เอเอฟพี - สื่อต่างประเทศ ได้ตีแผ่ประสบการณ์อันเลวร้ายของบรรดานักท่องเที่ยวต่างชติที่มาท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้ง การถูกฉกชิงวิ่งราว, การทำร้ายร่างกาย หรือ แม้กระทั่งตำรวจรีดไถเงิน ซึ่งทำให้ชาวต่างชาตินับล้านๆคน ที่มาเที่ยวเมืองไทยในแต่ละปีอาจรู้สึกว่า ดินแดนนี้ ไม่ใช่ “สยามเมืองยิ้ม” อย่างที่ได้ร่ำลือกันอีกต่อไปแล้ว
รัฐบาลนานาประเทศต่างเรียกร้องให้ไทยเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยแก่ชาวต่างชาติ ซึ่งเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
น้ำทะเลสีฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาด วัดวาอารามที่ให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น รวมถึงกิจกรรมบันเทิงยามราตรี ล้วนแต่เป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาสัมผัส “ของดีเมืองสยาม” แต่สำหรับบางคน สิ่งที่พบอาจไม่ได้เป็น “สวรรค์บนดิน” อย่างที่คาดไว้แล้ว
นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย “ถูกมอมยา” ลงไปในเครื่องดื่ม เมื่อตื่นขึ้นมา ก็พบว่าทรัพย์สินที่มีค่าได้สูญหายไปหมดแล้ว
“ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวที่นี่ถูกมอมยาเยอะครับ” วอล บราวน์ ชาวออสเตรเลียซึ่งมาเป็นอาสาสมัครตำรวจคอยเดินตรวจตราตามถนนริมหาดป่าตองใน จ.ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์
เขาเล่าว่า ย่านนี้จะมีนายหน้าที่คอยชักชวนนักท่องเที่ยวเข้าบาร์เกย์ หรือ ถ่ายรูปคู่กับสัตว์หายากต่างๆ
“เมื่อสัก 2 ปีที่แล้ว เราเข้าไปช่วยนักท่องเที่ยวชาวอิตาลี่ 2 คนออกมาจากป่า พวกเขาจำอะไรไม่ได้ไป 3 วัน เงินกับเสื้อผ้าถูกขโมยไปหมด เหลือแต่กางเกงชั้นในเท่านั้น” บราวน์ เผย
นักท่องเที่ยวหลายคนได้รับคำเตือนให้หลีกเลี่ยงไนต์คลับที่มี “ปิงปองโชว์” ซึ่งสั่งเบียร์แค่ 2 ขวดก็อาจจะถูกโก่งราคาถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
“ปีที่แล้ว เราเจอนักท่องเที่ยวคนหนึ่งถูกค้อนทุบหัว เพราะเขาไม่ยอมจ่ายเงินมากขนาดนั้น... พวกนั้นใช้วิธีโหดเหี้ยมทำร้ายเอาทีเดียว” นายบราวน์ กล่าว
มาตรฐานความปลอดภัยที่ค่อนข้างต่ำทำให้มีข่าวนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือจมน้ำให้ได้ยินกันอยู่เสมอ ชาวต่างชาติที่เช่ารถจักรยานยนต์ขับผ่านถนนมืดๆในภูเก็ต ก็ถูกดักปล้นอยู่เป็นประจำ
“เด็กหญิงวัยรุ่นฝรั่งเศสคนหนึ่งหนีไปซ่อนในพุ่มไม้ราว 3 ชั่วโมง ส่วนอีกคนเป็นเด็กหญิงวัยรุ่นสวีเดนที่ต้องหลบอยู่จนถึงเช้า เพราะมีกลุ่มชายฉกรรจ์ถือขวาน, ไขควง และ อุปกรณ์ก่อสร้าง มายืนขวางมอเตอร์ไซค์ของพวกเธอ” บราวน์ กล่าว พร้อมเตือนให้ชาวต่างชาติใส่ใจข้อแนะนำในเอกสารท่องเที่ยวที่รัฐบาลเผยแพร่
