( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )
1.... สารี โชว์หลักฐาน(ผู้นำทางกฏหมายทั้ง5รายชื่อดัง)! 19 เมษายน ชัดคลื่น1800 ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้ขยายเวลาแผนแม่บทให้คืนคลืน
2.... กสทช.มติไม่เอกฉันท์8ต่อ3 ผ่านร่างวิธีประมูล-ถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อได้2ใน3กิจการ //เสียงข้างน้อยชี้ยังไม่ทำแผนคลื่น700ทำ4G
3.... กทค.อนุมัติเลขหมายมือถือ21ล้านเบอร์MY by CAT (ที่มีMVNO TRUE Hและ365)10ล้านเบอร์/TRUE H 2100 6ล้านเบอร์/TOT3G 5ล้านเบอร์
_______________________________________
(เพิ่มเติม)
1.... กสทช.พีระพงษ์ (ชี้) ซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น !!! ยังไม่ได้รับการร้องเรียน(ชี้ทุกเรื่องต้องไม่ลามกอนาจาร) อุ๋ย-นนทรีย์ ชี้ เป็นเพียงตีแผ่สังคมวัยรุ่น
2.... 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชี้ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
3.... (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.มีมติ ห้ามผู้เข้าประมูลควบสื่อไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ เช่นห้ามถือหุ้นไขว้
4.... จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีการศึกษาชี้!! กสทช. ต้องให้งบพัฒนาเทคโนฯการศึกษา800ล.ไม่ใช่20ล.//จี้กฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
18 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.มีมติ ห้ามผู้เข้าประมูลควบสื่อไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ เช่นห้ามถือหุ้นไขว้
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ โดยกำหนดเนื้อหารายการที่ห้ามออกอากาศ คือ รายการที่มีเนื้อหาล้มล้างสถาบันกษัตริย์ กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม และรายการที่มีเนื้อหาเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขัน กล่าวว่า ได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษารายละเอียดการร่างประกาศห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องประกอบกิจการสื่อได้ไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/235066/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%
B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4
%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%
B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%992%E0%B8%A
A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD
http://www.naewna.com/business/60361
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชี้ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
ประเด็นหลัก
สืบเนื่องจาก 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ให้ กสทช. ทบทวนและแก้ไขการจัดทำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ... เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างน้อย 5 มาตรา
โดยมีความเห็นว่า กสทช.กำลังขยายขอบเขตอำนาจในการกำกับดูแลสื่อมวลชนเกินกว่ากฎหมายให้อำนาจไว้ และ กสทช.ยังมีกลไกอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อได้เสนอแนะให้ กสทช.พิจารณาทบทวนแก้ไข (ร่าง) ประกาศดังกล่าวอย่างรอบคอบ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ ก่อนนำออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนของกฎหมาย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง โดยหาก กสทช.เห็นควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างประกาศดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อทั้ง 4 องค์กรที่มีสมาชิกเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ยินดีให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำหรือยกร่างประกาศนั้น
