Pipob Udomittipong
Honi Soit เป็นนิตยสารเก่าแก่เกือบร้อยปีของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) เล่มล่าสุดถูกสั่งเก็บครับเพราะมีหน้าปกอย่างที่เห็น เป็นภาพโยนีของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 18 คน ตอนแรกไม่มีการคาดดำโยนีเหล่านี้ (ดูได้จากภาพในลิงก์ข่าว) หลังการเจรจากับทางมหาวิทยาลัยนศ.จึงยอมคาดดำ แต่พอพิมพ์ออกมาทางมหาวิทยาลัยอ้างว่ามันยัง “ดำ” ไม่พอ ทำให้เห็นอะไรที่อยู่ข้างหลังนั่น จึงห้ามวางจำหน่าย
เหตุที่เขาเอาภาพสดของอวัยวะเพศหญิงมาโชว์ใด้ดู ไม่ใช่เรื่องทางเพศ แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์เพื่อประกาศต่อสังคมว่า เราถูกหนังโป๊และสื่อโฆษณาต่าง ๆ หลอกลวงว่า ซอกลับตรงนั้น ต้องเป็นกลีบนุ่ม ต้องขาว ต้องชมพู ไร้ขน “แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น อวัยวะเพศของดิฉันทั้งดำและขนดก ทั้งไม่เป็นสีชมพู และแถมยังสาก ๆ” ผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว
พวกเธอเห็นว่าเป็นอาการร้ายแรงของสังคมออสเตรเลียที่ผู้หญิงมากถึง 1,200 คนต่อปีเข้ารับการผ่าตัดตกแต่งทางนรีเวช (labiaplasty) (ต้องอธิบายมั้ยเนี่ย)
http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/aug/22/honi-soit-vulvas-censorship
http://www.honisoit.com/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก๊อปมาจากเฟซบุ้คของพี่คนนึงค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากค่ะ ถ้าใครพอมีเวลาลองเข้าไปอ่านข่าวในเดอะการ์เดี้ยนจะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดมากขึ้น(เราแปลไม่ไหว >__<) มีอีกประเด็นนึงที่เราว่าน่าสนใจที่ลงไว้ในเดอะการ์เดี้ยนแต่ด้านบนไม่ได้พูดถึงไว้คือ สถานะของจู๋และจิ๋มในงานที่สื่อสารกับสาธารณะนั้นไม่เท่ากัน ในปี 1993 Honi Soit เคยตีพิมพ์ภาพจู๋(ที่ยังไม่แข็งตัว)บนหน้าปก ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการร้องเรียนอะไร รูปวาดแบบหวัดๆของจู๋ก็มีให้เห็นกันเกลื่อนทั่วโลก แต่เรากลับรับไม่ได้กับรูปของจิ๋มอย่างนั้นหรอ?
