กระทู้ที่แล้วนำเสนอแง่มุมด้านทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับ "Presentation" ของขนมในลักษณะสัณฐาน 3 มิติ ได้ข้อสรุป(คร่าว ๆ และ ยังไม่ได้รับการยืนยันทางวิชาการ)ว่าน่าจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ จากกระทู้มาม่าขนมเดิมแง่มุม(ที่มีการเพิ่มเติมดัดแปลงสูตรแล้วบอกว่าเป็นอาหารชนิดใหม่) กับกระทู้อาหารไทย(?) พี่เจมี่ โอลิเวอร์ บวกกับระหว่างสืบค้นข้อมูลด้านลิขสิทธิ์เกี่ยวกับขนมที่มีรูปร่างรูปแบบสวยงามจะได้รับความคุ้มครองหรือไม่ เกิดเจอบทความทางวิชาการ และ เอกสารงานสัมมนาเกี่ยวข้องด้วย "สูตร" ของอาหารในแง่มุมของลิขสิทธิ์ขึ้นมา กล่าวเอาไว้ก่อนว่าหากพูดถึงเรื่อง "สูตร" อาหาร ขนม เครื่องดื่ม ทำนองเดียวกันนี้อาจจะได้รับความคุ้มครองในลักษณะ Trade Secret (ความลับทางการค้า) หรือ เป็น Patent (สิทธิบัตร) ได้
ในแง่ความลับทางการค้าอย่างที่บอกแล้วว่า ไม่ห้ามการ "Reverse Engineering" ส่วนสิทธิบัตรก็ต้องมีการเปิดเผยสูตรเพื่อจดแจ้งสิทธิบัตร และ ต้องมีประโยชน์ในแง่อุตสาหกรรม หัตถกรรม ฯลฯ ถึงแม้จะมีข้อบกพร่องอยู่บ้างแต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ปกติหาก "สูตร" จะได้รับความคุ้มครองตามที่กล่าวไว้นั้น ทั้งสองอย่างนั้นมุ่งเน้นในการรักษา "ตัวสูตร" ที่นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ ทางหนึ่งใช้วิธีเก็บทุกสิ่งเป็นความลับไม่ให้ใครรู้ แต่ถ้าจะถอดรหัสก็ตามแต่ใจนะ ส่วนอีกตัวหนึ่งต้องเปิดเผยสูตร แต่ว่าง่าย ๆ คือ ต้องห้ามในเรื่องทำซ้ำทำขาย แต่เปิดเผยสูตรก็มีการเอาไปพัฒนาได้ และ ถ้าเกิดความใหม่ มี innovative step และ คุณสมบัติอย่างอื่นอีกก็อาจกลายเป็น formula ใหม่ที่ขอจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรต่อไปก็เป็นได้
แต่ในแง่ของลิขสิทธิ์ สิทธิทำซ้ำดัดแปลงก็เป็นของผู้สร้างสรรค์(โดยปกติ)แล้วก็ไม่ต้องเผยแพร่สูตร ไม่ต้องจดทะเบียน หากบอกตามตรงว่าตอนแรกคิดไม่ออกกันเลยทีเดียวว่าตัว "สูตร" หรือ ตัวอาหารมันไปเกี่ยวกับ Copyright อะไรยังไง ? หากคิดอีกทีก็นึกได้ว่าคงเป็นประมาณ การแต่งตำรากับข้าวออกขายแล้วมีคนถ่ายเอกสารตำราที่เราแต่ง หรือ คัดลอกสูตรจากอินเตอร์เน็ตไปแล้วบอกว่าเป็นของตัวเอง ... อ้าว แล้วถ้าแบบนี้ถ้าเรานำสูตรไปทำซ้ำจะละเมิดไหมเนี่ย คิดไปคิดมา ... เอ่อ ซักจะเลอะเทอะออกทะเลนะ แลดูว่าหัวข้อนี้จะซับซ้อนกว่าที่คิดเสียแล้ว จึงไปอ่านเอกสารต่าง ๆ อ่านดูว่าที่แท้ แนวคิดการคุ้มครองสูตรอาหารด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด แท้จริงแล้วมุ่งหมายคุ้มครองอะไร ? และ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ?
