@ สาเหตุประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีงานบรรณาธิการก็คือ ในระหว่างที่เขียนผู้เขียนไม่เคยอ่านออกเสียงเลย จึงไม่ได้ยินเสียงที่ตัวเองเขียน เลยทำให้งานเขียนอาจจะมีความผิดพลาดได้
@ ผู้ที่ทำงานบรรณาธิการจะต้องเรียนรู้ทั้งประสบการณ์ด้านการเขียนและการอ่าน บรรณาธิการคือบุคคลผู้รับผิดชอบในการจัดการและควบคุมเนื้อหาทั้งหมดที่นำเสนอออกมา เป็นผู้ที่ดูแลต้นฉบับให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องก่อนที่จะนำงานเขียนนั้นออกสู่สาธารณะชน
@ ความสมบูรณ์ของต้นฉบับคือ มีความถูกต้องและมีข้อเท็จจริง มีประเด็นตรงกับหัวข้อที่นำเสนอ ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้อง มีรูปแบบของการเขียนที่ถูกต้องมีการใช้วรรค ตอน และย่อหน้าอย่างเหมาะสม เนื้อหาไม่ควรยืดเยื้อจนเกินไป อะไรที่ควรตัดได้ก็ควรตัดทิ้งไป
@ อาชีพนักเขียนกับอาชีพบรรณาธิการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าทำงานคนละหน้าที่กัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งนักเขียนและผู้ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการต้องมีก็คือ มีจิตใจที่อยากจะเป็นผู้นำเสนอที่ดี ผู้เขียนอยากเขียนแต่เรื่องที่ดี บรรณาธิการก็อยากจะนำเสนอแต่เรื่องที่ดี ๆ ให้แก่ผู้อ่าน รวมทั้งต้องคิดว่างานบรรณาธิการนั้นเป็นงานที่มีเกียรติ ดังนั้นบรรณาธิการจึงควรให้เกียรติแก่ผู้อ่านด้วย
@ หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าคนนั้นมีความผูกพันกับหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากเป็นหนังสือที่ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นมิตร รวมทั้งมีความประทับใจในหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย (อาจจะเป็นความชอบส่วนตัวของผู้อ่านคนนั้นก็ได้)
@ งานบรรณาธิการไม่ใช่แค่งานพิสูจน์อักษร จริง ๆ แล้วเป็นงานที่ครอบคลุมความสมบูรณ์ทั้งหมดของงานเขียน ครอบคลุมแนวคิดในการนำเสนอของงานเขียนนั้น ๆ ด้วย
@ งานบรรณาธิการถือว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สามารถสร้างวัฒนธรรมมวลชนขึ้นมาได้ ดังนั้นบรรณาธิการควรให้ความสำคัญแก่สังคมด้วย
@ การทำหนังสือก็คือการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หนังสือนั้นประกอบไปด้วย รูปแบบ + เนื้อหา โดยมีบรรณาธิการเป็นผู้กำหนดแนวทางของหนังสือ ผู้อ่านจึงใช้หนังสือเป็นครูได้ เนื่องจากหนังสือเป็นการรวบรวมความรู้ที่ศึกษามาจากหนังสือเล่มต่าง ๆ หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้ว จนกระทั่งเขียนออกมาเป็นหนังสือจึงถือว่าเป็นการผ่านขั้นตอนการคิดมาแล้ว