เมื่อย้อนกลับมามองในไทย สถานการณ์เราอาจจะไม่ได้เดินไปไกลถึงจุดที่สาวๆ ต้องไปรับการศัลยกรรมตกแต่งจิ๋มของตนเอง(หรือมีเทรนด์นี้กันบ้างแล้ว?) แต่จริงๆ แล้วเรื่องการ stigmatize อวัยวะเพศของผู้หญิงก็มีมานานแล้ว ไม่เฉพาะจิ๋ม แต่รวมไปถึงมายาคติเรื่องหัวนมว่าต้องชมพู ต้องมีขนาดเล็กพอเหมาะ(ของใครคล้ำหรือใหญ่ก็อาจจะโดนเมาท์ได้ว่า เอ...โดนxxxบ่อยสินะ เป็นต้น) จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาหัวนมชมพูก็เป็นที่ขายได้ในตลาด(แม้จะไม่ใช่ในวงกว้าง) ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเอง และของสังคม เปลี่ยนทัศนคติของทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มองอวัยวะเพศอย่างเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งในร่างกายที่แต่ละคนอาจมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าของใครก็ล้วนเป็นหน้าตาปกติของมัน ไม่สร้างความรังเกียจด้วยเพียงว่าสิ่งที่เห็นนั้นแตกต่างภาพในอุดมคติที่สังคมหรือสื่อสร้างให้เรา
ลองพูดคุยกันค่ะ(ถ้าหัวข้อนี้จะมีคนสนใจนะ :p)
ป.ล. แท็กสุขภาพกายเพราะเราเห็นว่าเรื่องของจิ๋มเป็นเรื่องสุขภาพกายด้วยค่ะ
แท็กความงามเพราะเห็นว่ามายาคติเรื่องจิ๋มที่สวย/ดีกับจิ๋มที่ไม่สวย/ไม่ดีก็เป็นเรื่องที่ไม่ต่างจากมายาคติเรื่องความงามที่สังคมมีหรือสร้างให้ผู้หญิง ถ้าพันทิปสร้างแท็กสำหรับแท็กเนื้อหาที่เกี่ยวกับผู้หญิง เกี่ยวกับ women empowerment แล้วลิงค์ไปที่ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง ค่อยย้ายกระทู้นี้จากแท็กนี้ไปไว้แท็กนั้นนะคะ
//////////////////////////////
อัพเดท(25/08/2013) เอาความเห็นเราข้างล่างขึ้นมาแปะไว้ด้านบนนะคะ
ความคิดเห็นที่ 103
ลองสรุปรวบยอดความคิดของตัวเองอีกที+ต่อยอดมาจาก คห.92 ด้วยอีกที
เรามองว่าในแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละสังคม มีการกำหนดค่าอุดมคติเอาไว้เหมือนเป็นค่ากลาง ซึ่งในสังคมสังคมหนึ่งอาจจะมีค่ากลางที่ว่านี้หลายกรอบซ้อนทับกันไปมา เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ความงาม ความเป็นเด็ก(ผู้ด้อยอาวุโส) ความเป็นคนพุทธ ความเป็นคนคริสต์ ความเป็นคนอิสลาม ความเป็นคนไทย ฯลฯ มันมีกรอบพวกนี้อยู่เต็มไปหมด แล้วเราก็จะเลือกหรือถูกเลือกว่าเราเป็นใครและเป็นซับเซทของกรอบไหนบ้าง ซึ่งมันจะไม่เป็นปัญหาเลยถ้ากรอบหรือค่าความเป็นอุดมคตินี้ไม่ได้มาพร้อมการดูแคลนหรือร้ายแรงหน่อยก็การตีตราคนที่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบอุดมคติที่วางไว้
ด้วยกลไกที่มันมาพร้อมกันนี้ ทำให้ไม่ว่าโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เราต่างก็พยายามเดินตามกรอบเหล่านั้นคนละมากน้อยต่างกัน บางคนสำเร็จ บางคนไม่ บางคนก็อาจจะไม่ได้ซีเรียสกับความแตกต่างของตนเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ซีเรียส และบางส่วนก็ซีเรียสจนเกิดความรู้สึกไม่เคารพหรือรังเกียจร่างกายของตัวเองหรือสิ่งที่ตัวเองเป็นจนต้องปกปิด ปฏิเสธ หรือเปลี่ยนแปลงความเป็นตัวเอง ในขณะเดียวกันเราก็ทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมอย่างไม่รู้ตัวผ่านการดูแคลน เหยียดหยาม หรือตีตราคนอื่น/สิ่งอื่นที่อยู่นอกกรอบอุดมคติ