อาหารนั้นมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มานานแล้วยังไงเสียกองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง แต่เราก็ไม่ได้เสพอาหารในแง่มุมของการเรียกร้องทางกายภาพอย่างเดียว ปัจจุบันนี้การเสพอาหารก็ถือเป็น "ความบันเทิง" อย่างหนึ่งเหมือนกัน นอกจากกินให้อิ่มแล้วก็เสพรูปรสกลิ่นไปด้วย ขอบเขตของการทำอาหารถ้าจะให้พูดต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้ช่างกว้างไกลเหลือเกิน ตั้งแต่การทำอาหารในครัวเรือน ร้านอาหารทั่วไป ภัตตาคารหรูหราเชฟระดับห้าดาว จนกระทั่งทำอาหารออกทีวีในรายการต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้แหละทำให้เกิดพลวัตรใหม่ในแวดวงอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา
โดยหัสเดิมเริ่มแรกมา "สูตรอาหาร" (Recipes) และ "อาหารที่เสิร์ฟเป็นจาน" (Dish) ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในแง่มุมอื่น) เหตุผลเพราะอะไร ?
ทบทวนกันซักหน่อยจากกระทู้ที่แล้วว่าเงื่อนไขของการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์(สากลนะไม่ใช่ของไทย) มี 3 ข้อ
1. เป็นงานสร้างสรรค์ (Originality) : เป็นความคิดริเริ่มของผู้สร้างสรรค์งานเอง ซึ่งแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความคิดการแสดงออกผ่านประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ความสามารถ ความอุตสาหะ จนออกมาเป็นชิ้นงาน (ไม่เกี่ยวกับคุณค่าของงาน)
2. เป็น Copyrightable Object : เป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับความคุ้มครองได้ (วรรณกรรม ศิลปะกรรม ฯลฯ)
3. มีรูปร่างปรากฎ : มี Fixation ปรากฎ เช่น บันทึกด้วยตัวอักษร แสดงออกเป็นเสียง ภาพ รูปปั้น รูปทรงสามมิติ เป็นต้น
ประเด็น คือ ศาล (ต่างประเทศ) มอง คือ
1) recipes คือ การเรียงลำดับของรายชื่อวัตถุดิบซึ่งเป็นข้อเท็จจริงธรรมดา (fact) เท่านั้น ไม่ได้เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มอย่างใดไม่ นอกจากนั้นก็ไม่ได้มองรวมไปถึงผลจาก recipes นั้นว่าเป็นอาหารจานหนึ่ง เรียกง่าย ๆ ว่ามอง recipes และ ผล (results) จาก recipes แยกจากกัน แต่ถ้าหาก recipes มีการบรรยายวิธีการทำ มีรูปภาพประกอบ หรือ รวมกันเป็นรูปเล่มก็อาจจะนับเป็น Copyrightable object ได้ (ซึ่งถ้าเป็น recipes หรือสูตรอาหารเดี่ยว ๆ ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้รับการคุ้มครองหรือไม่อย่างไร) ส่วนนี้ขอให้ความเห็นว่าศาล(ต่างประเทศ)มอง recipes ในลักษณะงานวรรณกรรมซึ่งเราก็คิดว่าไม่น่าจะตรงกับธรรมชาติการเป็นสูตรอาหารเท่าใด
Point ของเรื่องนี้มาจากคำพิพากษาจากคดี Publication International V. Meredith Corp.
ศาลได้แนะนำมาแบบนี้ว่า recipes ที่จะสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ควรมีลักษณะแบบนี้
For a recipe to be copyrightable, it should look more like a vignette or novella rather than a simple list of perhaps original or creatively combined ingredients.
