บทความนี้เป็นเพียงบทความเรียกน้ำย่อย ของการถ่ายภาพอาหาร
โดยบทความเต็มที่จะทยอยเก็บภาพไปเรื่อยๆนั้น จะมีทั้งการถ่ายแบบง่ายๆ
คือการถ่ายด้วยแสงธรรมชาติ ตามแต่ที่สภาพแวดล้อมจะอำนวย ไปจนถึงการถ่ายด้วยจากแหล่งกำเนิดแสงอื่น
เช่น แสงไฟบ้านหรือแสงในห้องอาหาร และการใช้อุปกรณ์เพิ่มแสงให้กับอาหาร ที่มีตั้งแต่ชิ้นละไม่กี่สิบบาท
จนถึงไฟสตูดิโอที่มีราคาเกือบหมื่นจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับจำนวนดวงไฟและอุปกรณ์ประกอบ
เช่น เครื่องวัดแสง ซ็อฟท์บ็อกซ์ ร่มสะท้อนแสงหลายแบบและร่มแสงทะลุ เป็นต้น
เป็นการถ่ายทอดจากประสพการณ์ ที่เคยทำงานด้านถ่ายภาพโฆษณา ตลอดจนถึงการรีวิวอาหารด้วยกล้องมือถือมาหลายปี
เป็นวิธีการเฉพาะบุคคล ซึ่งมีทั้งหลักวิชาการและแบบมวยวัด คือแก้ไขเอาเฉพาะหน้าตามสภาพแวดล้อม
และดัดแปลงอุปกรณ์มาใช้ในการถ่ายภาพอาหาร ซึ่งอาจมีถูกผิดบ้าง ไม่ได้มาอวดรู้ หรือ หวังให้เป็นตำราอ้างอิง
เพียงแต่หวังว่าอาจมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ดีกว่าเก็บไว้กับตัว เพราะการแบ่งปันประสบการณ์นั้น
ย่อมดีกว่าการไม่ทำอะไร แต่เวลามีใครทำอะไร ดีแต่ใจทรามจิตต่ำจับผิด หาเรื่องค่อนแคะน่ารำคาญ
หมายเหตุ : ภาพในบทความนี้ ถ่ายด้วยกล้องสมาร์ทโฟน( I-mobile IQ X) กล้องคอมแพ็ค(Nikon Coolpix AW100)
และกล้อง DSLR(Sony Alpha A77) ความคมชัดของภาพประกอบ จึงแตกต่างกันไป ตามสมรรถนะของกล้อง
คำเตือน : ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง อย่าลองของนะจ๊ะ
ต้องยอมรับว่าการถ่ายภาพอาหารเพื่ออั๊พขึ้นโซเชียลเน็ทเวิร์คนั้น กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไป
ต่างจากเมื่อหลายปีก่อน ที่การยกกล้องขึ้นถ่ายภาพอาหารตามร้าน มักมีสายตามองแปลกๆ
ทั้งจากลูกค้าอื่นในร้าน หรือเพื่อนที่ไปด้วยกัน "จะถ่ายไปทำไมวะ?"
หรือสายตาระแวงจากร้านอาหาร โดยเฉพาะเมื่อยกกล้องเทพขึ้นมาถ่ายภาพ "สรรพากรหรือเปล่าวะ?"
แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใครๆก็ทำกัน ร้านอาหารก็ชอบ เพราะถ่ายปุ๊บอั๊พปั๊บลูกค้าเพิ่ม
ยกเว้นว่าเอาแต่ถ่ายลูกสาวเจ้าของร้าน หรือเอาแต่ถ่ายสะดือสาวเชียร์เบียร์ ถ้าอย่างนั้นก็สมควรเจ็บตัว
นอกจากการถ่ายรูปตามร้านอาหารแล้ว หนึ่งในภาพอาหารที่นิยมอั๊พกันก็คือ
อาหารที่ทำกินกันเองที่บ้าน หรือบางครั้ง ก็เป็นอาหารที่ซื้อกลับมาทานที่บ้าน
เช่น บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงแห้งจานนี้ ที่ซื้อมาจากตลาดนัดวันศุกร์ โรงพยาบาลตำรวจ
เรื่องที่ปวดหัวที่สุดก็คือแสงไม่พอ ทำให้ภาพออกมืด โฟกัสยาก รวมทั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ภาพสั่นเบลอ
ถ้าเป็นเวลากลางวันก็อาจใช้แสงที่เข้ามาทางหน้าต่างช่วย หรือยกไปตั้งถ่ายนอกบ้าน
แต่ถ้ามืดแล้ว ก็ต้องอาศัยแสงนีออนบนเพดาน
ซึ่งก็มักเจอปัญหาหนึ่ง ซึ่งเกิดเมื่อทานข้าวนอกบ้านด้วยก็คือ มีเงาของกล้อง
หรือ ส่วนหนึ่งของร่างกายของตัวเองบังแสงไปส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดเงาดำทาบลงไปในภาพ
ซึ่งบางครั้งถ้าคร็อพภาพ ก็อาจทำให้ความน่าสนใจของอาหารจานนั้นลดลงไป
ปัจจุบัน ถ้าไปงานแต่งงาน หรือ งานอีเว้นท์ จะเห็นไฟถ่ายวีดิโอทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งใช้หลอดไฟแอลอีดีเป็นแหล่งกำเนิดแสง
ราคาตั้งแต่ตัวละพันปลายๆไปจนถึงหลายพัน ขึ้นอยู่ความแรง(เข้ม)ของแสง ซึ่งแปรผันตามจำนวนหลอดแอลอีดี
รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ เช่น สามารถปรับความเข้มของแสงได้หลายระดับ หรือ มีบานพับบังคับแสง รวมถึงฟิลเตอร์ครอบแบบต่างๆ
(หมายเหตุ : ภาพจากโปรคัลเลอร์แลบ)
อุปกรณ์ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักติดตั้งอยู่บนหัวฮ็อทชูของกล้อง จึงให้แสงได้แค่มุมเดียว
คือมุมจากด้านหน้า ซึ่งถ้ามีเงา จะเป็นเงาจากด้านล่างขึ้นหาด้านบน
ยกเว้นแยกออกจากกล้องโดยติดตั้งบนขาตั้ง ซึ่งทำให้สามารถจัดแสงเงาตามที่ต้องการได้
แต่สำหรับคนที่ไม่อยากลงทุนกับอุปกรณ์ราคาแพง และเดินคลองถม หรือ บ้านหม้อ หรือ ตามศูนย์ไอทีหลายแห่ง
จะรู้ว่า ปัจจุบันมีไฟฉายหลอดแอลอีดีหลายรูปทรง หนึ่งในนั้นคือแบบเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ซึ่งมีทั้งเป็นแบบแผงยาว หรือ แบบตั้งโต๊ะซึ่งสามารถพับได้ เช่น ตัวอย่างที่ซื้อมาจากคลองถมในราคา 200 บาท(พันธ์ทิพย์ 250)
ใช้หลอดแอลอีดี 24 ดวง สามารถตั้งกำลังไฟได้สองระดับ ใช้การชาร์จไฟบ้านแทนการใช้แบตเตอรี่
การถ่ายภาพอาหารนั้น นิยมให้แหล่งกำเนิดแสงเข้ามาทางด้านหลังโดยให้อยู่สูงทำมุม 30-45 องศา เพื่อให้เงาสั้น
และให้แสงอยู่เยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เห็นเท็กซ์เจอร์ของอาหารชัดขึ้น จากคอนทราส์ที่แตกต่างกัน
แต่การให้แสงด้วยวิธีนี้ จะทำให้เกิดเงาแข็ง ซึ่งบางครั้งก็ดูดี แต่บางครั้งก็ดูแข็งกระด้าง
วิธีแก้ก็คือ หาวัตถุสีขาวมาช่วยสะท้อนแสง เพื่อลดเงาให้แข็งน้อยลง
อุปกรณ์ที่นิยมใช้และมีราคาถูกก็คือแผ่นโฟม หรือ แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีขาว
หรือ กระดาษแข็ง(กล่อง)ปิดทับด้วยแผ่นอลูมีเนียมฟอยล์ แต่ต้องวางห่างๆ เพราะการสะท้อนแสงจะแรงกว่า
