รายการต่อไปนี้ผู้สร้างมีเจตนาว่าสิ่งที่ตนสร้างจะช่วยเหลือมนุษย์
แต่น่าเสียดายมันกลับตรงกันข้าม เมื่อหลายฝ่ายกลับทำให้กลายเป็นหายนะโดยใช้มันในสงคราม
ทำลายพวกมนุษย์ด้วยกันเอง อีกทั้งยังทำลายสิ่งแวดล้อม
จนยากที่จะลืมเลือน
10. Zyklon B
ฟริตซ์ ฮาเบอร์(1868-1934) เป็นนักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี เชื้อสายยิว
ที่สนใจในหลายอย่างๆ แต่ที่สนใจมากที่สุดคือเคมี โดยผลงานเด่นคือเขาได้สร้างปุ๋ยไนโตรเจนราคาถูกด้วยการแยกไนโตรเจนอากาศมาใช้ผลิตแอมโมเนียในปริมาณมากได้
ซึ่งผลการค้นคว้านี้เองทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตเลี้ยงพอต่อประชากรโลกได้ และผลงานนี้เองทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1918
นอกจากนี้เขายังผลิต Zyklon B ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงที่เป็นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ในปฏิกริยาทางเคมีกับน้ำ เหมาะสำหรับการกำจัดศัตรูข้าว
แต่อนิจจา สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารนาซีภายใต้การนำฮิตเลอร์ที่เกลียดยิว ได้ไล่ฟริตซ์ ฮาเบอร์จนออกนอกประเทศ
อีกทั้งยังได้ใช้ยาฆ่าแมลงไซโคลน B (ความจริงผลงานของเขาได้ถูกใช้มาเป็นอาวุธก๊าซพิษตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว)
สังหารชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป ทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซที่ค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งในจำนวนชาวยิวเหล่านั้นยังมีบรรดาญาติๆของเขารวมอยู่ด้วย
ทางด้านชีวิตส่วนตัว แม้ฟริตซ์ ฮาเบอร์ประสบผลสำเร็จหลายอย่าง แต่กระนั้นหลังจากมีหลายฝ่ายรู้ว่าผลงานของเขากลายเป็นอาวุธสงคราม
เขาจึงถูกตำหนิ จนได้รับฉายา “บิดาแห่งสงครามเคมี” อีกทั้งชีวิตส่วนตัวล้มเหลว ภรรยาฆ่าตัวตายหลังรู้ว่าสามีเป็นฆาตกรสงคราม
ส่วนภรรยาที่สองฟ้องหย่าเพราะสามีทุ่มเทงานมากเกินไปจนละเลยครอบครัว
9. Agent Orange
Arthur Galston เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้วิจัยสารเคมีในการเร่งเติบโตของถั่วเหลื่อง ดอกไม้และผลไม้
จนกระทั้งเขาได้พบ สาร 2,3,5-trichloronoxy acetic acid(TIBA) ซึ่งช่วยในการเพิ่มการออกดอกของถั่วเหลืองเพิ่มความเร็วในการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองทำให้เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองได้เร็วขึ้นในฤดูอันสั้น
นอกจากนี้มันยังสามารถใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ทำให้ใบไม้ร่วง แต่น่าเสียดายด้วยความเข้มข้นสูงของสารเคมีดังกล่าวนั้นเองทางการสหรัฐได้นำมาใช้ประโยชน์มาพัฒนาเป็นอาวุธเคมีโดยนำมาใช้ในสงครามเวียดนามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งหลายคนรู้จักมันในชื่อ “ฝนเหลือง” โดยชื่อนี้มาจากการที่สหรัฐปล่อยมันจากเครื่องบินจนดูเหมือนฝน เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง
โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองถึง 77 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น ซึ่งนอกจากมันจะใช้ทำลายป่าแล้ว
มันยังสามารถทำลายทหารเวียดกง(รวมถึงชาวบ้านบริสุทธิ์อีกด้วย) นอกจากนี้สารตัวดังกล่าวยังทำให้เกิดมะเร็งและยังมีผลกระทบไปถึงลูกในรุ่นต่อไป
ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม แต่ผลกระทบของฝนเหลืองต่อระบบนิเวศ สภาพแวดล้อม และสุขภาพของคนในเวียดนามใต้
ยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจน ซึ่งจากการคาดคะเนพบว่ามีคนเวียดนามเสียชีวิตและทุพพลภาพถึง 400,000 คน และอีก 500,000 ที่มีอาการบกพร่อง
https://www.google.co.th/search?hl=th&biw=1024&bih=575&site=imghp&tbm=isch&sa=1&q=Agent+Orange&oq=Agent+Orange&gs_l=img.3..0j0i24l2.69429.74051.0.76765.1.1.0.0.0.0.168.168.0j1.1.0....0...1c.1j2.25.img..0.1.168.1UGV4Ldj-aM
8. Gatling Gun
ริชาร์ด จอร์แดน แก็ตลิ่ง(1816-1903) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่ประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดข้าวที่ช่วยในการปลูกข้าว
อีกทั้งเขายังเป็นหมอสมัยสงครามกลางเมืองของอเมริกา เห็นผู้คนล้มตายในสงครามเป็นจำนวนมากและสังเกตว่าคนที่ตายเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยมากกว่าปืนเนื่องจากในแต่ละกองพลจำนวนทหารจะมีจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการติดโรคระบาด
นับจากนั้นเป็นต้นมาเขาเลยอุทิศตัวในการคิดค้นปืนที่ยิงได้เร็วขึ้น ภายใต้แนวคิดว่ามันจะเป็นอาวุธที่ทำหน้าที่ใช้ในการต่อสู้ในขอบเขตกว้างๆ โดยใช้งานเพียงแค่คนเดียว
ซึ่งเหมาะแก่จำนวนคนในกองทัพน้อยขึ้น ช่วยทำให้คนเสียชีวิตในสงครามน้อยขึ้น โดย เริ่มแรก ปืนแก็ตลิ่งมี 6ลำกล้อง และ ยิงได้ด้วยอัตรา 320 นัด/นาที และ ติดตั้งบนล้อ ต้องลากไป
และต่อมาก็มีพัฒนาปืนดังกล่าวจนกลายเป็นอาวุธที่ขาดไม่ได้ในกองทัพทหาร และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขยายอาณาจักรอาณานิคมของยุโรปในเวลาต่อมา
7. TNT
โจเซฟ วิลแบรนด์ นักเคมีชาวเยอรมันได้ค้นพบสารเคมีสังเคราะห์ทำระเบิด นาม ทีเอ็นที หรือย่อมาจาก "ไทรไนโทรโทลูอีน" (Trinitrotoluene) ในปี ค.ศ. 1863
และการผลิตปริมาณมากครั้งแรกเกิดขึ้นในเยอรมนี เมื่อ ค.ศ.1891 ซึ่งมันสามารถนำใช้งานอย่างกว้างขวางในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ และนอกจากนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ทีเอ็นทีก็กลายอาวุธที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง จนถึงปัจจุบันทีเอ็นทียังคงถูกนำมาใช้ทางการทหารและเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความเข้มของระเบิดและวัตถุ ระเบิดอื่นๆ
6. Leaded Petrol
