หลังจากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยรายงานผลการตรวจสอบกรณีเหตุการณ์การชุมนุมของกลุ่ม นปช. เมื่อปี 2553 ปรากฏว่า คนเสื้อแดงกลุ่มหนึ่งไม่พอใจ และได้ยกพวกไปข่มขู่ ใส่ร้ายป่ายสี กดดันให้กรรมการสิทธิมนุษยชนลาออกทั้งคณะ
1) รายงานของ กสม. อาจถูกวิจารณ์หรือโต้แย้งได้ หากส่วนใดมีข้อมูลเท็จ โดยนำข้อมูลข้อเท็จจริงมานำเสนอหักล้างอย่างตรงประเด็น
แต่ที่ปรากฏ คือ คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งไม่สนใจสาระเนื้อหา หรือข้อมูลข้อเท็จจริงในรายงานของ กสม.เลย และส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ได้อ่านรายงานหนาเกือบ 100 หน้าเลยด้วยซ้ำ จึงไม่สามารถนำข้อมูลหลักฐานมาหักล้างความจริงที่ปรากฏในรายงานของ กสม. (หรือแม้แต่รายงานของ คอป.ก็ดี) เพียงแค่แกนนำเสื้อแดง หรือได้ยินได้ฟังบางส่วนบางตอนที่ “ไม่ถูกใจ” หรือไม่ตรงกับความเชื่อของตนเอง ก็พาลปฏิเสธรายงานไปเลย
2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มิใช่องค์กรตุลาการหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดว่า ใครถูก-ใครผิด ใครสมควรถูกลงโทษตามกฎหมายหรือไม่ แต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี
เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีทั้งส่วนที่ กสม.ตรวจสอบแล้วเห็นว่า การดำเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่? และการใช้เสรีภาพของผู้ชุมนุมเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่? ทั้งสองด้าน และมีการตรวจสอบเหตุการณ์สำคัญ 8 กรณี เช่น กรณีรัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน, กรณีที่ ศอฉ.สั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล, กรณี 10 เมษายน 2553, กรณีเสียชีวิตที่วัดปทุม ฯลฯ
ความจริงที่ปรากฏในรายงานไม่ได้มีอะไรแปลก พิสดาร หรือสวนทางกับข้อเท็จจริงที่ คอป.เคยค้นพบ
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น กรณีวันที่ 10 เมษายน 2553 รายงาน กสม.ระบุว่า
“เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีกลุ่ม นปช. จำนวนมาก พยายามผลักดันเจ้าหน้าที่ทหารให้ถอยไปยังสะพานเฉลิมวันชาติ โดยกลุ่ม นปช. จัดให้เด็ก สตรี พระสงฆ์ และผู้ร่วมชุมนุมทั่วไปอยู่ในแถวแรก แต่เมื่อมีการผลักดันกันประมาณ ๑๐ นาที กลุ่มชายฉกรรจ์ขยับขึ้นมาด้านหน้าพร้อมด้วยอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธ เช่น ไม้ปลายแหลม ระเบิดเพลิง ประทัดยักษ์ ก้อนอิฐ หนังสติ๊กที่ใช้น็อตเป็นกระสุน เป็นต้น รวมทั้งใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารจนได้รับบาดเจ็บ ต่อมา มีเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้ง พร้อมทั้งมีการปาระเบิดควัน และกลุ่ม นปช. ได้แย่งอาวุธปืนไปจากเจ้าหน้าที่ทหาร
เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป สถานการณ์มีความรุนแรงและตึงเครียดเป็นลำดับ เจ้าหน้าที่ทหารได้ทิ้งแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ และมีการปะทะหลายจุด เช่น บริเวณสี่แยกคอกวัว หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. บริเวณสี่แยกคอกวัว สถานการณ์รุนแรงขึ้น เจ้าหน้าที่ทหารเจรจาขอพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ชุมนุมแต่ไม่เป็นผล กลุ่มผู้ชุมนุมด่าทอเจ้าหน้าที่ทหาร ขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ทหาร และปรากฏชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับกลุ่ม นปช. และมีชายชุดดำซุ่มอยู่บนอาคารบริเวณนั้นด้วย โดยไม่สามารถยืนยันว่าเป็นฝ่ายใด มีการกลิ้งถังแก๊สปิกนิกใส่เจ้าหน้าที่ทหาร หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งให้เปิดเส้นทางการจราจร โยนแก๊สน้ำตาและยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมบางรายได้โยนแก๊สน้ำตากลับไปใส่เจ้าหน้าที่ทหาร จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะของทั้งสองฝ่าย
เวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. เจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำอยู่บริเวณถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว ถูกยิงด้วยลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ จำนวนหลายลูกจากกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากและดำเนินการถอนกำลังออกจากพื้นที่ ซึ่งขณะนั้นผู้บังคับบัญชาได้เรียกผู้บังคับหน่วยเข้าร่วมประชุมบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ระหว่างการประชุมปรากฏว่า มีแสงเลเซอร์ชี้เป้ามายังจุดที่ผู้บังคับบัญชากำลังประชุมกัน หลังจากนั้น มีระเบิดจำนวน ๑ ลูก ตกลงบริเวณที่ประชุมนายทหาร ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่
พันเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และสิบโทภูริวัฒน์ ประพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก...”
3) ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความจริง แต่อยู่ที่การไม่ยอมรับความจริง
ไม่ต้องการยอมรับความจริงว่ามีกองกำลังชุดดำออกปฏิบัติการ ตามแนวทางที่แกนนำเสื้อแดงเคยประกาศไว้ล่วงหน้าว่าจะมีมวลชน พรรคการเมือง และกองกำลังติดอาวุธหนุนหลังขบวนการเสื้อแดง
ถ้ามั่นใจว่าไม่จริง ก็ไม่ควรยอมให้ ส.ส.เพื่อไทยใช้เสียงข้างมากลากไป ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่กองกำลังชุดดำที่ฆ่าทหาร ฆ่าประชาชน
4) ท่าทีของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่พยายามจะไม่ยอมรับความจริง จึงมองได้ 2 ทาง
(1) เป็นคนพาล ที่ไม่ยอมรับอะไรก็ตามที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเอง ไม่สนใจความถูกต้อง เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ ไม่ว่าจะพาลโดยสันดาน หรือรับจ้างพาล
(2) เป็นพวกมีอาการทางจิต หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นโรคจิต
“โรคจิต” เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจแบบหนึ่ง เป็นโรคของความคิดที่ผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อ มีพฤติกรรม มีการกระทำที่ผิดไปจากคนปกติทั่วไป และความเชื่อนั้นไม่สามารถอธิบายได้ตามหลักของความจริง แต่ผู้ป่วยก็เชื่ออย่างสนิทใจกับความเชื่อของตน เข้าลักษณะอาการหลงผิด หรือ “Delusion” เชื่ออย่างผิดๆ และเชื่ออย่างฝังแน่น หรือ “False Belief and Fix”
ในทางวิชาการ โรคจิตหลงผิดมีหลายประเภท เช่น Erotomanic type หลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตนเอง, Grandiose type หลงผิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น มีความหยั่งรู้พิเศษ มีอำนาจ, Jealous type หลงผิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ, Persecutory type ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หมายเอาชีวิต ฯลฯ
น่าคิดว่า พวกโรคจิตประเภทหลงผิดนั้น มีอยู่มากมายเพียงใด ไล่ดูตั้งแต่ปลายแถวจนถึงระดับคนทางไกล
ที่มา:
http://www.naewna.com/politic/columnist/8125
ปล.ผมว่าพวกขรี้ข้าไอ้แม้ว...มีครบทั้ง 2 ข้อ..เอิ๊ก ๆ ๆ
ไม่ยอมรับความจริง คนพาล หรือโรคจิต?
