ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ชุดลายพรางของ ทบ. มีมากี่แบบแล้วครับ

กระทู้คำถาม
อยากทราบครับว่าของไทยเรามีมากี่ลายแล้ว แล้วแต่ละลายใช้ในพื้นที่ลักษณะแบบไหนบ้าง
ขอบคุณครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
ชุดลายพราง Woodland ของ ทบ.ไทย
การพัฒนาเครื่องแบบชุดพรางของ ทบ.
ในปัจจุบันเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหารมีการ
พัฒนาไปมาก การตรวจจับฝ่ายตรงข้ามมิได้
ใช้สายตามนุษย์เพียงอย่างเดียว หากแต่ยังมี
การใช้กล้อง Infrared และการตรวจจับจาก
ดาวเทียม เป็นต้น เครื่องแบบชุดพรางของ ทบ.
ที่ใช้ในปัจจุบันซึ่งเป็นลวดลายการพราง
ตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า
"Woodland" นั้น ดูเหมือนจะไม่สามารถหลีก
เลี่ยงการตรวจจับด้วยเครื่องมือสมัยใหม่นี้ได้
ซึ่งในต่างประเทศก็ตระหนักในเรื่องนี้เป็น
อย่างดี จึงได้เริ่มปรับเปลี่ยนลายพรางจาก
เดิมเป็น ลายพรางแบบดิจิตอล ซึ่งมีคุณสมบัติ
ในการพรางตัวจากเครื่องมือตรวจจับสมัยใหม่
ได้ดีกันบ้างแล้ว สำหรับทบ.โดย พธ.ทบ.ได้จัด
ทำโครงการวิจัยผ้าสีพรางสำหรับตัดเย็บ
เครื่องแบบสนามลายพราง ดิจิตอลขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้อง
การดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำให้มี
ความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจทางยุทธวิธี
และเหมาะสม กับสภาพภูมิประเทศภูมิอากาศ
ของประเทศไทย อีกด้วย

โครงการ วิจัยผ้าสีพรางฯ ของ ทบ.
มีขั้นตอนสำคัญโดยสรุป คือ เริ่มจากการ
ถ่ายภาพภูมิประเทศที่กำลังพลต้องเข้าไป
ปฏิบัติหน้าที่จริงในทุก ภาคของประเทศไทย
แล้วนำมาหาปริมาณค่าเฉลี่ยของสีด้วย
คอมพิวเตอร์ โดยหนึ่งเนื้อสีที่ได้จะถูกแบ่งออก
เป็นค่าสีสำหรับใช้ในการพิมพ์ที่เกิดจาก
การผสมสี 4 สี คือ C (Cyan:สีฟ้าเขียว)
M (Magenta: สีแดงม่วง) Y (Yellow: สีเหลือง)
และ B (Black:สีดำ) หลังจากได้ค่าเฉลี่ย
ของสีเรียบร้อยแล้วก็จะนำภาพของแต่ละแห่ง
มาทับซ้อนกัน แล้วตัดต่อให้เป็นภาพเดียวกัน
ด้วย Program Illustrator

เพื่อให้ได้ภาพลายพราง ซึ่งหากเป็นการจัด
ทำลายพรางปกติก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์ในขั้น
ตอนนี้ แต่สำหรับลายพรางดิจิตอลจะต้องนำ
ภาพที่ได้ไปปรับแต่งให้ออกมาเป็นลวดลาย
ลักษณะBitmap (เป็นรูปสี่เหลี่ยม
เรียกว่า Pixel ประกอบกันขึ้นเป็น
รูปภาพ)ภาพลายพรางที่ได้จากการปรับแต่ง
คือ ลายพรางดิจิตอล

กระบวนการต่อไปคือ การนำลายพรางดิจิตอล
ที่ได้ไปผลิตเป็นผ้าตัวอย่างหรือภาพตัวอย่าง
เพื่อนำไปทดสอบคุณสมบัติการพรางตัว
ว่าลวดลายและสีมีความกลมกลืนกับ
ภูมิประเทศมากน้อยเพียงใด โดยทำการ
ทดสอบทั้งในเวลากลางวันและกลางคืนที่ระยะ
ต่างๆ คือ 10 เมตร, 50 เมตร, 100 เมตร, 200
เมตร และ400 เมตร อันเป็นระยะตรวจการณ์
ระยะความสามารถในการยิงและทำลายด้วย
อาวุธสังหารบุคคลระยะความสามารถของ
เครื่องมือตรวจจับบุคคล (รังสี Infrared)
เมื่อผลการทดสอบเป็นที่น่าพอใจแล้วก็จะ
ผลิตผ้าลายพรางดิจิตอลขึ้นเพื่อตัด เย็บ
เป็นเครื่องแบบให้พวกเราสวมใส่
อย่างภาคภูมิใจต่อไป

บทความบางส่วนจาก
"ชุดลายพราง จากอดีต สู่ ยุคดิจิตอล "
พ.ต.ณัฐสิทธิ์ มงคลธรรม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่