เห็นมีหลายคนมีบอกว่า ถ้าเราอยากให้ประเทศของเรามี GDP ที่สูงขึ้น เราจะต้องสนับสนุนให้คนไทยเป็นแรงงานมีทักษะและฝีมือกันมากขึ้น
ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหนนะ
เพราะขนาดประเทศญี่ปุ่น
เป็นประเทศที่มี GDP สูงอันดับต้นๆของโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว
แต่เชื่อไหมล่ะ คนญี่ปุ่น ค่อนประเทศทำงานระดับล่างกันนะครับ
ผมก็อดสงสัยไม่ได้ล่ะว่า คนญี่ปุ่นมีคนทำงานระดับล่างกันเยอะแยะมากมายกันขนาดนี้ แต่ทำไมถึงได้เป็นประเทศที่มี GDP สูงอันดับต้นๆของโลกได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีคนทำงานใช้ทักษะ&ฝีมือเยอะมากมายอะไรเลย
ข้อมูล :
https://www.jil.go.jp/kokunai/statistics/chart/html/g0006.html
ถ้าผมเอาสถิติมาดูว่า
ทุกวันนี้เด็กไทยรุ่นใหม่ เข้าเรียนต่อเพื่อเป็นแรงงานใช้ทักษะ&ฝีมือ กันเยอะแค่ไหน
ปี 2564
มีจำนวนประชากรอายุ 19 ปี ทั่วประเทศ
รวม 790,710 คน
(ผมจะใช้ช่วงอายุ 19 ปี เป็นเกณฑ์การคำนวณ
เพราะช่วงที่มีสัดส่วนเด็กเข้าเรียนวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 กันเยอะมากที่สุด)
ข้อมูล :
http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101_TH_.xlsx
ซึ่งปี 2564 นี้ ทั่วประเทศ
มีจำนวนเด็กเข้าเรียนวิทยาลัย (ปวส.) ชั้นปีที่ 1
รวม 166,310 คน (คิดเป็น 21.2%)
มีจำนวนเด็กเข้าเรียนมหาวิทยาลัย (ป.ตรี) ชั้นปีที่ 1
รวม 352,026 คน (คิดเป็น 44.5%)
ข้อมูล :
https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/11/171-AW-statistics-2564-e-Book.pdf
นั่นเท่ากับว่า
ปี 2564 ประชากรที่อายุ 19 ปี ทั่วประเทศ
ราวๆ 2.6-2.7 แสนคน (คิดเป็น 34.3%)
ไม่ได้เข้าศึกษาต่อ วิทยาลัย(ปวส.)/มหาวิทยาลัย
มีวุฒิเพียงแค่ ม.3/ม.6/ปวช. เท่านั้น
งานวุฒิ ม.3/ม.6/ปวช.
ส่วนใหญ่มักจะได้ทำงานระดับล่าง งานที่ไม่ได้ใช้ทักษะ
เช่น พนักงานเสิร์ฟ/ครัวในร้านอาหาร , งานฝ่ายผลิตโรงงาน , แคชเชียร์ , งานบริการต่างๆ , พนักงานขับรถขนส่ง , พนักงานรักษาความปลอดภัย , พนักงานขายสินค้าต่างๆ เป็นต้น
ฐานค่าจ้างน้อย แต่ที่เห็นอยู่กันได้และมีเงินเก็บกัน
เพราะอาศัยการทำโอที / เงินโบนัส / สวัสดิการบริษัท
และเอาจริงๆเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาต่อ
วิทยาลัย(ปวส.)/มหาวิทยาลัย
จบแค่ ม.3/ม.6/ปวช. มีหลายปัจจัยมาก
เช่น
1.หัวการเรียนไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก เลยไม่ได้คิดอยากเรียนต่อออกมาทำงานดีกว่า
2.ที่บ้านมีกิจการส่วนตัว/ค้าขาย กำไรดีอยู่แล้ว จึงไม่ได้คิดดิ้นรนร่ำเรียนอะไร
3.ฐานะทางบ้านการเงินไม่ค่อยดีเท่าไหร่
4.ไปสายราชการ เช่น ทหาร ตำรวจ
5.ท้องวัยเรียน ทำให้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา จึงเรียนไม่จบ
และอื่นๆ
ซึ่งหลายคนมองว่า ถ้าหากประชากรในประเทศมีแต่คนทำงานระดับล่างกันเยอะ
จะส่งผลให้ GDP ในประเทศไม่ขยับตัวสูงขึ้น
เพราะงานระดับล่าง เป็นงานที่รายได้ค่อนข้างน้อย
เอาจริงๆ คนไทยรุ่นใหม่ที่เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย
ใช้ว่าจะเป็นแรงงานมีทักษะหรือฝีมือกันหมด
อย่าง คณะสายสังคมต่างๆ/บริหารทั่วไป ปีนึงมีคนเรียนจบเยอะมากๆ แต่ตำแหน่งงานจริงๆมีน้อย
ในขณะที่คณะสายวิทย์ต่างๆ
เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ไอที เทคนิคการแพทย์ เป็นต้น
มีคนเข้าเรียนกันน้อย แต่ความต้องการในตลาดแรงงานสูง จึงไม่แปลกว่าทำไมคณะสายวิทย์ คนเรียนจบไปฐานเงินเดือนเริ่มต้นสูงกันเยอะ
และสัดส่วนนักศึกษาทั่วประเทศในแต่ละปี
มีคนเรียนคณะสายวิทย์ เพียงแค่ 30% เท่านั้น
แต่มีคนเรียนคณะสายสังคม มากถึง 70%
ข้อมูล :
https://stiic.sti.or.th/stat/ind-lf/ind-lf-g001/lf-t001/
และถ้าเราสนับสนุนให้คนไทยรุ่นใหม่ทุกๆคน เป็นแรงงานใช้ทักษะ/ฝีมือกันหมด
เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะไอที คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์
ให้เรียนฟรีอยู่ฟรีกินฟรีตลอดหลักสูตรไปเลย และเพิ่มที่นั่งรับให้มากขึ้นแต่ละมหาวิทยาลัยไปด้วย
และสนับสนุนให้เรียนเรียนสายอาชีวศึกษา (ปวส.)
โดยเฉพาะสายช่าง ให้เรียนฟรีไปด้วย
และก็เพิ่มตำแหน่งงานเหล่านี้ในตลาดให้มีรองรับไปด้วย
และลดจำนวนที่นั่งสายสังคมต่างๆในมหาวิทยาลัยไปด้วย
เพื่อให้คนหันไปเรียน คณะสายวิทย์ต่างๆในมหาวิทยาลัยกันเยอะๆ
หรือสายอาชีวศึกษา (โดยเฉพาะสายช่างต่างๆ)
จะทำให้ GDP ประเทศไทยสูงขึ้นมากกว่านี้หรือไม่?
ถ้าเราสนับสนุนให้คนไทยรุ่นใหม่เป็นแรงงานมีทักษะ/ฝีมือ กันเยอะๆ อนาคตประเทศไทยจะมี GDP สูงขึ้นมากกว่านี้หรือไม่
ไม่รู้ว่าจริงเท็จแค่ไหนนะ
เพราะขนาดประเทศญี่ปุ่น
เป็นประเทศที่มี GDP สูงอันดับต้นๆของโลกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว
แต่เชื่อไหมล่ะ คนญี่ปุ่น ค่อนประเทศทำงานระดับล่างกันนะครับ
ผมก็อดสงสัยไม่ได้ล่ะว่า คนญี่ปุ่นมีคนทำงานระดับล่างกันเยอะแยะมากมายกันขนาดนี้ แต่ทำไมถึงได้เป็นประเทศที่มี GDP สูงอันดับต้นๆของโลกได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีคนทำงานใช้ทักษะ&ฝีมือเยอะมากมายอะไรเลย
ข้อมูล : https://www.jil.go.jp/kokunai/statistics/chart/html/g0006.html
ถ้าผมเอาสถิติมาดูว่า
ทุกวันนี้เด็กไทยรุ่นใหม่ เข้าเรียนต่อเพื่อเป็นแรงงานใช้ทักษะ&ฝีมือ กันเยอะแค่ไหน
ปี 2564
มีจำนวนประชากรอายุ 19 ปี ทั่วประเทศ
รวม 790,710 คน
(ผมจะใช้ช่วงอายุ 19 ปี เป็นเกณฑ์การคำนวณ
เพราะช่วงที่มีสัดส่วนเด็กเข้าเรียนวิทยาลัย/มหาวิทยาลัย ชั้นปีที่ 1 กันเยอะมากที่สุด)
ข้อมูล : http://statbbi.nso.go.th/staticreport/Page/sector/TH/report/sector_01_11101_TH_.xlsx
ซึ่งปี 2564 นี้ ทั่วประเทศ
มีจำนวนเด็กเข้าเรียนวิทยาลัย (ปวส.) ชั้นปีที่ 1
รวม 166,310 คน (คิดเป็น 21.2%)
มีจำนวนเด็กเข้าเรียนมหาวิทยาลัย (ป.ตรี) ชั้นปีที่ 1
รวม 352,026 คน (คิดเป็น 44.5%)
ข้อมูล : https://bict.moe.go.th/wp-content/uploads/2022/11/171-AW-statistics-2564-e-Book.pdf
นั่นเท่ากับว่า
ปี 2564 ประชากรที่อายุ 19 ปี ทั่วประเทศ
ราวๆ 2.6-2.7 แสนคน (คิดเป็น 34.3%)
ไม่ได้เข้าศึกษาต่อ วิทยาลัย(ปวส.)/มหาวิทยาลัย
มีวุฒิเพียงแค่ ม.3/ม.6/ปวช. เท่านั้น
งานวุฒิ ม.3/ม.6/ปวช.
