เมื่อกี๊เพิ่งเห็นว่าทีมงานได้ลบกระทู้ "เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?"
http://ppantip.com/topic/30879413 ซึ่งตั้งเมื่อ 23 สิงหาคม เวลา 00.20 น. โดยให้เหตุผลว่า "กระทู้นี้ถูกลบเนื่องจาก มีเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมกับเยาวชน หรือมีเนื้อหารุนแรงค่ะ"
เรามั่นใจว่ากระทู้เราไม่ได้มีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอในเชิงยั่วยุทางเพศ รูปภาพที่เสนอในกระทู้ไม่ได้เป็นไปเพื่อยั่วยุอารมณ์ทางเพศ สำหรับคอมเมนท์ของเพื่อนสมาชิก มีบางท่านที่เข้ามาพูดในเชิงตลกขบขันบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งกระทู้ จุดมุ่งหมายของเราในการตั้งกระทู้เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันทั้งจากสมาชิกผู้หญิงและผู้ชายเพื่อลดทัศนคติในทางลบหรือการตีตราทางเพศที่ส่งผลถึงประเด็นความเคารพและการยอมรับในตนเอง(และในความแตกต่าง) โดยยกเอาการรณรงค์ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ขึ้นมาเป็นตัวนำการพูดคุย(ซึ่งการพูดคุยนี้จะบรรลุจุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องนึง)
คำถามคือ เนื้อหาที่พูดถึงการยอมรับร่างกายของตนเองอย่างที่เราเป็น พูดถึงว่าสังคมไม่ควรตัดสินหรือตีตรากับบุคล(หรืออวัยวะเพศของบุคคลนั้นๆ)เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาของมันแตกต่างออกไปจากรูปร่างหน้าตาแบบอุดมคติ เป็นกระทู้ที่สมควรถูกลบเพราะ "มีเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมกับเยาวชน หรือมีเนื้อหารุนแรง" ยังไง? ถ้าถามเรา กระทู้ที่ถามว่าครีมตัวไหนใช้แล้วขาวจริงๆ แล้วอาจจะรุนแรงว่ากระทู้ที่พูดเรื่องจิ๋มอย่างที่มันเป็นด้วยซ้ำ
ถ้าคุณเห็นว่าเราตั้งหัวกระทู้แรงไป ใช่ค่ะเราจงใจตั้งแบบนี้ ถ้าคุณทำงานในแวดวงที่จะต้องรณรงค์เรื่องบางเรื่องที่คิดบางทีสังคมคงไม่สนใจ(แต่จริงๆสังคมควรจะสนใจ)คุณจะรู้ว่าการเลือกตั้งชื่อหัวข้อให้ดู aggressive เล็กน้อย(ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนเกินรับได้) เป็นทางเลือกนึงที่ปกติเค้าก็เลือกทำกัน(มันทำให้หัวข้อการพูดคุยดู SEXY ขึ้นมานิดนึง - เข้าใจคำว่าหัวข้อมันดูเซ็กซี่ใช่มั้ยคะ?) และเราเชื่อว่าประโยคที่ว่า "เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?" ไม่ใช่ประโยคที่รุนแรงเกินไป
(ขยายความนิดนึง - แต่ที่เรามาตั้งกระทู้เรื่องจิ๋ม ไม่ใช่เพราะเราทำงานเรื่องสิทธิผู้หญิงหรืออะไรนะคะ เรื่องสิทธิเหนือร่างกายนี่เป็นแค่เรื่องที่เราสนใจ ซึ่งต่างจากฟิลด์งานที่เราทำอยู่ในชีวิตประจำวันค่ะ)
//////////////////////////////////////////////////////////////////
เนื้อหาในกระทู้เก่าเราค่ะ
เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?