@ บรรณาธิการต้องรู้ถึงขบวนการต่าง ๆ ในการทำหนังสือทั้งหมด ต้องรู้ถึงเทคนิคการพิมพ์ รู้เรื่องกระดาษที่จะใช้พิมพ์ อาจจะต้องรู้ซึ้งถึงขนาดที่ว่า ต้องรู้จักคุณสมบัติของกระดาษประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาพิมพ์เป็นหนังสือด้วย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นต้องคำนึงเอาไว้ด้วยว่า ทุกอย่างต้องสามารถเอาใส่เข้าปากได้ เพราะว่าเด็กเล็กมักจะเอาสิ่งของทุกอย่างใส่เข้าปาก ดังนั้นกระดาษหรือวัสดุที่นำมาใช้ทำหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกายของเด็ก
@ ความรู้ในโลกนี้มีอยู่ 2 ประการคือ 1.ความรู้ที่เรารู้แล้ว 2.ความรู้ที่เราไม่รู้ ในกรณีที่เป็นความรู้ที่เราไม่รู้ เราควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ในส่วนกรณีที่เป็นความรู้ที่เรารู้แล้วเราก็ยิ่งควรจะศึกษาเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ของเราไปเรื่อย ๆ
@ นักเขียนที่ดีควรต้องแสวงหาบรรณาธิการเป็นของตนเอง บรรณาธิการเปรียบเสมือนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชของนักเขียน นักเขียนต้องใช้บรรณาธิการที่ดีที่มีความรู้ความสามารถ จึงจะทำให้งานเขียนนั้นมีประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้น
@ งานเขียนที่ดีควรจะมีลูกเล่น มีลีลา และควรใส่ความรู้สึกที่ดีลงไปในงานเขียนนั้นด้วย
@ บรรณาธิการไม่ควรแก้ต้นฉบับด้วยหมึกสีแดง เพราะว่าในทางจิตวิทยานั้นหมึกสีแดงให้ความรู้สึกว่าผิดหรือโดนตำหนิ ควรใช้หมึกสีเขียวน่าจะดีกว่า ทั้งนี้ในเวลาที่บรรณาธิการได้ทำการแก้ไขต้นฉบับแล้วควรจะพูดอธิบายให้นักเขียนเข้าใจด้วยว่า สาเหตุที่แก้ไขงานเขียนตรงจุดนั้นจุดนี้เพราะว่าอะไร?
@ แต่ถ้าเป็นงานบรรณาธิการแปล (ผู้ทำหน้าที่บรรณาธิการให้แก่งานเขียนที่ถูกแปลจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง) ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการไม่มีสิทธิ์ที่จะแก้ไขต้นฉบับเลย ทำได้แค่ทำให้ต้นฉบับนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
@ งานเขียนที่เป็นเรื่องที่ดีนั้นคือ 1.เป็นเรื่องที่มีความถูกต้อง มีข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน 2.เป็นเรื่องที่มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องเหมาะสมในสังคม เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความรัก เล่าเรื่องด้วยความรัก ไม่ใช่งานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความเกลียดชัง
@ นักเขียนจึงควรจำไว้เสมอว่า “อย่าเขียนด้วยความเกลียดอย่างเด็ดขาด”
@ สำหรับงานเขียนที่เป็นงานวิจารณ์นั้น ควรเป็นงานเขียนเพื่อการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล อย่าวิจารณ์ด้วยอารมณ์ การวิจารณ์ไม่ใช่การบ่อนทำลายแต่เป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขให้ถูกต้องขึ้น
@ ในงานสื่อนั้น ทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการจะต้องมีทัศนะคติที่ดี พร้อมรับผิดชอบต่อผลงานที่ถูกนำเสนอออกสู่สาธารณะชน
@ ทั้งนักเขียนและบรรณาธิการต้องมีความภูมิใจในอาชีพของตนเอง มีศรัทธาในอาชีพ ควรทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างสรรค์งานที่ดีที่สุดก่อนที่จะปล่อยผลงานนั้นออกมา
