ที่มา:
http://www.komchadluek.net/detail/20130831/167003/%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3.html
แม้เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวอย่างรวดเร็วมาตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าประชาชนกว่า 1,600 ล้านคน ทุกคนจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย หนำซ้ำการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อรองรับการผลิตสินค้าให้แก่ต่างประเทศตามหัวเมืองต่างๆ กลับกระหน่ำซ้ำเติมให้ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องดิ้นรนขวนขวายย้ายถิ่นฐานจากชนบทมายังเมืองใหญ่ที่มีแหล่งงานให้ทำ
แต่ก็อีกนั่นแหละ ใช่ว่าทุกคนจะได้ทำงานในโรงงานและมีรายได้ประจำเป็นหลักเป็นฐาน เพราะยังมีชาวชนบทบางคนที่ตัดสินใจเดินหน้าออกมาจากบ้านเกิดมาแสวงหางานทำในเมืองใหญ่ แต่ก็ด้อยด้วยคุณสมบัติด้านต่างๆ จึงไม่สามารถเข้าทำงานได้ แต่ก็ต้องขวนขวายดำรงชีวิตอยู่ในเมืองที่มีค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเกิดมากมายหลายเท่า
นายเจิ้ง หลิงจวน วัย 33 ปี ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ตัดสินใจจากบ้านเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ ฟู่หมิน ในมณฑลจี๋หลิน มาแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในเมืองเสิ่นหยาง เขาเป็นคนหัวดีสามารถสอบเข้าเรียนในสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหยหลงเจียง เมื่อปี 2542 แต่ด้วยความยากจนจึงไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนและต้องสละสิทธิ์ล้ำค่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย
อย่างไรก็ตาม นายเจิ้งก็ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต เขาจึงย้ายมายังเมืองเสิ่นหยางเมื่อปี 2549 เพื่อหางานทำแต่ด้วยความด้อยทางวุฒิการศึกษาจึงไม่มีตำแหน่งงานใดๆ ให้เขาทำ นายเจิ้งจึงต้องดิ้นรนต่อสู้หารายได้ด้วยการเป็นช่างซ่อมเครื่องไฟฟ้าและประปา รวมทั้งหารายได้จากการขัดรองเท้าโดยใช้พื้นที่บริเวณด้านหน้าโรงแรมแห่งหนึ่งที่เขาใช้เป็นที่พักอาศัย หารายได้เลี้ยงตนเองไปวันๆ
ชีวิตของนายเจิ้งไม่ได้เลิศหรูอย่างที่คิด เพราะที่อาศัยของเขาแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม แต่ก็เป็นส่วนที่ไม่มีใครอยากจะไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเป็นเวลานานๆ เพราะเขาและภรรยารวมทั้งลูกชายวัยเตาะแตะอาศัยอยู่ใน "ห้องน้ำชาย" ที่มีพื้นที่พอวางที่นอนและของใช้อีกเล็กน้อยเท่านั้น
นายเจิ้งยอมจ่ายค่าเช่าห้องนอนในห้องน้ำปีละ 8,000 หยวน (ประมาณ 4 หมื่นบาท) เพื่อแลกกับโอกาสในการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่เพื่อรอโอกาสในการหางานที่ดี เขาแต่งงานกับภรรยาที่ชื่อ หวัง ซื่อเซี่ย เมื่อปี 2553 ก่อนที่จะมีบุตรชายในปีถัดมา ในวันแต่งงานเขายอมควักเงินเก็บเพื่อเช่าอพาร์ตเมนต์หรูเป็นเวลา 6 วัน เพื่อใช้ชีวิตในช่วงฮันนีมูนกับภรรยา ก่อนที่จะมาเผชิญกับความเป็นจริงในชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่ในห้องน้ำชายพื้นที่ขนาดราว 20 ตารางเมตร
เมื่อถามนายเจิ้งถึงคติประจำใจที่ทำให้เขาและครอบครัวทนอยู่ในที่แคบๆ ท่ามกลางเมืองใหญ่เช่นนี้ เขาก็ตอบว่าตนเองจะคิดในแง่ดีอยู่เสมอ และเชื่อมั่นว่าตนเองจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้เมื่อทำงานหนัก
