MOBสรส.นำทีม MCOT,CAT,TOT ชี้ กสทช.ตั้งใจทำลายรัฐวิสาหกิจ บุกสำนักงาน กสทช.และรัฐสภาพร้อมเร่งล่ารายชื่อใน30วัน!!ถอดถอน

15 สิงหาคม 2556 MOBสรส.นำทีม MCOT,CAT,TOT ชี้ กสทช.ตั้งใจทำลายรัฐวิสาหกิจ บุกสำนักงาน กสทช.และรัฐสภาพร้อมเร่งล่ารายชื่อใน30วัน!! ชี้ทำอะไรเอื่อเอกชนเช่นโอนลูกค้าCATให้เอกชน,ลดสัดส่วนช่องข่าว(

ประเด็นหลัก


เมื่อวันที่ 15 ส.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 43 แห่ง รวมถึงสหภาพของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เข้ายื่นออกแถลงการณ์การออกกติกาประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่ต้องเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่การให้ใบอนุญาต ส่งผลกระทบกับ 2 รัฐวิสาหกิจ คือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)


ทั้งนิ้ หลังจาก กสทช.เข้ามากำกับดูแล ก็หวังว่าจะทำให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการแข่งขัน แต่พบว่า กสทช. ไม่ได้ปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติ และไม่ได้สร้างกลไกตลาดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องแบกภาระ

       โดยเฉพาะประเด็นการออกประกาศการใช้โครงข่ายรวมกัน ซึ่งจากเดิมโครงข่ายโทรคมนาคมทั้งหมดเป็นของทีโอที และ กสท ตามสัญญาสัมปทาน แต่ กสทช.ออกประกาศให้คู่สัญญาสัมปทานมีสิทธิในโครงข่ายโทรคมนาคมเช่นเดียวกับเจ้าของสัญญาสัมปทาน ขณะที่การโอนทรัพย์สินตามสัญญาสัมปทานก็ยังอยู่ระหว่างข้อพิพาทกันอยู่ และการออกประกาศเรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ...(ร่างเยียวยา 1800 MHz) ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเอื้อประโยชน์ให้เอกชน เพราะตามสัญญาสัมปทานลูกค้าต้องเป็นของ กสท ภายหลังสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้ว แต่ดูเหมือนว่า กสทช.จะให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการต่อไป เป็นต้น

       สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สหภาพแรงงาน อสมท. ทีโอที และ กสท.โทรคมนาคม ซึ่งเป็นพนักงานขององค์กรที่ประกอบกิจการวางรากฐาน ให้บริการด้านสื่อสารวิทยุ โทรทัศน์ และการสื่อสาร นัดรวมตัวกันเนื่องจากเห็นว่า กระบวนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งด้านโทรทัศน์ วิทยุ และโทรคมนาคม ที่บริหารจัดการโดย กสทช.ไม่เกิดความเป็นธรรม กับ 3 องค์กรที่มีการแปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ และต้องผูกพันกับภารกิจของรัฐ ทำให้ขาดความเท่าเทียมในการร่วมประมูลกับภาคเอกชน ที่มีอิสระทางการเงิน และการบริหารเต็มรูปแบบ พร้อมกับมีการออกแถลงการณ์ในลักษณะสมุดปกขาวด้วย ตอบโต้วิธีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ของ กสทช.ทำให้รัฐนั้นเสียประโยชน์ และทำให้บริษัททั้ง 3 แห่ง เสียโอกาสในการประมูล 4 ประการ คือ การประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ในเครือข่ายมือถือ 3 ราย ต่อรัฐธรรมนูญ เพราะถือเป็นกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ที่รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละ 50 จะกระทำไม่ได้



ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนคณะกรรมการ กสทช.ทั้งคณะเพื่อให้ยุติการทำงาน เหตุเพราะ 1. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3G เองได้ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดจะกระทำมิได้
    
       2. การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทานและบริษัทลูก กระทำการถ่ายโอนลูกค้าจากเดิมที่เคยใช้บริการโทรศัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทานไปสู่การให้บริการบริษัทลูก กระทบรายได้นำส่งรัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่งผลให้รัฐเสียหาย 3. การที่คณะกรรมการ กสทช.ออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแก่ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ และการออกประกาศการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อหวังให้บริษัทลูกชนะการประมูล การเพิ่มสิทธิให้บริษัทแม่ผู้รับสัมปทานเกินขอบเขตของกฎหมายและยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ผู้ให้สัมปทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย และ 4. การออกประกาศคณะกรรมการ กสทช.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ระบุขั้นตอนวิธีการประมูลคลื่นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้เลือกผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับ ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาที่เท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ก่อให้เกิดคำถามว่าการจับสลากเป็นวิธีการประมูลที่ดีที่สุดหรือไม่
    
