วิจารณ์หนังพี่มากพระโขนง

วิจารณ์แบบตามทฤษฎีการเล่าเรื่อง (Narrative Theory)
โครงสร้าง (Plot)
พี่มากพระโขนงในภาคนี้ยังคงมีพื้นฐานเดิมที่คล้ายๆกับนางนากที่ยังคงเน้นเรื่องราวของความรักระหว่างแม่นากกับพี่มากและความสยองขวัญแต่ในแต่มีเพิ่มความตลกขบขันและเรื่องราวความรักของมากและแม่นากที่เข้มข้นมากยิ่งขึ้นแต่ยังคงความน่ากลัวในรูปแบบของหนังผี
ความขัดแย้ง (Conflict)
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในภาพยนตร์เรื่องนี้คือความขัดแย้งระหว่างผีกับมนุษย์ซึ่งผู้กำกับอยากจะสื่อให้เห็นออกมาว่าความรักไม่มีขอบเขตอย่างเช่นภาพยนตร์เรื่องนี้จะชี้ให้เห็นว่าผีกับมนุษย์ก็สามารถรักกันได้แต่ในความเป็นจริงแล้วความรักแบบนี้ไม่สามารถเป็นไปได้และสุดท้ายความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์เองคือพี่มากกับเพื่อนพี่มากที่พี่มากไม่ยอมรับรู้และรับฟังในสิ่งที่เพื่อนพี่มากพยายามจะบอกว่าแม่นาคเป็นผีไปแล้ว

ตัวละคร (Character)        
           ถ้ากล่าวถึงตัวละครหลักอย่างพี่มากกับแม่นาค การแต่งกายจะแตกต่างจากภาคก่อนๆโดยสิ้นเชิง แม่นาคในภาคนี้จะเป็นผมยาว แต่ภาคก่อนจะเป็นผมสั้นเกรียนและภาษที่ใช้ของตัวละครในภาพยนตร์เรื่องนี้จะใช้ภาษาที่ดุเข้ากับยุคสมัยมากขึ้นจะเป็นความน่ารักของตัวพระ-นาง อย่างเช่นคำว่า เค้า ,ตัวเอง  เป็นต้น เพื่อให้หนังดูมีความน่าสนใจมากขึ้น ตัวละครอีกกลุ่มหนึ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก คือ แก๊ง 4 หนุ่มเพื่อนของพี่มากได้แก่ เต๋อ ,ชิน ,เผือก ,เอ ที่สามารถแย่งซีนและสร้างความโดดเด่นด้วยการใช้มุขตลก และเป็นมีกระแสตอบรับที่ดี
แก่นเรื่อง (Theme)
ในสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น เกิดสงครามจนทำให้ชาวบ้านจำนวนมากต้องถูกเกณฑ์ไปรบ "พี่มาก" จำต้องทิ้งเมียของเขาที่กำลังท้องแก่ไว้ที่บ้านเพื่อเข้าร่วมศึก ระหว่างสงคราม มากได้พบและช่วยชีวิตเพื่อนทหารเกณฑ์สี่คนคือ เต๋อ เผือก ชิน และเอ จนท้ายที่สุดทั้งห้าก็กลายมาเป็นเพื่อนสนิทกัน เมื่อสงครามยุติ มากจึงชวนให้ทั้งสี่ไปเยี่ยมบ้านของเขาที่พระโขนง
          เมื่อถึงพระโขนง มากแนะนำให้ เต๋อ เผือก ชิน และเอ รู้จักกับ "นางนาก" เมียสาวแสนสวยของเขา และยังมี "แดง" ลูกชายวัยแรกเกิดของมากด้วย เต๋อ เผือก ชิน และเอ ตัดสินใจอยู่ที่พระโขนงสักระยะโดยอาศัยที่บ้านหลังเก่าฝั่งตรงข้ามบ้านมาก
          ขณะนั้นมีข่าวลือหนาหูในหมู่ชาวบ้านว่านากเป็นผีตายทั้งกลม!! โดยต้นตอมาจากยายเปรียกเจ้าของร้านยาดองปั่น ทั้งสี่ไม่เชื่อ จึงพยายามพิสูจน์ด้วยวิธีการต่าง ๆ ต่อมายายเปรียกผู้ปล่อยข่าวลือเกิดจมน้ำตายลอยขึ้นอืดอย่างน่าสยดสยอง ทำให้เต๋อ เผือก ชิน และเอ ปักใจเชื่อว่านากเป็นผีแน่ ๆ
          ทั้งสี่ไม่กล้าบอกมากตรง ๆ เนื่องจากกลัวจะต้องพบจุดจบแบบเดียวกับยายเปรียก แต่เมื่อนึกถึงบุญคุณที่มากเคยช่วยชีวิต พวกเขาจึงต้องตัดสินใจบอกความจริงให้มากรู้ "เพราะคนกับผีอยู่ร่วมกันไม่ได้"




