ที่จริงเรื่องนี้เคยพูดไว้เล็กน้อยในกระทู้ "มารู้จัก ISDB-T กัน" เมื่อหลายเดือนก่อน (รายการ ICT Genius9 ยืมข้อมูลไปใช้ด้วย แอบภูมิใจเล็กๆ) ในกระทู้นี้จะมาบอกความแตกต่างของคำว่า Full Seg และ 1Seg กัน ผมเชื่อว่าหลายคนก็งงอีกว่า มันจะแยกอะไรหนักหนา (สมคำที่พูดกัน ของญี่ปุ่นใส่มาเยอะจนใช้ยาก อิอิ) มาดูกันดีกว่าครับ.....
Full Seg
Full Seg นั่นก็คือทีวีดิจิตอลแบบปกตินั่นเอง ช่องฟรีทีวีที่ดูกันบนทีวี นั่นแหละคือ Full Seg ถ้าจะอธิบายเอาแบบง่ายๆ (ตามภาษาผม)
คือ Full Seg หมายถึง Full Segment หรือ เต็มช่องสัญญาณนั่นเอง เนื่องจากช่องทีวีญี่ปุ่นนั้น ถ้าไม่ใช่เมืองที่มี TV Tower แบบในโตเกียว ก็จะส่งสัญญาณกันเอง ใช้เสาตนเองและคลื่นสัญญาณใช้แบบ1ช่องต่อ1ช่องสัญญาณ (Segment) ไม่พึ่ง Mux ของช่องอื่น
* Segment เรียกอีกชื่อคือ Transport Stream สังเกตได้จากไฟล์ที่อัดจากทีวีจะเป็นไฟล์ TS นั่นแปลว่า ในไฟล์นั้น เอาทั้ง1ช่องสัญญาณมารวมในไฟล์เดียวในช่วงเวลาที่อัดไว้ ในเครื่องอัดบางรุ่นจะพ่วงช่องต่างๆที่อยู่ในช่องสัญญาณนั้นมาด้วย เช่น เอาทั้ง Full Seg และ 1Seg จับรวมมาอยู่ในไฟล์เดียว (1ไฟล์ มีวิดีโอ2ตัว) *
แต่ในโตเกียวเนื่องจากมีเสาส่งขนาดใหญ่อยู่แล้ว นั่นก็คือ Tokyo Sky Tree (ยุคแรกที่มีทีวีก็ใช้แต่ Tokyo Tower เพิ่งเปลี่ยนมาเป็น Tokyo Sky Tree เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว) แม้จะส่งจากเสาเดียวทั่วเขต Kanto แต่ก็ใช้ช่องสัญญาณตัวเองเช่นกัน ไม่ใช้ปนกับคนอื่น สังเกตได้จากตอนเปลี่ยนช่องจะนับตามเลขสิบ แยกกันอย่างเด็ดขาด (เช่น NHK G - 011[กดรีโมทเลข1], NTV - 041[กดรีโมทเลข4]) และเนื่องจากทางช่องทีวีญี่ปุ่นนั้นทำกันเอง ไม่มีการใครสัมปทานใคร ช่องทุกช่องจึงแยกกันอย่างอิสระ ทาง NHK ก็เป็นช่องสาธารณะ (กึ่งรัฐบาล) ก็ใช้ของตัวเอง ช่องเอกชนแต่ละเจ้า แยกกันเด็ดขาด เสาสร้างกันเอง ใครจะทำโซนท้องถิ่นใครก็แยกกันทำเอง อีกช่องก็เป็นช่องท้องถิ่นของเทศบาลแต่ละจังหวัดก็ใช้เสาตัวเอง ไม่ยืมเสาเอกชนปล่อยสัญญาณ เช็คจากตรง Network Name (MUX) ทุกช่องจะไม่ตรงกัน เนื่องจากใช้ช่องสัญญาณตัวเอง นั่นเอง
ในทีวีดิจิตอลของญี่ปุ่น จะแยก1ช่องสัญญาณเป็น 13ส่วน โดย1ช่องทีวีจะใช้ 12ส่วน ส่วนที่เหลือ 1ส่วน คือ 1Seg แต่ทางนู้นก็เรียกว่าเต็มนั่นแหละ
