ข้าราชการแบกภาระหนี้อ่วมกว่า 1 ล้านล้านบาท ก.พ.หวั่นจูงใจทุจริต ออกกฎเหล็กปรามเรื่องการก่อหนี้ ตั้งเงื่อนไขถูกศาลพิพากษาล้มละลาย ผู้บังคับบัญชาต้องมีคำสั่งให้ออกฐานมีลักษณะต้องห้าม ร่อนหนังสือแจ้งหน่วยงานทั่วประเทศปฏิบัติเข้ม ชี้ใช้จ่ายเกินตัวเจอฟ้องทั้งหนี้ซื้อบ้าน-บัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล แบงก์กรุงไทย-ออมสินตั้งการ์ดรับ ด้าน ธปท.สั่งจับตาหนี้กลุ่มข้าราชการ
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ. ได้ลงนามในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล พ.ศ. 2556 ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2556 มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศเมื่อ 7 มิ.ย. 2556 ล่าสุด ก.พ.ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยงานราชการยึดถือปฏิบัติตามกฎใหม่ เพื่อเน้นย้ำให้ข้าราชการในแต่ละหน่วยงานปฏิบัติตามกฎ ด้วยการสั่งการให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ออกจากราชการตามแต่กรณี ถ้าขาดคุณสมบัติ 1.ไม่มีสัญชาติไทย 2.อายุต่ำกว่า 18 ปี 3.ไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนต้องห้าม ได้แก่ 1.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.เป็นบุคคลล้มละลาย
จี้หน่วยงานฟัน ขรก.ล้มละลาย
ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีที่ข้าราชการจะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามไว้ชัดแจน แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหา โดยเฉพาะลักษณะต้องห้ามเรื่องการเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลังจากบรรจุเข้าเป็นข้าราชการ เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบ ส่งผลให้ข้าราชการบางส่วนที่มีลักษณะต้องห้ามจากที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายยังสามารถรับราชการตามปกติกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้จึงย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทำตามกฎระเบียบ
ถือเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ของข้าราชการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะหนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูงถึง 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ที่ผ่านมายอดหนี้ของข้าราชการเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และร้องเรียนผ่านทาง ก.พ.ก็มีเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลที่ ก.พ.สำรวจ พบว่า ข้าราชการพลเรือนที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย มีทั้งการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากภาระหนี้สินที่ตนเองก่อขึ้น และการค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องหรือ
เพื่อนฝูง ซึ่งในระเบียบปฏิบัติหากข้าราชการที่ค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องไม่ถือเป็นโทษทางวินัย และให้โอกาสหัวหน้างานพิจารณาเป็นรายกรณีไป ยกเว้นข้าราชการมีหนี้สินจำนวนมาก และถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องออกจากราชการตามระเบียบ
หนี้ครัวเรือนข้าราชการพุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยผลสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนในปี 2555 เกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สิน โดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการทุกประเภท ทุกระดับตำแหน่ง ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 13,252 ราย พบว่าครัวเรือนข้าราชการมีแนวโน้มมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก 749,771 บาท ในปี 2551 เป็น 1,111,425 บาท ในปี 2555 หรือมีหนี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 48%
โดยหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนข้าราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 18.2 เท่าในปี 2551 เป็น 22.3 เท่าในปี 2555 โดยเฉพาะครอบครัวข้าราชการทุกประเภท และระดับตำแหน่ง มีหนี้สิน 83.2% โดยมีจำนวนหนี้เฉลี่ย 1,111,425 บาทต่อครอบครัว แบ่งเป็นข้าราชการประเภททั่วไป มีสัดส่วนของครอบครัวที่เป็นหนี้สูงสุด 86.3% ประเภทวิชาการและอำนวยการ มีหนี้ 83.4% และ 65.5% ตามลำดับ ประเภทบริหารมีสัดส่วนที่เป็นหนี้ต่ำสุด 31.9%
สาเหตุของการเป็นหนี้ มาจากหนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัยสูงที่สุด คือ 54.7%, รองลงมา หนี้เพื่อซื้อหรือซ่อมแซมยานพาหนะ 16.5%, หนี้เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค 15.4%, หนี้เพื่อการลงทุนในธุรกิจของครอบครัว 5.9% และหนี้สินเพื่อการศึกษา 3.6%
ฟ้องบังคับคดี 8 แสนคดี
ส่วนข้อมูลจากกรมบังคับคดีระบุว่า ปี 2553 ที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ที่ศาลมีคำพิพากษา แต่ยังไม่มีการบังคับคดีรวม 8 แสนคดี ในจำนวนนี้มีทั้งการฟ้องร้องลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และเจ้าหนี้เป็นบุคคลธรรมดา 50% คิดเป็นมูลหนี้รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท ที่น่าห่วงคือ ลูกหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ถูกเจ้าหนี้ว่าจ้างบริษัททวงหนี้ข่มขู่จะยื่นฟ้องล้มละลาย ซึ่งจะถูกออกจากราชการหาก
ไม่ยอมชำระหนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือลดหนี้ให้ หวังเรียกเก็บหนี้เต็มจำนวนบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือบางรายหาก
ยืดเยื้อ ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะถูกฟ้องยึดทรัพย์บังคับคดี ถือเป็นเรื่องอันตรายต่อข้าราชการมาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374666223
ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม
ออกกฎ ขรก. ล้มละลาย ให้ออก
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากที่นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ. ได้ลงนามในกฎ ก.พ. ว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการ กรณีขาดคุณสมบัติทั่วไป หรือมีลักษณะต้องห้าม กรณีหย่อนความสามารถ บกพร่องในหน้าที่ หรือประพฤติตนไม่เหมาะสม กรณีมีมลทินหรือมัวหมอง และกรณีต้องรับโทษจำคุกในความผิดที่ได้กระทำโดยประมาท หรือความผิดลหุโทษ หรือต้องรับโทษจำคุกโดยคำสั่งของศาล พ.ศ. 2556 ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. 2556 มีผลบังคับใช้วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งประกาศเมื่อ 7 มิ.ย. 2556 ล่าสุด ก.พ.ได้ทำหนังสือเวียนแจ้งให้หน่วยงานราชการยึดถือปฏิบัติตามกฎใหม่ เพื่อเน้นย้ำให้ข้าราชการในแต่ละหน่วยงานปฏิบัติตามกฎ ด้วยการสั่งการให้
ผู้ใต้บังคับบัญชาที่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม ออกจากราชการตามแต่กรณี ถ้าขาดคุณสมบัติ 1.ไม่มีสัญชาติไทย 2.อายุต่ำกว่า 18 ปี 3.ไม่เลื่อมใสในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่วนต้องห้าม ได้แก่ 1.ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2.เป็นบุคคลล้มละลาย
จี้หน่วยงานฟัน ขรก.ล้มละลาย
ที่ผ่านมา พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีที่ข้าราชการจะขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามไว้ชัดแจน แต่ในทางปฏิบัติยังมีปัญหา โดยเฉพาะลักษณะต้องห้ามเรื่องการเป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งมักเกิดขึ้นภายหลังจากบรรจุเข้าเป็นข้าราชการ เนื่องจากหน่วยงานส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจสอบ ส่งผลให้ข้าราชการบางส่วนที่มีลักษณะต้องห้ามจากที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลายยังสามารถรับราชการตามปกติกฎกระทรวงฉบับใหม่นี้จึงย้ำให้ผู้บังคับบัญชาทำตามกฎระเบียบ