โทมัส มิดจ์ลีย์(1889-1944)เป็นประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบสาร คลอโรฟลูออโรคาร์บอน(Chlorofluorocarbons) หรือCFCs ในปี 1924
เป็นสารทำความเย็นที่สามารถทดแทนสารให้ความเย็นที่เป็นพิษอย่างแอมโมเนียที่ใช้งานทั่วไป การค้นพบทำให้เกิดอุตสาหกรรมตามมาอีกมากมาย เช่น การนำไปใช้เป็นสารช่วยในการพ่นยาฆ่าแมลง
ซึ่งเป็นการค้นพบโดยบังเอิญของกองทัพบก ทำให้เกิดการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสีและยาดับกลิ่น แต่ผลกระทบตามมาคือสารดังกล่าวได้ทำร้ายโอโซนชั้นบรรยากาศของโลกอย่างหนัก ส่งผลให้เขาได้รับฉายาว่า “ฆาตกรผู้ทำลายสภาพแวดล้อมโลก”
แต่ยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้นเมื่อเขาได้ค้นพบ เตตราเอทิล เลดtetra-ethyl lead (TEL) ใช้เป็นสารป้องกันการกระตุกของเครื่องยนต์เวลาทำงาน
โดยใช้ผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อให้เชื้อเพลิงมีค่าออกเทนสูงขึ้นการค้นพบนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งหนึ่งของการใช้น้ำมันและช่วยให้ประหยัดปริมาณน้ำมันดิบที่สูบขึ้นมาจากใต้พื้นโลกได้กว่าพันล้านบาเรล
หากแต่สิ่งที่ตามมาก็คือการเครื่องยนตร์ได้ให้สารตะกั่วสู่บรรยากาศทำให้มีผู้ล้มป่วยมากขึ้นจากอาการพิษตะกั่ว ไม่เว้นแม้กระทั้งตัว มิดจ์ลีย์เอง และหลาย ๆ คนเสียชีวิต
5. Sarin Gas
ด็อกเตอร์ เกฮาร์ด สชราเดอร์r(1903-1990) เป็นนักวิทยาศาสตร์เยอรมันที่ได้ค้นพบยาฆ่าแมลงชนิดใหม่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงกลุ่มใหญ่ซึ่งมีจำนวนชนิดของสารออกฤทธิ์มากที่สุด
ซึ่งด็อกเตอร์ตั้งความหวังว่าสารคดีดังกล่าวจะช่วยให้หยุดความหิวโหยของมนุษย์ชาติในวันข้างหน้า หากแต่สิ่งที่ที่ตามมากลับตรงกันข้าม
เมื่อยาฆ่าแมลงดังกล่าวได้พัฒนาเป็นอาวุธสงคราม เป็นแก๊สพิษซึ่งมีผลต่อระบบประสาท เช่น ทาบุน และซาริน โดยถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะขบวนการก่อการร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ชาตินับไม่ถ้วน ส่งผลทำให้เขาได้ฉายาว่า “บิดาแห่งแก๊สทำลายประสาท”
4. Nuclear Fusion
นิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นปฏิกิริยาทางนิวเคลียร์ระหว่างนิวเคลียสเบาสองตัวมารวมกัน
ซึ่งหลังจากการรวมแล้ว จะได้นิวเคลียสใหม่ซึ่งไม่เสถียร นิวเคลียสนี้จะแตกตัวออก
และให้พลังงานที่สูงออกมา กระบวนการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในดวงอาทิตย์ และดาวฤกษ์ต่างๆ
ตอนแรกมีการค้นพบฟิวชั่นของนิวเคลียสมวลเบา (ไอโซโทปของไฮโดรเจน)
โดย มาร์ก โอลิแฟนท์ ในปี ค.ศ. 1932 ก่อนที่หลายปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวยิวชื่อ เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์
ได้ทดลองระเบิดไฮโดรเจน เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร ในโครงการแมนฮัตตัน
เนื่องจากเขาเชื่อว่าอเมริกาจะสามารถคุ้มครองโลกให้รอดพ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ได้