@ จงจำไว้เสมอว่า “อย่าทำตัวเป็นแค่คนส่งสาร”
@@@@@@@@@@@@@@@
ข้อความทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นองค์ความรู้ที่ผมได้รับมาจากงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ” ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) รวมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยเป็นหัวข้อความรู้ที่ผมจดรวบรวมมาจากการได้เข้าร่วมฟังงานเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งผมอาจจะฟังและจดรวบรวมมาได้ไม่ครบถ้วนและถูกต้องทั้งหมด แต่ผมก็พยายามอย่างดีที่สุดที่จะบันทึกความรู้ทั้งหมดที่ได้รับเพื่อเก็บเอาไว้ในสำหรับการพัฒนางานเขียนของตัวผมเอง รวมทั้งการที่ผมนำมาเผยแพร่ในกระทู้นี้ก็เผื่อว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทั้งในเรื่องงานเขียนและงานบรรณาธิการด้วยครับ
ทั้งนี้ผมต้องขอขอบพระคุณวิทยากรทั้ง 4 ท่าน อันได้แก่ อ.มกุฏ อรฤดี เจ้าของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ , คุณบินหลา สันกาลาคีรี บรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์ , คุณทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร a day , อ. พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง อ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นวิทยากรผู้ดำเนินรายการ ที่ได้บรรยายให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ประกอบอาชีพในภายภาคหน้า รวมทั้งขอขอบพระคุณนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดงานเสวนาที่มีประโยชน์ในครั้งนี้ด้วยครับ
ความรู้ที่ได้รับจากงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ”
@ สาเหตุประการหนึ่งที่จำเป็นต้องมีงานบรรณาธิการก็คือ ในระหว่างที่เขียนผู้เขียนไม่เคยอ่านออกเสียงเลย จึงไม่ได้ยินเสียงที่ตัวเองเขียน เลยทำให้งานเขียนอาจจะมีความผิดพลาดได้
@ ผู้ที่ทำงานบรรณาธิการจะต้องเรียนรู้ทั้งประสบการณ์ด้านการเขียนและการอ่าน บรรณาธิการคือบุคคลผู้รับผิดชอบในการจัดการและควบคุมเนื้อหาทั้งหมดที่นำเสนอออกมา เป็นผู้ที่ดูแลต้นฉบับให้มีความสมบูรณ์และถูกต้องก่อนที่จะนำงานเขียนนั้นออกสู่สาธารณะชน
@ ความสมบูรณ์ของต้นฉบับคือ มีความถูกต้องและมีข้อเท็จจริง มีประเด็นตรงกับหัวข้อที่นำเสนอ ใช้ภาษาในการสื่อสารได้ถูกต้อง มีรูปแบบของการเขียนที่ถูกต้องมีการใช้วรรค ตอน และย่อหน้าอย่างเหมาะสม เนื้อหาไม่ควรยืดเยื้อจนเกินไป อะไรที่ควรตัดได้ก็ควรตัดทิ้งไป
@ อาชีพนักเขียนกับอาชีพบรรณาธิการแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะว่าทำงานคนละหน้าที่กัน แต่สิ่งหนึ่งที่ทั้งนักเขียนและผู้ที่ทำหน้าที่บรรณาธิการต้องมีก็คือ มีจิตใจที่อยากจะเป็นผู้นำเสนอที่ดี ผู้เขียนอยากเขียนแต่เรื่องที่ดี บรรณาธิการก็อยากจะนำเสนอแต่เรื่องที่ดี ๆ ให้แก่ผู้อ่าน รวมทั้งต้องคิดว่างานบรรณาธิการนั้นเป็นงานที่มีเกียรติ ดังนั้นบรรณาธิการจึงควรให้เกียรติแก่ผู้อ่านด้วย
@ หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าเป็นหนังสือที่ให้ความรู้ให้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่หนังสือบางเล่มที่คนสะสมไว้ก็เพราะว่าคนนั้นมีความผูกพันกับหนังสือเล่มนั้น เนื่องจากเป็นหนังสือที่ให้ความรู้สึกที่ดีและเป็นมิตร รวมทั้งมีความประทับใจในหนังสือเล่มนั้น ๆ ด้วย (อาจจะเป็นความชอบส่วนตัวของผู้อ่านคนนั้นก็ได้)
@ งานบรรณาธิการไม่ใช่แค่งานพิสูจน์อักษร จริง ๆ แล้วเป็นงานที่ครอบคลุมความสมบูรณ์ทั้งหมดของงานเขียน ครอบคลุมแนวคิดในการนำเสนอของงานเขียนนั้น ๆ ด้วย
@ งานบรรณาธิการถือว่าเป็นผู้ทรงอิทธิพลที่สามารถสร้างวัฒนธรรมมวลชนขึ้นมาได้ ดังนั้นบรรณาธิการควรให้ความสำคัญแก่สังคมด้วย
@ การทำหนังสือก็คือการสื่อสารจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง หนังสือนั้นประกอบไปด้วย รูปแบบ + เนื้อหา โดยมีบรรณาธิการเป็นผู้กำหนดแนวทางของหนังสือ ผู้อ่านจึงใช้หนังสือเป็นครูได้ เนื่องจากหนังสือเป็นการรวบรวมความรู้ที่ศึกษามาจากหนังสือเล่มต่าง ๆ หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ แล้ว จนกระทั่งเขียนออกมาเป็นหนังสือจึงถือว่าเป็นการผ่านขั้นตอนการคิดมาแล้ว
@ บรรณาธิการต้องรู้ถึงขบวนการต่าง ๆ ในการทำหนังสือทั้งหมด ต้องรู้ถึงเทคนิคการพิมพ์ รู้เรื่องกระดาษที่จะใช้พิมพ์ อาจจะต้องรู้ซึ้งถึงขนาดที่ว่า ต้องรู้จักคุณสมบัติของกระดาษประเภทต่าง ๆ ที่จะนำมาพิมพ์เป็นหนังสือด้วย ยกตัวอย่างเช่น การผลิตหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นต้องคำนึงเอาไว้ด้วยว่า ทุกอย่างต้องสามารถเอาใส่เข้าปากได้ เพราะว่าเด็กเล็กมักจะเอาสิ่งของทุกอย่างใส่เข้าปาก ดังนั้นกระดาษหรือวัสดุที่นำมาใช้ทำหนังสือสำหรับเด็กเล็กนั้นจะต้องไม่เป็นพิษต่อร่างกายของเด็ก
@ ความรู้ในโลกนี้มีอยู่ 2 ประการคือ 1.ความรู้ที่เรารู้แล้ว 2.ความรู้ที่เราไม่รู้ ในกรณีที่เป็นความรู้ที่เราไม่รู้ เราควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ในส่วนกรณีที่เป็นความรู้ที่เรารู้แล้วเราก็ยิ่งควรจะศึกษาเพิ่มเติมเพื่อต่อยอดองค์ความรู้ของเราไปเรื่อย ๆ
@ นักเขียนที่ดีควรต้องแสวงหาบรรณาธิการเป็นของตนเอง บรรณาธิการเปรียบเสมือนผู้ที่ทำหน้าที่เป็นโค้ชของนักเขียน นักเขียนต้องใช้บรรณาธิการที่ดีที่มีความรู้ความสามารถ จึงจะทำให้งานเขียนนั้นมีประสิทธิภาพในการสื่อสารที่ดีมากยิ่งขึ้น
@ งานเขียนที่ดีควรจะมีลูกเล่น มีลีลา และควรใส่ความรู้สึกที่ดีลงไปในงานเขียนนั้นด้วย
@ บรรณาธิการไม่ควรแก้ต้นฉบับด้วยหมึกสีแดง เพราะว่าในทางจิตวิทยานั้นหมึกสีแดงให้ความรู้สึกว่าผิดหรือโดนตำหนิ ควรใช้หมึกสีเขียวน่าจะดีกว่า ทั้งนี้ในเวลาที่บรรณาธิการได้ทำการแก้ไขต้นฉบับแล้วควรจะพูดอธิบายให้นักเขียนเข้าใจด้วยว่า สาเหตุที่แก้ไขงานเขียนตรงจุดนั้นจุดนี้เพราะว่าอะไร?
