เทคนิคค้นหาและวิเคราะห์หุ้น Turnaround
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
คำแนะนำกูรูหุ้นการวิเคราะห์หุ้นก็เหมือนกันต่างคนก็ต่างมุมมอง หุ้นตัวเดียวกันบางคนเห็นโคลนตม แต่บางคนเห็นดวงดาว
ในตลาดจะมีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่ลักษณะของเขาคือประสบปัญหาขาดทุนเรื้อรังเป็นเวลานาน นักวิเคราะห์ไม่สนใจ มาร์เก็ตติ้งไม่รู้จัก ขนาด VI ยังไม่ค่อยจะคุยกันในร้อยคนร้อยหุ้นเลย แต่เมื่อไรที่ธุรกิจเขากลับมาได้ราคาหุ้นจะวิ่งทีเป็นหลายๆเท่าตัว ตัวอย่างหุ้นฮิตก็เช่น น้ำผลไม้ MALEE จาก10 บาทวิ่งไป 80 บาท, เครื่องสำอางค์ KAMART จาก 0.5 ไป 5 บาท ใครที่อดทนสู้ช่วงที่มีปัญหาไปกับเขาได้ก็รวยไป หุ้นกลุ่มนี้มีชื่อว่า”หุ้นฟื้นตัว”หรือ Turnaround Stocks เดี๋ยวมาดูกันว่าจะค้นหาและวิเคราะห์หุ้นพวกนี้ได้อย่างไร
จะหาหุ้น Turnaround Stocks ได้จากไหน?
ส่วนใหญ่จะใช้วิธีกรองหุ้นเอาครับ เช่นหุ้นที่ขาดทุนมาหลายๆปี, หุ้น PE ติดลบ, หุ้นที่ขาดทุนน้อยลงติดกันซัก 2-3 ไตรมาศ เว็ป siamchart.com เขาจะทำตารางไว้ให้ครับก็จะได้รายชื่อหุ้นมาประมาณ 30-50 ตัว จากรายชื่อนี้แหละเราก็มาพลิกหินมาดูทีละก้อน
ได้รายชื่อหุ้นแล้วต้องดูอะไรบ้าง?
ในการวิเคราะห์ให้ยึดกฎของไตรลักษณ์ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ หุ้นเน่าก็ไม่ได้เน่าตลอดไป มีเหตุมาให้ขาดทุนบริษัทก็ขาดทุน ทนรับกรรมไปซักปีสองปีแก้ไขได้ก็กลับมาเหมือนเดิม ดังนั้นในการวิเคราะห์หุ้นเน่าๆพวกนี้ เราก็ต้องบอกปัญหาของบริษัทให้ได้ว่าเกิดจากอะไร ผลกระทบอย่างไร บริษัทมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร และแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร มาดูกันว่าปัญหาหลักๆมีอะไรกันบ้าง
1. ปัญหาชั่วคราว
ปีที่แล้วมีเพียบเลยที่ตัดขาดทุนความเสียหายจากน้ำท่วมเช่น HANA โรงงานน้ำท่วมขาดทุนนิดหน่อยหุ้นกราวรูดจาก 25 มา 16 บาท, SVI โรงงานน้ำท่วมหุ้นร่วงกราวจาก 4 บาทมา 3 บาท, TASCO ตัดขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่ใช้บริหารความเสี่ยงหุ้นกราวรูดจาก 49 มา 38 บาท พวกนี้ปัญหาจะมาครั้งเดียวแล้วก็จบ ซื้อไว้เดี๋ยวก็เด้งกลับไม่ต้องกลัวอะไร
2. ปัญหารเรื่องหนี้ (Financial Leverage)
