับอุดมศึกษาก็ยังทัน

ถามว่าถ้าลดเนื้อหาลงจะเกิดอะไรขึ้น เด็กสายวิทย์ก็จะเครียดน้อยลง มีเวลาเรียนวิชาสายศิลป์มากขึ้น สมัยผมแทบไม่แตะวิชาสังคม
หรือ ภาษาไทยเลย เพราะมัวแต่สนใจวิชาหลักของสายวิทย์ ซึ่งอันนี้ก็เสียโอกาสเหมือนกัน ในทางกลับกัน พอเนื้อหาสายวิทย์ลดลง สายศิลป์ก็อาจเข้ามาเรียนได้บ้าง
สุดท้ายก็อาจจะจบลงที่สายกลางๆ คือมีทั้งวิทย์ทั้งศิลป์ ใครถนัดอะไรก็เน้นอันนั้นแล้วเลือกเรียนแบบเต็มในระดับอุดม ข้อสอบก็สอบแบบกลางๆ ไม่ต้องยากมาก ไม่ต้องคลุมเนื้อหาละเอียดมาก  เพราะเห็นกามั่วก็ยังหาที่เรียนได้
การสอบเข้าทุกวันก็ไม่ได้เข้มเอาเป็นเอาตายอะไรขนาดนั้น เพราะที่นั่งเรียนมีเยอะ  ที่เห็นกวดวิชากันเอาเป็นเอาตาย น่าจะเป็นพวกที่เน้นแพทย์ ทันตะ มากกว่า พวกนี้ยังไงก็หนีโรงเรียนกวดวิชาไม่พ้นตราบใดที่เก้าอี้ในคณะเหล่านี้ยังมีจำกัด พวกนี้แยกข้อสอบอยู่แล้ว ปล่อยเค้าไปตามทางของเค้า อยากให้นึกถึงคนส่วนใหญ่มากกว่า

คือ ผมไม่ได้บอกว่าระบบเค้าที่สุด แต่ผมว่า เออ อย่างเด็กอเมริกันเรียนค่อนข้างอ่อนเมื่อเทียบกับประเทศอุตสาหกรรมอื่น แต่อุดมศึกษาเค้าดี มีที่นั่งเหลือ เค้าเลยใช้ระบบนี้ ไม่งั้นเด็กเค้าเรียนมัธยมไม่ไหว แล้วมันจะกระทบอุดมศึกษา  กรณีเด็กไทย ผมว่าเด็กส่วนใหญ่เราถือว่าเรียนอ่อนเมื่อเทียบกับประเทศกลุ่มเดียวกัน แล้วที่นั่งในอุดมศึกษาเราก็เยอะ น่าจะใช้ระบบแบบเรียนง่ายๆกลางๆได้แล้ว ในความคิดผมนะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่