หาก กสทช. ยังคงยืนยันนำร่างประกาศฉบับดังกล่าวนี้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะคัดค้านอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นร่างประกาศที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยในการได้รับข้อมูลข่าวสาร อันอาจนำพาประเทศไทยกลับไปสู่ยุคของการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างรุนแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคของเผด็จการรัฐประหารในอดีตที่ผ่านมา
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จึงขอยื่นข้อเสนอต่อ กสทช.ว่า ขอให้ กสทช.พิจารณาทบทวนการนำร่างประกาศที่ผ่านมติของ กสทช. ออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล หลักการ ความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำให้ร่างประกาศฉบับนี้มีสภาพบังคับใช้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ กำกับดูแลสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิผล และนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมโดยรวมต่อไป
http://m.thairath.co.th/content/tech/358024
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130718/518253/4%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0
%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9
%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3
%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0
%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8
%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A..html
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 กสทช.พีระพงษ์ (ชี้) ซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น !!! ยังไม่ได้รับการร้องเรียน(ชี้ทุกเรื่องต้องไม่ลามกอนาจาร) อุ๋ย-นนทรีย์ ชี้ เป็นเพียงตีแผ่สังคมวัยรุ่น
ประเด็นหลัก
พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) "เวลาทำละครส่วนมากทุกคนตั้งใจ และมีวัตถุประสงค์ที่ดี และอยากให้เรียนรู้ในสังคม ขณะที่เรื่องฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ได้ยินภาพรวมไปทางบวก คือ เป็นการนำเสนอแง่มุมที่ตรงกับชีวิตวัยรุ่นมากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่เนื้อหาจะแรงหรือไม่นั้น ต้องยึดตามหลักมาตรา 37 โดยเนื้อหาสาระต้องไม่กระทบกับสถาบันการปกครอง พระมหากษัตริย์ ความมั่นคง สังคม และต้องไม่ลามกอนาจาร" พล.ท.พีระพงษ์ กล่าว
บทไม่แรง เพราะเป็นเรื่องจริง
ด้านผู้กำกับมือฉมัง อย่าง "อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร" เผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า สาเหตุที่ซีรีส์เรื่องนี้โด่งดัง เป็นเพราะเนื้อหาที่บอกเล่าถึงความเป็นจริงของสังคมไทยปัจจุบัน ปัญหาวัยรุ่น และนำมาตีแผ่ออกมาในรูปแบบละคร ที่ทุกวัยก็สามารถดูได้ โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ปกครองที่ควรต้องดู เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูกในครอบครัว ว่าเรื่องคู่รัก ความรักในวัยเรียน เป็นเรื่องใกล้ตัวมากแค่ไหน จึงไม่แปลกใจที่ซีรีส์วัยรุ่นเรื่องนี้ถึงครองใจคนทุกวัยอย่างง่ายดายและรวดเร็ว ส่วนบทละครซีรีส์ดัง ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ก็ไม่ได้รุนแรงจนเกินไป
"คนเราชอบซ่อนปัญหาไม่กล้าพูดถึง เพียงแค่นำเสนอความจริงเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ เรื่องความรัก และภาษาของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ในบางมุมมอง ผู้ใหญ่ดูอาจไม่เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็ก เลยมองว่าตัวละครถ่ายทอดออกมาเกินจริง เนื้อหาส่อเสียดสังคม แต่ถ้าเปิดใจให้กว้าง ก็จะเข้าใจเด็กวัยรุ่นได้มากทีเดียว" อุ๋ย-นนทรีย์ กล่าว
http://m.thairath.co.th/content/ent/357998
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีการศึกษาชี้!! กสทช. ต้องให้งบพัฒนาเทคโนฯการศึกษา800ล.ไม่ใช้20ล.//จี้กฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
ประเด็นหลัก