ดูเหมือนแผ่นภาพ หรือ เขียนเรียงร้อยเป็นเรื่องราว มากกว่าเป็นรายการเครื่องปรุง ว่ากันแบบนั้น จึงบอกว่าศาลคงมองสูตรอาหารในลักษณะงานวรรณกรรม หรือ งานศิลปะ มากกว่าเป็นตัวสูตรอาหาร
ซึ่งลักษณะของ recipes ที่เป็นรายการเครื่องปรุงเฉย ๆ เป็น Statement of Fact คือเป็นแค่การนำเอาข้อเท็จจริงมาเรียง ๆ กันตามการใช้ประโยชน์ จึงขาดความคิดริเริ่มซึ่งศาล(ต่างประเทศ)ให้รายละเอียดว่า it should possess at least some minimal degree of creativity. อย่างน้อยมีความคิดสร้างสรรค์บ้าง ไม่ใช่แค่จับอะไรมาเรียง ๆ ยำ ๆ ต่อกันแล้วจบ
2) สถานะของ Recipes ในลักษณะของ Work of Utilities คือ เป็นงานที่เกิดขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้ หรือ ทำซ้ำโดยสภาพ (เอาไว้ทำอาหาร) ซึ่งไม่เหมือนกับงานที่ได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์อย่างอื่น ๆ เช่น ภาพวาด งานเขียน ซึ่งเน้นคุณค่าทางศิลป์ สูตรซึ่งมีทั้งรายการเครื่องปรุง และ วิธีการทำหากได้รับการคุ้มครองทั้งหมดศาล(ต่างประเทศ)ให้ความเห็นว่า สิ่งนี้อยู่ในขอบเขตของสิทธิบัตรไม่ใช่ลิขสิทธิ์ ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับงานประเภทอื่นที่ได้รับความคุ้มครองฯ เช่น หากภาพวาดภาพหนึ่งได้รับความคุ้มครองฯ (ลิขสิทธิ์ ) กลวิธี หรือ เทคนิคการวาดซึ่งให้ได้ภาพนั้นมาก็ได้รับความคุ้มครองด้วย (แนวทางของสิทธิบัตร) เป็นต้น
นอกจากนั้นก็มีเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ด้วย อันนี้คิดว่าเป็นเรื่องในแวดวงทางการอาหารของต่างประเทศ(โดยเฉพาะตะวันตก) ที่มีความเป็นมายาวนานมี norms มี code of conduct มีระบบอาวุโสซึ่งเป็นกลไลที่ทำให้เชฟไม่ละเมิดงานของผู้อื่น นอกจากนั้นในวงการอาหารมีลักษณะเป็น piracy paradox คือ การละเมิดไม่ได้ทำร้ายวงการอาหารโดยองค์รวม คนก็ยังคิดนวัตกรรมขึ้นมาไม่หยุดหย่อนเหมือนเดิม
แนวคิดเกี่ยวกับการให้ recipes และ dish ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
1) มีแนวคิดหนึ่งเกิดขึ้น คือ ต้องมองในลักษณะที่ว่า recipes คือ way to perform dish หมายถึง สูตรอาหาร คือ หนทางการแสดงออกซึ่งตัวอาหาร (dish) สูตรอาหารคือ expression of idea ส่วน fixation หรือ รูปร่างที่ปรากฎ คือ dish หรือ ตัวอาหารนั่นเอง ตัวสูตรพูดง่าย ๆ คือ สิ่งที่ทำให้การประกอบอาหารเกิดความสะดวกขึ้น ดังนั้นสูตรส่วนผสม(ที่เป็นงานเขียนพิมพ์หรือบันทึกอะไรก็ตาม)โดยลำพังจึงไม่ใช่ copyrightable object อย่างที่ศาลเข้าใจ ต้องมองสูตรตลอดจนอาหารที่เกิดจากสูตรนั้นเป็นองค์รวม
2) และเมื่อมองตามข้อหนึ่งแล้วอาจจะพูดได้ว่า recipes ที่เป็นสูตรเขียนอยู่บนกระดาษหรือบันทึกอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เป็นเหมือน copy ของอาหารนั้นอีกชั้นหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เงื่อนไขเรื่องรูปร่างที่ปรากฎ หรือ fixation สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในกรณีนี้ก็จะเป็นการแก้สถานะของ Recipes ในลักษณะของ Work of Utilities ให้กลายเป็นหลักฐานของรูปร่างที่ปรากฎเมื่ออาหารที่ทำออกมาถูกกินลงท้องไปแล้ว
3) การมองว่าอาหาร คือ Work of Art (ในสาขศิลปะประยุกต์ตามเคย) หรือ เป็นศิลปะ ข้อนี้อาจจะยากหน่อย ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าอะไรที่มันเป็นศิลปะนี่จะต้องก่อให้เกิดสุนทรียภาพ อาหารกับสุนทรียภาพ ? เข้าใจว่านอกจากกินเข้าไปให้อิ่มแล้วต้องทำให้ผู้เสพซาบซึ้งในรูปรสสี มีรสชาติดี มีการใช้เทคนิคสีสัน มีการจัดวาง presentation อย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีแนวคิดที่ว่าอาหารแต่ละชนิดสามารถสื่อคาแร็คเตอร์และบอกเล่าเรื่องราวได้ด้วย ข้อนี้คิดว่าเป็นความพยายามในการปิด gap เรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งก็มีข้อโต้แย้งอีกว่า รูปรสกลิ่นอะไรทำนองนี้มันเป็นสัญชาตญาณมนุษย์มากกว่าความซาบซึ้งในด้านศิลปะ
