ไม่รู้มีคนเคยกระทู้ถามหรือยัง ? ใครเป็นคนเริ่มครับ ?

กระทู้คำถาม
เมื่อคืนได้มีโอกาสนั่งดูสารคดีเกี่ยวกับพระอริยสงฆ์สมัยก่อนๆ  ดันนึกขึ้นมาเองว่าใครน้าา...เป็นคนเรียกคำนำหน้าพระสงฆ์
ซึ่งบางท่านก็เรียก "หลวงปู่" บางท่านก็เรียก "หลวงตา" แล้วเราก็พูดตามๆกันมาจนติดปาก.
ไม่ทราบว่ามีการแบ่งแยกยังไง ใครเป็นคนเริ่มเรียกคนแรก หรือว่าตัวท่านเรียกแทนตัวเองแบบนั้น แล้วจึงถูกเรียกตามๆกันมา ?
  ผมลองมาสลับใหม่แล้วลองเรียกดู จาก หลวงตา เป็นหลวงปู่  ตัวอย่าง : หลวงตาแหวน หลวงปู่บัว หลวงตามั่น หลวงปู่คูณ (ฟังดูไม่คุ้นหูเลยเนอะ) ยิ้ม      

ป.ล. ที่ตั้งกระทู้เพราะอยากทราบจริงๆครับ เผื่อว่ามีข้อมูลที่มีประโยชน์มาประดับความรู้ีครับ  ไม่เอาซีเรียสนะครับ ไม่ได้มีเจตนาลบหลู่แม้แต่น้อย.  นมัสการหลวงตาและหลวงปู่ผู้เป็นอริยะทุกท่านครับ. Mr.H ซารางเฮโย
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
เรียกแล้วรู้สึกไม่สดุด(อย่างที่คุณว่า) ก็ใช้ได้
และมักเรียกตามวัย

เป็นธรรมเนียมคนไทย ซึ่งมีน้ำใจไมตรีกับคนทั่วไปง่าย
_มักชอบนับญาติ เพราะรู้สึกดี/สบายใจดี/เกิดมิตรไมตรี/ปลอดภัย
ก็นับญาติกันแล้ว !
(แต่ก็ต้องระวังด้วย ว่าผู้ที่ถูกเรียกถือตัวหรือเปล่า?)

พระบางองค์ เห็นว่า ชักจะเรียกสับสนกันมากเข้า
ท่านเลยเมตตา เรียกสรรพนามแทนตนเองเสียเลย
เช่น หลวงตา (หลวงมหาบัวฯ)
หลวงพ่อ เช่น หลวงพ่อพุธ, หลวงพ่อปราโมทย์

คนไทย ปกติไม่ค่อยถือต้ว/ไม่คิดมาก/สบายๆ
_เรียกไปเถอะ

สมัยก่อนที่พระอายุยังไม่มากนัก
ทางสายวัดป่า ก็มักเรียก ท่านอาจารย์(ที่สอนธรรม/กรรมฐาน)บ้าง
ครูบา(พระพรรษาน้อยทั่วๆไป)บ้าง

ต่อเมื่อรู้สึกชักสดุด/ไม่สอดคล้องกันคนอื่น
ก็ค่อยเปลี่ยน _ไม่ว่ากันอยู่แล้ว

พวกญาติธรรม บางท่านที่อายุมากกว่าพระเยอะ
ก็เรียกพระ ว่าหลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงปู่ หลวงตา ตามคนอื่น
_ก็ไม่ว่ากัน

คนไทยซะอย่าง

พระด้วยกันเอง ท่านมักเรียกสรรพนามกันว่า คุณ เจ้าคุณ มหา ท่านมหา..
_แล้วแต่กรณี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่