ส่วนใหญ่มักจะได้ทำงานระดับล่าง งานที่ไม่ได้ใช้ทักษะ
เช่น พนักงานเสิร์ฟ/ครัวในร้านอาหาร , งานฝ่ายผลิตโรงงาน , แคชเชียร์ , งานบริการต่างๆ , พนักงานขับรถขนส่ง , พนักงานรักษาความปลอดภัย , พนักงานขายสินค้าต่างๆ เป็นต้น
ฐานค่าจ้างน้อย แต่ที่เห็นอยู่กันได้และมีเงินเก็บกัน
เพราะอาศัยการทำโอที / เงินโบนัส / สวัสดิการบริษัท
และเอาจริงๆเด็กไทยรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ศึกษาต่อ
วิทยาลัย(ปวส.)/มหาวิทยาลัย
จบแค่ ม.3/ม.6/ปวช. มีหลายปัจจัยมาก
เช่น
1.หัวการเรียนไม่ค่อยดีเท่าไหร่นัก เลยไม่ได้คิดอยากเรียนต่อออกมาทำงานดีกว่า
2.ที่บ้านมีกิจการส่วนตัว/ค้าขาย กำไรดีอยู่แล้ว จึงไม่ได้คิดดิ้นรนร่ำเรียนอะไร
3.ฐานะทางบ้านการเงินไม่ค่อยดีเท่าไหร่
4.ไปสายราชการ เช่น ทหาร ตำรวจ
5.ท้องวัยเรียน ทำให้ต้องหลุดออกจากระบบการศึกษา จึงเรียนไม่จบ
และอื่นๆ
ซึ่งหลายคนมองว่า ถ้าหากประชากรในประเทศมีแต่คนทำงานระดับล่างกันเยอะ
จะส่งผลให้ GDP ในประเทศไม่ขยับตัวสูงขึ้น
เพราะงานระดับล่าง เป็นงานที่รายได้ค่อนข้างน้อย
เอาจริงๆ คนไทยรุ่นใหม่ที่เข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย
ใช้ว่าจะเป็นแรงงานมีทักษะหรือฝีมือกันหมด
อย่าง คณะสายสังคมต่างๆ/บริหารทั่วไป ปีนึงมีคนเรียนจบเยอะมากๆ แต่ตำแหน่งงานจริงๆมีน้อย
ในขณะที่คณะสายวิทย์ต่างๆ
เช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ไอที เทคนิคการแพทย์ เป็นต้น
มีคนเข้าเรียนกันน้อย แต่ความต้องการในตลาดแรงงานสูง จึงไม่แปลกว่าทำไมคณะสายวิทย์ คนเรียนจบไปฐานเงินเดือนเริ่มต้นสูงกันเยอะ
และสัดส่วนนักศึกษาทั่วประเทศในแต่ละปี
มีคนเรียนคณะสายวิทย์ เพียงแค่ 30% เท่านั้น
แต่มีคนเรียนคณะสายสังคม มากถึง 70%
ข้อมูล : https://stiic.sti.or.th/stat/ind-lf/ind-lf-g001/lf-t001/
และถ้าเราสนับสนุนให้คนไทยรุ่นใหม่ทุกๆคน เป็นแรงงานใช้ทักษะ/ฝีมือกันหมด
เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะไอที คณะวิทยาศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะเทคนิคการแพทย์
ให้เรียนฟรีอยู่ฟรีกินฟรีตลอดหลักสูตรไปเลย และเพิ่มที่นั่งรับให้มากขึ้นแต่ละมหาวิทยาลัยไปด้วย
และสนับสนุนให้เรียนเรียนสายอาชีวศึกษา (ปวส.)
โดยเฉพาะสายช่าง ให้เรียนฟรีไปด้วย
และก็เพิ่มตำแหน่งงานเหล่านี้ในตลาดให้มีรองรับไปด้วย
และลดจำนวนที่นั่งสายสังคมต่างๆในมหาวิทยาลัยไปด้วย
เพื่อให้คนหันไปเรียน คณะสายวิทย์ต่างๆในมหาวิทยาลัยกันเยอะๆ
หรือสายอาชีวศึกษา (โดยเฉพาะสายช่างต่างๆ)
จะทำให้ GDP ประเทศไทยสูงขึ้นมากกว่านี้หรือไม่?