ซึ่งหลังจากที่อ่านมา คงจะมีอาหารไม่กี่ชนิดหรอกละมั้งที่จะผ่าน test ทั้งหมดแล้วได้รับความคุ้มครองในลักษณะลิขสิทธิ์ได้ แต่ก็เข้าใจว่าถ้าได้รับความคุ้มครองในแง่ลิขสิทธิ์ได้จะมีผลต่ออายุความคุ้มครองที่จะยาวกว่าตัวอื่น ๆ อย่างไรก็ตามอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าสูตรอาหารต่าง ๆ ก็ไม่ได้สิ้นไร้การปกป้องเสียทีเดียว ยังมีเรื่องความลับทางการค้า และ สิทธิบัตรอีก เพียงแต่เรื่องเหล่านั้นมักเป็นไปในทางอุตสาหกรรมซะมาก
หากอย่างน้อยก็พอสรุปได้ว่า "recipes" หรือ สูตร ถ้าไม่ใช่แค่การเอาวัตถุดิบมาร้อยเรียง แต่มีการเขียนวิธีการ เล่าประกอบภาพเป็นเรื่องราว ข้อแนะนำส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์สูตรนั้น มีเรื่องเล่าเบื้องหลังที่มาสูตร เขียนคล้าย ๆ นิยาย หรือ เป็น compilation รวมมิตรตกแต่งสวยงาม อย่างน้อยในสายตาศาล(ต่างประเทศ)ก็ได้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองสูงทีเดียว หากเอามาปรับใช้ในประเทศไทยก็ถือเป็นทิปสำหรับชาวห้องก้นครัวที่เผยแพร่สูตรต่าง ๆ ที่มาจากความคิดริเริ่มของตนเอง เคยเห็นเคสที่สูตรของสมาชิกไปปรากฎในนิตยสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ลองนำหลักการที่เกิดขึ้นในศาลต่างประเทศไปปรับใช้เพื่อป้องกันตัวก็น่าจะเหมาะดี
Intellectual Property and Recipes : อาหารและทรัพย์สินทางปัญญา ... เรื่องมันยุ่งกว่าที่คิด
ในแง่ความลับทางการค้าอย่างที่บอกแล้วว่า ไม่ห้ามการ "Reverse Engineering" ส่วนสิทธิบัตรก็ต้องมีการเปิดเผยสูตรเพื่อจดแจ้งสิทธิบัตร และ ต้องมีประโยชน์ในแง่อุตสาหกรรม หัตถกรรม ฯลฯ ถึงแม้จะมีข้อบกพร่องอยู่บ้างแต่ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ปกติหาก "สูตร" จะได้รับความคุ้มครองตามที่กล่าวไว้นั้น ทั้งสองอย่างนั้นมุ่งเน้นในการรักษา "ตัวสูตร" ที่นำไปสู่ผลิตภัณฑ์ ทางหนึ่งใช้วิธีเก็บทุกสิ่งเป็นความลับไม่ให้ใครรู้ แต่ถ้าจะถอดรหัสก็ตามแต่ใจนะ ส่วนอีกตัวหนึ่งต้องเปิดเผยสูตร แต่ว่าง่าย ๆ คือ ต้องห้ามในเรื่องทำซ้ำทำขาย แต่เปิดเผยสูตรก็มีการเอาไปพัฒนาได้ และ ถ้าเกิดความใหม่ มี innovative step และ คุณสมบัติอย่างอื่นอีกก็อาจกลายเป็น formula ใหม่ที่ขอจดทะเบียนสิทธิบัตร หรือ อนุสิทธิบัตรต่อไปก็เป็นได้
แต่ในแง่ของลิขสิทธิ์ สิทธิทำซ้ำดัดแปลงก็เป็นของผู้สร้างสรรค์(โดยปกติ)แล้วก็ไม่ต้องเผยแพร่สูตร ไม่ต้องจดทะเบียน หากบอกตามตรงว่าตอนแรกคิดไม่ออกกันเลยทีเดียวว่าตัว "สูตร" หรือ ตัวอาหารมันไปเกี่ยวกับ Copyright อะไรยังไง ? หากคิดอีกทีก็นึกได้ว่าคงเป็นประมาณ การแต่งตำรากับข้าวออกขายแล้วมีคนถ่ายเอกสารตำราที่เราแต่ง หรือ คัดลอกสูตรจากอินเตอร์เน็ตไปแล้วบอกว่าเป็นของตัวเอง ... อ้าว แล้วถ้าแบบนี้ถ้าเรานำสูตรไปทำซ้ำจะละเมิดไหมเนี่ย คิดไปคิดมา ... เอ่อ ซักจะเลอะเทอะออกทะเลนะ แลดูว่าหัวข้อนี้จะซับซ้อนกว่าที่คิดเสียแล้ว จึงไปอ่านเอกสารต่าง ๆ อ่านดูว่าที่แท้ แนวคิดการคุ้มครองสูตรอาหารด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์เกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะเหตุใด แท้จริงแล้วมุ่งหมายคุ้มครองอะไร ? และ มีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงไร ?
