คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 21
หลักของกฎหมายอาญาต้องตีความโดยเคร่งครัด
จะตอบเฉพาะจากคำถาม จขกท. บนหัวกระทู้เท่านั้น
ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ต้องดูที่เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่ามีไว้เพื่อเอาผิดกับคนที่ตัดต่อรูปแล้วเอาเข้าสู่ Internet ครับ เพราะเ้ป็นการปลอม ซึ่ง ความคิดเห็นที่ 14 ก็ได้นำตัวบทกฎหมายมาให้ดูแล้ว ดังนั้น ถ้าเป็นรูปจริงจะไม่มีความผิดติดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ นะครับ
ส่วนในประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมาทำความเข้ากันก่อนว่าไม่ใช่ว่าทำอะไร เอะอะก็จะผิดหมิ่นประมาทลูกเดียว เพราะมีหลักยกเว้นไว้ใน มาตรา 329 และ 330 อยู่ว่า "ถ้าติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใด อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท" เนื่องจากความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก นั้น รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงไม่ใช่ความผิดในเรื่องส่วนตัว มันจึงเป็นความผิดต่อส่วนรวม และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์แต่ประชาชน ดังนั้นที่ จขกท. ทำจึงไม่ผิดด้วยเช่นกัน ส่วนถ้าไม่ได้ใช้คำด่าก็ไม่ผิดลหุโทษ ตาม มาตรา 393 ด้วย
ส่วนเรื่องทางแพ่ง ตาม มาตรา 423 มีหลักยกเว้นว่า "ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง" ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องจริงก็ไม่ผิดทางแพ่ง
ด้วยกฎหมายดังกล่าว จึงทำเราได้รับข่าวสารต่างๆ ทางโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เนท อยู่ในปัจจุบันนี้ได้ โดยที่ผู้นำเสนอข่าวไม่ผิด ไม่เช่นนั้นถ้าผิดก็คงฟ้องกันแหลก และ พวกเราก็จะไม่ได้รับข่าวสารใดๆ กันแล้วครับ
ในห้องศาลามีนักกฎหมายเช่นเดียวกับผมอยู่หลายท่าน หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ถ้ามีข้อชี้แนะใดๆ ก็แจ้งมาได้นะครับ
จะตอบเฉพาะจากคำถาม จขกท. บนหัวกระทู้เท่านั้น
ตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ต้องดูที่เจตนารมณ์ของกฎหมายฉบับนี้ว่ามีไว้เพื่อเอาผิดกับคนที่ตัดต่อรูปแล้วเอาเข้าสู่ Internet ครับ เพราะเ้ป็นการปลอม ซึ่ง ความคิดเห็นที่ 14 ก็ได้นำตัวบทกฎหมายมาให้ดูแล้ว ดังนั้น ถ้าเป็นรูปจริงจะไม่มีความผิดติดตาม พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ นะครับ
ส่วนในประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องมาทำความเข้ากันก่อนว่าไม่ใช่ว่าทำอะไร เอะอะก็จะผิดหมิ่นประมาทลูกเดียว เพราะมีหลักยกเว้นไว้ใน มาตรา 329 และ 330 อยู่ว่า "ถ้าติชมด้วยความเป็นธรรมซึ่งบุคคลหรือสิ่งใด อันเป็นวิสัยของประชาชนย่อมกระทำ ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท" เนื่องจากความผิดตาม พรบ.จราจรทางบก นั้น รัฐเป็นผู้เสียหาย จึงไม่ใช่ความผิดในเรื่องส่วนตัว มันจึงเป็นความผิดต่อส่วนรวม และสามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นประโยชน์แต่ประชาชน ดังนั้นที่ จขกท. ทำจึงไม่ผิดด้วยเช่นกัน ส่วนถ้าไม่ได้ใช้คำด่าก็ไม่ผิดลหุโทษ ตาม มาตรา 393 ด้วย