กระทู้สนทนา
สุขภาพกายความงาม
Pipob Udomittipong
Honi Soit เป็นนิตยสารเก่าแก่เกือบร้อยปีของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) เล่มล่าสุดถูกสั่งเก็บครับเพราะมีหน้าปกอย่างที่เห็น เป็นภาพโยนีของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 18 คน ตอนแรกไม่มีการคาดดำโยนีเหล่านี้ (ดูได้จากภาพในลิงก์ข่าว) หลังการเจรจากับทางมหาวิทยาลัยนศ.จึงยอมคาดดำ แต่พอพิมพ์ออกมาทางมหาวิทยาลัยอ้างว่ามันยัง “ดำ” ไม่พอ ทำให้เห็นอะไรที่อยู่ข้างหลังนั่น จึงห้ามวางจำหน่าย
เหตุที่เขาเอาภาพสดของอวัยวะเพศหญิงมาโชว์ใด้ดู ไม่ใช่เรื่องทางเพศ แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์เพื่อประกาศต่อสังคมว่า เราถูกหนังโป๊และสื่อโฆษณาต่าง ๆ หลอกลวงว่า ซอกลับตรงนั้น ต้องเป็นกลีบนุ่ม ต้องขาว ต้องชมพู ไร้ขน “แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น อวัยวะเพศของดิฉันทั้งดำและขนดก ทั้งไม่เป็นสีชมพู และแถมยังสาก ๆ” ผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว
พวกเธอเห็นว่าเป็นอาการร้ายแรงของสังคมออสเตรเลียที่ผู้หญิงมากถึง 1,200 คนต่อปีเข้ารับการผ่าตัดตกแต่งทางนรีเวช (labiaplasty) (ต้องอธิบายมั้ยเนี่ย)
http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/aug/22/honi-soit-vulvas-censorship
http://www.honisoit.com/
ก๊อปมาจากเฟซบุ้คของพี่คนนึงค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากค่ะ ถ้าใครพอมีเวลาลองเข้าไปอ่านข่าวในเดอะการ์เดี้ยนจะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดมากขึ้น(เราแปลไม่ไหว >__<) มีอีกประเด็นนึงที่เราว่าน่าสนใจที่ลงไว้ในเดอะการ์เดี้ยนแต่ด้านบนไม่ได้พูดถึงไว้คือ สถานะของจู๋และจิ๋มในงานที่สื่อสารกับสาธารณะนั้นไม่เท่ากัน ในปี 1993 Honi Soit เคยตีพิมพ์ภาพจู๋(ที่ยังไม่แข็งตัว)บนหน้าปก ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการร้องเรียนอะไร รูปวาดแบบหวัดๆของจู๋ก็มีให้เห็นกันเกลื่อนทั่วโลก แต่เรากลับรับไม่ได้กับรูปของจิ๋มอย่างนั้นหรอ?
เมื่อย้อนกลับมามองในไทย สถานการณ์เราอาจจะไม่ได้เดินไปไกลถึงจุดที่สาวๆ ต้องไปรับการศัลยกรรมตกแต่งจิ๋มของตนเอง(หรือมีเทรนด์นี้กันบ้างแล้ว?) แต่จริงๆ แล้วเรื่องการ stigmatize อวัยวะเพศของผู้หญิงก็มีมานานแล้ว ไม่เฉพาะจิ๋ม แต่รวมไปถึงมายาคติเรื่องหัวนมว่าต้องชมพู ต้องมีขนาดเล็กพอเหมาะ(ของใครคล้ำหรือใหญ่ก็อาจจะโดนเมาท์ได้ว่า เอ...โดนxxxบ่อยสินะ เป็นต้น) จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาหัวนมชมพูก็เป็นที่ขายได้ในตลาด(แม้จะไม่ใช่ในวงกว้าง) ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเอง และของสังคม เปลี่ยนทัศนคติของทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มองอวัยวะเพศอย่างเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งในร่างกายที่แต่ละคนอาจมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าของใครก็ล้วนเป็นหน้าตาปกติของมัน ไม่สร้างความรังเกียจด้วยเพียงว่าสิ่งที่เห็นนั้นแตกต่างภาพในอุดมคติที่สังคมหรือสื่อสร้างให้เรา
ลองพูดคุยกันค่ะ(ถ้าหัวข้อนี้จะมีคนสนใจนะ :p)
ป.ล. แท็กสุขภาพกายเพราะเราเห็นว่าเรื่องของจิ๋มเป็นเรื่องสุขภาพกายด้วยค่ะ
แท็กความงามเพราะเห็นว่ามายาคติเรื่องจิ๋มที่สวย/ดีกับจิ๋มที่ไม่สวย/ไม่ดีก็เป็นเรื่องที่ไม่ต่างจากมายาคติเรื่องความงามที่สังคมมีหรือสร้างให้ผู้หญิง ถ้าพันทิปสร้างแท็กสำหรับแท็กเนื้อหาที่เกี่ยวกับผู้หญิง เกี่ยวกับ women empowerment แล้วลิงค์ไปที่ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง ค่อยย้ายกระทู้นี้จากแท็กนี้ไปไว้แท็กนั้นนะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 ชั่วโมงที่แล้ว
แบ่งปัน 1390
94 50
สมาชิกหมายเลข 703868
16 ชั่วโมงที่แล้ว
ป.ล.ขอแท็กเหมือนเดิมนะคะ เพื่อให้สมาชิกในห้องเดิมที่เคยอ่านกระทู้เก่าได้เห็นด้วย
ทีมงานพันทิปค่ะ เรามาคุยกันเรื่องการลบกระทู้ "เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?" หน่อยมั้ยคะ?