อาหารนั้นมีบทบาทในชีวิตมนุษย์มานานแล้วยังไงเสียกองทัพก็ต้องเดินด้วยท้อง แต่เราก็ไม่ได้เสพอาหารในแง่มุมของการเรียกร้องทางกายภาพอย่างเดียว ปัจจุบันนี้การเสพอาหารก็ถือเป็น "ความบันเทิง" อย่างหนึ่งเหมือนกัน นอกจากกินให้อิ่มแล้วก็เสพรูปรสกลิ่นไปด้วย ขอบเขตของการทำอาหารถ้าจะให้พูดต้องบอกว่าเดี๋ยวนี้ช่างกว้างไกลเหลือเกิน ตั้งแต่การทำอาหารในครัวเรือน ร้านอาหารทั่วไป ภัตตาคารหรูหราเชฟระดับห้าดาว จนกระทั่งทำอาหารออกทีวีในรายการต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้แหละทำให้เกิดพลวัตรใหม่ในแวดวงอาหารที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินทางปัญญา
โดยหัสเดิมเริ่มแรกมา "สูตรอาหาร" (Recipes) และ "อาหารที่เสิร์ฟเป็นจาน" (Dish) ไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ (แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาในแง่มุมอื่น) เหตุผลเพราะอะไร ?
ทบทวนกันซักหน่อยจากกระทู้ที่แล้วว่าเงื่อนไขของการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์(สากลนะไม่ใช่ของไทย) มี 3 ข้อ
1. เป็นงานสร้างสรรค์ (Originality) : เป็นความคิดริเริ่มของผู้สร้างสรรค์งานเอง ซึ่งแสดงความเชื่อมโยงระหว่างความคิดการแสดงออกผ่านประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ความสามารถ ความอุตสาหะ จนออกมาเป็นชิ้นงาน (ไม่เกี่ยวกับคุณค่าของงาน)
2. เป็น Copyrightable Object : เป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับความคุ้มครองได้ (วรรณกรรม ศิลปะกรรม ฯลฯ)
3. มีรูปร่างปรากฎ : มี Fixation ปรากฎ เช่น บันทึกด้วยตัวอักษร แสดงออกเป็นเสียง ภาพ รูปปั้น รูปทรงสามมิติ เป็นต้น
ประเด็น คือ ศาล (ต่างประเทศ) มอง คือ
1) recipes คือ การเรียงลำดับของรายชื่อวัตถุดิบซึ่งเป็นข้อเท็จจริงธรรมดา (fact) เท่านั้น ไม่ได้เป็นการแสดงออกซึ่งความคิดริเริ่มอย่างใดไม่ นอกจากนั้นก็ไม่ได้มองรวมไปถึงผลจาก recipes นั้นว่าเป็นอาหารจานหนึ่ง เรียกง่าย ๆ ว่ามอง recipes และ ผล (results) จาก recipes แยกจากกัน แต่ถ้าหาก recipes มีการบรรยายวิธีการทำ มีรูปภาพประกอบ หรือ รวมกันเป็นรูปเล่มก็อาจจะนับเป็น Copyrightable object ได้ (ซึ่งถ้าเป็น recipes หรือสูตรอาหารเดี่ยว ๆ ก็ยังไม่แน่ว่าจะได้รับการคุ้มครองหรือไม่อย่างไร) ส่วนนี้ขอให้ความเห็นว่าศาล(ต่างประเทศ)มอง recipes ในลักษณะงานวรรณกรรมซึ่งเราก็คิดว่าไม่น่าจะตรงกับธรรมชาติการเป็นสูตรอาหารเท่าใด
Point ของเรื่องนี้มาจากคำพิพากษาจากคดี Publication International V. Meredith Corp.