บริษัทถ้ากู้เงินมาแล้วทำสำเร็จตามแผนก็ได้เงินเหมือนจับเสือมือเปล่า แต่ถ้าทำไม่ได้ก็มีปัญหาเพราะไปเอาเงินเขามาก็ต้องมีต้นทุนทางการเงินที่ต้องจ่ายถ้าจ่ายไม่ทัน bank ก็คิดดอกเบี้ยผิดนัดเต็มที่ 15% ในปี 2540 สมัยวิกฤติเศรษฐกิจใครมีหนี้ต่างประเทศ จำนวนหนี้เงิน US เท่าเดิมแต่คิดเป็นเงินบาทหนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่าในเดือนเดียว ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป 3 ปี 5 ปี แล้วแต่บริษัท ถ้าบริษัทมีแค่ปัญหาเรื่องหนี้อย่างเดียว การตลาดยังดีอยู่ ธุรกิจแข่งขันได้ กำไรขั้นต้น กำไรจากการดำเนินงานยังเป็นบวก ปรับโครงสร้างหนี้ได้ก็วิ่งฉลิว
3. ปัญหาด้านโครงสร้าง (structural)
หลายบริษัทที่ชอบลงทุนใหญ่ๆ หนักๆ เช่น SAFARI ลงเงินไปสร้างภูเก็ตแฟนตาเซีย , โรงแรม ERAWAN แผน 5 ปีขยายโรงแรมเป็น 20 โรง, TRUE จนตอนนี้จะหมดสัปทานอยู่แล้วยังไม่เคยมีกำไรซักปี, ส่วนใหญ่พวกนี้กำไรชั้นต้นยังเป็นบวกแต่โดนค่าเสื่อมราคากินหมดกำไรจากการดำเนินงานบวกนิดหน่อยหรือติดลบ ถ้ากู้มาเยอะเกินก็มีปัญหาเรื่องหนี้พ่วงมาด้วย แต่พวกนี้ที่อยู่กันได้ก็เพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกอยู่ (ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด) ถ้ามีปัญหาหนี้ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป บริษัทย่อยเป็นตัวถ่วงอยู่ก็ขายไปซะ บางบริษัทก็แปลงรายได้ในอนาคตเป็นกำไรเช่นออกกองทุนอสังหาฯ
4. ปัญหาด้านการตลาด
ปัญหานี้หนักสุด จะสร้างปัญหาอื่นอีกเพียบเพราะในการทำธุรกิจรายได้มีแค่ทางเดียวคือ ยอดขาย แต่มีรายจ่ายรออยู่เป็นหางว่าว เช่น SUPER, CCP, QCON ผลิตอิฐมวลเบา หลายปีก่อนไม่รู้นึกคึกอย่างไรเร่งสร้างโรงงานกันใหญ่พอตลาดยังไม่โตพอก็ตัดราคากัน(ขอให้กูได้ขายของดีกว่าอยู่เปล่าๆ) สรุปเจ้งทั้งแถบ กำไรขั้นต้นติดลบ เกิดปัญหาทั้งด้านโครงสร้างไม่พอหักค่าเสื่อม หนี้สินก็ต้องจ่าย แต่ช่วงหลังดีขึ้น SCG เข้ามา take over Qcon จาก LH เข้ามาบูมตลาด แล้วก็ช่วงนี้โครงการคอนโดเพียบโรงงานผลิตแทบไม่ทัน
AKR เป็นเบอร์ 1 ตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ดีๆไม่ชอบ ดันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลเจ้งไม่เป็นท่าลงทุนไปเป็น 1000 ล้านมียอดขายต่อปีไม่ถึง 100 ล้าน เป็นตัวถ่วงบริษัทแม่อีกต้องขึ้นโรงขึ้นศาลปรับโครงสร้างหนี้อีกในฐานะผู้ค้ำประกัน ตอนนี้ก็รอหาผู้ร่วมทุนอย่างเดียว
KAMART สมัยก่อนผลิตทีวี DISTAR ขายดีเหมือนโยนทิ้งน้ำ พอตลาด LCD มาเท่านั้นแหละเจ้งไม่เป็นท่า ไปเป็นตัวแทนจำหน่ายของหัวเหว่ยให้ TOT ตอนนี้ TOT ก็ยังไม่จ่ายเงินซักบาท ขายรถ NGV ก็เจ้ง มารุ่งตอนรุ่นลูกเปลี่ยนมาขายเครื่องสำอางค์น่าเอง
รู้ปัญหาแล้วทำอย่างไรต่อ