1) รายงานของ กสม. อาจถูกวิจารณ์หรือโต้แย้งได้ หากส่วนใดมีข้อมูลเท็จ โดยนำข้อมูลข้อเท็จจริงมานำเสนอหักล้างอย่างตรงประเด็น
แต่ที่ปรากฏ คือ คนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งไม่สนใจสาระเนื้อหา หรือข้อมูลข้อเท็จจริงในรายงานของ กสม.เลย และส่วนใหญ่น่าจะยังไม่ได้อ่านรายงานหนาเกือบ 100 หน้าเลยด้วยซ้ำ จึงไม่สามารถนำข้อมูลหลักฐานมาหักล้างความจริงที่ปรากฏในรายงานของ กสม. (หรือแม้แต่รายงานของ คอป.ก็ดี) เพียงแค่แกนนำเสื้อแดง หรือได้ยินได้ฟังบางส่วนบางตอนที่ “ไม่ถูกใจ” หรือไม่ตรงกับความเชื่อของตนเอง ก็พาลปฏิเสธรายงานไปเลย
2) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นองค์กรตามรัฐธรรมนูญ มิใช่องค์กรตุลาการหรือองค์กรในกระบวนการยุติธรรมที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี หรือวินิจฉัยชี้ขาดว่า ใครถูก-ใครผิด ใครสมควรถูกลงโทษตามกฎหมายหรือไม่ แต่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรี
เนื้อหาของรายงานฉบับนี้ จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย มีทั้งส่วนที่ กสม.ตรวจสอบแล้วเห็นว่า การดำเนินการของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐได้ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่? และการใช้เสรีภาพของผู้ชุมนุมเป็นไปภายใต้ขอบเขตที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้หรือไม่? ทั้งสองด้าน และมีการตรวจสอบเหตุการณ์สำคัญ 8 กรณี เช่น กรณีรัฐบาลอภิสิทธิ์ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน, กรณีที่ ศอฉ.สั่งระงับการออกอากาศสถานีโทรทัศน์พีเพิลชาแนล, กรณี 10 เมษายน 2553, กรณีเสียชีวิตที่วัดปทุม ฯลฯ
ความจริงที่ปรากฏในรายงานไม่ได้มีอะไรแปลก พิสดาร หรือสวนทางกับข้อเท็จจริงที่ คอป.เคยค้นพบ
ยกตัวอย่างเหตุการณ์ เช่น กรณีวันที่ 10 เมษายน 2553 รายงาน กสม.ระบุว่า
“เวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยมีกลุ่ม นปช. จำนวนมาก พยายามผลักดันเจ้าหน้าที่ทหารให้ถอยไปยังสะพานเฉลิมวันชาติ โดยกลุ่ม นปช. จัดให้เด็ก สตรี พระสงฆ์ และผู้ร่วมชุมนุมทั่วไปอยู่ในแถวแรก แต่เมื่อมีการผลักดันกันประมาณ ๑๐ นาที กลุ่มชายฉกรรจ์ขยับขึ้นมาด้านหน้าพร้อมด้วยอาวุธหรือสิ่งเทียมอาวุธ เช่น ไม้ปลายแหลม ระเบิดเพลิง ประทัดยักษ์ ก้อนอิฐ หนังสติ๊กที่ใช้น็อตเป็นกระสุน เป็นต้น รวมทั้งใช้กำลังทำร้ายเจ้าหน้าที่ทหารจนได้รับบาดเจ็บ ต่อมา มีเสียงระเบิดดังขึ้นหลายครั้ง พร้อมทั้งมีการปาระเบิดควัน และกลุ่ม นปช. ได้แย่งอาวุธปืนไปจากเจ้าหน้าที่ทหาร
เวลาประมาณ ๑๘.๐๐ น. เป็นต้นไป สถานการณ์มีความรุนแรงและตึงเครียดเป็นลำดับ เจ้าหน้าที่ทหารได้ทิ้งแก๊สน้ำตาลงมาจากเฮลิคอปเตอร์ใส่ผู้ชุมนุมเป็นระยะ และมีการปะทะหลายจุด เช่น บริเวณสี่แยกคอกวัว หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา
เวลาประมาณ ๑๙.๐๐ น. บริเวณสี่แยกคอกวัว สถานการณ์รุนแรงขึ้น เจ้าหน้าที่ทหารเจรจาขอพื้นที่คืนจากกลุ่มผู้ชุมนุมแต่ไม่เป็นผล กลุ่มผู้ชุมนุมด่าทอเจ้าหน้าที่ทหาร ขว้างปาสิ่งของใส่เจ้าหน้าที่ทหาร และปรากฏชายชุดดำติดอาวุธปะปนอยู่กับกลุ่ม นปช. และมีชายชุดดำซุ่มอยู่บนอาคารบริเวณนั้นด้วย โดยไม่สามารถยืนยันว่าเป็นฝ่ายใด มีการกลิ้งถังแก๊สปิกนิกใส่เจ้าหน้าที่ทหาร หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ทหารได้รับคำสั่งให้เปิดเส้นทางการจราจร โยนแก๊สน้ำตาและยิงกระสุนยางใส่ผู้ชุมนุม ขณะเดียวกัน ผู้ชุมนุมบางรายได้โยนแก๊สน้ำตากลับไปใส่เจ้าหน้าที่ทหาร จนทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการปะทะของทั้งสองฝ่าย
เวลาประมาณ ๑๙.๓๐ น. เจ้าหน้าที่ทหารที่ประจำอยู่บริเวณถนนตะนาว สี่แยกคอกวัว ถูกยิงด้วยลูกระเบิดเอ็ม ๗๙ จำนวนหลายลูกจากกองกำลังไม่ทราบฝ่าย ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมากและดำเนินการถอนกำลังออกจากพื้นที่ ซึ่งขณะนั้นผู้บังคับบัญชาได้เรียกผู้บังคับหน่วยเข้าร่วมประชุมบริเวณหน้าโรงเรียนสตรีวิทยา ระหว่างการประชุมปรากฏว่า มีแสงเลเซอร์ชี้เป้ามายังจุดที่ผู้บังคับบัญชากำลังประชุมกัน หลังจากนั้น มีระเบิดจำนวน ๑ ลูก ตกลงบริเวณที่ประชุมนายทหาร ทำให้เจ้าหน้าที่ทหารเสียชีวิต ๒ ราย ได้แก่
พันเอกร่มเกล้า ธุวธรรม และสิบโทภูริวัฒน์ ประพันธ์ นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกจำนวนมาก...”
3) ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ความจริง แต่อยู่ที่การไม่ยอมรับความจริง
ไม่ต้องการยอมรับความจริงว่ามีกองกำลังชุดดำออกปฏิบัติการ ตามแนวทางที่แกนนำเสื้อแดงเคยประกาศไว้ล่วงหน้าว่าจะมีมวลชน พรรคการเมือง และกองกำลังติดอาวุธหนุนหลังขบวนการเสื้อแดง
ถ้ามั่นใจว่าไม่จริง ก็ไม่ควรยอมให้ ส.ส.เพื่อไทยใช้เสียงข้างมากลากไป ออกกฎหมายนิรโทษกรรมแก่กองกำลังชุดดำที่ฆ่าทหาร ฆ่าประชาชน
4) ท่าทีของคนเสื้อแดงจำนวนหนึ่งที่พยายามจะไม่ยอมรับความจริง จึงมองได้ 2 ทาง
(1) เป็นคนพาล ที่ไม่ยอมรับอะไรก็ตามที่ไม่ได้ดั่งใจตัวเอง ไม่สนใจความถูกต้อง เห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ ไม่ว่าจะพาลโดยสันดาน หรือรับจ้างพาล
(2) เป็นพวกมีอาการทางจิต หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นโรคจิต
“โรคจิต” เป็นการเจ็บป่วยทางจิตใจแบบหนึ่ง เป็นโรคของความคิดที่ผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีความเชื่อ มีพฤติกรรม มีการกระทำที่ผิดไปจากคนปกติทั่วไป และความเชื่อนั้นไม่สามารถอธิบายได้ตามหลักของความจริง แต่ผู้ป่วยก็เชื่ออย่างสนิทใจกับความเชื่อของตน เข้าลักษณะอาการหลงผิด หรือ “Delusion” เชื่ออย่างผิดๆ และเชื่ออย่างฝังแน่น หรือ “False Belief and Fix”
ในทางวิชาการ โรคจิตหลงผิดมีหลายประเภท เช่น Erotomanic type หลงผิดว่าบุคคลอื่นมาหลงรักตนเอง, Grandiose type หลงผิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าผู้อื่น มีความหยั่งรู้พิเศษ มีอำนาจ, Jealous type หลงผิดว่าคู่ครองของตนนอกใจ, Persecutory type ระแวงว่าตนถูกกลั่นแกล้ง หมายเอาชีวิต ฯลฯ
น่าคิดว่า พวกโรคจิตประเภทหลงผิดนั้น มีอยู่มากมายเพียงใด ไล่ดูตั้งแต่ปลายแถวจนถึงระดับคนทางไกล
ที่มา:http://www.naewna.com/politic/columnist/8125
ปล.ผมว่าพวกขรี้ข้าไอ้แม้ว...มีครบทั้ง 2 ข้อ..เอิ๊ก ๆ ๆ