บางครั้งเหตุการณ์ก็นำไปสู่จุดจบที่น่าเศร้า เช่น กรณีของหญิงชาวออสเตรเลียวัย 59 ปี ที่ถูกโจรกระชากกระเป๋าทำร้ายจนเสียชีวิตที่ภูเก็ต เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2012 ซึ่งต่อมาคนร้ายทั้งสองถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
ในเดือนที่ผ่านมานี้ยังมีชายชาวอเมริกันถูกคนขับแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครแทงเสียชีวิต เพราะตกลงเรื่องค่าโดยสารกันไม่ได้
ปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยมากเป็นประวัติการณ์ จำนวนมากถึง 22 ล้านคน และ แม้ส่วนใหญ่จะไม่พบเจอเหตุการณ์รุนแรง แต่บรรดานักการทูตก็ยังเตือนให้ไทยคิดหาวิธีดูแลความปลอดภัยแก่บรรดาแขกผู้มาเยือน
“นักท่องเที่ยวจะเจอปัญหาที่ภูเก็ตกันมาก” เดวิด ลิปแมน เอกอัคราชทูตคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทยเผย ขณะที่นักการทูตยุโรปกว่า 10 คน ที่เพิ่งจะเดินทางไปเยือน จังหวัดภูเก็ตต่างก็แสดงความเป็นห่วงเช่นกัน
“ผมคิดว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นเลย ฉะนั้นเราจึงต้องติดตามเรื่องนี้อยู่” ลิปแมน ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี
เจ้าหน้าที่ตำรวจของเมืองภูเก็ตยอมรับว่า ปัญหานักท่องเที่ยวถูกล่วงละเมิดเกิดขึ้นเป็นประจำ แต่พวกเขาก็พยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุดด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
“เราได้จัดตั้ง ป่าตอง เซฟตี้โซน ขึ้น เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากสาธารณชนด้วย เพราะแม้จะมีตำรวจกว่า 100 นาย คอยเดินตรวจตรา แต่ก็ยังไม่พอ” พ.ต.ท.นิกร ชูทอง สารวัตรป้องกันและปราบปราม สภอ. กะทู้ ให้สัมภาษณ์
พฤติกรรมฉ้อโกงที่พบเห็นได้บ่อยๆ ตามชายหาดในเมืองไทยก็คือ การหลอกให้นักท่องเที่ยวเช่าเจ็ตสกีที่ชำรุดอยู่แล้ว และ เรียกเอาค่าเสียหายเป็นเงินมากๆ เมื่อนักท่องเที่ยวไม่ยอมจ่ายเงินให้ ก็ใช้กำลังเข้าข่มขู่
“นี่คือการขู่กรรโชกทรัพย์ การเช่ามอเตอร์ไซค์ก็เหมือนกัน นักท่องเที่ยวขอเช่ามอเตอร์ไซค์ไปขับ พอตกดึกเจ้าของก็มาขโมยกลับไป แล้ววันรุ่งขึ้นก็เรียกร้องให้นักท่องเที่ยวจ่ายเงินชดใช้ที่ทำมอเตอร์ไซค์หาย” หัวหน้าคณะผู้แทนแห่งอียูเผย และ ยังเอ่ยถึงพฤติกรรมรีดไถเงินของตำรวจท้องถิ่นที่มักเรียกค่าปรับในฐาน “จอดรถในที่ห้ามจอด”
“เราหวังว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะแสดงบทบาทที่เหมาะสมกว่านี้ ... ต้องยอมรับว่าการทุจริตประพฤติมิชอบยังคงมีอยู่ ซึ่งเราหวังว่ามันจะลดน้อยลง” ลิปแมน เผย