เมื่อวิเคคาะห์ปัญหาของหุ้นตัวนั้นได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ ดูว่าบริษัทมีแผนแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร วิกฤตินั้นไม่ใช่ไตรมาสสองไตรมาสก็แก้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเห็นทิศทางของปัญหาที่น้อยลง บวกกับว่าราคาที่เราซื้อจะมีผลตอบแทนเท่าไหร่หากมันฟื้นตัวได้ ถ้าเห็น upside เยอะ downside ต่ำก็เล่นเลย
เทคนิคแก้กรรมจากการขาดทุนสะสม
เวลาบริษัทขาดทุนก็จะไปลดรายการ”กำไรสะสม”ลง ทีนี้ถ้าติดลบมากๆก็กลายเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งตามกฐหมายบริษัทนั้นไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ถึงธุรกิจฟื้นตัวก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ราคาก็ไม่ไปไหน ต้องผ่านพิธีแก้กรรมก่อนทำเสร็จจ่ายปันผลได้ราคาวิ่งฉิว ซึ่งมีวิธีแก้กรรมดังนี้
ลดทุนล้างขาดทุนสะสม
ลดพาร์แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม
ลดหุ้น ราคาพาร์เท่าเดิม
นำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม
เงินสำรองตามกฎหมาย 10% ที่เก็บไว้ก็ใช้ล้างได้
ถ้าลดทุนล้างขาดทุนสะสมรอ 2 เดือนไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านก็ไปจดทะเบียนลดทุนที่กระทรวงพาณิชย์
Credit: ThaiStockInvestor.Com
เทคนิคค้นหาและวิเคราะห์หุ้น Turnaround
https://www.facebook.com/pages/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%9C%E0%B8%A5/198068607020376
คำแนะนำกูรูหุ้นการวิเคราะห์หุ้นก็เหมือนกันต่างคนก็ต่างมุมมอง หุ้นตัวเดียวกันบางคนเห็นโคลนตม แต่บางคนเห็นดวงดาว
ในตลาดจะมีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่ลักษณะของเขาคือประสบปัญหาขาดทุนเรื้อรังเป็นเวลานาน นักวิเคราะห์ไม่สนใจ มาร์เก็ตติ้งไม่รู้จัก ขนาด VI ยังไม่ค่อยจะคุยกันในร้อยคนร้อยหุ้นเลย แต่เมื่อไรที่ธุรกิจเขากลับมาได้ราคาหุ้นจะวิ่งทีเป็นหลายๆเท่าตัว ตัวอย่างหุ้นฮิตก็เช่น น้ำผลไม้ MALEE จาก10 บาทวิ่งไป 80 บาท, เครื่องสำอางค์ KAMART จาก 0.5 ไป 5 บาท ใครที่อดทนสู้ช่วงที่มีปัญหาไปกับเขาได้ก็รวยไป หุ้นกลุ่มนี้มีชื่อว่า”หุ้นฟื้นตัว”หรือ Turnaround Stocks เดี๋ยวมาดูกันว่าจะค้นหาและวิเคราะห์หุ้นพวกนี้ได้อย่างไร
จะหาหุ้น Turnaround Stocks ได้จากไหน?
ส่วนใหญ่จะใช้วิธีกรองหุ้นเอาครับ เช่นหุ้นที่ขาดทุนมาหลายๆปี, หุ้น PE ติดลบ, หุ้นที่ขาดทุนน้อยลงติดกันซัก 2-3 ไตรมาศ เว็ป siamchart.com เขาจะทำตารางไว้ให้ครับก็จะได้รายชื่อหุ้นมาประมาณ 30-50 ตัว จากรายชื่อนี้แหละเราก็มาพลิกหินมาดูทีละก้อน
ได้รายชื่อหุ้นแล้วต้องดูอะไรบ้าง?
