อย่าเพิ่งร้อนใจไป เพราะนี่เป็นเพียงการขอเทปซีรีส์วัยรุ่นที่สร้างปรากฏการณ์อย่าง Hormones วัยว้าวุ่น ของวันที่ 5 ส.ค. มาดูเท่านั้น ยังไม่ได้บอกว่าจะมีการเซ็นเซอร์ส่วนหนึ่งส่วนใดหรือไม่ เพราะแค่หวั่นว่าจะมีเนื้อหาที่ล่อแหลมต่อความเหมาะสม ตาม ม.37 เท่านั้นเอง
ผมเคยเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีของ Hormones และการพิจารณาของ กสทช. ไปก่อนหน้านี้แล้ว คิดว่าจะเป็นแค่ข่าวลือที่กุขึ้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงก็มีเรื่องให้หวาดเสียวจนได้
ต้องบอกเลยครับว่า กรณีการจะเซ็นเซอร์เนื้อหาของ Hormones นั่น โอกาสเป็นไปได้ไม่มากนัก เพราะ หน้าที่ของ กสทช. คือ กำกับดูแลการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ได้รวมถึงการกำกับดูแลเนื้อหา (คอนเทนต์) แต่อย่างใด แต่ก็มีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ที่มี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นประธาน แต่ถ้า กสทช. ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลเนื้อหาแล้ว คณะอนุฯ ภายใต้ กสทช. ก็ไม่ควรมีอำนาจนี้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งคือ หากมีโฆษณาสินค้าและบริการในกลุ่ม อาหารและยา ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย กสทช. ก็ต้องหารือร่วมกับ อย. เพื่อระงับการออกอากาศ หากเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ก็ต้องหารือร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรียกว่า กสทช. ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นตามกฎหมาย เพื่อดำเนินการระงับการออกอากาศ แต่ไม่ได้มีอำนาจเองที่จะสั่งระงับได้ หรือ หากยกกรณีของภาพยนตร์ที่มีการเซ็นเซอร์ได้นั้น ต้องบอกว่าเป็นกฎหมายคนละตัว เพราะภาพยนตร์ มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์ มีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้ว ต่างจาก พ.ร.บ. วิทยุโทรทัศน์ ที่ไม่ได้ให้อำนาจ กสทช. ไว้ ยกเว้นแต่ ม.37
เนื้อหา มาตรา 37 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ออกอากาศเนื้อหารายการที่มีลักษณะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การตีความตาม ม.37 ในประเด็นเรื่องของศีลธรรมอันดี ลามกอนาจาร มีผลให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ซึ่งสามารถตีความออกมาได้ในมุมที่ต่างกันออกไป ก็ต้องถามกลับไปที่ กสทช. ว่าจะตีความกฎหมายนี้ออกมาในแนวทางใด และจะนำมาใช้กับกรณีของ Hormones อย่างไร
หลายคนอาจจะบอกว่า Hormones เป็นเรื่องที่ขัดกับ ม.37 ตรงไหน? นี่คือซีรีส์วัยรุ่นเท่านั้น หรือบางคนอาจจะบอกว่า กับแค่ซีรีส์วัยรุ่นเรื่องเดียว ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร
ผมขอยืนยันเลยว่า ไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์โดยรัฐบาลอยู่แล้ว เพราะหากมีการเซ็นเซอร์เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพิจารณาความเหมาะสมในเนื้อหาของรายการอีกมากมายตามมา เกิดการเปรียบเทียบว่า เนื้อหาของรายการใดเหมาะสมกว่ากันหรือไม่ จาก 1 จะทวีกลายเป็นร้อยเป็นพัน หนทางที่ดีกว่าคือ การกำกับดูแลกันเองโดยสังคม ให้สังคมได้พิจารณาและตัดสินว่าเนื้อหาใดมีความเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา รายการทีวีต่างๆ ก็เซ็นเซอร์ตัวเองกันพอสมควรแล้ว
ต้องบอกว่า กสทช. ต้องใจกว้าง มองทุกอย่างเปิดกว้างในมิติที่แตกต่างไปจากยุคสมัยเดิมๆ ไม่เช่นนั้น กรณีของ เหนือเมฆ อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้
+ + + + + + +
ถ้าสนใจ คลิกตามไปอ่านได้ตาม link ด้านล่างครับ