หรือถ้ามีพัศดุไปรษณีย์มาส่งบ่อย แกะเอาของข้างในแล้ว เก็บกล่องมาใช้เป็นวัตถุช่วยสะท้อนแสงก็ได้
ถึงแม้จะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับภาพ แต่ก็ควรถือกล้องนิ่งๆ
หรือ ถ้าเป็นกล้องใหญ่ก็ใช้ขาตั้งกล้อง ถ้าเป็นกล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ แท็บเล็ต
ก็ต้องหาอุปกรณ์มาช่วยจับและเชื่อมต่อกับขาตั้งกล้อง ซึ่งก็สามารถทำใช้เอง แต่จะพูดถึงคราวหลัง
ลองวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ด้านซ้าย เงาจะเทไปทางขวาตรงๆ
ไม่ย้อยลงมาข้างล่างเหมือนแยงแสงมาจากด้านหลัง
วางแผ่นสะท้อนแสงเพื่อลดเงา
ไม่นิยมวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ทางด้านขวา ซึ่งจะทำให้เงาไปเกิดทางด้านซ้าย
เพราะตาของคนเรานั้น จะมองจากซ้ายไปขวา จากสว่างไปหามืด
การวางเงาไว้ทางซ้ายจึงกลายเป็นการเบรคการมอง ในขณะที่การวางเงาไว้ทางขวา
จะเป็นเหมือนเส้นแรเงา เบรคการมองเลยจานอาหารออกไป
เชื่อว่าปัจจุบันบ้านส่วนใหญ่จะมีไฟฉายหลอดแอลอีดีไว้ใช้เผื่อไฟดับ
แม้ว่าไฟฉายขนาดเล็กแบบนี้จะสว่างไม่พอ แต่ก็มีประโยชน์ในการใช้เป็นแสงลบเงาแทนแผ่นรีเฟล็กซ์ได้
ที่เห็นนี้ราคาไม่กี่สิบบาท แต่ต้องดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อให้ติดตั้งบนขาตั้งกล้องเล็กๆได้
ทำให้สามารถปรับมุมของแสง ส่วนวิธีการดัดแปลงก็ไม่ยาก ใช้เงินแค่บาทเดียวกับกาวช้างนิดหน่อย
Prelude to "Food Photography 101 by laser"
โดยบทความเต็มที่จะทยอยเก็บภาพไปเรื่อยๆนั้น จะมีทั้งการถ่ายแบบง่ายๆ
คือการถ่ายด้วยแสงธรรมชาติ ตามแต่ที่สภาพแวดล้อมจะอำนวย ไปจนถึงการถ่ายด้วยจากแหล่งกำเนิดแสงอื่น
เช่น แสงไฟบ้านหรือแสงในห้องอาหาร และการใช้อุปกรณ์เพิ่มแสงให้กับอาหาร ที่มีตั้งแต่ชิ้นละไม่กี่สิบบาท
จนถึงไฟสตูดิโอที่มีราคาเกือบหมื่นจนถึงหลายหมื่นบาท ขึ้นอยู่กับจำนวนดวงไฟและอุปกรณ์ประกอบ
เช่น เครื่องวัดแสง ซ็อฟท์บ็อกซ์ ร่มสะท้อนแสงหลายแบบและร่มแสงทะลุ เป็นต้น
เป็นการถ่ายทอดจากประสพการณ์ ที่เคยทำงานด้านถ่ายภาพโฆษณา ตลอดจนถึงการรีวิวอาหารด้วยกล้องมือถือมาหลายปี
เป็นวิธีการเฉพาะบุคคล ซึ่งมีทั้งหลักวิชาการและแบบมวยวัด คือแก้ไขเอาเฉพาะหน้าตามสภาพแวดล้อม
และดัดแปลงอุปกรณ์มาใช้ในการถ่ายภาพอาหาร ซึ่งอาจมีถูกผิดบ้าง ไม่ได้มาอวดรู้ หรือ หวังให้เป็นตำราอ้างอิง
เพียงแต่หวังว่าอาจมีประโยชน์กับคนอื่นบ้าง ดีกว่าเก็บไว้กับตัว เพราะการแบ่งปันประสบการณ์นั้น
ย่อมดีกว่าการไม่ทำอะไร แต่เวลามีใครทำอะไร ดีแต่ใจทรามจิตต่ำจับผิด หาเรื่องค่อนแคะน่ารำคาญ
หมายเหตุ : ภาพในบทความนี้ ถ่ายด้วยกล้องสมาร์ทโฟน( I-mobile IQ X) กล้องคอมแพ็ค(Nikon Coolpix AW100)
และกล้อง DSLR(Sony Alpha A77) ความคมชัดของภาพประกอบ จึงแตกต่างกันไป ตามสมรรถนะของกล้อง
คำเตือน : ภาพและบทความมีลิขสิทธิ์คุ้มครอง อย่าลองของนะจ๊ะ
ต้องยอมรับว่าการถ่ายภาพอาหารเพื่ออั๊พขึ้นโซเชียลเน็ทเวิร์คนั้น กลายเป็นเรื่องธรรมดาที่เห็นได้ทั่วไป
ต่างจากเมื่อหลายปีก่อน ที่การยกกล้องขึ้นถ่ายภาพอาหารตามร้าน มักมีสายตามองแปลกๆ
ทั้งจากลูกค้าอื่นในร้าน หรือเพื่อนที่ไปด้วยกัน "จะถ่ายไปทำไมวะ?"