ในการวิเคราะห์ให้ยึดกฎของไตรลักษณ์ มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับ หุ้นเน่าก็ไม่ได้เน่าตลอดไป มีเหตุมาให้ขาดทุนบริษัทก็ขาดทุน ทนรับกรรมไปซักปีสองปีแก้ไขได้ก็กลับมาเหมือนเดิม ดังนั้นในการวิเคราะห์หุ้นเน่าๆพวกนี้ เราก็ต้องบอกปัญหาของบริษัทให้ได้ว่าเกิดจากอะไร ผลกระทบอย่างไร บริษัทมีแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างไร และแนวโน้มดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร มาดูกันว่าปัญหาหลักๆมีอะไรกันบ้าง
1. ปัญหาชั่วคราว
ปีที่แล้วมีเพียบเลยที่ตัดขาดทุนความเสียหายจากน้ำท่วมเช่น HANA โรงงานน้ำท่วมขาดทุนนิดหน่อยหุ้นกราวรูดจาก 25 มา 16 บาท, SVI โรงงานน้ำท่วมหุ้นร่วงกราวจาก 4 บาทมา 3 บาท, TASCO ตัดขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ที่ใช้บริหารความเสี่ยงหุ้นกราวรูดจาก 49 มา 38 บาท พวกนี้ปัญหาจะมาครั้งเดียวแล้วก็จบ ซื้อไว้เดี๋ยวก็เด้งกลับไม่ต้องกลัวอะไร
2. ปัญหารเรื่องหนี้ (Financial Leverage)
บริษัทถ้ากู้เงินมาแล้วทำสำเร็จตามแผนก็ได้เงินเหมือนจับเสือมือเปล่า แต่ถ้าทำไม่ได้ก็มีปัญหาเพราะไปเอาเงินเขามาก็ต้องมีต้นทุนทางการเงินที่ต้องจ่ายถ้าจ่ายไม่ทัน bank ก็คิดดอกเบี้ยผิดนัดเต็มที่ 15% ในปี 2540 สมัยวิกฤติเศรษฐกิจใครมีหนี้ต่างประเทศ จำนวนหนี้เงิน US เท่าเดิมแต่คิดเป็นเงินบาทหนี้เพิ่มขึ้น 2 เท่าในเดือนเดียว ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป 3 ปี 5 ปี แล้วแต่บริษัท ถ้าบริษัทมีแค่ปัญหาเรื่องหนี้อย่างเดียว การตลาดยังดีอยู่ ธุรกิจแข่งขันได้ กำไรขั้นต้น กำไรจากการดำเนินงานยังเป็นบวก ปรับโครงสร้างหนี้ได้ก็วิ่งฉลิว
3. ปัญหาด้านโครงสร้าง (structural)
หลายบริษัทที่ชอบลงทุนใหญ่ๆ หนักๆ เช่น SAFARI ลงเงินไปสร้างภูเก็ตแฟนตาเซีย , โรงแรม ERAWAN แผน 5 ปีขยายโรงแรมเป็น 20 โรง, TRUE จนตอนนี้จะหมดสัปทานอยู่แล้วยังไม่เคยมีกำไรซักปี, ส่วนใหญ่พวกนี้กำไรชั้นต้นยังเป็นบวกแต่โดนค่าเสื่อมราคากินหมดกำไรจากการดำเนินงานบวกนิดหน่อยหรือติดลบ ถ้ากู้มาเยอะเกินก็มีปัญหาเรื่องหนี้พ่วงมาด้วย แต่พวกนี้ที่อยู่กันได้ก็เพราะกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกอยู่ (ค่าเสื่อมราคาไม่ใช่ค่าใช้จ่ายที่เป็นเงินสด) ถ้ามีปัญหาหนี้ก็ปรับโครงสร้างหนี้กันไป บริษัทย่อยเป็นตัวถ่วงอยู่ก็ขายไปซะ บางบริษัทก็แปลงรายได้ในอนาคตเป็นกำไรเช่นออกกองทุนอสังหาฯ