ศาลได้แนะนำมาแบบนี้ว่า recipes ที่จะสามารถได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ควรมีลักษณะแบบนี้
For a recipe to be copyrightable, it should look more like a vignette or novella rather than a simple list of perhaps original or creatively combined ingredients.
ดูเหมือนแผ่นภาพ หรือ เขียนเรียงร้อยเป็นเรื่องราว มากกว่าเป็นรายการเครื่องปรุง ว่ากันแบบนั้น จึงบอกว่าศาลคงมองสูตรอาหารในลักษณะงานวรรณกรรม หรือ งานศิลปะ มากกว่าเป็นตัวสูตรอาหาร
ซึ่งลักษณะของ recipes ที่เป็นรายการเครื่องปรุงเฉย ๆ เป็น Statement of Fact คือเป็นแค่การนำเอาข้อเท็จจริงมาเรียง ๆ กันตามการใช้ประโยชน์ จึงขาดความคิดริเริ่มซึ่งศาล(ต่างประเทศ)ให้รายละเอียดว่า it should possess at least some minimal degree of creativity. อย่างน้อยมีความคิดสร้างสรรค์บ้าง ไม่ใช่แค่จับอะไรมาเรียง ๆ ยำ ๆ ต่อกันแล้วจบ
2) สถานะของ Recipes ในลักษณะของ Work of Utilities คือ เป็นงานที่เกิดขึ้นเพื่อเอาไว้ใช้ หรือ ทำซ้ำโดยสภาพ (เอาไว้ทำอาหาร) ซึ่งไม่เหมือนกับงานที่ได้รับความคุ้มครองทางลิขสิทธิ์อย่างอื่น ๆ เช่น ภาพวาด งานเขียน ซึ่งเน้นคุณค่าทางศิลป์ สูตรซึ่งมีทั้งรายการเครื่องปรุง และ วิธีการทำหากได้รับการคุ้มครองทั้งหมดศาล(ต่างประเทศ)ให้ความเห็นว่า สิ่งนี้อยู่ในขอบเขตของสิทธิบัตรไม่ใช่ลิขสิทธิ์ ถ้าจะให้เปรียบเทียบกับงานประเภทอื่นที่ได้รับความคุ้มครองฯ เช่น หากภาพวาดภาพหนึ่งได้รับความคุ้มครองฯ (ลิขสิทธิ์ ) กลวิธี หรือ เทคนิคการวาดซึ่งให้ได้ภาพนั้นมาก็ได้รับความคุ้มครองด้วย (แนวทางของสิทธิบัตร) เป็นต้น
นอกจากนั้นก็มีเหตุผลทางด้านประวัติศาสตร์ และ สังคมศาสตร์ด้วย อันนี้คิดว่าเป็นเรื่องในแวดวงทางการอาหารของต่างประเทศ(โดยเฉพาะตะวันตก) ที่มีความเป็นมายาวนานมี norms มี code of conduct มีระบบอาวุโสซึ่งเป็นกลไลที่ทำให้เชฟไม่ละเมิดงานของผู้อื่น นอกจากนั้นในวงการอาหารมีลักษณะเป็น piracy paradox คือ การละเมิดไม่ได้ทำร้ายวงการอาหารโดยองค์รวม คนก็ยังคิดนวัตกรรมขึ้นมาไม่หยุดหย่อนเหมือนเดิม
แนวคิดเกี่ยวกับการให้ recipes และ dish ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายลิขสิทธิ์
1) มีแนวคิดหนึ่งเกิดขึ้น คือ ต้องมองในลักษณะที่ว่า recipes คือ way to perform dish หมายถึง สูตรอาหาร คือ หนทางการแสดงออกซึ่งตัวอาหาร (dish) สูตรอาหารคือ expression of idea ส่วน fixation หรือ รูปร่างที่ปรากฎ คือ dish หรือ ตัวอาหารนั่นเอง ตัวสูตรพูดง่าย ๆ คือ สิ่งที่ทำให้การประกอบอาหารเกิดความสะดวกขึ้น ดังนั้นสูตรส่วนผสม(ที่เป็นงานเขียนพิมพ์หรือบันทึกอะไรก็ตาม)โดยลำพังจึงไม่ใช่ copyrightable object อย่างที่ศาลเข้าใจ ต้องมองสูตรตลอดจนอาหารที่เกิดจากสูตรนั้นเป็นองค์รวม
