อ่านตามข่าว
Dhammakaya Open University (DOU) สหรัฐอเมริกา
เนื้อข่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374848525&grpid=03&catid=19&subcatid=1903
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 ก.ค. 2556)
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการมอบนโยบาย รับฟังปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานของ สกอ. โดยมีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และผู้บริหารต้อนรับว่า ศธ.มีหน้าที่หลักในการพัฒนาคนเพื่อไปพัฒนาประเทศ ส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีความสำคัญ แม้จะเป็นปลายทางในการผลิตบุคลากรออกไปรับใช้สังคม จึงอยากให้ สกอ.ช่วยดูเรื่องการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลกมากขึ้น ไม่ใช่ติดแค่ 2-3 แห่งเท่านั้น ขณะเดียวกันพร้อมจะผลักดันการแปรญัตติเพิ่มงบประมาณให้มหาวิทยาลัยวิจัยทั้ง 9 แห่ง เพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ อยากให้สานต่อโครงการผลิตครู เพราะครูถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา รวมถึงเร่งรัดการจัดการศึกษาระบบทางไกลให้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ข้อมูลข่าวสารไปไกลมาก
นายเสริมศักดิ์กล่าวถึงความคืบหน้าในการปราบปรามวุฒิการศึกษาเถื่อนว่า จากที่ ศธ.มีนโยบายให้ สกอ.เร่งจัดการกับการจัดการศึกษาที่ไม่ได้คุณภาพ การแอบอ้างมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มาเปิดสอนในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และการปลอมแปลงวุฒิการศึกษาเถื่อนนั้น หลังจาก สกอ.ได้จัดตั้งศูนย์ปราบปรามวุฒิเถื่อน และให้ผู้ที่มีเบาะแสแจ้งข้อมูลมาที่ 0-2610-5200 ซึ่งในช่วงกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ส่งข้อมูลเข้ามายังศูนย์จำนวนมาก ทั้งนี้ จากการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของ สกอ.สามารถจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย และ สกอ.จะไม่รับรองวุฒิการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มหาวิทยาลัยที่อ้างว่าจัดการศึกษาร่วมกับต่างประเทศ คือ มหาวิทยาลัยอดัมสัน (Adamson University) ประเทศฟิลิปปินส์ International Academy of Management and Economics (IAME) สหรัฐอมริกา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูอิน (California Yuin University) สหรัฐอเมริกา และ Victoria University สมาพันธรัฐสวิส โดยมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ ทาง สกอ.จะตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เบื้องต้น สกอ.จะแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับทราบว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งนี้ จัดการศึกษาไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย และเป็นวุฒิที่ สกอ.จะไม่รับรอง
นายเสริมศักดิ์กล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 2 มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการรับรองจากต่างประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถสืบค้นต้นสังกัด ไม่มีตัวตน อาทิ มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก มหาวิทยาลัยโรชวิลล์ (Rochville University) มหาวิทยาลัยลาครอส (Lacrosse University) สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยสไปเซอร์ เมโมเรียล (Spicer Memorial College) สาธารณรัฐอินเดีย Islamic University of South Africa สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Intercultural Open University ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ Dhammakaya Open University (DOU) สหรัฐอเมริกา Darul Uloom Nadwatul Ulama สาธารณรัฐอินเดีย Institut Francais de la Mode สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจากการตรวจสอบของ สกอ.พบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากหน่วยงานที่รับรองวิทยฐานะของประเทศต่างๆ หรือไม่ได้จดทะเบียนกับ ศธ.ของประเทศนั้น สำหรับมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่ สกอ.จะไม่รับรองวุฒิการศึกษาเช่นกัน ทั้งนี้ สกอ.จะจัดทำเว็บเพจ "ศูนย์ปราบปรามวุฒิเถื่อน" เพื่อนำรายละเอียดของทั้ง 2 กลุ่ม ประกาศบนเว็บไซต์ของ สกอ. www.mua.go.th เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ และให้ประชาชนแจ้งเบาะแส
"ผมยังได้ประสานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และตำรวจท้องที่ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับมหาวิทยาลัยที่มีรายชื่อทั้งหมดที่ สกอ.ไม่รับรองวุฒิการศึกษา ให้ช่วยติดตามเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ สกอ.ยังได้รับแจ้งว่ามีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแอบอ้างว่าจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโทได้ โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้สั่งการให้ สกอ.ดำเนินการหาข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูล หลักฐาน และพิจารณาดำเนินการทางคดีกับผู้ประกอบการดังกล่าวต่อไป" นายเสริมศักดิ์กล่าว
