เมื่อปี 2552 ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหลกว่า 3 แสนลิตร ที่แปลงขุดเจาะน้ำมันดิบมอนทารา ทะเลติมอร์ ใช้เวลา 3 เดือนในการกำจัดคราบน้ำมัน ถูกรัฐบาลอินโดนีเซีย เรียกค่าเสียหาย 36,000 ล้านบาท
สังคมเริ่มตั้งคำถาม ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหล “5 หมื่นลิตร จริงหรือไม่?” นักวิชาการเปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม ที่ ปตท. เคยทำน้ำมันรั่วเมื่อปี 52 ที่ทะเลติมอร์ กับครั้งนี้ โดยตั้งข้อสังเกตุว่า ปตท. อาจทำน้ำรั่วไหลมากกว่า 5 หมื่นลิตร อาจจะสูงถึง 2 แสนลิตร อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อนุมัติให้ใช้สาร "ซิลิกอน" (สารกำจัดคราบน้ำมัน) 5 พันลิตร เพียง 1 ครั้ง โดยคุณสมบัติของสารนี้ ให้ใช้ในอัตรา 1 ต่อ 10 เมื่อ ปตท. บอกว่ารั่วไหล 5 หมื่นลิตร จึงให้ใช้แค่ 5 พันลิตร ปตท. ใช้เครื่องบิน C130 โปรยสาร "ซิลิกอน" 32,000 ลิตร หากใช้อัตรา 1 ต่อ 10 แสดงว่า ปตท. อาจทำน้ำมันรั่วไหล เป็นปริมาณถึง 3 แสนลิตร
ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลสูง ส่งผลถึง "เงินค่าปรับ ค่าชดเชย ค่าฟื้นฟูธรรมชาติ" เช่นเดียวกับบริษัทน้ำมันทั่วโลกเคยโดนมาแล้ว บริษัท เชฟรอน ทำน้ำมันรั่วที่บราซิล บริษัทเอ็กซ์ซอน โมบิล ทำน้ำมันรั่วที่อลาสก้า บริษัท บีพี ปิโตรเลียม ทำน้ำมันรั่วที่อ่าวแม็กซิโก ทุกบริษัทถูกปรับ เป็นจำนวนเงินสูง ตามปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล
เมื่อ ปตท. เป็นบริษัท "ยักษ์ใหญ่" ระดับโลก เช่นเดียวกับบริษัทน้ำมันอื่นๆ การพูดความจริงว่า ปริมาณน้ำมันรั่วไหลเท่าใด ย่อมมีผลกระทบต่อ "เงินค่าปรับ ค่าชดเชย และค่าฟื้นฟูธรรมชาติ" สูงขึ้น เรื่องนี้เป็นสากลทั่วโลก ที่ความเสียหายมาก จำนวนค่าปรับต้องสูงมาก
แต่สำหรับประเทศไทย มี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" กันอยู่ แม้แต่ "นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี" รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอดีตก่อนมารับตำแหน่งรัฐมนตรี ยังเคยเป็น "ประธานบอร์ด ปตท.”
หากผมเปรียบเทียบว่า ชาวบ้านหนึ่งคน ฐานะยากจน ไปตัดไม้ใน "ป่าสงวน" 1 ต้น เพื่อนำไม้มาทำเป็น "ฟืนหุงหาอาหาร" ถูกตำรวจจับติดคุก ข้อหา "ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ" ส่วน ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหลลงทะเล สร้างความเสียหายต่อ "ทรัพยากรธรรมชาติ" มหาศาล ทั้ง 2 กรณี "ไม่เจตนา" เหมือนกัน แต่ชาวบ้านทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ท้องมันหิว ต้องเลี้ยงดูครอบครัว ส่วน ปตท. นายทุนระดับโลก แม้แต่ความจริงยังปกปิดไว้ เพราะเกรงว่าจะต้องจ่ายค่าปรับในจำนวนที่สูง ตามปริมาณที่รั่วไหล
ที่ประเทศไทย "ชาวบ้าน" กับ "นายทุน" สิทธิมันแตกต่างกันอย่างนี้นี่เอง
https://www.facebook.com/ChuvitOnline
ชูวิทย์ กับ เรื่องปตท. ทำน้ำมันรั่วไหล “5 หมื่นลิตร จริงหรือไม่?