โดยการมีทั้งระเบิดปรมาณู และระเบิดไฮโดรเจนจะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสันติสุขของโลกได้
หากแต่อีก 2 ปีต่อมา รัสเซียก็ผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้เช่นกัน และโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับรัสเซีย และปัจจุบันโลกกำลังเสี่ยงต่อมหัตภัยสงครามนิวเคลียร์
3. Rockets
เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์(1912 –1977) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่มีความสามารถรอบด้าน รักดาราศาสตร์ และเขามีความฝันทางอย่างสร้างจรวดเดินทางระหว่างดวงดาว
ซึ่งเขาหลงเสน่ห์จรวด ถึงขั้นศึกษาเล่าเรียนจนสามารถสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลวได้สำเร็จ
หากแต่ภายหลังผลงานกลับถูกนำมาใช้เป็นอาวุธสังหารผู้คน เนื่องจากช่วงเวลานั้นพรรคนาซีกำลังกำลังมีอำนาจสูงสุดในเยอรมัน
และเทคโนโลยีทางด้านการจรวดก็เป็นที่สนใจของพรรคนาซีอย่างมาก ด้วยความสามารถของเขาได้ผลิตจรวด V-2และจรวดดังกล่าวนำไปใช้จริงและเข่นฆ่าเพื่อนร่วมโลกตายในสงครามเป็นจำนวนมาก
ต่อมาเวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมพรรคนาซี
และไม่ได้ทำการทำการทดลองที่ตามใจปรารถนา
อีกทั้งโรงงานผลิตจรวดของเขานั้นใช้แรงงานทาสในการก่อสร้างและผลิต
จนเขาปฏิเสธที่จะเข้าเยี่ยมชมค่ายดังกล่าว
หลังจากทราบว่ามีคนต้องตายไปเป็นจำนวน 20,000 คน
จากการป่วย ทารุณ แขวนคอ และทำงานในสภาวะที่โหดร้าย
ภายหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลงด้วยความปราชัยของเยอรมัน
จรวด V-2 และทีมนักวิศวกรชาวเยอรมันได้ตกอยู่ในมือของฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งได้นำจรวด V-2 ไปพัฒนาต่อทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและอดีตสหภาพโซเวียต
ก่อนที่จะถูกพัฒนาเป็นจรวด ICBM จนถึงปัจจุบัน ส่วนเวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ก็มีส่วนพัฒนาอาวุธให้อเมริกา
เพื่อแลกกับการมีส่วนร่วมโครงการจรวด Saturn V ส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศตามความฝันของเขาในที่สุด
2.Concentration Camps
จอมพล เฟรดเดอริกโรเบิร์ตส์ โรเบิร์ตเอิร์ลที่ 1 (1832 –1914)ได้ตั้งความหมายของ “ค่ายกักกัน” ครั้งแรกว่า เป็นค่ายที่สร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองครอบครัวหรือพลเรือนที่ถูกบังคับให้ละทิ้งที่อยู่อาศัย
หากแต่เอาเข้าจริงค่ายกักกันครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์(เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ระหว่างอังกฤษและพวกบัวร์)
โดยอังกฤษนำยุทธ์ศาสตร์ใหม่เพื่อป้องกันยุทธวิธีกองโจรและการไหลเข้ามาของพลเรือน
โดยการสร้างค่ายกักกันพลเรือน ซึ่งค่ายดังกล่าวประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พัก
และบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด
นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย
ส่งผลทำให้มีนักโทษในค่ายเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากกว่า 26,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กท้องถิ่น
และในแง่ประวัติศาสตร์แล้วค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต
10 อันดับ สิ่งที่เราสร้างขึ้นเพื่อหวังว่าจะช่วยมนุษย์แต่กลับทำลายมนุษย์ซะงั้น
แต่น่าเสียดายมันกลับตรงกันข้าม เมื่อหลายฝ่ายกลับทำให้กลายเป็นหายนะโดยใช้มันในสงคราม
ทำลายพวกมนุษย์ด้วยกันเอง อีกทั้งยังทำลายสิ่งแวดล้อม
จนยากที่จะลืมเลือน
10. Zyklon B
ฟริตซ์ ฮาเบอร์(1868-1934) เป็นนักวิทยาศาสตร์ในเยอรมนี เชื้อสายยิว
ที่สนใจในหลายอย่างๆ แต่ที่สนใจมากที่สุดคือเคมี โดยผลงานเด่นคือเขาได้สร้างปุ๋ยไนโตรเจนราคาถูกด้วยการแยกไนโตรเจนอากาศมาใช้ผลิตแอมโมเนียในปริมาณมากได้
ซึ่งผลการค้นคว้านี้เองทำให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิตเลี้ยงพอต่อประชากรโลกได้ และผลงานนี้เองทำให้เขาได้รับรางวัลโนเบลในปี 1918
นอกจากนี้เขายังผลิต Zyklon B ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงที่เป็นก๊าซไฮโดรเจนไซยาไนด์ในปฏิกริยาทางเคมีกับน้ำ เหมาะสำหรับการกำจัดศัตรูข้าว
แต่อนิจจา สงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารนาซีภายใต้การนำฮิตเลอร์ที่เกลียดยิว ได้ไล่ฟริตซ์ ฮาเบอร์จนออกนอกประเทศ
อีกทั้งยังได้ใช้ยาฆ่าแมลงไซโคลน B (ความจริงผลงานของเขาได้ถูกใช้มาเป็นอาวุธก๊าซพิษตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว)
สังหารชาวยิวจากเกือบทุกประเทศในยุโรป ทั้งหมดถูกสังหารในห้องรมก๊าซที่ค่ายเอาชวิตซ์ ซึ่งในจำนวนชาวยิวเหล่านั้นยังมีบรรดาญาติๆของเขารวมอยู่ด้วย
ทางด้านชีวิตส่วนตัว แม้ฟริตซ์ ฮาเบอร์ประสบผลสำเร็จหลายอย่าง แต่กระนั้นหลังจากมีหลายฝ่ายรู้ว่าผลงานของเขากลายเป็นอาวุธสงคราม
เขาจึงถูกตำหนิ จนได้รับฉายา “บิดาแห่งสงครามเคมี” อีกทั้งชีวิตส่วนตัวล้มเหลว ภรรยาฆ่าตัวตายหลังรู้ว่าสามีเป็นฆาตกรสงคราม
ส่วนภรรยาที่สองฟ้องหย่าเพราะสามีทุ่มเทงานมากเกินไปจนละเลยครอบครัว
9. Agent Orange
Arthur Galston เป็นนักพฤกษศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้วิจัยสารเคมีในการเร่งเติบโตของถั่วเหลื่อง ดอกไม้และผลไม้
จนกระทั้งเขาได้พบ สาร 2,3,5-trichloronoxy acetic acid(TIBA) ซึ่งช่วยในการเพิ่มการออกดอกของถั่วเหลืองเพิ่มความเร็วในการเจริญเติบโตของถั่วเหลืองทำให้เก็บเกี่ยวถั่วเหลืองได้เร็วขึ้นในฤดูอันสั้น
นอกจากนี้มันยังสามารถใช้เป็นสารกำจัดวัชพืชที่ทำให้ใบไม้ร่วง แต่น่าเสียดายด้วยความเข้มข้นสูงของสารเคมีดังกล่าวนั้นเองทางการสหรัฐได้นำมาใช้ประโยชน์มาพัฒนาเป็นอาวุธเคมีโดยนำมาใช้ในสงครามเวียดนามในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งหลายคนรู้จักมันในชื่อ “ฝนเหลือง” โดยชื่อนี้มาจากการที่สหรัฐปล่อยมันจากเครื่องบินจนดูเหมือนฝน เพื่อทำลายป่าที่หลบซ่อนของทหารเวียดกง