หรือสายตาระแวงจากร้านอาหาร โดยเฉพาะเมื่อยกกล้องเทพขึ้นมาถ่ายภาพ "สรรพากรหรือเปล่าวะ?"
แต่ปัจจุบันกลายเป็นเรื่องธรรมดา ที่ใครๆก็ทำกัน ร้านอาหารก็ชอบ เพราะถ่ายปุ๊บอั๊พปั๊บลูกค้าเพิ่ม
ยกเว้นว่าเอาแต่ถ่ายลูกสาวเจ้าของร้าน หรือเอาแต่ถ่ายสะดือสาวเชียร์เบียร์ ถ้าอย่างนั้นก็สมควรเจ็บตัว
นอกจากการถ่ายรูปตามร้านอาหารแล้ว หนึ่งในภาพอาหารที่นิยมอั๊พกันก็คือ
อาหารที่ทำกินกันเองที่บ้าน หรือบางครั้ง ก็เป็นอาหารที่ซื้อกลับมาทานที่บ้าน
เช่น บะหมี่เกี๊ยวหมูแดงแห้งจานนี้ ที่ซื้อมาจากตลาดนัดวันศุกร์ โรงพยาบาลตำรวจ
เรื่องที่ปวดหัวที่สุดก็คือแสงไม่พอ ทำให้ภาพออกมืด โฟกัสยาก รวมทั้งความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ภาพสั่นเบลอ
ถ้าเป็นเวลากลางวันก็อาจใช้แสงที่เข้ามาทางหน้าต่างช่วย หรือยกไปตั้งถ่ายนอกบ้าน
แต่ถ้ามืดแล้ว ก็ต้องอาศัยแสงนีออนบนเพดาน
ซึ่งก็มักเจอปัญหาหนึ่ง ซึ่งเกิดเมื่อทานข้าวนอกบ้านด้วยก็คือ มีเงาของกล้อง
หรือ ส่วนหนึ่งของร่างกายของตัวเองบังแสงไปส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดเงาดำทาบลงไปในภาพ
ซึ่งบางครั้งถ้าคร็อพภาพ ก็อาจทำให้ความน่าสนใจของอาหารจานนั้นลดลงไป
ปัจจุบัน ถ้าไปงานแต่งงาน หรือ งานอีเว้นท์ จะเห็นไฟถ่ายวีดิโอทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งใช้หลอดไฟแอลอีดีเป็นแหล่งกำเนิดแสง
ราคาตั้งแต่ตัวละพันปลายๆไปจนถึงหลายพัน ขึ้นอยู่ความแรง(เข้ม)ของแสง ซึ่งแปรผันตามจำนวนหลอดแอลอีดี
รวมถึงฟีเจอร์อื่นๆ เช่น สามารถปรับความเข้มของแสงได้หลายระดับ หรือ มีบานพับบังคับแสง รวมถึงฟิลเตอร์ครอบแบบต่างๆ
(หมายเหตุ : ภาพจากโปรคัลเลอร์แลบ)
อุปกรณ์ชนิดนี้ส่วนใหญ่มักติดตั้งอยู่บนหัวฮ็อทชูของกล้อง จึงให้แสงได้แค่มุมเดียว
คือมุมจากด้านหน้า ซึ่งถ้ามีเงา จะเป็นเงาจากด้านล่างขึ้นหาด้านบน
ยกเว้นแยกออกจากกล้องโดยติดตั้งบนขาตั้ง ซึ่งทำให้สามารถจัดแสงเงาตามที่ต้องการได้
แต่สำหรับคนที่ไม่อยากลงทุนกับอุปกรณ์ราคาแพง และเดินคลองถม หรือ บ้านหม้อ หรือ ตามศูนย์ไอทีหลายแห่ง
จะรู้ว่า ปัจจุบันมีไฟฉายหลอดแอลอีดีหลายรูปทรง หนึ่งในนั้นคือแบบเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ซึ่งมีทั้งเป็นแบบแผงยาว หรือ แบบตั้งโต๊ะซึ่งสามารถพับได้ เช่น ตัวอย่างที่ซื้อมาจากคลองถมในราคา 200 บาท(พันธ์ทิพย์ 250)