ฟังแล้วน่าจะเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่ท้อแท้กับชีวิตได้ไม่มากก็น้อย
สร้างครอบครัวที่อบอุ่นใน 'ห้องน้ำ'
แม้เศรษฐกิจของจีนจะขยายตัวอย่างรวดเร็วมาตลอดช่วง 20 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าประชาชนกว่า 1,600 ล้านคน ทุกคนจะมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นตามไปด้วย หนำซ้ำการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการลงทุนสร้างโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เพื่อรองรับการผลิตสินค้าให้แก่ต่างประเทศตามหัวเมืองต่างๆ กลับกระหน่ำซ้ำเติมให้ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องดิ้นรนขวนขวายย้ายถิ่นฐานจากชนบทมายังเมืองใหญ่ที่มีแหล่งงานให้ทำ
แต่ก็อีกนั่นแหละ ใช่ว่าทุกคนจะได้ทำงานในโรงงานและมีรายได้ประจำเป็นหลักเป็นฐาน เพราะยังมีชาวชนบทบางคนที่ตัดสินใจเดินหน้าออกมาจากบ้านเกิดมาแสวงหางานทำในเมืองใหญ่ แต่ก็ด้อยด้วยคุณสมบัติด้านต่างๆ จึงไม่สามารถเข้าทำงานได้ แต่ก็ต้องขวนขวายดำรงชีวิตอยู่ในเมืองที่มีค่าครองชีพสูงกว่าบ้านเกิดมากมายหลายเท่า
นายเจิ้ง หลิงจวน วัย 33 ปี ก็เป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ตัดสินใจจากบ้านเกิดในหมู่บ้านเล็กๆ ชื่อ ฟู่หมิน ในมณฑลจี๋หลิน มาแสวงหาชีวิตที่ดีกว่าในเมืองเสิ่นหยาง เขาเป็นคนหัวดีสามารถสอบเข้าเรียนในสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเหยหลงเจียง เมื่อปี 2542 แต่ด้วยความยากจนจึงไม่มีเงินที่จะจ่ายค่าเล่าเรียนและต้องสละสิทธิ์ล้ำค่านี้ไปอย่างน่าเสียดาย
อย่างไรก็ตาม นายเจิ้งก็ไม่ย่อท้อต่อชะตาชีวิต เขาจึงย้ายมายังเมืองเสิ่นหยางเมื่อปี 2549 เพื่อหางานทำแต่ด้วยความด้อยทางวุฒิการศึกษาจึงไม่มีตำแหน่งงานใดๆ ให้เขาทำ นายเจิ้งจึงต้องดิ้นรนต่อสู้หารายได้ด้วยการเป็นช่างซ่อมเครื่องไฟฟ้าและประปา รวมทั้งหารายได้จากการขัดรองเท้าโดยใช้พื้นที่บริเวณด้านหน้าโรงแรมแห่งหนึ่งที่เขาใช้เป็นที่พักอาศัย หารายได้เลี้ยงตนเองไปวันๆ
ชีวิตของนายเจิ้งไม่ได้เลิศหรูอย่างที่คิด เพราะที่อาศัยของเขาแม้จะเป็นส่วนหนึ่งของโรงแรม แต่ก็เป็นส่วนที่ไม่มีใครอยากจะไปใช้ชีวิตอยู่ในนั้นเป็นเวลานานๆ เพราะเขาและภรรยารวมทั้งลูกชายวัยเตาะแตะอาศัยอยู่ใน "ห้องน้ำชาย" ที่มีพื้นที่พอวางที่นอนและของใช้อีกเล็กน้อยเท่านั้น
นายเจิ้งยอมจ่ายค่าเช่าห้องนอนในห้องน้ำปีละ 8,000 หยวน (ประมาณ 4 หมื่นบาท) เพื่อแลกกับโอกาสในการใช้ชีวิตในเมืองใหญ่เพื่อรอโอกาสในการหางานที่ดี เขาแต่งงานกับภรรยาที่ชื่อ หวัง ซื่อเซี่ย เมื่อปี 2553 ก่อนที่จะมีบุตรชายในปีถัดมา ในวันแต่งงานเขายอมควักเงินเก็บเพื่อเช่าอพาร์ตเมนต์หรูเป็นเวลา 6 วัน เพื่อใช้ชีวิตในช่วงฮันนีมูนกับภรรยา ก่อนที่จะมาเผชิญกับความเป็นจริงในชีวิตที่ต้องอาศัยอยู่ในห้องน้ำชายพื้นที่ขนาดราว 20 ตารางเมตร
เมื่อถามนายเจิ้งถึงคติประจำใจที่ทำให้เขาและครอบครัวทนอยู่ในที่แคบๆ ท่ามกลางเมืองใหญ่เช่นนี้ เขาก็ตอบว่าตนเองจะคิดในแง่ดีอยู่เสมอ และเชื่อมั่นว่าตนเองจะมีชีวิตที่ดีขึ้นได้เมื่อทำงานหนัก
ฟังแล้วน่าจะเป็นกำลังใจให้แก่ผู้ที่ท้อแท้กับชีวิตได้ไม่มากก็น้อย