@ แต่ถ้าเป็นงานบรรณาธิการแปล (ผู้ทำหน้าที่บรรณาธิการให้แก่งานเขียนที่ถูกแปลจากภาษาหนึ่งมาเป็นอีกภาษาหนึ่ง) ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการไม่มีสิทธิ์ที่จะแก้ไขต้นฉบับเลย ทำได้แค่ทำให้ต้นฉบับนั้นมีความสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
@ งานเขียนที่เป็นเรื่องที่ดีนั้นคือ 1.เป็นเรื่องที่มีความถูกต้อง มีข้อมูลถูกต้องและครบถ้วน 2.เป็นเรื่องที่มีทัศนคติที่ดีและถูกต้องเหมาะสมในสังคม เป็นงานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความรัก เล่าเรื่องด้วยความรัก ไม่ใช่งานเขียนที่เขียนขึ้นด้วยความเกลียดชัง
@ นักเขียนจึงควรจำไว้เสมอว่า “อย่าเขียนด้วยความเกลียดอย่างเด็ดขาด”
@ สำหรับงานเขียนที่เป็นงานวิจารณ์นั้น ควรเป็นงานเขียนเพื่อการวิจารณ์อย่างสร้างสรรค์และมีเหตุผล อย่าวิจารณ์ด้วยอารมณ์ การวิจารณ์ไม่ใช่การบ่อนทำลายแต่เป็นการกระตุ้นเพื่อให้เกิดการแก้ไขให้ถูกต้องขึ้น
@ ในงานสื่อนั้น ทั้งผู้เขียนและบรรณาธิการจะต้องมีทัศนะคติที่ดี พร้อมรับผิดชอบต่อผลงานที่ถูกนำเสนอออกสู่สาธารณะชน
@ ทั้งนักเขียนและบรรณาธิการต้องมีความภูมิใจในอาชีพของตนเอง มีศรัทธาในอาชีพ ควรทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างสรรค์งานที่ดีที่สุดก่อนที่จะปล่อยผลงานนั้นออกมา
@ จงจำไว้เสมอว่า “อย่าทำตัวเป็นแค่คนส่งสาร”
@@@@@@@@@@@@@@@
ข้อความทั้งหมดข้างต้นนี้เป็นองค์ความรู้ที่ผมได้รับมาจากงานเสวนาในหัวข้อ “บทบาทบรรณาธิการในงานสื่อ” ซึ่งจัดขึ้นโดยนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) รวมกับคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยเป็นหัวข้อความรู้ที่ผมจดรวบรวมมาจากการได้เข้าร่วมฟังงานเสวนาในครั้งนี้ ซึ่งผมอาจจะฟังและจดรวบรวมมาได้ไม่ครบถ้วนและถูกต้องทั้งหมด แต่ผมก็พยายามอย่างดีที่สุดที่จะบันทึกความรู้ทั้งหมดที่ได้รับเพื่อเก็บเอาไว้ในสำหรับการพัฒนางานเขียนของตัวผมเอง รวมทั้งการที่ผมนำมาเผยแพร่ในกระทู้นี้ก็เผื่อว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจทั้งในเรื่องงานเขียนและงานบรรณาธิการด้วยครับ
ทั้งนี้ผมต้องขอขอบพระคุณวิทยากรทั้ง 4 ท่าน อันได้แก่ อ.มกุฏ อรฤดี เจ้าของสำนักพิมพ์ผีเสื้อ , คุณบินหลา สันกาลาคีรี บรรณาธิการนิตยสารไรท์เตอร์ , คุณทรงกลด บางยี่ขัน บรรณาธิการนิตยสาร a day , อ. พรรณพิมล นาคนาวา อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมทั้ง อ.พิจิตรา ศุภสวัสดิ์กุล ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นวิทยากรผู้ดำเนินรายการ ที่ได้บรรยายให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้ประกอบอาชีพในภายภาคหน้า รวมทั้งขอขอบพระคุณนิตยสารไรท์เตอร์ (WRITER) และคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่จัดงานเสวนาที่มีประโยชน์ในครั้งนี้ด้วยครับ