จากการที่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติรับหลักการ "ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. ...." ในวาระที่ 1 เสนอโดย นายวรชัย เหมะ สมาชิกสภา
ผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและคณะ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 มีมติรับหลักการ 300 เสียง ซึ่งเป็นของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เสียงที่คัดค้านไม่รับหลักการ 124 เสียง ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นของพรรคประชาธิปัตย์
เหตุผลของฝ่ายเสนอหลักใหญ่ใจความก็เพื่อ "สร้างความปรองดองของคนในชาติ โดยต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำที่ประชาชนได้แสดงออกทางการเมือง เพื่อจะทำให้สังคมไทยและประเทศชาติกลับมาสู่ความสงบสุขเรียบร้อย มีความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป"
ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.ที่เป็นสมาชิกหลายคนอภิปรายคัดค้านไม่รับหลักการ ความตอนหนึ่งว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าวหมกเม็ดอย่างน้อย 2 เม็ด เม็ดที่ 1 จะช่วยจำเลยทั้ง 26 คน ในคดีก่อการร้าย โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่อยู่ต่างประเทศจะได้รับนิรโทษกรรมด้วย และเม็ดที่ 2 ผู้ร่วมชุมนุมจำนวนหนึ่งที่ทำความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 อย่างน้อย 4-5 คน จะได้รับผลพวงจากการนิรโทษกรรมในครั้งนี้เช่นกันและเหตุผลอื่นๆ อีก
กรณีนี้พรรคเพื่อไทยก็แถลงยืนยันว่าข้อวิตกการหมกเม็ดนั้น ในต้นร่าง พ.ร.บ.ตามตัวอักษรไม่ได้เขียนไว้ และจะไม่ยอมให้มี "คำแปรญัตติ" ไปขยายให้ครอบคลุมกรณีดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
ผลปรากฏว่า
วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยเสียง 300 ต่อ 124 เสียง ต่อไปก็จะเป็น
วาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา (ขั้นแปรญัตติ) และ
วาระที่ 3 ขั้นออกเสียงลงคะแนน
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 แล้ว ก็เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
ทําไมพรรคประชาธิปัตย์จึงต้องคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้อย่างจริงจังและเข้มข้น หัวหน้าและแกนนำของพรรคแถลงจะต่อต้านคัดค้านทั้งในสภาและนอกสภา เพื่อจะได้พิเคราะห์แนวคิดนโยบายและเหตุผลของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกต้อง
ผู้เขียนจะขอนำท่านผู้อ่านย้อนอดีตพบกับข้อมูลพรรคประชาธิปัตย์กับการนิรโทษกรรม โดยสังเขปดังต่อไปนี้
ข้อมูลที่ 1 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2488
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พุทธศักราช 2488 ซึ่งความตอนหนึ่งระบุว่า "...ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะได้ถูกฟ้องและรับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่ และไม่ว่า
ผู้กระทำผิดนั้นจะได้หลบหนีจากที่ใดไปยังที่ใดหรือไม่ ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้นๆ ทั้งสิ้น" ทั้งนี้เพื่อ
1.ส่งเสริมการปกครองแผ่นดินตามระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้มั่นคงจำเริญวัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้น และ
2.เพื่อประชาชนชาวไทยทั้งชาติจักได้สมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จากผลของ พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้มีบุคคลที่ได้รับนิรโทษกรรมจำนวนมากถูกปล่อยตัวจากการถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวางและเกาะตะรุเตา
อาทิ
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ดร.โชติ คุ้มพันธ์
ร้อยโท จงกล ไกรฤกษ์
นายสอ เสถบุตร ฯลฯ
ผลพวงหรืออานิสงส์ของการนิรโทษกรรมฉบับนี้ ทำให้ประชาชนชาวไทยทั้งชาติได้สมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้อภัยซึ่งกันและกันสมดังเจตนารมณ์ของการตรา พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว
กรณีนี้ ผู้เขียนขออนุญาตยกย่องและสรรเสริญท่านหัวหน้ารัฐบาลขณะนั้นที่ท่านมีชื่อสกุลว่า "อภัยวงศ์" (เชื้อสายหรือตระกูลที่ยกโทษหรือให้อภัย) หมายถึง ท่านควงหรือนายควง อภัยวงศ์ หรือรองอำมาตย์เอก หลวงโกวิท อภัยวงศ์
ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ข้อมูลที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
2490