ถือเป็นหนึ่งในมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ของข้าราชการที่มีแนวโน้มสูงขึ้นมาก อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และจูงใจให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น เพราะหนี้ภาคครัวเรือนพุ่งสูงถึง 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ ซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด
ที่ผ่านมายอดหนี้ของข้าราชการเพิ่มขึ้นมาก ขณะที่การร้องเรียนเกี่ยวกับหนี้ไปยังหน่วยงานต้นสังกัด และร้องเรียนผ่านทาง ก.พ.ก็มีเพิ่มขึ้น
จากข้อมูลที่ ก.พ.สำรวจ พบว่า ข้าราชการพลเรือนที่ถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย มีทั้งการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีจากภาระหนี้สินที่ตนเองก่อขึ้น และการค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องหรือ
เพื่อนฝูง ซึ่งในระเบียบปฏิบัติหากข้าราชการที่ค้ำประกันหนี้ให้กับญาติพี่น้องไม่ถือเป็นโทษทางวินัย และให้โอกาสหัวหน้างานพิจารณาเป็นรายกรณีไป ยกเว้นข้าราชการมีหนี้สินจำนวนมาก และถูกศาลตัดสินให้เป็นบุคคลล้มละลาย จะต้องออกจากราชการตามระเบียบ
หนี้ครัวเรือนข้าราชการพุ่ง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้สำนักงานสถิติแห่งชาติได้เปิดเผยผลสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนในปี 2555 เกี่ยวกับรายได้ ค่าใช้จ่าย และภาวะหนี้สิน โดยเก็บข้อมูลจากข้าราชการทุกประเภท ทุกระดับตำแหน่ง ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ จำนวน 13,252 ราย พบว่าครัวเรือนข้าราชการมีแนวโน้มมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก 749,771 บาท ในปี 2551 เป็น 1,111,425 บาท ในปี 2555 หรือมีหนี้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 48%
โดยหนี้สินต่อรายได้ของครัวเรือนข้าราชการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จาก 18.2 เท่าในปี 2551 เป็น 22.3 เท่าในปี 2555 โดยเฉพาะครอบครัวข้าราชการทุกประเภท และระดับตำแหน่ง มีหนี้สิน 83.2% โดยมีจำนวนหนี้เฉลี่ย 1,111,425 บาทต่อครอบครัว แบ่งเป็นข้าราชการประเภททั่วไป มีสัดส่วนของครอบครัวที่เป็นหนี้สูงสุด 86.3% ประเภทวิชาการและอำนวยการ มีหนี้ 83.4% และ 65.5% ตามลำดับ ประเภทบริหารมีสัดส่วนที่เป็นหนี้ต่ำสุด 31.9%
สาเหตุของการเป็นหนี้ มาจากหนี้สินเพื่อที่อยู่อาศัยสูงที่สุด คือ 54.7%, รองลงมา หนี้เพื่อซื้อหรือซ่อมแซมยานพาหนะ 16.5%, หนี้เพื่อใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค 15.4%, หนี้เพื่อการลงทุนในธุรกิจของครอบครัว 5.9% และหนี้สินเพื่อการศึกษา 3.6%
ฟ้องบังคับคดี 8 แสนคดี
ส่วนข้อมูลจากกรมบังคับคดีระบุว่า ปี 2553 ที่ผ่านมา มีการฟ้องร้องบังคับชำระหนี้ที่ศาลมีคำพิพากษา แต่ยังไม่มีการบังคับคดีรวม 8 แสนคดี ในจำนวนนี้มีทั้งการฟ้องร้องลูกหนี้ของสถาบันการเงิน เช่น หนี้บัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคล และเจ้าหนี้เป็นบุคคลธรรมดา 50% คิดเป็นมูลหนี้รวมประมาณ 1 ล้านล้านบาท ที่น่าห่วงคือ ลูกหนี้ซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ ถูกเจ้าหนี้ว่าจ้างบริษัททวงหนี้ข่มขู่จะยื่นฟ้องล้มละลาย ซึ่งจะถูกออกจากราชการหาก
ไม่ยอมชำระหนี้ ขณะเดียวกันก็ไม่ยอมเจรจาปรับโครงสร้างหนี้หรือลดหนี้ให้ หวังเรียกเก็บหนี้เต็มจำนวนบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือบางรายหาก
ยืดเยื้อ ยอดหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะถูกฟ้องยึดทรัพย์บังคับคดี ถือเป็นเรื่องอันตรายต่อข้าราชการมาก
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1374666223
ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
http://bit.ly/ชมรมผู้ไม่ใฝ่ใจบริโภคนิยมวัตถุนิยม