แต่ตัว Full Seg เนื่องจากใช้แรงส่งมาก ช่องสัญญาณใช้กว้าง ทำให้การรับจากอุปกรณ์พกพา เช่น มือถือ อาจจะทำได้ไม่ดี กินแบตกระจุยกระจาย และสัญญาณกระตุกถ้าอับสัญญาณหรือดูระหว่างนั่งรถไฟความเร็วสูง ทำให้ 1Seg ถือกำเนิดขึ้นมา
ส่วนสเปคช่องก็ตามที่บอก
ภาพ = 1080i MPEG2 13.5Mbps
เสียง = HE-AAC 2Ch (128-256Kbps แล้วแต่รายการ เห็นบิตเรตแค่นี้ แต่เสียงมิกซ์มาดีมากๆ), HE-AAC 5.1 (384Kbps)
และในบางครั้งก็ส่งสัญญาณทั้งภาพ 2D และ 3D พร้อมกัน 2ช่อง (1ช่องสัญญาณ) ในบางโอกาส เช่นหนัง Avatar ที่ฉายช่อง NTV เมื่อปีที่แล้ว ส่งสัญญาณทั้ง 2D, 3D SBS และระบบเสียง 5.1 2ภาษา พร้อมซับไตเติ้ลแบบจัดเต็ม
(เพื่อยืนยันว่า Full Seg สเปคตามนี้ ไม่ได้เอาไฟล์แปลงมาก่อน EPGผังรายการ7วันยังคาในไฟล์อยู่เลย แต่ญี่ปุ่นเข้ารหัสหลายชั้น เปิดอ่านไม่ได้ มันเป็นภาษามั่ว [ของเกาหลีสามารถเปิดดูรายชื่อผังEPGได้เลย])
1Seg
1Seg นั่นก็คือทีวีดิจิตอลมือถือของระบบ ISDB-T ตัวช่องนั้นจะใช้ 1ส่วน จาก13ส่วน(1ช่องสัญญาณ) ไม่ต้องทำมาตรฐานระบบใหม่ ไม่ต้องแยกช่องสัญญาณให้เปลือง ที่แหละข้อดีของระบบญี่ปุ่น ประหยัด คุ้มค่า แต่ลูกเล่นจัดเต็ม(จนแอบมึน)!!!
1Seg ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2005 และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2006 เรื่องอุปกรณ์นั้นไม่ต้องเป็นห่วง มีขายตั้งแต่กลางปี 2005 รอไว้แล้ว และในมือถือญี่ปุ่นแทบทุกรุ่นจะมี 1Seg มาให้ (บางรุ่นต้องต่อ Docking ถึงจะดูได้ แต่ส่วนมากจะเป็นเสาในตัว) ระบบ 1Seg จะสามารถดูได้ในมือถือ ทีวีพกพา(เช่นDVD Player พกพาขนาด7") และทีวีในรถยนต์ แต่ทีวีพกพาบางรุ่นและทีวีรถยนต์ทุกคัน จะสามารถรับได้ทั้ง 1Seg และ Full Seg ได้แต่การดู Full Seg ก็ต้องใช้บัตร B-CAS เสียบไว้ ไม่มีบัตรก็ดูไม่ได้ (ตอนซื้ออุปกรณ์มา จะมีบัตรให้ในกล่อง เสียบไว้แล้วดูทีวีได้เลย) ส่วน 1Seg ไม่ต้องใช้บัตรใดๆ
1Seg สร้างมาเพื่อการดูทีวีในอุปกรณ์พกพา ทำให้ดูทีวีได้ในแทบทุกพื้นที่ พยายามทดแทนข้อเสียของ Full Seg นั่นก็คือ การที่ 1Seg สัญญาณสามารถแผ่ได้ทะลุทะลวงกว่าเนื่องจากสัญญาณเล็กแต่ใช้แรงส่งเท่ากับ Full Seg (ส่งสัญญาณมาพร้อมกัน) สามารถนั่งดูในรถไฟชิงกันเซ็นความเร็ว 300กม/ชม ได้โดยภาพไม่กระตุก (ถ้าเป็น Full Seg ถ้าวิ่งในความเร็วขนาดนี้ ถ้าแถวนั้นไม่ใช่ที่ราบกว้าง สัญญาณกระตุกแหลกจนดูไม่ได้) บางที 1Seg สามารถดูได้แม้กระทั่งอยู่กลางภูเขา ซึ่ง Full Seg เข้าไปไม่ถึง