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (จดทะเบียนตั้งพรรคประชาธิปัตย์เมื่อ 6 เมษายน 2489) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะได้รับมอบหมายจากคณะรัฐประหาร ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (หุ่นเชิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม) มีนักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวไว้ว่า เป็นการรับใช้หรือให้ความร่วมมือกับคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 (เป็นการใช้กำลังทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย)
โรม บุนนาค เขียนไว้ในหนังสือ "คู่มือรัฐประหาร" ความตอนหนึ่งว่า "...พอถึงรายการกำหนดตัวนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. ก็ขอตัวเพราะเพิ่งพ้นคดีอาชญากรสงครามมาอย่างอึมครึม เกรงว่าถ้ากลับขึ้นครองอำนาจอีกจะถูกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรเล่นงาน จึงไปขอให้เพื่อนรักเพื่อนแค้น ควง อภัยวงศ์ มาขัดตาทัพไปก่อน"
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารได้เสนอตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ.2490 ซึ่งความในมาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า "บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ เนื่องในการกระทำรัฐประหารเพื่อเลิกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หากเป็นการผิดกฎหมายใดๆ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และการใดๆ ที่ได้กระทำตลอดจนบรรดาประกาศและคำสั่งใดๆ ที่ได้ออกสืบเนื่องในการกระทำรัฐประหารที่กล่าวแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ"
การตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมยกเว้นความผิดและความรับผิดให้แก่คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ของนายควง อภัยวงศ์ หัวพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้ารัฐบาลฉบับนี้ มีนักประวัติศาสตร์การเมืองบางท่านเห็นว่าน่าจะเป็นการต่างตอบแทนกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐประหารหยิบยื่นให้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง (อาจจะไม่จริง) ก็แสดงว่าแนวคิดหรือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตสนับสนุนให้ความร่วมมือกับการกระทำรัฐประหารเริ่มต้นตั้งแต่สมัยนั้น จริงหรือไม่จริง
การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา
โดย นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลยุติธรรม
(ที่มา:มติชนรายวัน 15 สิงหาคม 2556)
ย้อนอดีต พรรคประชาธิปัตย์ กับการนิรโทษกรรม
ผู้แทนราษฎรพรรคเพื่อไทยและคณะ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2556 มีมติรับหลักการ 300 เสียง ซึ่งเป็นของพรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาล เสียงที่คัดค้านไม่รับหลักการ 124 เสียง ส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดเป็นของพรรคประชาธิปัตย์
เหตุผลของฝ่ายเสนอหลักใหญ่ใจความก็เพื่อ "สร้างความปรองดองของคนในชาติ โดยต้องคำนึงถึงมูลเหตุจูงใจของการกระทำที่ประชาชนได้แสดงออกทางการเมือง เพื่อจะทำให้สังคมไทยและประเทศชาติกลับมาสู่ความสงบสุขเรียบร้อย มีความสมัครสมานสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาประเทศให้มีความมั่นคงและเข้มแข็งอย่างยั่งยืนต่อไป"
ฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ส.ส.ที่เป็นสมาชิกหลายคนอภิปรายคัดค้านไม่รับหลักการ ความตอนหนึ่งว่า ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมดังกล่าวหมกเม็ดอย่างน้อย 2 เม็ด เม็ดที่ 1 จะช่วยจำเลยทั้ง 26 คน ในคดีก่อการร้าย โดยเฉพาะจำเลยที่ 1 ที่อยู่ต่างประเทศจะได้รับนิรโทษกรรมด้วย และเม็ดที่ 2 ผู้ร่วมชุมนุมจำนวนหนึ่งที่ทำความผิดในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตามมาตรา 112 อย่างน้อย 4-5 คน จะได้รับผลพวงจากการนิรโทษกรรมในครั้งนี้เช่นกันและเหตุผลอื่นๆ อีก
กรณีนี้พรรคเพื่อไทยก็แถลงยืนยันว่าข้อวิตกการหมกเม็ดนั้น ในต้นร่าง พ.ร.บ.ตามตัวอักษรไม่ได้เขียนไว้ และจะไม่ยอมให้มี "คำแปรญัตติ" ไปขยายให้ครอบคลุมกรณีดังกล่าวอย่างเด็ดขาด
ผลปรากฏว่า
วาระที่ 1 ขั้นรับหลักการผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยเสียง 300 ต่อ 124 เสียง ต่อไปก็จะเป็น
วาระที่ 2 ขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา (ขั้นแปรญัตติ) และ
วาระที่ 3 ขั้นออกเสียงลงคะแนน
เมื่อสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบในวาระที่ 3 แล้ว ก็เข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาซึ่งมีขั้นตอนดำเนินการเช่นเดียวกัน และวุฒิสภาต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน
ทําไมพรรคประชาธิปัตย์จึงต้องคัดค้าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับนี้อย่างจริงจังและเข้มข้น หัวหน้าและแกนนำของพรรคแถลงจะต่อต้านคัดค้านทั้งในสภาและนอกสภา เพื่อจะได้พิเคราะห์แนวคิดนโยบายและเหตุผลของพรรคประชาธิปัตย์ได้ถูกต้อง
ผู้เขียนจะขอนำท่านผู้อ่านย้อนอดีตพบกับข้อมูลพรรคประชาธิปัตย์กับการนิรโทษกรรม โดยสังเขปดังต่อไปนี้
ข้อมูลที่ 1 เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2488
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรี ได้เสนอตราพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดฐานกบฏและจลาจล พุทธศักราช 2488 ซึ่งความตอนหนึ่งระบุว่า "...ไม่ว่าผู้กระทำผิดจะได้ถูกฟ้องและรับโทษตามคำพิพากษาแล้วหรือไม่ และไม่ว่า
ผู้กระทำผิดนั้นจะได้หลบหนีจากที่ใดไปยังที่ใดหรือไม่ ให้เป็นอันพ้นจากความผิดนั้นๆ ทั้งสิ้น" ทั้งนี้เพื่อ
1.ส่งเสริมการปกครองแผ่นดินตามระบอบประชาธิปไตยและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยให้มั่นคงจำเริญวัฒนาถาวรยิ่งๆ ขึ้น และ
2.เพื่อประชาชนชาวไทยทั้งชาติจักได้สมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
จากผลของ พ.ร.ก.ฉบับนี้ได้มีบุคคลที่ได้รับนิรโทษกรรมจำนวนมากถูกปล่อยตัวจากการถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวางและเกาะตะรุเตา
อาทิ
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
ดร.โชติ คุ้มพันธ์
ร้อยโท จงกล ไกรฤกษ์
นายสอ เสถบุตร ฯลฯ
ผลพวงหรืออานิสงส์ของการนิรโทษกรรมฉบับนี้ ทำให้ประชาชนชาวไทยทั้งชาติได้สมัครสมานสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ให้อภัยซึ่งกันและกันสมดังเจตนารมณ์ของการตรา พ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว
กรณีนี้ ผู้เขียนขออนุญาตยกย่องและสรรเสริญท่านหัวหน้ารัฐบาลขณะนั้นที่ท่านมีชื่อสกุลว่า "อภัยวงศ์" (เชื้อสายหรือตระกูลที่ยกโทษหรือให้อภัย) หมายถึง ท่านควงหรือนายควง อภัยวงศ์ หรือรองอำมาตย์เอก หลวงโกวิท อภัยวงศ์
ไว้ ณ ที่นี้ด้วย
ข้อมูลที่ 2 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม
2490
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (จดทะเบียนตั้งพรรคประชาธิปัตย์เมื่อ 6 เมษายน 2489) ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะได้รับมอบหมายจากคณะรัฐประหาร ที่นำโดย พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ (หุ่นเชิดของจอมพล ป. พิบูลสงคราม) มีนักวิเคราะห์ประวัติศาสตร์บางท่านกล่าวไว้ว่า เป็นการรับใช้หรือให้ความร่วมมือกับคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจมาจากรัฐบาลหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2490 (เป็นการใช้กำลังทหารยึดอำนาจจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศไทย)
โรม บุนนาค เขียนไว้ในหนังสือ "คู่มือรัฐประหาร" ความตอนหนึ่งว่า "...พอถึงรายการกำหนดตัวนายกรัฐมนตรี จอมพล ป. ก็ขอตัวเพราะเพิ่งพ้นคดีอาชญากรสงครามมาอย่างอึมครึม เกรงว่าถ้ากลับขึ้นครองอำนาจอีกจะถูกประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรเล่นงาน จึงไปขอให้เพื่อนรักเพื่อนแค้น ควง อภัยวงศ์ มาขัดตาทัพไปก่อน"
รัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารได้เสนอตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำรัฐประหาร พ.ศ.2490 ซึ่งความในมาตรา 3 บัญญัติไว้ว่า "บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นของบุคคลใดๆ ก่อนวันใช้พระราชบัญญัตินี้ เนื่องในการกระทำรัฐประหารเพื่อเลิกใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 หากเป็นการผิดกฎหมายใดๆ ก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดยสิ้นเชิง และการใดๆ ที่ได้กระทำตลอดจนบรรดาประกาศและคำสั่งใดๆ ที่ได้ออกสืบเนื่องในการกระทำรัฐประหารที่กล่าวแล้ว ให้ถือว่าเป็นอันชอบด้วยกฎหมายทุกประการ"
การตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมยกเว้นความผิดและความรับผิดให้แก่คณะรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ของนายควง อภัยวงศ์ หัวพรรคประชาธิปัตย์และหัวหน้ารัฐบาลฉบับนี้ มีนักประวัติศาสตร์การเมืองบางท่านเห็นว่าน่าจะเป็นการต่างตอบแทนกับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่คณะรัฐประหารหยิบยื่นให้ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง (อาจจะไม่จริง) ก็แสดงว่าแนวคิดหรือจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ในอดีตสนับสนุนให้ความร่วมมือกับการกระทำรัฐประหารเริ่มต้นตั้งแต่สมัยนั้น จริงหรือไม่จริง
การกระทำหรือกรรมเป็นเครื่องชี้เจตนา
โดย นคร พจนวรพงษ์ อดีตผู้พิพากษาอาวุโส ศาลยุติธรรม
(ที่มา:มติชนรายวัน 15 สิงหาคม 2556)