เมื่อปี 2552 ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหลกว่า 3 แสนลิตร ที่แปลงขุดเจาะน้ำมันดิบมอนทารา ทะเลติมอร์ ใช้เวลา 3 เดือนในการกำจัดคราบน้ำมัน ถูกรัฐบาลอินโดนีเซีย เรียกค่าเสียหาย 36,000 ล้านบาท
สังคมเริ่มตั้งคำถาม ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหล “5 หมื่นลิตร จริงหรือไม่?” นักวิชาการเปรียบเทียบภาพถ่ายดาวเทียม ที่ ปตท. เคยทำน้ำมันรั่วเมื่อปี 52 ที่ทะเลติมอร์ กับครั้งนี้ โดยตั้งข้อสังเกตุว่า ปตท. อาจทำน้ำรั่วไหลมากกว่า 5 หมื่นลิตร อาจจะสูงถึง 2 แสนลิตร อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ อนุมัติให้ใช้สาร "ซิลิกอน" (สารกำจัดคราบน้ำมัน) 5 พันลิตร เพียง 1 ครั้ง โดยคุณสมบัติของสารนี้ ให้ใช้ในอัตรา 1 ต่อ 10 เมื่อ ปตท. บอกว่ารั่วไหล 5 หมื่นลิตร จึงให้ใช้แค่ 5 พันลิตร ปตท. ใช้เครื่องบิน C130 โปรยสาร "ซิลิกอน" 32,000 ลิตร หากใช้อัตรา 1 ต่อ 10 แสดงว่า ปตท. อาจทำน้ำมันรั่วไหล เป็นปริมาณถึง 3 แสนลิตร
ปริมาณน้ำมันที่รั่วไหลสูง ส่งผลถึง "เงินค่าปรับ ค่าชดเชย ค่าฟื้นฟูธรรมชาติ" เช่นเดียวกับบริษัทน้ำมันทั่วโลกเคยโดนมาแล้ว บริษัท เชฟรอน ทำน้ำมันรั่วที่บราซิล บริษัทเอ็กซ์ซอน โมบิล ทำน้ำมันรั่วที่อลาสก้า บริษัท บีพี ปิโตรเลียม ทำน้ำมันรั่วที่อ่าวแม็กซิโก ทุกบริษัทถูกปรับ เป็นจำนวนเงินสูง ตามปริมาณน้ำมันที่รั่วไหล
เมื่อ ปตท. เป็นบริษัท "ยักษ์ใหญ่" ระดับโลก เช่นเดียวกับบริษัทน้ำมันอื่นๆ การพูดความจริงว่า ปริมาณน้ำมันรั่วไหลเท่าใด ย่อมมีผลกระทบต่อ "เงินค่าปรับ ค่าชดเชย และค่าฟื้นฟูธรรมชาติ" สูงขึ้น เรื่องนี้เป็นสากลทั่วโลก ที่ความเสียหายมาก จำนวนค่าปรับต้องสูงมาก
แต่สำหรับประเทศไทย มี "ผลประโยชน์ทับซ้อน" กันอยู่ แม้แต่ "นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี" รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในอดีตก่อนมารับตำแหน่งรัฐมนตรี ยังเคยเป็น "ประธานบอร์ด ปตท.”
หากผมเปรียบเทียบว่า ชาวบ้านหนึ่งคน ฐานะยากจน ไปตัดไม้ใน "ป่าสงวน" 1 ต้น เพื่อนำไม้มาทำเป็น "ฟืนหุงหาอาหาร" ถูกตำรวจจับติดคุก ข้อหา "ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ" ส่วน ปตท. ทำน้ำมันรั่วไหลลงทะเล สร้างความเสียหายต่อ "ทรัพยากรธรรมชาติ" มหาศาล ทั้ง 2 กรณี "ไม่เจตนา" เหมือนกัน แต่ชาวบ้านทำด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ท้องมันหิว ต้องเลี้ยงดูครอบครัว ส่วน ปตท. นายทุนระดับโลก แม้แต่ความจริงยังปกปิดไว้ เพราะเกรงว่าจะต้องจ่ายค่าปรับในจำนวนที่สูง ตามปริมาณที่รั่วไหล
ที่ประเทศไทย "ชาวบ้าน" กับ "นายทุน" สิทธิมันแตกต่างกันอย่างนี้นี่เอง
https://www.facebook.com/ChuvitOnline