ส่วนเรื่องทางแพ่ง ตาม มาตรา 423 มีหลักยกเว้นว่า "ซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง" ดังนั้นถ้าเป็นเรื่องจริงก็ไม่ผิดทางแพ่ง
ด้วยกฎหมายดังกล่าว จึงทำเราได้รับข่าวสารต่างๆ ทางโทรทัศน์ วิทยุ อินเตอร์เนท อยู่ในปัจจุบันนี้ได้ โดยที่ผู้นำเสนอข่าวไม่ผิด ไม่เช่นนั้นถ้าผิดก็คงฟ้องกันแหลก และ พวกเราก็จะไม่ได้รับข่าวสารใดๆ กันแล้วครับ
ในห้องศาลามีนักกฎหมายเช่นเดียวกับผมอยู่หลายท่าน หากเห็นว่าไม่ถูกต้อง ถ้ามีข้อชี้แนะใดๆ ก็แจ้งมาได้นะครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 14
มาดูกฎหมายกันดีกว่าครับ อย่าเดาเลย พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พศ.2550 ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับกรณีที่เจ้าของกระทู้ถาม น่าจะมีสองมาตราได้แก่
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
ดังน้นภาพดังกล่าวหากไม่เป็นภาพเท็จ ภาพปลอม ภาพที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือลามก ก็ไม่ผิด และแม้จะเป็นภาพปลอม ภาพตัดต่อแต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนก็ไม่ผิด เช่น เพื่อนส่งภาพตัดต่อของผมเป็นภาพที่บินได้ เป็นภาพปลอมก็จริงแต่ไม่เสียหาย ดังนั้นไม่ผิดครับ ด้วยเหตุนี้ ภาพที่เจ้าของกระทู้ถ้าเป็นภาพจริงก็ไม่ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 อนุ 1
มาเอากรณีของ DSI สดๆ ล่ะกัน
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ตามมาตรานี้ต้องเป็นภาพ "บุคคล" นะครับ ไม่ใช่ภาพรถ และยิ่งเป็นภาพจริงก็ไม่ผิดแต่อย่างใดด้วย หรือถ้าไปตัดต่อแล้ว ก็ต้องก่อให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกันกับที่เอาภาพผมไปต่อตัวกับน้องหมาแล้วเพื่อนเอาไปลงใน facebook ถ้าผมขำๆ ก็ไม่ผิด แต่ถ้าผมจะเอาผิดก็ต้องแจ้งความแล้วไปพิสูจน์กันต่อว่าทำให้เสียหาย ดูถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทำให้อับอายยังไง เช่น มีหลักฐานว่าเพื่อนฝูงหัวเราะร่า มาแซวว่าให้หน้าหมาเป็นต้น แถมมาตรานี้ยังยอมความกันได้ คือ ยกมือไหว้บอกว่าขอโทษก็จบกันไป และถ้าทำไปโดยไม่รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพตัดต่อก็ไม่ผิด
ดังนั้น ภาพที่เจ้าของกระทู้ถาม "จึงไม่มีความผิดครับ" เจ้าของรถจะมาอ้างว่าทำให้อับอายก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ภาพของตัวเอง และไม่ใช่ภาพตัดต่อ
แต่เจ้าของรถสามารถฟ้องละเมิดได้อยู่แล้ว เพราะใครๆ ก็ฟ้องได้ อยู่ที่ศาลจะรับฟ้องและผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่าทำให้เสียหายอย่างไร เป็นการฟ้องแพ่งต้องระบุว่าเสียหายเท่าไรด้วยนะครับ
หวังว่าผมคงวิเคราะห์ถูกนะ ให้นักกฎหมายมาตอบล่ะกัน
มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
(๑) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
(๒) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