ตัวลูกเล่นในระบบ 1Seg มีแทบจะเท่ากับ Full Seg นั่นก็คือ Datacasting ซึ่งเป็นระบบ Interactive ดูข้อมูลเฉยๆจะไม่ต้องใช้เน็ต แต่ถ้าจะโต้ตอบก็ต้องใช้เน็ต โดยทางรัฐบาลบอกไว้ว่า Datacasting ต้องฟรีทุกกรณี แปลว่า แม้จะใช้การโต้ตอบของระบบ Datacasting ซึ่งต้องส่งผ่านเน็ต แต่จะไม่ถูกนับรวมไปกับการใช้ Data เน็ตด้วย เหมือนกับ Full Seg บนทีวีที่แม้จะใช้โต้ตอบ ต่อสายโทรศัพท์หรือสาย LAN ไว้ก็จะไม่นับว่าเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะมันฟรีทุกกรณี
ลูกเล่นที่มีอีกก็ตามมาด้วยลูกเล่นทั่วไปอย่าง ซับไตเติ้ล, ผังรายการ EPG ซึ่งดูได้ถึง 7วัน ตั้งเตือนรายการได้เหมือนในทีวี (อัดเก็บไว้ไม่ได้), แจ้งเตือนภัยธรรมชาติบนจอทีวี แต่เตือนภัยเนี่ย ค่ายมือถือปกติเค้าส่งข้อความเตือนมาให้เองอยู่แล้ว ฟรีนะจ๊ะ ไม่ต้องเสียเงิน
ความเทพยังตามมาต่อเนื่อง โดยมีระบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปี 2009 นั่นคือ 1Seg2 เป็นการส่งสัญญาณมา2ช่องทีวี แต่ใช้สัญญาณการส่งเท่าเดิม (13ส่วนเต็ม ใช้ได้ 23Mbps แปลว่า 1ส่วน ใช้ได้ประมาณ 1.7-1.8Mbps มันก็พออะนะ) โดยใช้กับช่อง NHK E ทั่วประเทศ และ Nara Television ในเขตจังหวัด Nara
สำหรับการกดเลขช่องนั้น บนมือถือจะใช้เลขแบบเดียวกันกับ Full Seg ในเขตนั้นๆ (แต่ละเขตที่ญี่ปุ่น เลขช่องจะสลับกันแล้วแต่พื้นที่) เช่น NHK G กดรีโมทหรือปุ่มเลข 1 ก็จะขึ้นเป็น 010 ใน Full Seg และเป็น 611 ใน 1Seg สังเกตได้ว่าช่อง 1Seg จะอยู่หมวดเลข 600 เช่น NHK G - 611, TBS - 661, Tokyo MX - 691
สเปคช่องที่ให้มาดูไม่ค่อยดี แต่ดูในมือถือก็พอใช้ได้เลยนะ
ภาพ = 320x180 (อัตราส่วน 16:9) MPEG4/AVC 200Kbps 15FPS (ส่วนบราซิลจะเป็น 30FPS)
เสียง = HE-AAC 2Ch 50Kbps
****** ทีวีที่ใช้กันทั่วไป ไม่สามารถดูภาพระบบ 1Seg ได้ ต่อให้กดเลขช่องตรงกันก็หาไม่เจอ ******
ความแตกต่าง
ตามที่บอกไป ช่อง Full Seg และ 1Seg ส่งมาพร้อมกันและอยู่ช่องสัญญาณเดียวกัน การอัดรายการมาเป็นไฟล์ TS จึงดึงมาทั้งสองระบบ
แยกความแตกต่างกันเลยครับ เอาที่เห็นง่ายที่สุดคือภาพ
*Resize ให้เท่ากันที่ 675x380*
(Full Seg)
(1Seg)
*ไม่ Resize ใช้ตามขนาดจริง*
(Full Seg)
(1Seg)
จะเห็นได้ว่า ต่างกันมาก ที่ผมดูภาพ 1Seg กระตุกกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนเรื่องเสียงนั้น ทาง 1Seg เสียงจะเป็นลายๆหน่อยแต่ก็พอรับได้ Stereo ยังแยกชัดเจน
ส่วนความสามารถด้านต่างๆ Full Seg กับ 1Seg มีแทบจะเหมือนกันหมด เพียงแค่ 1Seg จะเป็นรูปแบบย่อส่วน แค่นั้นเอง