เราคิดถึงสังคมที่กรอบ/อุมดมคติ/อคติเหล่านี้มันเบาบางลงและเปิดโอกาสให้คนมีเสรีมากขึ้นในการคิด ในการเลือก ว่าตัวเองจะเป็นอะไร ต้องการอะไร และอยากแสดงออกแบบไหน? การเริ่มจากตัวเองที่จะทลายกรอบพวกนี้อาจจะดี แต่จริงๆ แล้วแค่เปลี่ยนที่ตัวเราเองมันจะได้ผลจริงมั้ย? หรือก็ได้เฉพาะตัวเราเอง? เพราะในขณะเดียวกันในสังคมมันก็ยังมีกลไก/สถาบันอื่นๆ เช่นโรงเรียน หรือสื่อ ที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาให้เรารู้สึกว่าเป็นตามสิ่งที่เป็นอุดมคตินั้นคือสิ่งที่ดีงาม และความแตกต่างคือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งการกล่อมเกลาพวกนี้มีพลังที่แข็งแกร่งมากทีเดียว
จริงๆ มันก็ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงชีวิตในโรงเรียนด้วยว่าที่ผ่านมา ตลอดเวลาที่เราอยู่ในรั้วโรงเรียนไม่ว่าจะครูหรือหลักสูตร มีส่วนไหนที่สอนให้เรารู้จักที่จะทำความรู้จักตัวเองมั้ย? มีหลักสูตรไหนที่สอนให้เราเคารพคุณค่าในตัวของเราในแบบที่เราเลือกเองรึเปล่า? มีหลักสูตรไหนที่สอนหรือชี้ให้เห็นความปกติของความแตกต่างระหว่างเรากับเพื่อนและกับบุคคลรอบข้าง ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเคารพความแตกต่างระหว่างกัน...เรื่องแบบนี้เราได้เรียนรู้ในรั้วโรงเรียน(ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่จะสร้างบุคลิก ลักษณะนิสัย และทัศนคติพื้นฐานของเรา)บ้างรึเปล่า? พอลองพยายามนึกปรากฎว่าเราจำไม่ค่อยได้แฮะ สิ่งที่จำได้คือเส้นกั้นบางๆ ระหว่างคนแต่ละกลุ่มที่ครูจะสร้างขึ้นมา ถ้าเป็นเด็กหน้าตาน่ารักหุ่นผอมบางคุณจะได้รับการเอาใจใส่และโปรโมทจากครูในการทำกิจกรรมโรงเรียน ถ้าคุณอ้วนคุณอาจถูกเพื่อนล้อโดยที่ครูหัวเราะคิกคักไปด้วย กะเทยเป็นตัวตลก ความเป็นเลสเบี้ยนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อันนี้ขอเล่าหน่อย โรงเรียนเก่าเราโรงเรียนนึงเป็นโรงเรียนหญิงล้วน เคยมีอยู่เทอมนึงที่ครูจัดการแยกเด็กในห้องที่เป็นเลสเบี้ยน(คือมีเรื่องกิ๊กกั๊กกับรุ่นพี่รุ่นน้อง กิ๊กกันแบบเด็กๆ นะคะ) ให้มานั่งอีกแถวต่างหากจากเพื่อนคนอื่นๆ(คือทั้งแถวจะมีแต่เด็กที่เป็นหรือมีแนวโน้มเป็นเลสฯ) นัยว่าเพื่อให้ครูสามารถคอยมอนิเตอร์เด็กกลุ่มนี้ได้ ขณะที่ครูไม่ได้แตะต้องเด็กที่มีแฟนเป็นผู้ชาย ตอนเราเด็กๆ เราก็ไม่รู้สึกอะไรหรอกค่ะ แต่พอโตมา ได้นึกย้อนและคุยแลกเปลี่ยนกันกับพี่ที่เป็นนักกิจกรรมด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ มันทำให้เรารู้สึกว่าการกระทำครั้งนั้นของครูเป็นเรื่องที่รุนแรงมาก ทั้งตีตราและทั้งปลูกฝังลักษณะความเป็นโฮโมโฟเบียให้เด็กคนอื่น ซึ่งพอโตเป็นผู้ใหญ่แล้วย้อนมองกลับไปนี่เราขนลุกนะว่าเหตุการณ์แบบนี้มันควรเกิดในโรงเรียนหรอ? ฯลฯ แล้วแบบนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เรารู้สึกอยากเห็นมันเกิดขึ้นได้มั้ยนะ?