       นอกจากนี้ การปรับลดเนื้อหาข่าวสารที่มีสาระต่อสาธารณะจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มาเป็นร้อยละ 50 ทำให้ช่องรายการข่าวกับช่องรายการวาไรตี้แทบไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่ได้มีการท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายนิคมกล่าวว่า สามารถใช้สิทธินี้ได้แต่ต้องมีรายชื่อและข้อกล่าวหาที่ชัดเจน โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในการตรวจสอบรายชื่อ หากขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อถูกต้องก็จะส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและถอดถอนต่อไป










http://m.thairath.co.th/content/tech/363618
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101636&Keyword=%a1%ca%b7
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101401&Keyword=%a1%ca%b7
http://www.dailynews.co.th/technology/226250
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130815/523427/%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%
87%E0%B8%94%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99-
%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.-
%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8
%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%A5-
3%E0%B8%88%E0%B8%B5.html
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101604&Keyword=%a1%ca%b7





______________________________________



สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ บุก กสทช. จี้ยุติการทำหน้าที่

สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ 43 องค์กร ทีโอที กสท และช่อง 9 ยื่นหนังสือ กสทช. เรียกร้องให้ยุติการทำหน้าที่ หลังพบออกกฎระเบียบประมูลทีวีดิจิตอล และจัดสรรคลื่นโทรคมนาคม ไม่เป็นธรรม...

เมื่อวันที่ 15 ส.ค. สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ จำนวน 43 แห่ง รวมถึงสหภาพของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 อสมท เข้ายื่นออกแถลงการณ์การออกกติกาประมูลคลื่นโทรคมนาคม ที่ต้องเปลี่ยนจากระบบสัมปทานไปสู่การให้ใบอนุญาต ส่งผลกระทบกับ 2 รัฐวิสาหกิจ คือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ CAT และบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน)


ทั้งนิ้ หลังจาก กสทช.เข้ามากำกับดูแล ก็หวังว่าจะทำให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรมในการแข่งขัน แต่พบว่า กสทช. ไม่ได้ปกป้องรักษาผลประโยชน์ชาติ และไม่ได้สร้างกลไกตลาดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม และทำให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 2 แห่งต้องแบกภาระ

อีกทั้งพบว่า กสทช. ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทาน และบริษัทลูกของบริษัทค่ายมือถือ ฮั้วราคาในการให้บริการ ทำให้ไม่เกิดการแข่งขันในตลาด และ กสทช.ได้ออกประกาศฯ ให้เกิดการโอนย้ายลูกค้าจากบริษัทแม่ไปบริษัทลูกได้ รวมทั้งปัญหากรณีการเช่าใช้โครงข่ายร่วมกัน ที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 หน่วยงาน


ส่วนการประมูลทีวีดิจิตอล ในเดือน ต.ค.นี้ มีการกำหนดให้เลือกผู้ชนะสูงสุด แต่หากมีผู้ชนะราคาเท่ากัน ให้ใช้วิธีจับสลากนั้น อาจทำให้ประเทศไทยไม่ได้สถานีโทรทัศน์ที่มีความพร้อมในการให้บริการมากที่สุด รวมทั้งกำหนดกติกาให้เอกชนที่มีความผูกพันเชิงการถือครองหุ้น สามารถฮั้วราคากันได้ ในทางตรงข้าม อสมท ที่เป็นรัฐวิสาหกิจ จะเกิดความเสียเปรียบในการเข้าประมูลแข่งขัน รวมทั้งการปรับลดสัดส่วนเนื้อหาข่าวสาระ การประมูลกลุ่มช่องข่าว 7 ช่อง จาก 75% หรือ 50% ทำให้ไม่มีความแตกต่างกับประเภทช่องรายการทั่วไป 7 ช่อง ทั้งที่การกำหนดสัดส่วนนี้มีกลุ่มนักวิชาการ องค์กรวิชาชีพสื่อ คัดค้าน แต่ กสทช.ไม่แก้ไข และทำให้เห็นว่า กสทช.จงใจใช้อำนาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มติสมาพันธ์ฯ จึงเห็นตรงกันว่าขอให้ กสทช.ยุติบทบาทในการทำหน้าที่ หากไม่ยุติจะยกระดับการชุมนุมใหญ่ทั่วประเทศ

นอกจากนี้ รายงานข่าวยังแจ้งด้วยว่า วันนี้ช่วงบ่าย สมาพันธ์ฯ จะเคลื่อนขบวนไปยื่นหนังสือต่อสมาชิกวุฒิสภา อาคารรัฐสภา เพื่อให้ตรวจสอบการทำหน้าที่ของกรรมการ กสทช. ทั้ง 11 คน.