เรามั่นใจว่ากระทู้เราไม่ได้มีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายที่จะนำเสนอในเชิงยั่วยุทางเพศ รูปภาพที่เสนอในกระทู้ไม่ได้เป็นไปเพื่อยั่วยุอารมณ์ทางเพศ สำหรับคอมเมนท์ของเพื่อนสมาชิก มีบางท่านที่เข้ามาพูดในเชิงตลกขบขันบ้าง แต่ไม่ใช่ทั้งกระทู้ จุดมุ่งหมายของเราในการตั้งกระทู้เพื่อให้เกิดการพูดคุยกันทั้งจากสมาชิกผู้หญิงและผู้ชายเพื่อลดทัศนคติในทางลบหรือการตีตราทางเพศที่ส่งผลถึงประเด็นความเคารพและการยอมรับในตนเอง(และในความแตกต่าง) โดยยกเอาการรณรงค์ของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ขึ้นมาเป็นตัวนำการพูดคุย(ซึ่งการพูดคุยนี้จะบรรลุจุดมุ่งหมายที่เราตั้งไว้หรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องนึง)
คำถามคือ เนื้อหาที่พูดถึงการยอมรับร่างกายของตนเองอย่างที่เราเป็น พูดถึงว่าสังคมไม่ควรตัดสินหรือตีตรากับบุคล(หรืออวัยวะเพศของบุคคลนั้นๆ)เพียงเพราะรูปร่างหน้าตาของมันแตกต่างออกไปจากรูปร่างหน้าตาแบบอุดมคติ เป็นกระทู้ที่สมควรถูกลบเพราะ "มีเนื้อหาที่เข้าข่ายไม่เหมาะสมกับเยาวชน หรือมีเนื้อหารุนแรง" ยังไง? ถ้าถามเรา กระทู้ที่ถามว่าครีมตัวไหนใช้แล้วขาวจริงๆ แล้วอาจจะรุนแรงว่ากระทู้ที่พูดเรื่องจิ๋มอย่างที่มันเป็นด้วยซ้ำ
ถ้าคุณเห็นว่าเราตั้งหัวกระทู้แรงไป ใช่ค่ะเราจงใจตั้งแบบนี้ ถ้าคุณทำงานในแวดวงที่จะต้องรณรงค์เรื่องบางเรื่องที่คิดบางทีสังคมคงไม่สนใจ(แต่จริงๆสังคมควรจะสนใจ)คุณจะรู้ว่าการเลือกตั้งชื่อหัวข้อให้ดู aggressive เล็กน้อย(ไม่ถึงขั้นรุนแรงจนเกินรับได้) เป็นทางเลือกนึงที่ปกติเค้าก็เลือกทำกัน(มันทำให้หัวข้อการพูดคุยดู SEXY ขึ้นมานิดนึง - เข้าใจคำว่าหัวข้อมันดูเซ็กซี่ใช่มั้ยคะ?) และเราเชื่อว่าประโยคที่ว่า "เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?" ไม่ใช่ประโยคที่รุนแรงเกินไป
(ขยายความนิดนึง - แต่ที่เรามาตั้งกระทู้เรื่องจิ๋ม ไม่ใช่เพราะเราทำงานเรื่องสิทธิผู้หญิงหรืออะไรนะคะ เรื่องสิทธิเหนือร่างกายนี่เป็นแค่เรื่องที่เราสนใจ ซึ่งต่างจากฟิลด์งานที่เราทำอยู่ในชีวิตประจำวันค่ะ)
//////////////////////////////////////////////////////////////////
เนื้อหาในกระทู้เก่าเราค่ะ
เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?
