“สื่อ” ในปัจจุบัน เป็นปัจจัยหลักในการชี้นำ เปลี่ยนแปลง หรือคงไว้ซึ่งทัศนคติของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย เรื่องในกระแส หรือทัศนคติทางการเมือง ดังนั้นเราจะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “สื่อ” มีส่วนทำให้สังคมแบ่งเป็นฝักเป็นฝ่ายดังเช่นทุกวันนี้
“พฤติกรรม” การเสพ หรือ รับสื่อของประชาชนทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะนิสัยของมนุษย์มักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ทำให้การรับฟังสื่อมักจะเป็นไปในลักษณะเลือกสื่อซ้ำๆ ที่เคยชิน ไม่มีการแสวงหาสื่อใหม่ๆ ในการรับข่าวสาร
“พฤติกรรมของสื่อ” ในปัจจุบัน สื่อแต่ละเจ้า มักนำเสนอข่าวสารต่างๆโดยไม่การ “ไม่เสนอเฉพาะข้อเท็จจริง” สื่อมักจะใส่ความคิดเห็นลงไปในข่าวด้วย จุดนี้เป็นจุดสำคัญอย่างมากที่ทำให้สื่อ กลายเป็นเครื่องมือชี้นำทัศนคติของผู้รับสารไปด้วย ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอข่าวเรื่องของการเมือง มักมีการนำเสนอความคิดเห็นของพิธีกรเพียงด้านเดียว หากตัวพิธีกรมีความเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อข่าวที่นำเสนอแล้ว มักจะนำเสนอข่าวโดยแทรกความคิดเห็นเชิงชี้นำไปยังผู้รับสาร ทำให้เกิดการเลือกข้าง หรือคล้อยตาม ส่งผลต่อความขัดแย้งทางสังคม
“แนวทางการแก้ปัญหา” คงจะบังคับให้สื่อเสนอข่าวแต่เพียงข้อเท็จจริง ก็คงเป็นไปไม่ได้ดังนั้น หากสื่อ นำเสนอข่าวแต่ละข่าว โดยใช้พิธีกรที่มีจุดยืนคนละด้าน มานำเสนอข่าวเดียวกันยกตัวอย่างเช่น หากจะนำเสนอข่าว “หลวงปู่เณรคำ” ให้พิธีกรท่านแรกใส่ความคิดเห็นในแนวลบกับพระเณรคำ ส่วนท่านที่สอง ให้ใส่ความคิดเห็นเชิงบวก เป็นต้น โดยขอเรียกว่า “การนำเสนอข่าวโดยใช้สองทัศนคติที่ตรงกันข้าม”
การนำเสนอข่าวโดยใช้สองทัศนคติที่ตรงกันข้ามนั้น สามารถนำไปใช้ได้กับทุกข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง อาชญากรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น
ซึ่งตัวผมหวังเป็นอย่างยิ่งกว่า การนำเสนอข่าวสารแบบนี้ จะช่วยให้สังคมลดการแบ่งฝ่ายและมองภาพรวมในสังคมกันอย่างเป็นกลางมากขึ้น
คราวหน้าผมจะลองเขียนเรื่อง จริยธรรม และความรับผิดชอบของสื่อนะครับ
พฤติกรรมการรับสื่อ และ ปัญหาการนำเสนอของสื่อในปัจจุบัน
“พฤติกรรม” การเสพ หรือ รับสื่อของประชาชนทั่วไป โดยทั่วไปแล้ว ลักษณะนิสัยของมนุษย์มักไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง ทำให้การรับฟังสื่อมักจะเป็นไปในลักษณะเลือกสื่อซ้ำๆ ที่เคยชิน ไม่มีการแสวงหาสื่อใหม่ๆ ในการรับข่าวสาร
“พฤติกรรมของสื่อ” ในปัจจุบัน สื่อแต่ละเจ้า มักนำเสนอข่าวสารต่างๆโดยไม่การ “ไม่เสนอเฉพาะข้อเท็จจริง” สื่อมักจะใส่ความคิดเห็นลงไปในข่าวด้วย จุดนี้เป็นจุดสำคัญอย่างมากที่ทำให้สื่อ กลายเป็นเครื่องมือชี้นำทัศนคติของผู้รับสารไปด้วย ทำให้เกิดความขัดแย้งในสังคม ยกตัวอย่างเช่น การนำเสนอข่าวเรื่องของการเมือง มักมีการนำเสนอความคิดเห็นของพิธีกรเพียงด้านเดียว หากตัวพิธีกรมีความเอนเอียงไปทางด้านใดด้านหนึ่ง หรือมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อข่าวที่นำเสนอแล้ว มักจะนำเสนอข่าวโดยแทรกความคิดเห็นเชิงชี้นำไปยังผู้รับสาร ทำให้เกิดการเลือกข้าง หรือคล้อยตาม ส่งผลต่อความขัดแย้งทางสังคม
“แนวทางการแก้ปัญหา” คงจะบังคับให้สื่อเสนอข่าวแต่เพียงข้อเท็จจริง ก็คงเป็นไปไม่ได้ดังนั้น หากสื่อ นำเสนอข่าวแต่ละข่าว โดยใช้พิธีกรที่มีจุดยืนคนละด้าน มานำเสนอข่าวเดียวกันยกตัวอย่างเช่น หากจะนำเสนอข่าว “หลวงปู่เณรคำ” ให้พิธีกรท่านแรกใส่ความคิดเห็นในแนวลบกับพระเณรคำ ส่วนท่านที่สอง ให้ใส่ความคิดเห็นเชิงบวก เป็นต้น โดยขอเรียกว่า “การนำเสนอข่าวโดยใช้สองทัศนคติที่ตรงกันข้าม”
การนำเสนอข่าวโดยใช้สองทัศนคติที่ตรงกันข้ามนั้น สามารถนำไปใช้ได้กับทุกข่าว ไม่ว่าจะเป็นข่าวการเมือง อาชญากรรม เศรษฐกิจ เป็นต้น
ซึ่งตัวผมหวังเป็นอย่างยิ่งกว่า การนำเสนอข่าวสารแบบนี้ จะช่วยให้สังคมลดการแบ่งฝ่ายและมองภาพรวมในสังคมกันอย่างเป็นกลางมากขึ้น
คราวหน้าผมจะลองเขียนเรื่อง จริยธรรม และความรับผิดชอบของสื่อนะครับ