เมโลดี้ ทริช ชาวฝรั่งเศส เป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง ที่ยืนยันว่าจะไม่กลับมาเที่ยวเมืองไทยในเร็ววันนี้แน่นอน เธอเล่าว่า หลังลงเครื่องที่สนามบินภูเก็ตเมื่อเดือนพฤษภาคม เธอและครอบครัวออกผิดช่องทาง และผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองมาโดยที่ยังไม่ได้ประทับตราในหนังสือเดินทาง เมื่อกลับเข้าไปอีกครั้งเพื่อจะแก้ไขปัญหา กลับถูกกักตัวและให้ลงนามในคำสารภาพซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง
ทริช ซึ่งมีลูกสาววัยแค่ 21 เดือนไปด้วย ถูกตำรวจภูเก็ตควบคุมตัวอยู่นาน 12 ชั่วโมง และวันต่อมาก็ถูกตัดสินจำคุก 1 ปีโดยให้รอลงอาญา และปรับเป็นเงินอีกคนละ 2,000 บาท โดยไม่มีโอกาสหาทนายความแก้ต่าง
“พวกเขาทำกับเราอย่างนี้ มันใช้ไม่ได้เลย” ทริช เผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีที่ฝรั่งเศส
ข้อมูลจากรัฐบาลประเทศอังกฤษ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวเมืองผู้ดี ต้องขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลมากที่สุด เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ และ ในช่วงย้อนหลังหนึ่งปีจากเดือนมีนาคมปีนี้ มีชาวอังกฤษเสียชีวิตในประเทศไทยถึง 389 คน หรือราว 1 ใน 2,400 คน ที่เข้ามาพำนักหรือท่องเที่ยวระยะสั้นๆ โดยสถิตินี้รวมการเสียชีวิต โดยสาเหตุทางธรรมชาติด้วย
ประเทศไทย ยังเป็นดินแดนที่นักท่องเที่ยวจากประเทศออสเตรเรีย เข้ามาเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในปี 2012 รวมทั้งสิ้น 111 ราย และ กว่า 700 คน จากจำนวนชาวออสซี่เกือบล้านคนที่เดินทางเข้าเมืองไทย จะต้องขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุล
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088802
สื่อต่างประเทศแฉนักท่องเที่ยวต่างชาติวิจารณ์หนัก ประเทศไทยไม่ได้เป็น “Land of Smile” สมดังคำร่ำลืออีกต่อไปแล้ว
รัฐบาลนานาประเทศต่างเรียกร้องให้ไทยเพิ่มมาตรการดูแลความปลอดภัยแก่ชาวต่างชาติ ซึ่งเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์
น้ำทะเลสีฟ้าใส หาดทรายขาวสะอาด วัดวาอารามที่ให้ความรู้สึกสงบร่มเย็น รวมถึงกิจกรรมบันเทิงยามราตรี ล้วนแต่เป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกหลั่งไหลเข้ามาสัมผัส “ของดีเมืองสยาม” แต่สำหรับบางคน สิ่งที่พบอาจไม่ได้เป็น “สวรรค์บนดิน” อย่างที่คาดไว้แล้ว
นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อย “ถูกมอมยา” ลงไปในเครื่องดื่ม เมื่อตื่นขึ้นมา ก็พบว่าทรัพย์สินที่มีค่าได้สูญหายไปหมดแล้ว
“ชาวต่างชาติที่มาเที่ยวที่นี่ถูกมอมยาเยอะครับ” วอล บราวน์ ชาวออสเตรเลียซึ่งมาเป็นอาสาสมัครตำรวจคอยเดินตรวจตราตามถนนริมหาดป่าตองใน จ.ภูเก็ต ให้สัมภาษณ์
เขาเล่าว่า ย่านนี้จะมีนายหน้าที่คอยชักชวนนักท่องเที่ยวเข้าบาร์เกย์ หรือ ถ่ายรูปคู่กับสัตว์หายากต่างๆ