เฮ้อ รู้สึกจะฟุ้งเกินไปแล้ว :p
///////
ความคิดเห็นที่ 116
คห.104-105
จะว่าไงดี...เราไม่ได้มองผู้ชาย(ปัจเจก)เฉพาะในฐานะผู้กระทำนะคะ ถ้าโฟกัสมาเฉพาะที่กรอบเรื่องเพศ(ความเป็นหญิง-ความเป็นชาย-ความงาม) ซึ่งถึงแม้ว้ามันจะพัฒนามาเพื่อสนองต่อหลักคิดแบบชายเป็นใหญ่ก็จริง แต่ผู้ชายเองก็เป็นผู้ถูกกระทำจากความคิดแบบชายเป็นใหญ่นี้ไม่แพ้กัน ผู้ชายที่ดีต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้, ลูกผู้ชายไม่ร้องไห้, blue for a boy ฯลฯ เราว่าสิ่งที่ผู้ชายโดนก็ไม่ได้เบาไปกว่าสิ่งที่ผู้หญิงโดนเลย - แต่การตีตรานั้นเบากว่าในบางประเด็นนะคะ เช่น ผู้หญิงจิ๋มดำกับผู้ชายจู๋ดำ คุณจินตนาการปฏิกิริยาของสังคมที่จะมีต่อสองคนนี้ได้ใช่มั้ยคะว่าจะแตกต่างกันยังไง? หรืออย่างหญิงโสดอายุ40กับชายโสดอายุ40 ปฏิกิริยาของสังคมที่ผู้หญิงกับผู้ชายคนนั้นได้รับก็จะต่างกัน เป็นต้น
เราว่าการตีความแบบเฟมินิสท์อย่างแคบ(ไม่ใช่เฟมินิสท์ทุกคนจะตีความแบบนี้นะคะ)ว่าสังคมชายเป็นใหญ่คือสังคมที่ชายเป็นผู้กระทำและหญิงเป็นผู้ถูกกระทำเสมอ มันใช้ไม่ได้กับบริบทในปัจจุบัน ที่เราต่างก็ผลัดกันสวมบทบาทเป็นผู้กระทำและผู้ถูกกระทำตลอดเวลาภายใต้กรอบความคิดที่พัฒนาขึ้นใต้ชุดความคิดแบบชายเป็นใหญ่ และไม่ได้กระทำต่อเฉพาะคนต่างเพศกับเรา บางครั้งเราก็กระทำต่อคนเพศเดียวกันกับเรา ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือหลายครั้งเราก็กระทำกับตัวเราเองนี่แหละ
เราตั้งกระทู้นี้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้ผู้หญิงมานั่งเบลมผู้ชาย(เพราะการเบลมปัจเจกสุดท้ายมันก็ไม่แก้ปัญหาอะไร) แต่เราอยากให้คนที่อ่านได้คิดต่อยอดออกไปตั้งคำถามกับกรอบอุดมคติ(หรือกรอบอคติ?)ที่สังคมสร้างขึ้นมาครอบเราไว้ ทำไมผู้หญิงต้องจิ๋มไม่อ้า ทำไมต้องขาว ทำไมต้องผอมบาง ทำไมต้องแต่งงานก่อนสามสิบ ทำไมผู้ชายห้ามร้องไห้ ทำไมห้ามเล่นตุ๊กตา ทำไมพอฉันไม่เดินตามกรอบถึงต้องถูกตีตราหรือถูกเหยียดหยาม ทำไมเป็นกะเทยต้องตลก ทำไมเป็นทอมต้องหึงโหด ทำไมเป็นผู้หญิงที่เคยมีผัวมาหลายคนถึงต้องถูกตราหน้าว่าแรดร่านเอามาเป็นแม่ที่ดีไม่ได้(ทั้งที่ก็ไม่เกี่ยวกัน) ทำไมเป็นผู้ชายที่เป็นพ่อบ้านแล้วต้องโดนนินทาว่าเกาะเมียกิน ฯลฯ ทำไมฉันถึงไม่สามารถเคารพตัวเองในแบบที่ฉันเป็นได้? และทำไมคุณถึงไม่เคารพฉันในสิ่งที่ฉันเป็นเหมือนกัน?