*** จบกระทู้แล้วครับผม ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ อาจจะมีมึนกันเล็กน้อย ผมพยายามทำให้เข้าใจมากที่สุดแล้วครับ ***
มาดูกันว่า Full Seg และ 1Seg ในทีวีดิจิตอลญี่ปุ่นต่างกันอย่างไร
Full Seg
Full Seg นั่นก็คือทีวีดิจิตอลแบบปกตินั่นเอง ช่องฟรีทีวีที่ดูกันบนทีวี นั่นแหละคือ Full Seg ถ้าจะอธิบายเอาแบบง่ายๆ (ตามภาษาผม)
คือ Full Seg หมายถึง Full Segment หรือ เต็มช่องสัญญาณนั่นเอง เนื่องจากช่องทีวีญี่ปุ่นนั้น ถ้าไม่ใช่เมืองที่มี TV Tower แบบในโตเกียว ก็จะส่งสัญญาณกันเอง ใช้เสาตนเองและคลื่นสัญญาณใช้แบบ1ช่องต่อ1ช่องสัญญาณ (Segment) ไม่พึ่ง Mux ของช่องอื่น
* Segment เรียกอีกชื่อคือ Transport Stream สังเกตได้จากไฟล์ที่อัดจากทีวีจะเป็นไฟล์ TS นั่นแปลว่า ในไฟล์นั้น เอาทั้ง1ช่องสัญญาณมารวมในไฟล์เดียวในช่วงเวลาที่อัดไว้ ในเครื่องอัดบางรุ่นจะพ่วงช่องต่างๆที่อยู่ในช่องสัญญาณนั้นมาด้วย เช่น เอาทั้ง Full Seg และ 1Seg จับรวมมาอยู่ในไฟล์เดียว (1ไฟล์ มีวิดีโอ2ตัว) *
แต่ในโตเกียวเนื่องจากมีเสาส่งขนาดใหญ่อยู่แล้ว นั่นก็คือ Tokyo Sky Tree (ยุคแรกที่มีทีวีก็ใช้แต่ Tokyo Tower เพิ่งเปลี่ยนมาเป็น Tokyo Sky Tree เมื่อไม่กี่เดือนที่แล้ว) แม้จะส่งจากเสาเดียวทั่วเขต Kanto แต่ก็ใช้ช่องสัญญาณตัวเองเช่นกัน ไม่ใช้ปนกับคนอื่น สังเกตได้จากตอนเปลี่ยนช่องจะนับตามเลขสิบ แยกกันอย่างเด็ดขาด (เช่น NHK G - 011[กดรีโมทเลข1], NTV - 041[กดรีโมทเลข4]) และเนื่องจากทางช่องทีวีญี่ปุ่นนั้นทำกันเอง ไม่มีการใครสัมปทานใคร ช่องทุกช่องจึงแยกกันอย่างอิสระ ทาง NHK ก็เป็นช่องสาธารณะ (กึ่งรัฐบาล) ก็ใช้ของตัวเอง ช่องเอกชนแต่ละเจ้า แยกกันเด็ดขาด เสาสร้างกันเอง ใครจะทำโซนท้องถิ่นใครก็แยกกันทำเอง อีกช่องก็เป็นช่องท้องถิ่นของเทศบาลแต่ละจังหวัดก็ใช้เสาตัวเอง ไม่ยืมเสาเอกชนปล่อยสัญญาณ เช็คจากตรง Network Name (MUX) ทุกช่องจะไม่ตรงกัน เนื่องจากใช้ช่องสัญญาณตัวเอง นั่นเอง
ในทีวีดิจิตอลของญี่ปุ่น จะแยก1ช่องสัญญาณเป็น 13ส่วน โดย1ช่องทีวีจะใช้ 12ส่วน ส่วนที่เหลือ 1ส่วน คือ 1Seg แต่ทางนู้นก็เรียกว่าเต็มนั่นแหละ
แต่ตัว Full Seg เนื่องจากใช้แรงส่งมาก ช่องสัญญาณใช้กว้าง ทำให้การรับจากอุปกรณ์พกพา เช่น มือถือ อาจจะทำได้ไม่ดี กินแบตกระจุยกระจาย และสัญญาณกระตุกถ้าอับสัญญาณหรือดูระหว่างนั่งรถไฟความเร็วสูง ทำให้ 1Seg ถือกำเนิดขึ้นมา