“เมื่อสัก 2 ปีที่แล้ว เราเข้าไปช่วยนักท่องเที่ยวชาวอิตาลี่ 2 คนออกมาจากป่า พวกเขาจำอะไรไม่ได้ไป 3 วัน เงินกับเสื้อผ้าถูกขโมยไปหมด เหลือแต่กางเกงชั้นในเท่านั้น” บราวน์ เผย
นักท่องเที่ยวหลายคนได้รับคำเตือนให้หลีกเลี่ยงไนต์คลับที่มี “ปิงปองโชว์” ซึ่งสั่งเบียร์แค่ 2 ขวดก็อาจจะถูกโก่งราคาถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ
“ปีที่แล้ว เราเจอนักท่องเที่ยวคนหนึ่งถูกค้อนทุบหัว เพราะเขาไม่ยอมจ่ายเงินมากขนาดนั้น... พวกนั้นใช้วิธีโหดเหี้ยมทำร้ายเอาทีเดียว” นายบราวน์ กล่าว
มาตรฐานความปลอดภัยที่ค่อนข้างต่ำทำให้มีข่าวนักท่องเที่ยวเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนหรือจมน้ำให้ได้ยินกันอยู่เสมอ ชาวต่างชาติที่เช่ารถจักรยานยนต์ขับผ่านถนนมืดๆในภูเก็ต ก็ถูกดักปล้นอยู่เป็นประจำ
“เด็กหญิงวัยรุ่นฝรั่งเศสคนหนึ่งหนีไปซ่อนในพุ่มไม้ราว 3 ชั่วโมง ส่วนอีกคนเป็นเด็กหญิงวัยรุ่นสวีเดนที่ต้องหลบอยู่จนถึงเช้า เพราะมีกลุ่มชายฉกรรจ์ถือขวาน, ไขควง และ อุปกรณ์ก่อสร้าง มายืนขวางมอเตอร์ไซค์ของพวกเธอ” บราวน์ กล่าว พร้อมเตือนให้ชาวต่างชาติใส่ใจข้อแนะนำในเอกสารท่องเที่ยวที่รัฐบาลเผยแพร่
บางครั้งเหตุการณ์ก็นำไปสู่จุดจบที่น่าเศร้า เช่น กรณีของหญิงชาวออสเตรเลียวัย 59 ปี ที่ถูกโจรกระชากกระเป๋าทำร้ายจนเสียชีวิตที่ภูเก็ต เมื่อเดือนมิถุนายน ปี 2012 ซึ่งต่อมาคนร้ายทั้งสองถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิต
ในเดือนที่ผ่านมานี้ยังมีชายชาวอเมริกันถูกคนขับแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครแทงเสียชีวิต เพราะตกลงเรื่องค่าโดยสารกันไม่ได้
ปีที่แล้ว มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศไทยมากเป็นประวัติการณ์ จำนวนมากถึง 22 ล้านคน และ แม้ส่วนใหญ่จะไม่พบเจอเหตุการณ์รุนแรง แต่บรรดานักการทูตก็ยังเตือนให้ไทยคิดหาวิธีดูแลความปลอดภัยแก่บรรดาแขกผู้มาเยือน
“นักท่องเที่ยวจะเจอปัญหาที่ภูเก็ตกันมาก” เดวิด ลิปแมน เอกอัคราชทูตคณะผู้แทนสหภาพยุโรป ประจำประเทศไทยเผย ขณะที่นักการทูตยุโรปกว่า 10 คน ที่เพิ่งจะเดินทางไปเยือน จังหวัดภูเก็ตต่างก็แสดงความเป็นห่วงเช่นกัน
“ผมคิดว่าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้นเลย ฉะนั้นเราจึงต้องติดตามเรื่องนี้อยู่” ลิปแมน ให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี
เจ้าหน้าที่ตำรวจของเมืองภูเก็ตยอมรับว่า ปัญหานักท่องเที่ยวถูกล่วงละเมิดเกิดขึ้นเป็นประจำ แต่พวกเขาก็พยายามทำหน้าที่อย่างดีที่สุดด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