ไม่รู้ว่าเขียนวกวนไปรึเปล่า ลองอ่านประกอบคห.103ของเราน่าจะชัดขึ้นนะคะ
เมื่อจิ๋มฉันดำและขนดก, แล้วไง?
Honi Soit เป็นนิตยสารเก่าแก่เกือบร้อยปีของนักศึกษามหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) เล่มล่าสุดถูกสั่งเก็บครับเพราะมีหน้าปกอย่างที่เห็น เป็นภาพโยนีของนักศึกษาหญิงมหาวิทยาลัยแห่งนี้ 18 คน ตอนแรกไม่มีการคาดดำโยนีเหล่านี้ (ดูได้จากภาพในลิงก์ข่าว) หลังการเจรจากับทางมหาวิทยาลัยนศ.จึงยอมคาดดำ แต่พอพิมพ์ออกมาทางมหาวิทยาลัยอ้างว่ามันยัง “ดำ” ไม่พอ ทำให้เห็นอะไรที่อยู่ข้างหลังนั่น จึงห้ามวางจำหน่าย
เหตุที่เขาเอาภาพสดของอวัยวะเพศหญิงมาโชว์ใด้ดู ไม่ใช่เรื่องทางเพศ แต่เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการณรงค์เพื่อประกาศต่อสังคมว่า เราถูกหนังโป๊และสื่อโฆษณาต่าง ๆ หลอกลวงว่า ซอกลับตรงนั้น ต้องเป็นกลีบนุ่ม ต้องขาว ต้องชมพู ไร้ขน “แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นอย่างนั้น อวัยวะเพศของดิฉันทั้งดำและขนดก ทั้งไม่เป็นสีชมพู และแถมยังสาก ๆ” ผู้เข้าร่วมโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว
พวกเธอเห็นว่าเป็นอาการร้ายแรงของสังคมออสเตรเลียที่ผู้หญิงมากถึง 1,200 คนต่อปีเข้ารับการผ่าตัดตกแต่งทางนรีเวช (labiaplasty) (ต้องอธิบายมั้ยเนี่ย)
http://www.theguardian.com/commentisfree/2013/aug/22/honi-soit-vulvas-censorship
http://www.honisoit.com/
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ก๊อปมาจากเฟซบุ้คของพี่คนนึงค่ะ เห็นว่าน่าสนใจดีเลยเอามาฝากค่ะ ถ้าใครพอมีเวลาลองเข้าไปอ่านข่าวในเดอะการ์เดี้ยนจะเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดมากขึ้น(เราแปลไม่ไหว >__<) มีอีกประเด็นนึงที่เราว่าน่าสนใจที่ลงไว้ในเดอะการ์เดี้ยนแต่ด้านบนไม่ได้พูดถึงไว้คือ สถานะของจู๋และจิ๋มในงานที่สื่อสารกับสาธารณะนั้นไม่เท่ากัน ในปี 1993 Honi Soit เคยตีพิมพ์ภาพจู๋(ที่ยังไม่แข็งตัว)บนหน้าปก ตอนนั้นก็ไม่ได้รับการร้องเรียนอะไร รูปวาดแบบหวัดๆของจู๋ก็มีให้เห็นกันเกลื่อนทั่วโลก แต่เรากลับรับไม่ได้กับรูปของจิ๋มอย่างนั้นหรอ?