โดยมีการประมาณกันว่า อเมริกันใช้ฝนเหลืองถึง 77 ล้านลิตรที่ใช้ไปในสงครามครั้งนั้น ซึ่งนอกจากมันจะใช้ทำลายป่าแล้ว
มันยังสามารถทำลายทหารเวียดกง(รวมถึงชาวบ้านบริสุทธิ์อีกด้วย) นอกจากนี้สารตัวดังกล่าวยังทำให้เกิดมะเร็งและยังมีผลกระทบไปถึงลูกในรุ่นต่อไป
ทำให้ทารกพิการแต่กำเนิด แม้ว่าเหตุการณ์จะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม แต่ผลกระทบของฝนเหลืองต่อระบบนิเวศ สภาพแวดล้อม และสุขภาพของคนในเวียดนามใต้
ยังคงปรากฏให้เห็นชัดเจน ซึ่งจากการคาดคะเนพบว่ามีคนเวียดนามเสียชีวิตและทุพพลภาพถึง 400,000 คน และอีก 500,000 ที่มีอาการบกพร่อง
https://www.google.co.th/search?hl=th&biw=1024&bih=575&site=imghp&tbm=isch&sa=1&q=Agent+Orange&oq=Agent+Orange&gs_l=img.3..0j0i24l2.69429.74051.0.76765.1.1.0.0.0.0.168.168.0j1.1.0....0...1c.1j2.25.img..0.1.168.1UGV4Ldj-aM
8. Gatling Gun
ริชาร์ด จอร์แดน แก็ตลิ่ง(1816-1903) เป็นนักประดิษฐ์ชาวอเมริกันที่ประดิษฐ์เครื่องหยอดเมล็ดข้าวที่ช่วยในการปลูกข้าว
อีกทั้งเขายังเป็นหมอสมัยสงครามกลางเมืองของอเมริกา เห็นผู้คนล้มตายในสงครามเป็นจำนวนมากและสังเกตว่าคนที่ตายเสียชีวิตจากการเจ็บป่วยมากกว่าปืนเนื่องจากในแต่ละกองพลจำนวนทหารจะมีจำนวนมากทำให้เสี่ยงต่อการติดโรคระบาด
นับจากนั้นเป็นต้นมาเขาเลยอุทิศตัวในการคิดค้นปืนที่ยิงได้เร็วขึ้น ภายใต้แนวคิดว่ามันจะเป็นอาวุธที่ทำหน้าที่ใช้ในการต่อสู้ในขอบเขตกว้างๆ โดยใช้งานเพียงแค่คนเดียว
ซึ่งเหมาะแก่จำนวนคนในกองทัพน้อยขึ้น ช่วยทำให้คนเสียชีวิตในสงครามน้อยขึ้น โดย เริ่มแรก ปืนแก็ตลิ่งมี 6ลำกล้อง และ ยิงได้ด้วยอัตรา 320 นัด/นาที และ ติดตั้งบนล้อ ต้องลากไป
และต่อมาก็มีพัฒนาปืนดังกล่าวจนกลายเป็นอาวุธที่ขาดไม่ได้ในกองทัพทหาร และมีส่วนสำคัญอย่างมากในการขยายอาณาจักรอาณานิคมของยุโรปในเวลาต่อมา
7. TNT
โจเซฟ วิลแบรนด์ นักเคมีชาวเยอรมันได้ค้นพบสารเคมีสังเคราะห์ทำระเบิด นาม ทีเอ็นที หรือย่อมาจาก "ไทรไนโทรโทลูอีน" (Trinitrotoluene) ในปี ค.ศ. 1863
และการผลิตปริมาณมากครั้งแรกเกิดขึ้นในเยอรมนี เมื่อ ค.ศ.1891 ซึ่งมันสามารถนำใช้งานอย่างกว้างขวางในด้านอุตสาหกรรมต่างๆ และนอกจากนี้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2
ทีเอ็นทีก็กลายอาวุธที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง จนถึงปัจจุบันทีเอ็นทียังคงถูกนำมาใช้ทางการทหารและเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการวัดความเข้มของระเบิดและวัตถุ ระเบิดอื่นๆ
6. Leaded Petrol
โทมัส มิดจ์ลีย์(1889-1944)เป็นประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบสาร คลอโรฟลูออโรคาร์บอน(Chlorofluorocarbons) หรือCFCs ในปี 1924