โดย: ไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/363618

_____________________________________________


สรส.ยื่นถอด กสทช.ยกชุด ออกใบอนุญาต 3G ขัด รธน.เอื้อเอกชน ติงลดรายการข่าว

       สรส.ยื่น ปธ.วุฒิฯ ถอด กสทช.ทั้งคณะ เหตุขัด รธน.ออกใบอนุญาต 3G เอง ละเว้นหน้าที่เหตุ บ.ใต้สัมปทานโอนลูกค้าให้ บ.ลูก กระทบรายได้รัฐฯ และออกประกาศ หวัง บ.ลูกชนะประมูลเพิ่มสิทธิ บ.แม่ แถมกำหนดให้จับสลากหากประมูลเท่ากัน ทั้งยังมีการลดรายการข่าวเหลือร้อยละ 50 พอๆ กับรายการวาไรตี้ “นิคม” ขอ 30 วันสอบรายชื่อ ไร้ปัญหาพร้อมยื่น ป.ป.ช.
    
       วันนี้ (15 ส.ค.) ที่ห้องรับรอง 1-2 อาคารรัฐสภา 2 สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ยื่นหนังสือต่อนายนิคม ไวยรัชพานิช ประธานวุฒิสภา เพื่อถอดถอนคณะกรรมการ กสทช.ทั้งคณะเพื่อให้ยุติการทำงาน เหตุเพราะ 1. การออกใบอนุญาตประกอบกิจการโครงข่ายมือถือ 3G เองได้ ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 เพราะโครงข่ายโทรศัพท์มือถือเป็นโครงข่ายขั้นพื้นฐานของกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐ อันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชน หรือทำให้รัฐเป็นเจ้าของน้อยกว่าร้อยละห้าสิบเอ็ดจะกระทำมิได้
    
       2. การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับดูแลกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ กรณีพบการร่วมมือระหว่างบริษัทภายใต้สัญญาสัมปทานและบริษัทลูก กระทำการถ่ายโอนลูกค้าจากเดิมที่เคยใช้บริการโทรศัพย์ภายใต้สัญญาสัมปทานไปสู่การให้บริการบริษัทลูก กระทบรายได้นำส่งรัฐภายใต้สัญญาสัมปทาน ส่งผลให้รัฐเสียหาย 3. การที่คณะกรรมการ กสทช.ออกใบอนุญาตประเภทที่ 3 ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเองแก่ผู้ประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ และการออกประกาศการใช้โครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมร่วมกันเพื่อหวังให้บริษัทลูกชนะการประมูล การเพิ่มสิทธิให้บริษัทแม่ผู้รับสัมปทานเกินขอบเขตของกฎหมายและยังเป็นการละเมิดต่อสิทธิในความเป็นเจ้าของทรัพย์สินของรัฐ ทำให้ผู้ให้สัมปทานซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐได้รับความเสียหาย และ 4. การออกประกาศคณะกรรมการ กสทช.ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 14 สิงหาคม 2556 ระบุขั้นตอนวิธีการประมูลคลื่นในกิจการวิทยุโทรทัศน์ ให้เลือกผู้ชนะการประมูลที่มีราคาสูงสุดเรียงตามลำดับ ในกรณีที่ชนะการประมูลด้วยราคาที่เท่ากันให้ใช้วิธีจับสลาก ก่อให้เกิดคำถามว่าการจับสลากเป็นวิธีการประมูลที่ดีที่สุดหรือไม่
    
       นอกจากนี้ การปรับลดเนื้อหาข่าวสารที่มีสาระต่อสาธารณะจากเดิมไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 มาเป็นร้อยละ 50 ทำให้ช่องรายการข่าวกับช่องรายการวาไรตี้แทบไม่มีความแตกต่างกัน ทั้งที่ได้มีการท้วงติงจากภาคส่วนต่างๆ อย่างไรก็ตาม นายนิคมกล่าวว่า สามารถใช้สิทธินี้ได้แต่ต้องมีรายชื่อและข้อกล่าวหาที่ชัดเจน โดยจะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในการตรวจสอบรายชื่อ หากขั้นตอนการตรวจสอบรายชื่อถูกต้องก็จะส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบและถอดถอนต่อไป

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9560000101636&Keyword=%a1%ca%b7


______________________________________________________


“สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ” กดดัน กสทช.ยุติบทบาท
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่