(๓) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคง แห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
(๔) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
(๕) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (๑) (๒) (๓) หรือ(๔)
ดังน้นภาพดังกล่าวหากไม่เป็นภาพเท็จ ภาพปลอม ภาพที่เกี่ยวกับความมั่นคง หรือลามก ก็ไม่ผิด และแม้จะเป็นภาพปลอม ภาพตัดต่อแต่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนก็ไม่ผิด เช่น เพื่อนส่งภาพตัดต่อของผมเป็นภาพที่บินได้ เป็นภาพปลอมก็จริงแต่ไม่เสียหาย ดังนั้นไม่ผิดครับ ด้วยเหตุนี้ ภาพที่เจ้าของกระทู้ถ้าเป็นภาพจริงก็ไม่ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 14 อนุ 1
มาเอากรณีของ DSI สดๆ ล่ะกัน
มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่ง เป็นการนําเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต ผู้กระทําไม่มีความผิด
ความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้
ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตายเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย
ตามมาตรานี้ต้องเป็นภาพ "บุคคล" นะครับ ไม่ใช่ภาพรถ และยิ่งเป็นภาพจริงก็ไม่ผิดแต่อย่างใดด้วย หรือถ้าไปตัดต่อแล้ว ก็ต้องก่อให้เกิดความเสียหายเช่นเดียวกันกับที่เอาภาพผมไปต่อตัวกับน้องหมาแล้วเพื่อนเอาไปลงใน facebook ถ้าผมขำๆ ก็ไม่ผิด แต่ถ้าผมจะเอาผิดก็ต้องแจ้งความแล้วไปพิสูจน์กันต่อว่าทำให้เสียหาย ดูถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ทำให้อับอายยังไง เช่น มีหลักฐานว่าเพื่อนฝูงหัวเราะร่า มาแซวว่าให้หน้าหมาเป็นต้น แถมมาตรานี้ยังยอมความกันได้ คือ ยกมือไหว้บอกว่าขอโทษก็จบกันไป และถ้าทำไปโดยไม่รู้ว่าภาพนั้นเป็นภาพตัดต่อก็ไม่ผิด
ดังนั้น ภาพที่เจ้าของกระทู้ถาม "จึงไม่มีความผิดครับ" เจ้าของรถจะมาอ้างว่าทำให้อับอายก็ไม่ได้ เพราะไม่ใช่ภาพของตัวเอง และไม่ใช่ภาพตัดต่อ
แต่เจ้าของรถสามารถฟ้องละเมิดได้อยู่แล้ว เพราะใครๆ ก็ฟ้องได้ อยู่ที่ศาลจะรับฟ้องและผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ว่าทำให้เสียหายอย่างไร เป็นการฟ้องแพ่งต้องระบุว่าเสียหายเท่าไรด้วยนะครับ
หวังว่าผมคงวิเคราะห์ถูกนะ ให้นักกฎหมายมาตอบล่ะกัน
แสดงความคิดเห็น
อยากรู้ว่า การถ่ายรูป รถ ที่สร้างความเดือดดร้อนให้คนอื่น แล้วไปแชร์ในเฟสบุคผิดไหม?
ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนย้ายรถออกจากที่จอดได้ หรือ รถมาจอดปิดหน้าบ้านของเราไม่สามารถนำรถออกจากบ้านได้
จึงอยากจะถามว่า เราสามารถถ่ายรูปรถที่สร้างปัญหาให้กับเราไปแชร์ในเฟสบุคหรือ Fanpage ที่เป็น Public
พร้อมบรรยาย
"xx 1234 กรุงเทพมหานคร 16/8/56 17.00 น. จอดรถในที่ห้ามจอด นิสัยแย่มาก ทำให้ออกไปไหนไม่ได้ทั้งวันเลย"
ถ้าเจ้าของรถมาเห็นรูปนั้นสามารถฟ้องผู้ที่ถ่ายรูปได้หรือไม่
ข้อหาอะไร และปรับเท่าไหร่
ผมเชื่อว่า ตอนนี้ประเทศไทยเรารถเยอะขึ้นมาก เรื่องจอดรถไม่เป็นที่นี้มันเป็นเรื่องระดับชาติเลยนะครับ