เมื่อย้อนกลับมามองในไทย สถานการณ์เราอาจจะไม่ได้เดินไปไกลถึงจุดที่สาวๆ ต้องไปรับการศัลยกรรมตกแต่งจิ๋มของตนเอง(หรือมีเทรนด์นี้กันบ้างแล้ว?) แต่จริงๆ แล้วเรื่องการ stigmatize อวัยวะเพศของผู้หญิงก็มีมานานแล้ว ไม่เฉพาะจิ๋ม แต่รวมไปถึงมายาคติเรื่องหัวนมว่าต้องชมพู ต้องมีขนาดเล็กพอเหมาะ(ของใครคล้ำหรือใหญ่ก็อาจจะโดนเมาท์ได้ว่า เอ...โดนxxxบ่อยสินะ เป็นต้น) จนทำให้ผลิตภัณฑ์ประเภทครีมทาหัวนมชมพูก็เป็นที่ขายได้ในตลาด(แม้จะไม่ใช่ในวงกว้าง) ถึงเวลาแล้วรึยังที่เราอาจจะต้องเปลี่ยนทัศนคติของตัวเราเอง และของสังคม เปลี่ยนทัศนคติของทั้งผู้หญิงและผู้ชายให้มองอวัยวะเพศอย่างเป็นอวัยวะชิ้นหนึ่งในร่างกายที่แต่ละคนอาจมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไป แต่ไม่ว่าของใครก็ล้วนเป็นหน้าตาปกติของมัน ไม่สร้างความรังเกียจด้วยเพียงว่าสิ่งที่เห็นนั้นแตกต่างภาพในอุดมคติที่สังคมหรือสื่อสร้างให้เรา
ลองพูดคุยกันค่ะ(ถ้าหัวข้อนี้จะมีคนสนใจนะ :p)
ป.ล. แท็กสุขภาพกายเพราะเราเห็นว่าเรื่องของจิ๋มเป็นเรื่องสุขภาพกายด้วยค่ะ
แท็กความงามเพราะเห็นว่ามายาคติเรื่องจิ๋มที่สวย/ดีกับจิ๋มที่ไม่สวย/ไม่ดีก็เป็นเรื่องที่ไม่ต่างจากมายาคติเรื่องความงามที่สังคมมีหรือสร้างให้ผู้หญิง ถ้าพันทิปสร้างแท็กสำหรับแท็กเนื้อหาที่เกี่ยวกับผู้หญิง เกี่ยวกับ women empowerment แล้วลิงค์ไปที่ห้องโต๊ะเครื่องแป้ง ค่อยย้ายกระทู้นี้จากแท็กนี้ไปไว้แท็กนั้นนะคะ
//////////////////////////////
อัพเดท(25/08/2013) เอาความเห็นเราข้างล่างขึ้นมาแปะไว้ด้านบนนะคะ
ความคิดเห็นที่ 103
ลองสรุปรวบยอดความคิดของตัวเองอีกที+ต่อยอดมาจาก คห.92 ด้วยอีกที
เรามองว่าในแต่ละยุค แต่ละสมัย แต่ละสังคม มีการกำหนดค่าอุดมคติเอาไว้เหมือนเป็นค่ากลาง ซึ่งในสังคมสังคมหนึ่งอาจจะมีค่ากลางที่ว่านี้หลายกรอบซ้อนทับกันไปมา เช่น ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ความงาม ความเป็นเด็ก(ผู้ด้อยอาวุโส) ความเป็นคนพุทธ ความเป็นคนคริสต์ ความเป็นคนอิสลาม ความเป็นคนไทย ฯลฯ มันมีกรอบพวกนี้อยู่เต็มไปหมด แล้วเราก็จะเลือกหรือถูกเลือกว่าเราเป็นใครและเป็นซับเซทของกรอบไหนบ้าง ซึ่งมันจะไม่เป็นปัญหาเลยถ้ากรอบหรือค่าความเป็นอุดมคตินี้ไม่ได้มาพร้อมการดูแคลนหรือร้ายแรงหน่อยก็การตีตราคนที่ไม่ได้เป็นไปตามกรอบอุดมคติที่วางไว้