4. ปัญหาด้านการตลาด
ปัญหานี้หนักสุด จะสร้างปัญหาอื่นอีกเพียบเพราะในการทำธุรกิจรายได้มีแค่ทางเดียวคือ ยอดขาย แต่มีรายจ่ายรออยู่เป็นหางว่าว เช่น SUPER, CCP, QCON ผลิตอิฐมวลเบา หลายปีก่อนไม่รู้นึกคึกอย่างไรเร่งสร้างโรงงานกันใหญ่พอตลาดยังไม่โตพอก็ตัดราคากัน(ขอให้กูได้ขายของดีกว่าอยู่เปล่าๆ) สรุปเจ้งทั้งแถบ กำไรขั้นต้นติดลบ เกิดปัญหาทั้งด้านโครงสร้างไม่พอหักค่าเสื่อม หนี้สินก็ต้องจ่าย แต่ช่วงหลังดีขึ้น SCG เข้ามา take over Qcon จาก LH เข้ามาบูมตลาด แล้วก็ช่วงนี้โครงการคอนโดเพียบโรงงานผลิตแทบไม่ทัน
AKR เป็นเบอร์ 1 ตลาดหม้อแปลงไฟฟ้าอยู่ดีๆไม่ชอบ ดันไปลงทุนสร้างโรงงานผลิตแผงโซล่าเซลเจ้งไม่เป็นท่าลงทุนไปเป็น 1000 ล้านมียอดขายต่อปีไม่ถึง 100 ล้าน เป็นตัวถ่วงบริษัทแม่อีกต้องขึ้นโรงขึ้นศาลปรับโครงสร้างหนี้อีกในฐานะผู้ค้ำประกัน ตอนนี้ก็รอหาผู้ร่วมทุนอย่างเดียว
KAMART สมัยก่อนผลิตทีวี DISTAR ขายดีเหมือนโยนทิ้งน้ำ พอตลาด LCD มาเท่านั้นแหละเจ้งไม่เป็นท่า ไปเป็นตัวแทนจำหน่ายของหัวเหว่ยให้ TOT ตอนนี้ TOT ก็ยังไม่จ่ายเงินซักบาท ขายรถ NGV ก็เจ้ง มารุ่งตอนรุ่นลูกเปลี่ยนมาขายเครื่องสำอางค์น่าเอง
รู้ปัญหาแล้วทำอย่างไรต่อ
เมื่อวิเคคาะห์ปัญหาของหุ้นตัวนั้นได้แล้ว สิ่งที่ต้องทำคือ ดูว่าบริษัทมีแผนแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร วิกฤตินั้นไม่ใช่ไตรมาสสองไตรมาสก็แก้ได้ อย่างน้อยก็ต้องเห็นทิศทางของปัญหาที่น้อยลง บวกกับว่าราคาที่เราซื้อจะมีผลตอบแทนเท่าไหร่หากมันฟื้นตัวได้ ถ้าเห็น upside เยอะ downside ต่ำก็เล่นเลย
เทคนิคแก้กรรมจากการขาดทุนสะสม
เวลาบริษัทขาดทุนก็จะไปลดรายการ”กำไรสะสม”ลง ทีนี้ถ้าติดลบมากๆก็กลายเป็นขาดทุนสะสม ซึ่งตามกฐหมายบริษัทนั้นไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ถึงธุรกิจฟื้นตัวก็ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ราคาก็ไม่ไปไหน ต้องผ่านพิธีแก้กรรมก่อนทำเสร็จจ่ายปันผลได้ราคาวิ่งฉิว ซึ่งมีวิธีแก้กรรมดังนี้
ลดทุนล้างขาดทุนสะสม
ลดพาร์แต่จำนวนหุ้นเท่าเดิม
ลดหุ้น ราคาพาร์เท่าเดิม
นำส่วนล้ำมูลค่าหุ้นมาล้างขาดทุนสะสม
เงินสำรองตามกฎหมาย 10% ที่เก็บไว้ก็ใช้ล้างได้
ถ้าลดทุนล้างขาดทุนสะสมรอ 2 เดือนไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านก็ไปจดทะเบียนลดทุนที่กระทรวงพาณิชย์
Credit: ThaiStockInvestor.Com