คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
คือ หมายความว่า บิดามารดาของคุณที่ปรากฏตามสูติบัตรและทะเบียนบ้าน ไม่ใช่บิดามารดาที่แท้จริงของคุณ ให้ชื่อว่า AB
ต่อมา บิดามารดาตามสูติบัตร ยกให้คุณเป็นบุตรบุญธรรมของชายหญิง ที่เป็นสามีภรรยาอีกคู่หนึ่ง ให้ชื่อว่า กข ซึ่งชายหญิงคู่นี้ ก็ไม่ใช่บิดามารดาที่แท้จริงของคุณ และตอนนี้ คุณบรรลุนิติภาวะแล้ว
สรุปคือ บิดามารดาที่แท้จริงของคุณไม่ปรากฎอยู่ และหายไปไหนก็ไม่รู้แล้วใช่ไหมครับ
ตอนนี้คุณก็มีฐานะเป็น บุตรบุญธรรมของ กข แต่คุณก็ยังไม่ได้สูญเสียสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อ AB อยู่ ซึ่ง B ตายไปแล้ว
ดังนั้น ตอนนี้คุณจึงมีฐานะเป็นบุตรของ A เพียงคนเดียว ส่วน กข เป็นบิดามารดาบุญธรรม
เมื่อ AB แจ้งเกิดคุณและรับคุณเป็นลูกตามหลักฐานในสูติบัตร หลังจากที่ AB จดทะเบียนสมรสกันแล้ว คุณก็ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ AB การจดทะเบียนรับรองบุตรระหว่างคุณกับ A จึงไม่อาจจดให้ได้ เพราะคุณเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ A อยู่แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ของมหาลัยเรียกเอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร จึงเป็นการเรียกเอกสารเกินความจำเป็นและคุณไม่สามารถให้ได้ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรงนี้คุณสามารถอุทธรณ์ภายใน และฟ้องศาลปกครองได้ครับ เพราะการจดรับรองบุตรจะใช้ในกรณีทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเท่านั้น แต่กรณีของคุณ A เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณอยู่แล้วตั้งแต่แรก
ต่อมา บิดามารดาตามสูติบัตร ยกให้คุณเป็นบุตรบุญธรรมของชายหญิง ที่เป็นสามีภรรยาอีกคู่หนึ่ง ให้ชื่อว่า กข ซึ่งชายหญิงคู่นี้ ก็ไม่ใช่บิดามารดาที่แท้จริงของคุณ และตอนนี้ คุณบรรลุนิติภาวะแล้ว
สรุปคือ บิดามารดาที่แท้จริงของคุณไม่ปรากฎอยู่ และหายไปไหนก็ไม่รู้แล้วใช่ไหมครับ
ตอนนี้คุณก็มีฐานะเป็น บุตรบุญธรรมของ กข แต่คุณก็ยังไม่ได้สูญเสียสิทธิและหน้าที่ที่มีต่อ AB อยู่ ซึ่ง B ตายไปแล้ว
ดังนั้น ตอนนี้คุณจึงมีฐานะเป็นบุตรของ A เพียงคนเดียว ส่วน กข เป็นบิดามารดาบุญธรรม
เมื่อ AB แจ้งเกิดคุณและรับคุณเป็นลูกตามหลักฐานในสูติบัตร หลังจากที่ AB จดทะเบียนสมรสกันแล้ว คุณก็ย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ AB การจดทะเบียนรับรองบุตรระหว่างคุณกับ A จึงไม่อาจจดให้ได้ เพราะคุณเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ A อยู่แล้ว การที่เจ้าหน้าที่ของมหาลัยเรียกเอกสารการจดทะเบียนรับรองบุตร จึงเป็นการเรียกเอกสารเกินความจำเป็นและคุณไม่สามารถให้ได้ เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตรงนี้คุณสามารถอุทธรณ์ภายใน และฟ้องศาลปกครองได้ครับ เพราะการจดรับรองบุตรจะใช้ในกรณีทำให้บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกลายเป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของบุตรเท่านั้น แต่กรณีของคุณ A เป็นบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายของคุณอยู่แล้วตั้งแต่แรก
แสดงความคิดเห็น
รบกวนถามเกี่ยวกับการเซ็นสัญญาค้ำประกันและบิดาตามกฎหมายค่ะ
คือตอนที่ดิฉันเกิด ก็มีคนเซ็นรับรองเป็นบิดาและมารดา ทั้งคู่สมรสกันแล้ว ณ ขณะนั้น ในสูติบัตรและทะเบียนบ้านของดิฉัน มีชื่อทั้งคู่เป็นบิดาและมารดาผู้ให้กำเนิด
ต่อมาทั้งสองยกดิฉันให้เป็นบุตรบุญธรรมของบิดามารดาปัจจุบัน
ดิฉันได้รับทุนรัฐบาลไปศึกษาต่อต่างประเทศ และจะต้องเซ็นสัญญากับต้นสังกัดในอีกสองสัปดาห์
และจะต้องมีคนเป็นผู้เซ็นค้ำประกัน
บิดาบุญธรรมไม่ยินยอมเซ็นเอกสารใดๆให้ทั้งนั้น (ต่อให้แม่เป็นผู้ค้ำประกัน ก็จะต้องมีคู่สมรสเซ็นยินยอมด้วย)
บิดาผู้ให้กำเนิดตามกฎหมายนั้น เขายินดีที่จะมาเซ็นค้ำประกันให้ (มารดาผู้ให้กำเนิดตามกฎหมายเสียชีวิตไปนานแล้ว) ดิฉันก็คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหาอะไร แต่เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยต้นสังกัดบอกว่าไม่ได้ จะต้องมีใบรับรองบุตรด้วย
เท่าที่ศึกษาดู การขอใบรับรองบุตร จะต้องมีทั้งมารดาและบุตรไปด้วย แต่ดังที่ได้เอ่ยไปข้างต้นว่ามารดาผู้ให้กำเนิดเสียชีวิตแล้ว อย่างนี้จะยังขอใบรับรองบุตรได้ไหมคะ
แล้วก็อยากถามเพิ่มเติมว่า ทำไมการที่มีชื่อเขาบนสูติบัตรและทะเบียนบ้านว่าเป็นบิดา ถึงยังไม่เพียงพอคะ
รบกวนด้วยนะคะ พอดีเป็นเสาร์อาทิตย์ ราชการไม่ทำงาน เลยยังไม่ได้โทรถาม