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ตนเห็นว่างบประมาณไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างรุนแรง จึงได้สอบถามกับผู้แทน กสทช.ที่มาร่วมประชุมว่าจะสามารถสนับสนุนงบเพิ่มได้อีกจำนวนเท่าใด เพราะกองทุนเองก็ไม่มีแหล่งรายได้อื่น และแต่ละปีได้รับเงินสนับสนุนน้อยมากแค่หลัก 5-20 ล้านบาทต่อปี ทั้งที่ กสทช.มีเงินส่วนนี้อยู่ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะส่งคืนคลังหมด แต่สนับสนุนกองทุนเพียงประมาณ 20 ล้านบาท
“กสทช.ควรจะสนับสนุนงบฯให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นส่วนใหญ่ สัก 800-900 ล้าน แล้วส่งคืนคลังเป็นส่วนน้อย ซึ่ง กสทช.ก็บอกให้ทางกองทุนฯทำแผนแม่บทก่อน ดังนั้น จึงให้ทางกองทุนเร่งทำแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อจะเสนอของบฯในปีหน้า แต่เบื้องต้นตนได้หารือกับ กสทช.ว่าทางกองทุนจะทำแผนเร่งด่วนที่จำเป็นเพื่อของบฯในช่วงครึ่งปีปฏิทินหลังจากนี้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่" รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ขณะนี้เราต้องพูดถึงวงเงิน 800 -1,000 ล้านบาท เพราะประเทศนี้ถ้ายังขาดแคลนงบประมาณแบบนี้ และทำได้น้อยแบบนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาของเราก็จะล้าหลังมาก
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การสนับสนุนงบประมาณควรทำให้เป็นไปตามเจตนาของกฏหมาย ซึ่งกฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088250&Keyword=%a1%ca%b7
______________________________________
สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 18/07/2556
1.... สารี โชว์หลักฐาน(ผู้นำทางกฏหมายทั้ง5รายชื่อดัง)! 19 เมษายน ชัดคลื่น1800 ไม่มีข้อใดที่อนุญาตให้ขยายเวลาแผนแม่บทให้คืนคลืน
2.... กสทช.มติไม่เอกฉันท์8ต่อ3 ผ่านร่างวิธีประมูล-ถือครองสิทธิ์ข้ามสื่อได้2ใน3กิจการ //เสียงข้างน้อยชี้ยังไม่ทำแผนคลื่น700ทำ4G
3.... กทค.อนุมัติเลขหมายมือถือ21ล้านเบอร์MY by CAT (ที่มีMVNO TRUE Hและ365)10ล้านเบอร์/TRUE H 2100 6ล้านเบอร์/TOT3G 5ล้านเบอร์
_______________________________________
(เพิ่มเติม)
1.... กสทช.พีระพงษ์ (ชี้) ซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น !!! ยังไม่ได้รับการร้องเรียน(ชี้ทุกเรื่องต้องไม่ลามกอนาจาร) อุ๋ย-นนทรีย์ ชี้ เป็นเพียงตีแผ่สังคมวัยรุ่น
2.... 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชี้ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
3.... (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.มีมติ ห้ามผู้เข้าประมูลควบสื่อไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ เช่นห้ามถือหุ้นไขว้
4.... จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีการศึกษาชี้!! กสทช. ต้องให้งบพัฒนาเทคโนฯการศึกษา800ล.ไม่ใช่20ล.//จี้กฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
18 กรกฎาคม 2556 (เกาะติดประมูลDigital TV) กสทช.มีมติ ห้ามผู้เข้าประมูลควบสื่อไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์ เช่นห้ามถือหุ้นไขว้
ประเด็นหลัก
นอกจากนี้ ยังได้เห็นชอบร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ เพื่อนำไปรับฟังความเห็นสาธารณะ โดยกำหนดเนื้อหารายการที่ห้ามออกอากาศ คือ รายการที่มีเนื้อหาล้มล้างสถาบันกษัตริย์ กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ กระทบต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม และรายการที่มีเนื้อหาเข้าลักษณะลามกอนาจารหรือมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง
นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะอนุกรรมการส่งเสริมการแข่งขัน กล่าวว่า ได้ให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศึกษารายละเอียดการร่างประกาศห้ามถือครองสิทธิข้ามสื่อ โดยมีความเป็นไปได้สูงที่จะกำหนดให้ผู้เข้าประมูลต้องประกอบกิจการสื่อได้ไม่เกิน 2 ประเภท จาก 3 ประเภทสื่อ คือ ทีวี วิทยุ และ หนังสือพิมพ์
http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8