ด้วยกลไกที่มันมาพร้อมกันนี้ ทำให้ไม่ว่าโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัว เราต่างก็พยายามเดินตามกรอบเหล่านั้นคนละมากน้อยต่างกัน บางคนสำเร็จ บางคนไม่ บางคนก็อาจจะไม่ได้ซีเรียสกับความแตกต่างของตนเอง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีคนอีกจำนวนมากที่ซีเรียส และบางส่วนก็ซีเรียสจนเกิดความรู้สึกไม่เคารพหรือรังเกียจร่างกายของตัวเองหรือสิ่งที่ตัวเองเป็นจนต้องปกปิด ปฏิเสธ หรือเปลี่ยนแปลงความเป็นตัวเอง ในขณะเดียวกันเราก็ทำหน้าที่เป็นกลไกควบคุมอย่างไม่รู้ตัวผ่านการดูแคลน เหยียดหยาม หรือตีตราคนอื่น/สิ่งอื่นที่อยู่นอกกรอบอุดมคติ
เราคิดถึงสังคมที่กรอบ/อุมดมคติ/อคติเหล่านี้มันเบาบางลงและเปิดโอกาสให้คนมีเสรีมากขึ้นในการคิด ในการเลือก ว่าตัวเองจะเป็นอะไร ต้องการอะไร และอยากแสดงออกแบบไหน? การเริ่มจากตัวเองที่จะทลายกรอบพวกนี้อาจจะดี แต่จริงๆ แล้วแค่เปลี่ยนที่ตัวเราเองมันจะได้ผลจริงมั้ย? หรือก็ได้เฉพาะตัวเราเอง? เพราะในขณะเดียวกันในสังคมมันก็ยังมีกลไก/สถาบันอื่นๆ เช่นโรงเรียน หรือสื่อ ที่ทำหน้าที่กล่อมเกลาให้เรารู้สึกว่าเป็นตามสิ่งที่เป็นอุดมคตินั้นคือสิ่งที่ดีงาม และความแตกต่างคือสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งการกล่อมเกลาพวกนี้มีพลังที่แข็งแกร่งมากทีเดียว
จริงๆ มันก็ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงชีวิตในโรงเรียนด้วยว่าที่ผ่านมา ตลอดเวลาที่เราอยู่ในรั้วโรงเรียนไม่ว่าจะครูหรือหลักสูตร มีส่วนไหนที่สอนให้เรารู้จักที่จะทำความรู้จักตัวเองมั้ย? มีหลักสูตรไหนที่สอนให้เราเคารพคุณค่าในตัวของเราในแบบที่เราเลือกเองรึเปล่า? มีหลักสูตรไหนที่สอนหรือชี้ให้เห็นความปกติของความแตกต่างระหว่างเรากับเพื่อนและกับบุคคลรอบข้าง ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเคารพความแตกต่างระหว่างกัน...เรื่องแบบนี้เราได้เรียนรู้ในรั้วโรงเรียน(ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่จะสร้างบุคลิก ลักษณะนิสัย และทัศนคติพื้นฐานของเรา)บ้างรึเปล่า? พอลองพยายามนึกปรากฎว่าเราจำไม่ค่อยได้แฮะ สิ่งที่จำได้คือเส้นกั้นบางๆ ระหว่างคนแต่ละกลุ่มที่ครูจะสร้างขึ้นมา ถ้าเป็นเด็กหน้าตาน่ารักหุ่นผอมบางคุณจะได้รับการเอาใจใส่และโปรโมทจากครูในการทำกิจกรรมโรงเรียน ถ้าคุณอ้วนคุณอาจถูกเพื่อนล้อโดยที่ครูหัวเราะคิกคักไปด้วย กะเทยเป็นตัวตลก ความเป็นเลสเบี้ยนเป็นสิ่งน่ารังเกียจ [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ ฯลฯ แล้วแบบนี้ความเปลี่ยนแปลงที่เรารู้สึกอยากเห็นมันเกิดขึ้นได้มั้ยนะ?
