สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แถลงข่าวเปิดตัวค้นพบพรรณไม้หายาก พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า มะลิเฉลิมนรินทร์ ภายในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี 4-6 สิงหาคมนี้
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2556) นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.) ได้แถลงข่าวเตรียมเปิดตัว
"มะลิเฉลิมนรินทร์" โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum bhumibolianum Chalermglin พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555 โดยมีความหมายว่า
"มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน" โดยจะจัดแสดงมะลิเฉลิมนรินทร์ในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี วว. พร้อมได้จัดทำเข็มกลัดมะลิเฉลิมนรินทร์ เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในวันแม่แห่งชาติ โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้แก่สภากาชาดไทย ระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2556 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
สำหรับพรรณไม้ "มะลิเฉลิมนรินทร์" ถูกสำรวจพบเมื่อปี 2552 บริเวณเนินเขาหินปูนเตี้ย ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไม่สามารถระบุได้ว่าจังหวัดใด เพราะอาจเกิดปัญหาการลักลอบเข้าไปตัดเพื่อจำหน่าย หรือถูกทำลาย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในกรณีต้นชมพูภูคา จำปีสิรินธร หรือ มหาพรหมราชินีแล้ว
ผู้ค้นพบ คือ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. ร่วมกับนางสาวรูธ เคียว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะลิชาวอังกฤษ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในหอพรรณไม้ สถาบันวิจัยป่าไม้มาเลเซีย (Forest Research Institute of Malaysia หรือ FRIM) ประเทศมาเลเซีย และได้ร่วมเขียนรายงานเตรียมลงตีพิมพ์ในวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติบลูเมีย (Blumea) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554
ด้าน ดร.ปิยะ ผู้ค้นพบมะลิดังกล่าว เปิดเผยว่า มะลิเฉลิมนรินทร์ เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ จัดอยู่ในสกุลมะลิ วงศ์มะลิ มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากมะลิพื้นเมืองและมะลิชนิดอื่น ๆ คือ เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร กิ่งยอดเรียวเล็ก ใบหนา เหนียวสีเขียวเข้มเป็นมัน ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งยอดหรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก มีกลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็ง ขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ รองรับดอกสีขาวที่มีกลีบดอก 6-8 กลีบ และมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด มีผลกลมรี 1-2 ผล เมื่อสุกมีสีดำ ออกดอกบานในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ส่งกลิ่นหอมแรง มีผลแก่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม เป็นมะลิที่เจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับมะลิชนิดอื่น ๆ ในโลก
ที่ผ่านมา วว. ได้ทำการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์มะลิเฉลิมนรินทร์ เพื่อทำการอนุรักษ์พรรณไม้ดังกล่าว พบว่า สามารถใช้วิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำเพื่อขยายพันธุ์ไม้ดังกล่าวได้ ส่วนต้นกล้าที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ช้ากว่า เพราะออกดอกได้ต้องใช้เวลาถึง 2 ปีเลย
อย่างไรก็ตาม ทาง วว. จะนำมะลิเฉลิมนรินทร์ไปต่อยอดไปใช้ประโยชน์ เช่น สนับสนุนในการปลูกเป็นไม้ประดับ สกัดเอาน้ำมันหอมระเหย หรือสกัดหาสารออกฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้านมาช่วยกันศึกษาต่อไป