2) และเมื่อมองตามข้อหนึ่งแล้วอาจจะพูดได้ว่า recipes ที่เป็นสูตรเขียนอยู่บนกระดาษหรือบันทึกอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง เป็นเหมือน copy ของอาหารนั้นอีกชั้นหนึ่ง เป็นสิ่งที่ทำให้เงื่อนไขเรื่องรูปร่างที่ปรากฎ หรือ fixation สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในกรณีนี้ก็จะเป็นการแก้สถานะของ Recipes ในลักษณะของ Work of Utilities ให้กลายเป็นหลักฐานของรูปร่างที่ปรากฎเมื่ออาหารที่ทำออกมาถูกกินลงท้องไปแล้ว
3) การมองว่าอาหาร คือ Work of Art (ในสาขศิลปะประยุกต์ตามเคย) หรือ เป็นศิลปะ ข้อนี้อาจจะยากหน่อย ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าอะไรที่มันเป็นศิลปะนี่จะต้องก่อให้เกิดสุนทรียภาพ อาหารกับสุนทรียภาพ ? เข้าใจว่านอกจากกินเข้าไปให้อิ่มแล้วต้องทำให้ผู้เสพซาบซึ้งในรูปรสสี มีรสชาติดี มีการใช้เทคนิคสีสัน มีการจัดวาง presentation อย่างงดงาม นอกจากนั้นยังมีแนวคิดที่ว่าอาหารแต่ละชนิดสามารถสื่อคาแร็คเตอร์และบอกเล่าเรื่องราวได้ด้วย ข้อนี้คิดว่าเป็นความพยายามในการปิด gap เรื่องความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งก็มีข้อโต้แย้งอีกว่า รูปรสกลิ่นอะไรทำนองนี้มันเป็นสัญชาตญาณมนุษย์มากกว่าความซาบซึ้งในด้านศิลปะ
ซึ่งหลังจากที่อ่านมา คงจะมีอาหารไม่กี่ชนิดหรอกละมั้งที่จะผ่าน test ทั้งหมดแล้วได้รับความคุ้มครองในลักษณะลิขสิทธิ์ได้ แต่ก็เข้าใจว่าถ้าได้รับความคุ้มครองในแง่ลิขสิทธิ์ได้จะมีผลต่ออายุความคุ้มครองที่จะยาวกว่าตัวอื่น ๆ อย่างไรก็ตามอย่างที่กล่าวข้างต้นว่าสูตรอาหารต่าง ๆ ก็ไม่ได้สิ้นไร้การปกป้องเสียทีเดียว ยังมีเรื่องความลับทางการค้า และ สิทธิบัตรอีก เพียงแต่เรื่องเหล่านั้นมักเป็นไปในทางอุตสาหกรรมซะมาก
หากอย่างน้อยก็พอสรุปได้ว่า "recipes" หรือ สูตร ถ้าไม่ใช่แค่การเอาวัตถุดิบมาร้อยเรียง แต่มีการเขียนวิธีการ เล่าประกอบภาพเป็นเรื่องราว ข้อแนะนำส่วนตัวของผู้สร้างสรรค์สูตรนั้น มีเรื่องเล่าเบื้องหลังที่มาสูตร เขียนคล้าย ๆ นิยาย หรือ เป็น compilation รวมมิตรตกแต่งสวยงาม อย่างน้อยในสายตาศาล(ต่างประเทศ)ก็ได้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองสูงทีเดียว หากเอามาปรับใช้ในประเทศไทยก็ถือเป็นทิปสำหรับชาวห้องก้นครัวที่เผยแพร่สูตรต่าง ๆ ที่มาจากความคิดริเริ่มของตนเอง เคยเห็นเคสที่สูตรของสมาชิกไปปรากฎในนิตยสารโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็ลองนำหลักการที่เกิดขึ้นในศาลต่างประเทศไปปรับใช้เพื่อป้องกันตัวก็น่าจะเหมาะดี