สกอ.ขึ้นแบล๊กลิสต์ มหาวิทยาลัย 11 แห่ง (รวมมหาวิทยาลัยของธรรมกาย DOU)
Dhammakaya Open University (DOU) สหรัฐอเมริกา
เนื้อข่าว
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1374848525&grpid=03&catid=19&subcatid=1903
(ที่มา:มติชนรายวัน 26 ก.ค. 2556)
เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวในการมอบนโยบาย รับฟังปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินงานของ สกอ. โดยมีนายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) และผู้บริหารต้อนรับว่า ศธ.มีหน้าที่หลักในการพัฒนาคนเพื่อไปพัฒนาประเทศ ส่วนของมหาวิทยาลัยก็มีความสำคัญ แม้จะเป็นปลายทางในการผลิตบุคลากรออกไปรับใช้สังคม จึงอยากให้ สกอ.ช่วยดูเรื่องการพัฒนามหาวิทยาลัยให้ติดอันดับมหาวิทยาลัยโลกมากขึ้น ไม่ใช่ติดแค่ 2-3 แห่งเท่านั้น ขณะเดียวกันพร้อมจะผลักดันการแปรญัตติเพิ่มงบประมาณให้มหาวิทยาลัยวิจัยทั้ง 9 แห่ง เพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท นอกจากนี้ อยากให้สานต่อโครงการผลิตครู เพราะครูถือเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา รวมถึงเร่งรัดการจัดการศึกษาระบบทางไกลให้มากขึ้น เนื่องจากขณะนี้ข้อมูลข่าวสารไปไกลมาก
นายเสริมศักดิ์กล่าวถึงความคืบหน้าในการปราบปรามวุฒิการศึกษาเถื่อนว่า จากที่ ศธ.มีนโยบายให้ สกอ.เร่งจัดการกับการจัดการศึกษาที่ไม่ได้คุณภาพ การแอบอ้างมหาวิทยาลัยต่างประเทศที่มาเปิดสอนในประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต และการปลอมแปลงวุฒิการศึกษาเถื่อนนั้น หลังจาก สกอ.ได้จัดตั้งศูนย์ปราบปรามวุฒิเถื่อน และให้ผู้ที่มีเบาะแสแจ้งข้อมูลมาที่ 0-2610-5200 ซึ่งในช่วงกว่า 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ส่งข้อมูลเข้ามายังศูนย์จำนวนมาก ทั้งนี้ จากการดำเนินการตรวจสอบข้อมูลของ สกอ.สามารถจัดกลุ่มมหาวิทยาลัยที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย และ สกอ.จะไม่รับรองวุฒิการศึกษา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 มหาวิทยาลัยที่อ้างว่าจัดการศึกษาร่วมกับต่างประเทศ คือ มหาวิทยาลัยอดัมสัน (Adamson University) ประเทศฟิลิปปินส์ International Academy of Management and Economics (IAME) สหรัฐอมริกา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ยูอิน (California Yuin University) สหรัฐอเมริกา และ Victoria University สมาพันธรัฐสวิส โดยมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ ทาง สกอ.จะตรวจสอบอย่างใกล้ชิด เบื้องต้น สกอ.จะแจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับทราบว่ามหาวิทยาลัยทั้ง 4 แห่งนี้ จัดการศึกษาไม่ถูกต้องตามกฎหมายไทย และเป็นวุฒิที่ สกอ.จะไม่รับรอง
นายเสริมศักดิ์กล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 2 มหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการรับรองจากต่างประเทศ เป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่สามารถสืบค้นต้นสังกัด ไม่มีตัวตน อาทิ มหาวิทยาลัยสันติภาพโลก มหาวิทยาลัยโรชวิลล์ (Rochville University) มหาวิทยาลัยลาครอส (Lacrosse University) สหรัฐอเมริกา วิทยาลัยสไปเซอร์ เมโมเรียล (Spicer Memorial College) สาธารณรัฐอินเดีย Islamic University of South Africa สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ Intercultural Open University ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ Dhammakaya Open University (DOU) สหรัฐอเมริกา Darul Uloom Nadwatul Ulama สาธารณรัฐอินเดีย Institut Francais de la Mode สาธารณรัฐฝรั่งเศส ซึ่งจากการตรวจสอบของ สกอ.พบว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากหน่วยงานที่รับรองวิทยฐานะของประเทศต่างๆ หรือไม่ได้จดทะเบียนกับ ศธ.ของประเทศนั้น สำหรับมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้อยู่ในข่ายที่ สกอ.จะไม่รับรองวุฒิการศึกษาเช่นกัน ทั้งนี้ สกอ.จะจัดทำเว็บเพจ "ศูนย์ปราบปรามวุฒิเถื่อน" เพื่อนำรายละเอียดของทั้ง 2 กลุ่ม ประกาศบนเว็บไซต์ของ สกอ. www.mua.go.th เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบ และให้ประชาชนแจ้งเบาะแส
"ผมยังได้ประสานกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และตำรวจท้องที่ เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับมหาวิทยาลัยที่มีรายชื่อทั้งหมดที่ สกอ.ไม่รับรองวุฒิการศึกษา ให้ช่วยติดตามเรื่องนี้ด้วย นอกจากนี้ สกอ.ยังได้รับแจ้งว่ามีโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่งแอบอ้างว่าจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีและปริญญาโทได้ โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งได้สั่งการให้ สกอ.ดำเนินการหาข้อเท็จจริง รวบรวมข้อมูล หลักฐาน และพิจารณาดำเนินการทางคดีกับผู้ประกอบการดังกล่าวต่อไป" นายเสริมศักดิ์กล่าว