ใช้หลอดแอลอีดี 24 ดวง สามารถตั้งกำลังไฟได้สองระดับ ใช้การชาร์จไฟบ้านแทนการใช้แบตเตอรี่
การถ่ายภาพอาหารนั้น นิยมให้แหล่งกำเนิดแสงเข้ามาทางด้านหลังโดยให้อยู่สูงทำมุม 30-45 องศา เพื่อให้เงาสั้น
และให้แสงอยู่เยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย เพื่อให้เห็นเท็กซ์เจอร์ของอาหารชัดขึ้น จากคอนทราส์ที่แตกต่างกัน
แต่การให้แสงด้วยวิธีนี้ จะทำให้เกิดเงาแข็ง ซึ่งบางครั้งก็ดูดี แต่บางครั้งก็ดูแข็งกระด้าง
วิธีแก้ก็คือ หาวัตถุสีขาวมาช่วยสะท้อนแสง เพื่อลดเงาให้แข็งน้อยลง
อุปกรณ์ที่นิยมใช้และมีราคาถูกก็คือแผ่นโฟม หรือ แผ่นฟิวเจอร์บอร์ดสีขาว
หรือ กระดาษแข็ง(กล่อง)ปิดทับด้วยแผ่นอลูมีเนียมฟอยล์ แต่ต้องวางห่างๆ เพราะการสะท้อนแสงจะแรงกว่า
หรือถ้ามีพัศดุไปรษณีย์มาส่งบ่อย แกะเอาของข้างในแล้ว เก็บกล่องมาใช้เป็นวัตถุช่วยสะท้อนแสงก็ได้
ถึงแม้จะช่วยเพิ่มความสว่างให้กับภาพ แต่ก็ควรถือกล้องนิ่งๆ
หรือ ถ้าเป็นกล้องใหญ่ก็ใช้ขาตั้งกล้อง ถ้าเป็นกล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ แท็บเล็ต
ก็ต้องหาอุปกรณ์มาช่วยจับและเชื่อมต่อกับขาตั้งกล้อง ซึ่งก็สามารถทำใช้เอง แต่จะพูดถึงคราวหลัง
ลองวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ด้านซ้าย เงาจะเทไปทางขวาตรงๆ
ไม่ย้อยลงมาข้างล่างเหมือนแยงแสงมาจากด้านหลัง
วางแผ่นสะท้อนแสงเพื่อลดเงา
ไม่นิยมวางแหล่งกำเนิดแสงไว้ทางด้านขวา ซึ่งจะทำให้เงาไปเกิดทางด้านซ้าย
เพราะตาของคนเรานั้น จะมองจากซ้ายไปขวา จากสว่างไปหามืด
การวางเงาไว้ทางซ้ายจึงกลายเป็นการเบรคการมอง ในขณะที่การวางเงาไว้ทางขวา
จะเป็นเหมือนเส้นแรเงา เบรคการมองเลยจานอาหารออกไป
เชื่อว่าปัจจุบันบ้านส่วนใหญ่จะมีไฟฉายหลอดแอลอีดีไว้ใช้เผื่อไฟดับ
แม้ว่าไฟฉายขนาดเล็กแบบนี้จะสว่างไม่พอ แต่ก็มีประโยชน์ในการใช้เป็นแสงลบเงาแทนแผ่นรีเฟล็กซ์ได้
ที่เห็นนี้ราคาไม่กี่สิบบาท แต่ต้องดัดแปลงเล็กน้อย เพื่อให้ติดตั้งบนขาตั้งกล้องเล็กๆได้
ทำให้สามารถปรับมุมของแสง ส่วนวิธีการดัดแปลงก็ไม่ยาก ใช้เงินแค่บาทเดียวกับกาวช้างนิดหน่อย