ส่วนสเปคช่องก็ตามที่บอก
ภาพ = 1080i MPEG2 13.5Mbps
เสียง = HE-AAC 2Ch (128-256Kbps แล้วแต่รายการ เห็นบิตเรตแค่นี้ แต่เสียงมิกซ์มาดีมากๆ), HE-AAC 5.1 (384Kbps)
และในบางครั้งก็ส่งสัญญาณทั้งภาพ 2D และ 3D พร้อมกัน 2ช่อง (1ช่องสัญญาณ) ในบางโอกาส เช่นหนัง Avatar ที่ฉายช่อง NTV เมื่อปีที่แล้ว ส่งสัญญาณทั้ง 2D, 3D SBS และระบบเสียง 5.1 2ภาษา พร้อมซับไตเติ้ลแบบจัดเต็ม
(เพื่อยืนยันว่า Full Seg สเปคตามนี้ ไม่ได้เอาไฟล์แปลงมาก่อน EPGผังรายการ7วันยังคาในไฟล์อยู่เลย แต่ญี่ปุ่นเข้ารหัสหลายชั้น เปิดอ่านไม่ได้ มันเป็นภาษามั่ว [ของเกาหลีสามารถเปิดดูรายชื่อผังEPGได้เลย])
1Seg
1Seg นั่นก็คือทีวีดิจิตอลมือถือของระบบ ISDB-T ตัวช่องนั้นจะใช้ 1ส่วน จาก13ส่วน(1ช่องสัญญาณ) ไม่ต้องทำมาตรฐานระบบใหม่ ไม่ต้องแยกช่องสัญญาณให้เปลือง ที่แหละข้อดีของระบบญี่ปุ่น ประหยัด คุ้มค่า แต่ลูกเล่นจัดเต็ม(จนแอบมึน)!!!
1Seg ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 2005 และใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 เมษายน 2006 เรื่องอุปกรณ์นั้นไม่ต้องเป็นห่วง มีขายตั้งแต่กลางปี 2005 รอไว้แล้ว และในมือถือญี่ปุ่นแทบทุกรุ่นจะมี 1Seg มาให้ (บางรุ่นต้องต่อ Docking ถึงจะดูได้ แต่ส่วนมากจะเป็นเสาในตัว) ระบบ 1Seg จะสามารถดูได้ในมือถือ ทีวีพกพา(เช่นDVD Player พกพาขนาด7") และทีวีในรถยนต์ แต่ทีวีพกพาบางรุ่นและทีวีรถยนต์ทุกคัน จะสามารถรับได้ทั้ง 1Seg และ Full Seg ได้แต่การดู Full Seg ก็ต้องใช้บัตร B-CAS เสียบไว้ ไม่มีบัตรก็ดูไม่ได้ (ตอนซื้ออุปกรณ์มา จะมีบัตรให้ในกล่อง เสียบไว้แล้วดูทีวีได้เลย) ส่วน 1Seg ไม่ต้องใช้บัตรใดๆ
1Seg สร้างมาเพื่อการดูทีวีในอุปกรณ์พกพา ทำให้ดูทีวีได้ในแทบทุกพื้นที่ พยายามทดแทนข้อเสียของ Full Seg นั่นก็คือ การที่ 1Seg สัญญาณสามารถแผ่ได้ทะลุทะลวงกว่าเนื่องจากสัญญาณเล็กแต่ใช้แรงส่งเท่ากับ Full Seg (ส่งสัญญาณมาพร้อมกัน) สามารถนั่งดูในรถไฟชิงกันเซ็นความเร็ว 300กม/ชม ได้โดยภาพไม่กระตุก (ถ้าเป็น Full Seg ถ้าวิ่งในความเร็วขนาดนี้ ถ้าแถวนั้นไม่ใช่ที่ราบกว้าง สัญญาณกระตุกแหลกจนดูไม่ได้) บางที 1Seg สามารถดูได้แม้กระทั่งอยู่กลางภูเขา ซึ่ง Full Seg เข้าไปไม่ถึง