สถาบันวิจัย เปิดตัว ดอกมะลิพันธุ์ใหม่ ในหลวงพระราชทานนาม มะลิเฉลิมนรินทร์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แถลงข่าวเปิดตัวค้นพบพรรณไม้หายาก พันธุ์ไม้ชนิดใหม่ของโลก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า มะลิเฉลิมนรินทร์ ภายในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี 4-6 สิงหาคมนี้
วันนี้ (25 กรกฎาคม 2556) นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศ ไทย (วว.) ได้แถลงข่าวเตรียมเปิดตัว "มะลิเฉลิมนรินทร์" โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Jasminum bhumibolianum Chalermglin พรรณไม้ชนิดใหม่ของโลกที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อ 17 พฤศจิกายน 2555 โดยมีความหมายว่า "มะลิเฉลิมพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน" โดยจะจัดแสดงมะลิเฉลิมนรินทร์ในงานเปิดโลกทัศน์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 50 ปี วว. พร้อมได้จัดทำเข็มกลัดมะลิเฉลิมนรินทร์ เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในวันแม่แห่งชาติ โดยรายได้ส่วนหนึ่งจะนำไปมอบให้แก่สภากาชาดไทย ระหว่างวันที่ 4-6 สิงหาคม 2556 ณ ห้องคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์
สำหรับพรรณไม้ "มะลิเฉลิมนรินทร์" ถูกสำรวจพบเมื่อปี 2552 บริเวณเนินเขาหินปูนเตี้ย ๆ ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 715 เมตร ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ไม่สามารถระบุได้ว่าจังหวัดใด เพราะอาจเกิดปัญหาการลักลอบเข้าไปตัดเพื่อจำหน่าย หรือถูกทำลาย ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นในกรณีต้นชมพูภูคา จำปีสิรินธร หรือ มหาพรหมราชินีแล้ว
ผู้ค้นพบ คือ ดร.ปิยะ เฉลิมกลิ่น ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ วว. ร่วมกับนางสาวรูธ เคียว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องมะลิชาวอังกฤษ ซึ่งปฏิบัติงานอยู่ในหอพรรณไม้ สถาบันวิจัยป่าไม้มาเลเซีย (Forest Research Institute of Malaysia หรือ FRIM) ประเทศมาเลเซีย และได้ร่วมเขียนรายงานเตรียมลงตีพิมพ์ในวารสารการจำแนกพรรณไม้นานาชาติบลูเมีย (Blumea) ของประเทศเนเธอร์แลนด์ เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554
ด้าน ดร.ปิยะ ผู้ค้นพบมะลิดังกล่าว เปิดเผยว่า มะลิเฉลิมนรินทร์ เป็นพรรณไม้ถิ่นเดียวของประเทศไทยที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ จัดอยู่ในสกุลมะลิ วงศ์มะลิ มีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากมะลิพื้นเมืองและมะลิชนิดอื่น ๆ คือ เป็นไม้เถาเลื้อยได้ไกล 1-2 เมตร กิ่งยอดเรียวเล็ก ใบหนา เหนียวสีเขียวเข้มเป็นมัน ช่อดอกออกที่ปลายกิ่งยอดหรือปลายกิ่งข้าง มีดอกย่อย 7-13 ดอก มีกลีบเลี้ยง แหลม หนาแข็ง ขนาดใหญ่จำนวน 4-5 ซี่ รองรับดอกสีขาวที่มีกลีบดอก 6-8 กลีบ และมีกระเปาะเกสรเพศผู้สีเหลืองเด่นชัด มีผลกลมรี 1-2 ผล เมื่อสุกมีสีดำ ออกดอกบานในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงกันยายน ส่งกลิ่นหอมแรง มีผลแก่เดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม เป็นมะลิที่เจริญเติบโตช้าเมื่อเทียบกับมะลิชนิดอื่น ๆ ในโลก
ที่ผ่านมา วว. ได้ทำการศึกษาวิธีการขยายพันธุ์มะลิเฉลิมนรินทร์ เพื่อทำการอนุรักษ์พรรณไม้ดังกล่าว พบว่า สามารถใช้วิธีการเพาะเมล็ดและการปักชำเพื่อขยายพันธุ์ไม้ดังกล่าวได้ ส่วนต้นกล้าที่เกิดจากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ช้ากว่า เพราะออกดอกได้ต้องใช้เวลาถึง 2 ปีเลย
อย่างไรก็ตาม ทาง วว. จะนำมะลิเฉลิมนรินทร์ไปต่อยอดไปใช้ประโยชน์ เช่น สนับสนุนในการปลูกเป็นไม้ประดับ สกัดเอาน้ำมันหอมระเหย หรือสกัดหาสารออกฤทธิ์ไปใช้ประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญจากหลายด้านมาช่วยกันศึกษาต่อไป