เฮ้อ รู้สึกจะฟุ้งเกินไปแล้ว :p
///////
ความคิดเห็นที่ 116
คห.104-105
จะว่าไงดี...เราไม่ได้มองผู้ชาย(ปัจเจก)เฉพาะในฐานะผู้กระทำนะคะ ถ้าโฟกัสมาเฉพาะที่กรอบเรื่องเพศ(ความเป็นหญิง-ความเป็นชาย-ความงาม) ซึ่งถึงแม้ว้ามันจะพัฒนามาเพื่อสนองต่อหลักคิดแบบชายเป็นใหญ่ก็จริง แต่ผู้ชายเองก็เป็นผู้ถูกกระทำจากความคิดแบบชายเป็นใหญ่นี้ไม่แพ้กัน ผู้ชายที่ดีต้องเป็นแบบนั้นแบบนี้, ลูกผู้ชายไม่ร้องไห้, blue for a boy ฯลฯ เราว่าสิ่งที่ผู้ชายโดนก็ไม่ได้เบาไปกว่าสิ่งที่ผู้หญิงโดนเลย - แต่การตีตรานั้นเบากว่าในบางประเด็นนะคะ เช่น ผู้หญิงจิ๋มดำกับผู้ชายจู๋ดำ คุณจินตนาการปฏิกิริยาของสังคมที่จะมีต่อสองคนนี้ได้ใช่มั้ยคะว่าจะแตกต่างกันยังไง? หรืออย่างหญิงโสดอายุ40กับชายโสดอายุ40 ปฏิกิริยาของสังคมที่ผู้หญิงกับผู้ชายคนนั้นได้รับก็จะต่างกัน เป็นต้น
เราว่าการตีความแบบเฟมินิสท์อย่างแคบ(ไม่ใช่เฟมินิสท์ทุกคนจะตีความแบบนี้นะคะ)ว่าสังคมชายเป็นใหญ่คือสังคมที่ชายเป็นผู้กระทำและหญิงเป็นผู้ถูกกระทำเสมอ มันใช้ไม่ได้กับบริบทในปัจจุบัน ที่เราต่างก็ผลัดกันสวมบทบาทเป็นผู้กระทำและผู้ถูกกระทำตลอดเวลาภายใต้กรอบความคิดที่พัฒนาขึ้นใต้ชุดความคิดแบบชายเป็นใหญ่ และไม่ได้กระทำต่อเฉพาะคนต่างเพศกับเรา บางครั้งเราก็กระทำต่อคนเพศเดียวกันกับเรา ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือหลายครั้งเราก็กระทำกับตัวเราเองนี่แหละ
เราตั้งกระทู้นี้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะให้ผู้หญิงมานั่งเบลมผู้ชาย(เพราะการเบลมปัจเจกสุดท้ายมันก็ไม่แก้ปัญหาอะไร) แต่เราอยากให้คนที่อ่านได้คิดต่อยอดออกไปตั้งคำถามกับกรอบอุดมคติ(หรือกรอบอคติ?)ที่สังคมสร้างขึ้นมาครอบเราไว้ ทำไมผู้หญิงต้องจิ๋มไม่อ้า ทำไมต้องขาว ทำไมต้องผอมบาง ทำไมต้องแต่งงานก่อนสามสิบ ทำไมผู้ชายห้ามร้องไห้ ทำไมห้ามเล่นตุ๊กตา ทำไมพอฉันไม่เดินตามกรอบถึงต้องถูกตีตราหรือถูกเหยียดหยาม ทำไมเป็นกะเทยต้องตลก ทำไมเป็นทอมต้องหึงโหด ทำไมเป็นผู้หญิงที่เคยมีผัวมาหลายคนถึงต้องถูกตราหน้าว่าแรดร่านเอามาเป็นแม่ที่ดีไม่ได้(ทั้งที่ก็ไม่เกี่ยวกัน) ทำไมเป็นผู้ชายที่เป็นพ่อบ้านแล้วต้องโดนนินทาว่าเกาะเมียกิน ฯลฯ ทำไมฉันถึงไม่สามารถเคารพตัวเองในแบบที่ฉันเป็นได้? และทำไมคุณถึงไม่เคารพฉันในสิ่งที่ฉันเป็นเหมือนกัน?
ไม่รู้ว่าเขียนวกวนไปรึเปล่า ลองอ่านประกอบคห.103ของเราน่าจะชัดขึ้นนะคะ