ตัวลูกเล่นในระบบ 1Seg มีแทบจะเท่ากับ Full Seg นั่นก็คือ Datacasting ซึ่งเป็นระบบ Interactive ดูข้อมูลเฉยๆจะไม่ต้องใช้เน็ต แต่ถ้าจะโต้ตอบก็ต้องใช้เน็ต โดยทางรัฐบาลบอกไว้ว่า Datacasting ต้องฟรีทุกกรณี แปลว่า แม้จะใช้การโต้ตอบของระบบ Datacasting ซึ่งต้องส่งผ่านเน็ต แต่จะไม่ถูกนับรวมไปกับการใช้ Data เน็ตด้วย เหมือนกับ Full Seg บนทีวีที่แม้จะใช้โต้ตอบ ต่อสายโทรศัพท์หรือสาย LAN ไว้ก็จะไม่นับว่าเป็นการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะมันฟรีทุกกรณี
ลูกเล่นที่มีอีกก็ตามมาด้วยลูกเล่นทั่วไปอย่าง ซับไตเติ้ล, ผังรายการ EPG ซึ่งดูได้ถึง 7วัน ตั้งเตือนรายการได้เหมือนในทีวี (อัดเก็บไว้ไม่ได้), แจ้งเตือนภัยธรรมชาติบนจอทีวี แต่เตือนภัยเนี่ย ค่ายมือถือปกติเค้าส่งข้อความเตือนมาให้เองอยู่แล้ว ฟรีนะจ๊ะ ไม่ต้องเสียเงิน
ความเทพยังตามมาต่อเนื่อง โดยมีระบบใหม่ที่เริ่มใช้ในปี 2009 นั่นคือ 1Seg2 เป็นการส่งสัญญาณมา2ช่องทีวี แต่ใช้สัญญาณการส่งเท่าเดิม (13ส่วนเต็ม ใช้ได้ 23Mbps แปลว่า 1ส่วน ใช้ได้ประมาณ 1.7-1.8Mbps มันก็พออะนะ) โดยใช้กับช่อง NHK E ทั่วประเทศ และ Nara Television ในเขตจังหวัด Nara
สำหรับการกดเลขช่องนั้น บนมือถือจะใช้เลขแบบเดียวกันกับ Full Seg ในเขตนั้นๆ (แต่ละเขตที่ญี่ปุ่น เลขช่องจะสลับกันแล้วแต่พื้นที่) เช่น NHK G กดรีโมทหรือปุ่มเลข 1 ก็จะขึ้นเป็น 010 ใน Full Seg และเป็น 611 ใน 1Seg สังเกตได้ว่าช่อง 1Seg จะอยู่หมวดเลข 600 เช่น NHK G - 611, TBS - 661, Tokyo MX - 691
สเปคช่องที่ให้มาดูไม่ค่อยดี แต่ดูในมือถือก็พอใช้ได้เลยนะ
ภาพ = 320x180 (อัตราส่วน 16:9) MPEG4/AVC 200Kbps 15FPS (ส่วนบราซิลจะเป็น 30FPS)
เสียง = HE-AAC 2Ch 50Kbps
****** ทีวีที่ใช้กันทั่วไป ไม่สามารถดูภาพระบบ 1Seg ได้ ต่อให้กดเลขช่องตรงกันก็หาไม่เจอ ******
ความแตกต่าง
ตามที่บอกไป ช่อง Full Seg และ 1Seg ส่งมาพร้อมกันและอยู่ช่องสัญญาณเดียวกัน การอัดรายการมาเป็นไฟล์ TS จึงดึงมาทั้งสองระบบ
แยกความแตกต่างกันเลยครับ เอาที่เห็นง่ายที่สุดคือภาพ
*Resize ให้เท่ากันที่ 675x380*
(Full Seg)
(1Seg)
*ไม่ Resize ใช้ตามขนาดจริง*
(Full Seg)
(1Seg)
จะเห็นได้ว่า ต่างกันมาก ที่ผมดูภาพ 1Seg กระตุกกว่าอย่างเห็นได้ชัด ส่วนเรื่องเสียงนั้น ทาง 1Seg เสียงจะเป็นลายๆหน่อยแต่ก็พอรับได้ Stereo ยังแยกชัดเจน
ส่วนความสามารถด้านต่างๆ Full Seg กับ 1Seg มีแทบจะเหมือนกันหมด เพียงแค่ 1Seg จะเป็นรูปแบบย่อส่วน แค่นั้นเอง
*** จบกระทู้แล้วครับผม ขอบคุณที่เข้ามาชมครับ อาจจะมีมึนกันเล็กน้อย ผมพยายามทำให้เข้าใจมากที่สุดแล้วครับ ***