ที่มา
http://www.itspacebar.com/2013/07/hormonestheseries/
อีกบทความที่เกี่ยวข้องกัน
http://www.itspacebar.com/2013/07/hormones
บทวิเคราะห์ กสทช. กับ Hormones อำนาจกับการเซ็นเซอร์
ผมเคยเขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับกรณีของ Hormones และการพิจารณาของ กสทช. ไปก่อนหน้านี้แล้ว คิดว่าจะเป็นแค่ข่าวลือที่กุขึ้นเท่านั้น แต่เอาเข้าจริงก็มีเรื่องให้หวาดเสียวจนได้
ต้องบอกเลยครับว่า กรณีการจะเซ็นเซอร์เนื้อหาของ Hormones นั่น โอกาสเป็นไปได้ไม่มากนัก เพราะ หน้าที่ของ กสทช. คือ กำกับดูแลการแข่งขันและคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ได้รวมถึงการกำกับดูแลเนื้อหา (คอนเทนต์) แต่อย่างใด แต่ก็มีคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหารายการ ที่มี พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ เป็นประธาน แต่ถ้า กสทช. ไม่มีอำนาจในการกำกับดูแลเนื้อหาแล้ว คณะอนุฯ ภายใต้ กสทช. ก็ไม่ควรมีอำนาจนี้เช่นเดียวกัน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดประการหนึ่งคือ หากมีโฆษณาสินค้าและบริการในกลุ่ม อาหารและยา ที่เข้าข่ายผิดกฎหมาย กสทช. ก็ต้องหารือร่วมกับ อย. เพื่อระงับการออกอากาศ หากเป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ก็ต้องหารือร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรียกว่า กสทช. ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่มีอำนาจโดยตรงในเรื่องนั้นตามกฎหมาย เพื่อดำเนินการระงับการออกอากาศ แต่ไม่ได้มีอำนาจเองที่จะสั่งระงับได้ หรือ หากยกกรณีของภาพยนตร์ที่มีการเซ็นเซอร์ได้นั้น ต้องบอกว่าเป็นกฎหมายคนละตัว เพราะภาพยนตร์ มี พ.ร.บ.ภาพยนตร์ มีคณะกรรมการดูแลอยู่แล้ว ต่างจาก พ.ร.บ. วิทยุโทรทัศน์ ที่ไม่ได้ให้อำนาจ กสทช. ไว้ ยกเว้นแต่ ม.37
เนื้อหา มาตรา 37 ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ระบุว่า ห้ามไม่ให้ออกอากาศเนื้อหารายการที่มีลักษณะล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือกระทำซึ่งเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การตีความตาม ม.37 ในประเด็นเรื่องของศีลธรรมอันดี ลามกอนาจาร มีผลให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง ซึ่งสามารถตีความออกมาได้ในมุมที่ต่างกันออกไป ก็ต้องถามกลับไปที่ กสทช. ว่าจะตีความกฎหมายนี้ออกมาในแนวทางใด และจะนำมาใช้กับกรณีของ Hormones อย่างไร
หลายคนอาจจะบอกว่า Hormones เป็นเรื่องที่ขัดกับ ม.37 ตรงไหน? นี่คือซีรีส์วัยรุ่นเท่านั้น หรือบางคนอาจจะบอกว่า กับแค่ซีรีส์วัยรุ่นเรื่องเดียว ไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร
ผมขอยืนยันเลยว่า ไม่เห็นด้วยกับการเซ็นเซอร์โดยรัฐบาลอยู่แล้ว เพราะหากมีการเซ็นเซอร์เกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพิจารณาความเหมาะสมในเนื้อหาของรายการอีกมากมายตามมา เกิดการเปรียบเทียบว่า เนื้อหาของรายการใดเหมาะสมกว่ากันหรือไม่ จาก 1 จะทวีกลายเป็นร้อยเป็นพัน หนทางที่ดีกว่าคือ การกำกับดูแลกันเองโดยสังคม ให้สังคมได้พิจารณาและตัดสินว่าเนื้อหาใดมีความเหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมา รายการทีวีต่างๆ ก็เซ็นเซอร์ตัวเองกันพอสมควรแล้ว
ต้องบอกว่า กสทช. ต้องใจกว้าง มองทุกอย่างเปิดกว้างในมิติที่แตกต่างไปจากยุคสมัยเดิมๆ ไม่เช่นนั้น กรณีของ เหนือเมฆ อาจเกิดขึ้นอีกก็ได้
+ + + + + + +
ถ้าสนใจ คลิกตามไปอ่านได้ตาม link ด้านล่างครับ
ที่มา http://www.itspacebar.com/2013/07/hormonestheseries/
อีกบทความที่เกี่ยวข้องกัน http://www.itspacebar.com/2013/07/hormones