กระทู้สนทนา
สุขภาพกายความงาม
Pipob Udomittipong
Honi Soit เป็นนิตยสารเก่าแก่เกือบร้อยปีของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) เล่มล่าสุดถูกสั่งเก็บครับเพราะมีหน้าปกอย่างที่เห็น เป็นภาพโยนีของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 18 คน ตอนแรกไม่มีการคาดดำโยนีเหล่านี้ (ดูได้จากภาพในลิงก์ข่าว) หลังการเจรจากับทางมหาวิทยาลัยนศ.จึงยอมคาดดำ แต่พอพิมพ์ออกมาทางมหาวิทยาลัยอ้างว่ามันยัง “ดำ” ไม่พอ ทำให้เห็นอะไรที่อยู่ข้างหลังนั่น จึงห้ามวางจำหน่าย
เหตุที่เขาเอาภาพสดของอวัยวะเพศหญิงมาโชว์ใด้ดู ไม่ใช่เรื่องทางเพศ แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์เพื่อประกาศต่อสังคมว่า เราถูกหนังโป๊และสื่อโฆษณาต่าง ๆ หลอกลวงว่า ซอกลับตรงนั้น ต้องเป็นกลีบนุ่ม ต้องขาว ต้องชมพู ไร้ขน “แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น อวัยวะเพศของดิฉันทั้งดำและขนดก ทั้งไม่เป็นสีชมพู และแถมยังสาก ๆ” ผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว
พวกเธอเห็นว่าเป็นอาการร้ายแรงของสังคมออสเตรเลียที่ผู้หญิงมากถึง 1,200 คนต่อปีเข้ารับการผ่าตัดตกแต่งทางนรีเวช (labiaplasty) (ต้องอธิบายมั้ยเนี่ย)
http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/aug/22/honi-soit-vulvas-censorship
http://www.honisoit.com/
ก๊อปมาจากเฟซบุ้คของพี่คนนึงค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากค่ะ ถ้าใครพอมีเวลาลองเข้าไปอ่านข่าวในเดอะการ์เดี้ยนจะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดมากขึ้น(เราแปลไม่ไหว >__<) มีอีกประเด็นนึงที่เราว่าน่าสนใจที่ลงไว้ในเดอะการ์เดี้ยนแต่ด้านบนไม่ได้พูดถึงไว้คือ สถานะของจู๋และจิ๋มในงานที่สื่อสารกับสาธารณะนั้นไม่เท่ากัน ในปี 1993 Honi Soit เคยตีพิมพ์ภาพจู๋(ที่ยังไม่แข็งตัว)บนหน้าปก ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการร้องเรียนอะไร รูปวาดแบบหวัดๆของจู๋ก็มีให้เห็นกันเกลื่อนทั่วโลก แต่เรากลับรับไม่ได้กับรูปของจิ๋มอย่างนั้นหรอ?
เมื่อย้อนกลับมามองในไทย สถานการณ์เราอาจจะไม่ได้เดินไปไกลถึงจุดที่สาวๆ ต้องไปรับการศัลยกรรมตกแต่งจิ๋มของตนเอง(หรือมีเทรนด์นี้กันบ้างแล้ว?) แต่จริงๆ แล้วเรื่องการ stigmatize อวัยวะเพศของผู้หญิงก็มีมานานแล้ว ไม่เฉพาะจิ๋ม แต่รวมไปถึงมายาคติเรื่องหัวนมว่าต้องชมพู ต้องมีขนาดเล็กพอเหมาะ(ของใครคล้ำหรือใหญ่ก็อาจจะโดนเมาท์ได้ว่า เอ...โดนxxxบ่อยสินะ เป็นต้น) จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาหัวนมชมพูก็เป็นที่ขายได้ในตลาด(แม้จะไม่ใช่ในวงกว้าง) ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเอง และของสังคม เปลี่ยนทัศนคติของทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มองอวัยวะเพศอย่างเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งในร่างกายที่แต่ละคนอาจมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าของใครก็ล้วนเป็นหน้าตาปกติของมัน ไม่สร้างความรังเกียจด้วยเพียงว่าสิ่งที่เห็นนั้นแตกต่างภาพในอุดมคติที่สังคมหรือสื่อสร้างให้เรา
ลองพูดคุยกันค่ะ(ถ้าหัวข้อนี้จะมีคนสนใจนะ :p)
ป.ล. แท็กสุขภาพกายเพราะเราเห็นว่าเรื่องของจิ๋มเป็นเรื่องสุขภาพกายด้วยค่ะ
แท็กความงามเพราะเห็นว่ามายาคติเรื่องจิ๋มที่สวย/ดีกับจิ๋มที่ไม่สวย/ไม่ดีก็เป็นเรื่องที่ไม่ต่างจากมายาคติเรื่องความงามที่สังคมมีหรือสร้างให้ผู้หญิง ถ้าพันทิปสร้างแท็กสำหรับแท็กเนื้อหาที่เกี่ยวกับผู้หญิง เกี่ยวกับ women empowerment แล้วลิงค์ไปที่ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง ค่อยย้ายกระทู้นี้จากแท็กนี้ไปไว้แท็กนั้นนะคะ
แก้ไขข้อความเมื่อ 16 ชั่วโมงที่แล้ว
แบ่งปัน 1390
94 50
สมาชิกหมายเลข 703868
16 ชั่วโมงที่แล้ว
ป.ล.ขอแท็กเหมือนเดิมนะคะ เพื่อให้สมาชิกในห้องเดิมที่เคยอ่านกระทู้เก่าได้เห็นด้วย