%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/235066/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%
B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B5%E0%B8%94%E0%B8%B4
%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%
B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%992%E0%B8%A
A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD
http://www.naewna.com/business/60361
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ค้านร่างประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการ ชี้ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน
ประเด็นหลัก
สืบเนื่องจาก 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ ซึ่งประกอบด้วย สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สภาวิชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2556 ให้ กสทช. ทบทวนและแก้ไขการจัดทำ (ร่าง) ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเนื้อหารายการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ... เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอันจะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและลิดรอนสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอย่างน้อย 5 มาตรา
โดยมีความเห็นว่า กสทช.กำลังขยายขอบเขตอำนาจในการกำกับดูแลสื่อมวลชนเกินกว่ากฎหมายให้อำนาจไว้ และ กสทช.ยังมีกลไกอื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการกำกับดูแลสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อได้เสนอแนะให้ กสทช.พิจารณาทบทวนแก้ไข (ร่าง) ประกาศดังกล่าวอย่างรอบคอบ เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ ก่อนนำออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะตามขั้นตอนของกฎหมาย อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สาธารณะอย่างแท้จริง โดยหาก กสทช.เห็นควรจัดให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อร่างประกาศดังกล่าว องค์กรวิชาชีพสื่อทั้ง 4 องค์กรที่มีสมาชิกเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง ยินดีให้ความร่วมมือส่งตัวแทนเข้าร่วมให้ข้อเสนอแนะตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำหรือยกร่างประกาศนั้น
หาก กสทช. ยังคงยืนยันนำร่างประกาศฉบับดังกล่าวนี้ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ 4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จะคัดค้านอย่างรุนแรง เนื่องจากเป็นร่างประกาศที่ขัดต่อกฎหมายอย่างชัดแจ้ง เพราะมีเนื้อหาที่ขัดต่อหลักการด้านสิทธิเสรีภาพของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยในการได้รับข้อมูลข่าวสาร อันอาจนำพาประเทศไทยกลับไปสู่ยุคของการปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสารอย่างรุนแรงดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นในยุคของเผด็จการรัฐประหารในอดีตที่ผ่านมา
4 องค์กรวิชาชีพสื่อ จึงขอยื่นข้อเสนอต่อ กสทช.ว่า ขอให้ กสทช.พิจารณาทบทวนการนำร่างประกาศที่ผ่านมติของ กสทช. ออกรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการนำเสนอข้อมูล หลักการ ความคิดเห็นตั้งแต่ขั้นตอนการจัดทำร่างฯ อันจะนำมาซึ่งความเข้าใจ ความร่วมมือของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และทำให้ร่างประกาศฉบับนี้มีสภาพบังคับใช้เป็นกฎหมายที่มีประสิทธิภาพ กำกับดูแลสื่อมวลชนได้อย่างมีประสิทธิผล และนำมาซึ่งความสงบสุขของสังคมโดยรวมต่อไป
http://m.thairath.co.th/content/tech/358024
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20130718/518253/4%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0
%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%84%E0%B9
%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B3
%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0
%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8
%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A..html