“เราได้จัดตั้ง ป่าตอง เซฟตี้โซน ขึ้น เพื่อดูแลความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว แต่ทั้งนี้ก็ต้องอาศัยความร่วมมือจากสาธารณชนด้วย เพราะแม้จะมีตำรวจกว่า 100 นาย คอยเดินตรวจตรา แต่ก็ยังไม่พอ” พ.ต.ท.นิกร ชูทอง สารวัตรป้องกันและปราบปราม สภอ. กะทู้ ให้สัมภาษณ์
พฤติกรรมฉ้อโกงที่พบเห็นได้บ่อยๆ ตามชายหาดในเมืองไทยก็คือ การหลอกให้นักท่องเที่ยวเช่าเจ็ตสกีที่ชำรุดอยู่แล้ว และ เรียกเอาค่าเสียหายเป็นเงินมากๆ เมื่อนักท่องเที่ยวไม่ยอมจ่ายเงินให้ ก็ใช้กำลังเข้าข่มขู่
“นี่คือการขู่กรรโชกทรัพย์ การเช่ามอเตอร์ไซค์ก็เหมือนกัน นักท่องเที่ยวขอเช่ามอเตอร์ไซค์ไปขับ พอตกดึกเจ้าของก็มาขโมยกลับไป แล้ววันรุ่งขึ้นก็เรียกร้องให้นักท่องเที่ยวจ่ายเงินชดใช้ที่ทำมอเตอร์ไซค์หาย” หัวหน้าคณะผู้แทนแห่งอียูเผย และ ยังเอ่ยถึงพฤติกรรมรีดไถเงินของตำรวจท้องถิ่นที่มักเรียกค่าปรับในฐาน “จอดรถในที่ห้ามจอด”
“เราหวังว่าเจ้าหน้าที่รัฐจะแสดงบทบาทที่เหมาะสมกว่านี้ ... ต้องยอมรับว่าการทุจริตประพฤติมิชอบยังคงมีอยู่ ซึ่งเราหวังว่ามันจะลดน้อยลง” ลิปแมน เผย
เมโลดี้ ทริช ชาวฝรั่งเศส เป็นชาวต่างชาติคนหนึ่ง ที่ยืนยันว่าจะไม่กลับมาเที่ยวเมืองไทยในเร็ววันนี้แน่นอน เธอเล่าว่า หลังลงเครื่องที่สนามบินภูเก็ตเมื่อเดือนพฤษภาคม เธอและครอบครัวออกผิดช่องทาง และผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองมาโดยที่ยังไม่ได้ประทับตราในหนังสือเดินทาง เมื่อกลับเข้าไปอีกครั้งเพื่อจะแก้ไขปัญหา กลับถูกกักตัวและให้ลงนามในคำสารภาพซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง
ทริช ซึ่งมีลูกสาววัยแค่ 21 เดือนไปด้วย ถูกตำรวจภูเก็ตควบคุมตัวอยู่นาน 12 ชั่วโมง และวันต่อมาก็ถูกตัดสินจำคุก 1 ปีโดยให้รอลงอาญา และปรับเป็นเงินอีกคนละ 2,000 บาท โดยไม่มีโอกาสหาทนายความแก้ต่าง
“พวกเขาทำกับเราอย่างนี้ มันใช้ไม่ได้เลย” ทริช เผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีที่ฝรั่งเศส
ข้อมูลจากรัฐบาลประเทศอังกฤษ ระบุว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นักท่องเที่ยวชาวเมืองผู้ดี ต้องขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุลมากที่สุด เป็นอันดับ 2 รองจากประเทศฟิลิปปินส์ และ ในช่วงย้อนหลังหนึ่งปีจากเดือนมีนาคมปีนี้ มีชาวอังกฤษเสียชีวิตในประเทศไทยถึง 389 คน หรือราว 1 ใน 2,400 คน ที่เข้ามาพำนักหรือท่องเที่ยวระยะสั้นๆ โดยสถิตินี้รวมการเสียชีวิต โดยสาเหตุทางธรรมชาติด้วย
ประเทศไทย ยังเป็นดินแดนที่นักท่องเที่ยวจากประเทศออสเตรเรีย เข้ามาเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในปี 2012 รวมทั้งสิ้น 111 ราย และ กว่า 700 คน จากจำนวนชาวออสซี่เกือบล้านคนที่เดินทางเข้าเมืองไทย จะต้องขอความช่วยเหลือจากสถานกงสุล
http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088802