ฉาก (Setting)
ฉากนี้เป็นซีนที่พระนางไปเดินเล่นกันที่งานวัด แล้วเพื่อนพี่มาก ก็ตามไปเพื่อจะบอกความจริงบางอย่าง ซึ่งบรรยากาศการถ่ายทำดูสนุกสนาน มีชาวบ้านแต่งตัวโบราณมาเข้าฉากกันอย่างเนืองแน่น ฉากบ้านผีสิง  ที่ทั้ง เชน, บอมบ์, เผือก, ฟรอยด์ ต้องแปลงร่างกลายเป็น  ผีตานี  ผีกระหัง ผีปอบ และกุมารทอง  แถมยังต้องวิ่งหนีออกมาจากบ้านผีสิง  ซึ่งต้องมีการวิ่งฝ่าทะลุกำแพงออกมา
ฉากงานวัดยังมีไฮไลท์ของงานคือชิงช้าสวรรค์เพื่อโชว์ซีนซึ้งๆ เพื่อให้ได้เห็นมุมสวยๆ จากข้างบน ถือเป็นฉากสำคัญของเรื่องที่โรแมนติกสุดๆ ซึ่งทั้งคู่ต้องรับ-ส่งอารมณ์ส่งสายตากันอย่างเต็มที่
มุมมองในการเล่าเรื่อง(Point of view)
    แต่ละตัวละครมีมุงมองและพฤติกรรมแตกต่างกันไป แม่นาคสามารถสื่ออารมณ์ได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะฉากร้องไห้สามารถสะกดคนดูให้คล้อยตามไปและอีกตัวละครที่สามารถเล่นมุขตลกจนคนดูอินไปกับการแสดงและหัวเราะตามได้อย่างฮากระจาย มุมมองของผู้กำกับเรื่องนี้สามารถให้แง่คิดกับคนดูได้หลายเรื่องราวไม่ว่าจะเป็น ความรัก ความเสียสละ ความสามัคคีของเพื่อนและความอดทนเพื่อคนที่เรารักมีการหักมุมหลายๆอย่างเพื่อให้คนดูเข้าใจผิดทำให้เดาได้ยากอีกว่าเรื่องราวจะเป็นยังไง













การวิจารณ์ตามแนวความคิดรูปแบบนิยม
    ใช้การเล่าเรื่องให้ผู้ชมเกิดความบันเทิงตลอดเรื่องได้อย่างเรื่อย ๆ โดยเน้นเรื่องราวไปทางความรักระหว่างคนกับผีพร้อมแผงมุขตลกขบขันมีเค้าโครงมาจากตำนานรักอมตะ ผีนางนาคที่มีความรักต่อพี่มากโดยส่วนใหญ่เรื่องราวของความน่ากลัวอาจจะน้อยลงแต่สิ่งที่ผู้กำกัลจะสื่อให้เห็น คือ ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการที่ได้แต่งเติมลงไปในตำนานบทเก่า ให้กลายเป็นภาพยนตร์ในรูปแบบร่วมสมัย
การใช้เทคนิค
ขนาด
ขนาดของภาพโดยส่วนใหญ่ของเรื่องจะเน้นภาพ     long shot และclose up เป็นส่วนใหญ่เพื่อสื่ออารมณ์ให้รู้สึกที่โศกเศร้าและความยิ่งใหญ่อย่างเช่นในฉากพระเอกกับนางเอกที่ต้องแสดงความรักต่อกันจึงต้องใช้ภาพ close up
มุมกล้อง
ใช้มุมกล้องในระดับสายตาเป็นส่วนใหญ่เพราะส่วนมากจะเป็นฉากสนทนากันและใช้มุมกล้องแบบซับเจ็คทีฟ เพื่อจะได้ดึงคนดูให้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วย
การเคลื่อนไหว
มีการ pan ในแนวระนาบเพื่อรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของตัวละคร เช่น ฉากวิ่งหนี  ฉากมองผี ความตื่นเต้นวุ่นวายสับสน
องค์ประกอบเพื่อสื่อความหมาย
ใช้การแต่งกายและทรงผมที่เป็นเอกลักษณ์เพื่อสร้างความน่าจดจำให้กับผู้ชมพร้อมกับฉากที่ดูสมจริงให้เหมือนกับเรื่องราวในสมัยนั้น พร้อมอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เรือที่เป็นฉากที่ต้องหนีผีแม่นาคพร้อมแฝงไปด้วยมุขตลก
การตัดต่อ
ตัดต่อเพื่อให้มรความรู้สึกกระตุ้นอารมณ์พร้อมการใช้Soundที่น่ากลัวเพื่อสร้างความตื่นเต้นของภาพยนตร์เรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา
ฉาก
มีการจัดฉากให้คล้ายให้เหตุการณ์ในสมัยนั้นจริงๆเช่น ฉากบ้านของแม่นาคที่ติดริมน้ำทำให้ดูแล้วมีความรู้สึกสมจริงมากยิ่งขึ้นกับฉากงานวัดที่แสดงให้เห็นถึงความอลังการของผู้กำกับเพื่อสื่อความหมายของความรักระหว่างพี่มากกับแม่นาค
นักแสดง
นักแสดงมีลักษณะนิสัยที่แตกต่างกันออกไปแต่สามารถมาเข้าฉากร่วมกันได้อย่างลงตัวพร้อมกับการเปลี่ยนบุคคลิคด้วยทรงผมที่โดดเด่นและแตกต่างกันออกไปเพื่อสร้างความน่าจดจำให้กับผู้ชมและรู้ว่าตัวละครตัวไหนชื่ออะไรบ้าง
แต่ถ้าดุพี่มากพระโขนงในภาคนี้แล้วทุกคนอาจจะมีมุมมองที่ไม่เหมือนกันและยังสงสัยว่าเป็นหนังแนวไหนเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ให้ความน่ากลัว สนุก ฮา ซึ้ง จนทำให้คนดูต้องน้ำตาไหล
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่