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 กสทช.พีระพงษ์ (ชี้) ซีรีส์ ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น !!! ยังไม่ได้รับการร้องเรียน(ชี้ทุกเรื่องต้องไม่ลามกอนาจาร) อุ๋ย-นนทรีย์ ชี้ เป็นเพียงตีแผ่สังคมวัยรุ่น
ประเด็นหลัก
พล.ท.พีระพงษ์ มานะกิจ กรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช. ) "เวลาทำละครส่วนมากทุกคนตั้งใจ และมีวัตถุประสงค์ที่ดี และอยากให้เรียนรู้ในสังคม ขณะที่เรื่องฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ได้ยินภาพรวมไปทางบวก คือ เป็นการนำเสนอแง่มุมที่ตรงกับชีวิตวัยรุ่นมากกว่าเรื่องอื่นๆ แต่เนื้อหาจะแรงหรือไม่นั้น ต้องยึดตามหลักมาตรา 37 โดยเนื้อหาสาระต้องไม่กระทบกับสถาบันการปกครอง พระมหากษัตริย์ ความมั่นคง สังคม และต้องไม่ลามกอนาจาร" พล.ท.พีระพงษ์ กล่าว
บทไม่แรง เพราะเป็นเรื่องจริง
ด้านผู้กำกับมือฉมัง อย่าง "อุ๋ย-นนทรีย์ นิมิบุตร" เผยกับไทยรัฐออนไลน์ว่า สาเหตุที่ซีรีส์เรื่องนี้โด่งดัง เป็นเพราะเนื้อหาที่บอกเล่าถึงความเป็นจริงของสังคมไทยปัจจุบัน ปัญหาวัยรุ่น และนำมาตีแผ่ออกมาในรูปแบบละคร ที่ทุกวัยก็สามารถดูได้ โดยเฉพาะวัยรุ่น และผู้ปกครองที่ควรต้องดู เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างพ่อแม่ลูกในครอบครัว ว่าเรื่องคู่รัก ความรักในวัยเรียน เป็นเรื่องใกล้ตัวมากแค่ไหน จึงไม่แปลกใจที่ซีรีส์วัยรุ่นเรื่องนี้ถึงครองใจคนทุกวัยอย่างง่ายดายและรวดเร็ว ส่วนบทละครซีรีส์ดัง ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น ก็ไม่ได้รุนแรงจนเกินไป
"คนเราชอบซ่อนปัญหาไม่กล้าพูดถึง เพียงแค่นำเสนอความจริงเกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ เรื่องความรัก และภาษาของวัยรุ่นในยุคปัจจุบัน ในบางมุมมอง ผู้ใหญ่ดูอาจไม่เข้าใจถึงความรู้สึกนึกคิดของเด็ก เลยมองว่าตัวละครถ่ายทอดออกมาเกินจริง เนื้อหาส่อเสียดสังคม แต่ถ้าเปิดใจให้กว้าง ก็จะเข้าใจเด็กวัยรุ่นได้มากทีเดียว" อุ๋ย-นนทรีย์ กล่าว
http://m.thairath.co.th/content/ent/357998
______________________________________
18 กรกฎาคม 2556 จาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีการศึกษาชี้!! กสทช. ต้องให้งบพัฒนาเทคโนฯการศึกษา800ล.ไม่ใช้20ล.//จี้กฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
ประเด็นหลัก
นายจาตุรนต์ กล่าวอีกว่า เรื่องนี้ตนเห็นว่างบประมาณไม่สอดคล้องกับความจำเป็นในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างรุนแรง จึงได้สอบถามกับผู้แทน กสทช.ที่มาร่วมประชุมว่าจะสามารถสนับสนุนงบเพิ่มได้อีกจำนวนเท่าใด เพราะกองทุนเองก็ไม่มีแหล่งรายได้อื่น และแต่ละปีได้รับเงินสนับสนุนน้อยมากแค่หลัก 5-20 ล้านบาทต่อปี ทั้งที่ กสทช.มีเงินส่วนนี้อยู่ปีละประมาณ 1,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะส่งคืนคลังหมด แต่สนับสนุนกองทุนเพียงประมาณ 20 ล้านบาท
“กสทช.ควรจะสนับสนุนงบฯให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เป็นส่วนใหญ่ สัก 800-900 ล้าน แล้วส่งคืนคลังเป็นส่วนน้อย ซึ่ง กสทช.ก็บอกให้ทางกองทุนฯทำแผนแม่บทก่อน ดังนั้น จึงให้ทางกองทุนเร่งทำแผนแม่บทในการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาให้เสร็จโดยเร็วที่สุด เพื่อจะเสนอของบฯในปีหน้า แต่เบื้องต้นตนได้หารือกับ กสทช.ว่าทางกองทุนจะทำแผนเร่งด่วนที่จำเป็นเพื่อของบฯในช่วงครึ่งปีปฏิทินหลังจากนี้ว่าจะเป็นไปได้หรือไม่" รมว.ศึกษาธิการ กล่าวและว่า ขณะนี้เราต้องพูดถึงวงเงิน 800 -1,000 ล้านบาท เพราะประเทศนี้ถ้ายังขาดแคลนงบประมาณแบบนี้ และทำได้น้อยแบบนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษาของเราก็จะล้าหลังมาก
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การสนับสนุนงบประมาณควรทำให้เป็นไปตามเจตนาของกฏหมาย ซึ่งกฏหมายก็เขียนไว้ชัดเจนว่าเงินนี้ไม่ใช่มีไว้สำหรับส่งคลัง
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000088250&Keyword=%a1%ca%b7
______________________________________