เป็นสารทำความเย็นที่สามารถทดแทนสารให้ความเย็นที่เป็นพิษอย่างแอมโมเนียที่ใช้งานทั่วไป การค้นพบทำให้เกิดอุตสาหกรรมตามมาอีกมากมาย เช่น การนำไปใช้เป็นสารช่วยในการพ่นยาฆ่าแมลง
ซึ่งเป็นการค้นพบโดยบังเอิญของกองทัพบก ทำให้เกิดการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมสีและยาดับกลิ่น แต่ผลกระทบตามมาคือสารดังกล่าวได้ทำร้ายโอโซนชั้นบรรยากาศของโลกอย่างหนัก ส่งผลให้เขาได้รับฉายาว่า “ฆาตกรผู้ทำลายสภาพแวดล้อมโลก”
แต่ยังไม่จบแต่เพียงเท่านั้นเมื่อเขาได้ค้นพบ เตตราเอทิล เลดtetra-ethyl lead (TEL) ใช้เป็นสารป้องกันการกระตุกของเครื่องยนต์เวลาทำงาน
โดยใช้ผสมในน้ำมันเบนซินเพื่อให้เชื้อเพลิงมีค่าออกเทนสูงขึ้นการค้นพบนี้เป็นจุดเปลี่ยนครั้งหนึ่งของการใช้น้ำมันและช่วยให้ประหยัดปริมาณน้ำมันดิบที่สูบขึ้นมาจากใต้พื้นโลกได้กว่าพันล้านบาเรล
หากแต่สิ่งที่ตามมาก็คือการเครื่องยนตร์ได้ให้สารตะกั่วสู่บรรยากาศทำให้มีผู้ล้มป่วยมากขึ้นจากอาการพิษตะกั่ว ไม่เว้นแม้กระทั้งตัว มิดจ์ลีย์เอง และหลาย ๆ คนเสียชีวิต
5. Sarin Gas
ด็อกเตอร์ เกฮาร์ด สชราเดอร์r(1903-1990) เป็นนักวิทยาศาสตร์เยอรมันที่ได้ค้นพบยาฆ่าแมลงชนิดใหม่ในกลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นสารฆ่าแมลงกลุ่มใหญ่ซึ่งมีจำนวนชนิดของสารออกฤทธิ์มากที่สุด
ซึ่งด็อกเตอร์ตั้งความหวังว่าสารคดีดังกล่าวจะช่วยให้หยุดความหิวโหยของมนุษย์ชาติในวันข้างหน้า หากแต่สิ่งที่ที่ตามมากลับตรงกันข้าม
เมื่อยาฆ่าแมลงดังกล่าวได้พัฒนาเป็นอาวุธสงคราม เป็นแก๊สพิษซึ่งมีผลต่อระบบประสาท เช่น ทาบุน และซาริน โดยถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวาง
โดยเฉพาะขบวนการก่อการร้าย ที่ฆ่ามนุษย์ชาตินับไม่ถ้วน ส่งผลทำให้เขาได้ฉายาว่า “บิดาแห่งแก๊สทำลายประสาท”
4. Nuclear Fusion
นิวเคลียร์ฟิวชั่นเป็นปฏิกิริยาทางนิวเคลียร์ระหว่างนิวเคลียสเบาสองตัวมารวมกัน
ซึ่งหลังจากการรวมแล้ว จะได้นิวเคลียสใหม่ซึ่งไม่เสถียร นิวเคลียสนี้จะแตกตัวออก
และให้พลังงานที่สูงออกมา กระบวนการนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาในดวงอาทิตย์ และดาวฤกษ์ต่างๆ
ตอนแรกมีการค้นพบฟิวชั่นของนิวเคลียสมวลเบา (ไอโซโทปของไฮโดรเจน)
โดย มาร์ก โอลิแฟนท์ ในปี ค.ศ. 1932 ก่อนที่หลายปีต่อมานักวิทยาศาสตร์ชาวยิวชื่อ เอ็ดเวิร์ด เทลเลอร์
ได้ทดลองระเบิดไฮโดรเจน เพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร ในโครงการแมนฮัตตัน
เนื่องจากเขาเชื่อว่าอเมริกาจะสามารถคุ้มครองโลกให้รอดพ้นจากภัยคอมมิวนิสต์ได้
โดยการมีทั้งระเบิดปรมาณู และระเบิดไฮโดรเจนจะสามารถนำมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อสันติสุขของโลกได้
หากแต่อีก 2 ปีต่อมา รัสเซียก็ผลิตระเบิดไฮโดรเจนได้เช่นกัน และโลกก็ก้าวเข้าสู่ยุคสงครามเย็นระหว่างอเมริกากับรัสเซีย และปัจจุบันโลกกำลังเสี่ยงต่อมหัตภัยสงครามนิวเคลียร์
3. Rockets
เวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์(1912 –1977) เป็นนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ที่มีความสามารถรอบด้าน รักดาราศาสตร์ และเขามีความฝันทางอย่างสร้างจรวดเดินทางระหว่างดวงดาว
ซึ่งเขาหลงเสน่ห์จรวด ถึงขั้นศึกษาเล่าเรียนจนสามารถสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลวได้สำเร็จ
หากแต่ภายหลังผลงานกลับถูกนำมาใช้เป็นอาวุธสังหารผู้คน เนื่องจากช่วงเวลานั้นพรรคนาซีกำลังกำลังมีอำนาจสูงสุดในเยอรมัน
และเทคโนโลยีทางด้านการจรวดก็เป็นที่สนใจของพรรคนาซีอย่างมาก ด้วยความสามารถของเขาได้ผลิตจรวด V-2และจรวดดังกล่าวนำไปใช้จริงและเข่นฆ่าเพื่อนร่วมโลกตายในสงครามเป็นจำนวนมาก
ต่อมาเวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ก็ถูกบังคับให้เข้าร่วมพรรคนาซี
และไม่ได้ทำการทำการทดลองที่ตามใจปรารถนา
อีกทั้งโรงงานผลิตจรวดของเขานั้นใช้แรงงานทาสในการก่อสร้างและผลิต
จนเขาปฏิเสธที่จะเข้าเยี่ยมชมค่ายดังกล่าว
หลังจากทราบว่ามีคนต้องตายไปเป็นจำนวน 20,000 คน
จากการป่วย ทารุณ แขวนคอ และทำงานในสภาวะที่โหดร้าย
ภายหลังจากสงครามโลกสิ้นสุดลงด้วยความปราชัยของเยอรมัน
จรวด V-2 และทีมนักวิศวกรชาวเยอรมันได้ตกอยู่ในมือของฝ่ายสัมพันธมิตร
ซึ่งได้นำจรวด V-2 ไปพัฒนาต่อทั้งในประเทศสหรัฐอเมริกาและอดีตสหภาพโซเวียต
ก่อนที่จะถูกพัฒนาเป็นจรวด ICBM จนถึงปัจจุบัน ส่วนเวอร์เนอร์ ฟอน บราวน์ก็มีส่วนพัฒนาอาวุธให้อเมริกา
เพื่อแลกกับการมีส่วนร่วมโครงการจรวด Saturn V ส่งมนุษย์ขึ้นสู่อวกาศตามความฝันของเขาในที่สุด
2.Concentration Camps
จอมพล เฟรดเดอริกโรเบิร์ตส์ โรเบิร์ตเอิร์ลที่ 1 (1832 –1914)ได้ตั้งความหมายของ “ค่ายกักกัน” ครั้งแรกว่า เป็นค่ายที่สร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองครอบครัวหรือพลเรือนที่ถูกบังคับให้ละทิ้งที่อยู่อาศัย
หากแต่เอาเข้าจริงค่ายกักกันครั้งแรกเมื่อเกิดสงครามบัวร์(เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในแอฟริกาใต้ระหว่างอังกฤษและพวกบัวร์)
โดยอังกฤษนำยุทธ์ศาสตร์ใหม่เพื่อป้องกันยุทธวิธีกองโจรและการไหลเข้ามาของพลเรือน
โดยการสร้างค่ายกักกันพลเรือน ซึ่งค่ายดังกล่าวประกอบด้วยโรงทหารกระท่อมหรือกระโจมที่พัก
และบริเวณรอบ ๆ ค่ายจะมีป้อมยามและลวดหนามล้อมรอบ ผู้คุมค่ายและยามรักษาการณ์มีอำนาจเหนือชีวิตนักโทษและจะปกครองอย่างเข้มงวด
นักโทษเหล่านี้จะถูกจับโดยไม่มีการสอบสวนตามกระบวนยุติธรรม และไม่มีกำหนดเวลาปล่อยตัว ทั้งยังถูกจำกัดสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนด้วย
ส่งผลทำให้มีนักโทษในค่ายเสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมากกว่า 26,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็กท้องถิ่น
และในแง่ประวัติศาสตร์แล้วค่ายกักกันที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ค่ายกักกันของพรรคนาซีในเยอรมันและค่ายกักกันแรงงานในสหภาพโซเวียต